การวินิจฉัยโรคทางเดินอาหารด้วยการกลืนแคปซูล (Gastrointestinal Wireless Capsule Endoscopy) หรือที่เรียกว่า "วีดีโอแคปซูล" นับเป็นความล้ำหน้าด้านวิทยาการทางการแพทย์ครั้งสำคัญ เนื่องจากเป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยแนวใหม่ เกี่ยว กับโรคระบบทางเดินอาหาร โดยเฉพาะในส่วนที่ลึกที่สุดของลำไส้เล็ก ซึ่งสามารถรายงาน และแสดงผลการวินิจฉัยได้อย่างละเอียด ถูกต้อง แม่นยำ และ มีประสิทธิภาพสูงสุดในวงการแพทย์ทางเดินอาหารในปัจจุบัน วีดีโอแคปซูลมีขั้นตอนการตรวจวินิจฉัยที่ง่าย สะดวก และปลอดภัยต่อคนไข้แพทย์ สามารถนำผลการวินิจฉัยไปประกอบการรักษาได้อย่างมีประสิทธิผลต่อไป ปัจจุบันได้มีใช้วีดีโอแคปซูลอย่างแพร่หลายใน 33 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งในประเทศไทยด้วย อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจ - ระบบการตรวจวินิจฉัยโรคทางเดินอาหารด้วยการกลืนแค็ปซูลที่
ได้รับความนิยมในขณะนี้มีชื่อเรียกว่า M2A (mouth-to-anus) Capsule Endoscopy พัฒนาโดยบริษัท Given Imaging ประเทศอิสราเอล ได้รับการตรวจสอบและอนุมัติจากองค์การอาหาร และ ยาประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนสิงหาคม 2001 - วีดีโอแคปซูลเป็นเครื่องบันทึกภาพขนาดเล็กซึ่งมีลักษณะคล้ายเม็ดยา มีขนาด 11 x 26 มิลลิเมตร หนัก 3.7 กรัม ปลายแค็ปซูล
มน โค้งเป็นพลาสติกใส เลนส์ และตัวยึดเลนส์ อุปกรณ์แหล่งกำเนิดแสง LED สารกึ่งตัวนำชนิด CMOS แบตเตอรี่ และแผง IC ขนาดจิ๋ว รวมทั้งเสาอากาศซึ่งจะเป็นตัวส่งสัญญาณภาพ - ชุดสายอากาศรับส่งสัญญาณทำหน้าที่รับสัญญาณจากแคปซูล ก่อน ส่งสัญญาณต่อไปยังชุดเข็มขัดที่ติดตั้งเครื่องบันทึกภาพ และข้อมูลไว้ จากนั้นนำมาถ่ายทอดลงเครื่องคอมพิวเตอร์ และทำการอ่านในลักษณะของภาพต่อเนื่อง
- สามารถถ่ายภาพประมาณ 2 ภาพต่อวินาที ความ ละเอียดของภาพ 256 x 256 พิกเซล เริ่มบันทึกภาพตั้งแต่ในช่องปากจนถึงระยะดวลาที่แบตเตอรี่หมดพลังงานเฉลี่ย ประมาณ 6-7 ชั่วโมง ซึ่งเป็นเวลานานเพียงพอที่จะตรวจลำไส้เล็กได้ทั้งหมด
ข้อบ่งชี้สำหรับการตรวจวีดีโอแคปซูล - ตรวจค้นหาสาเหตุของเลือดออกในทางเดินอาหารที่ไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน
- วินิจฉัยหาสาเหตุการอุดตันของลำไส้ที่ไม่สมบูรณ์
- ประเมินขอบเขตของโรคลำไส้เล็กอักเสบ
- ช่วยวินิจฉัยภาวะผิดปกติอื่นๆของลำไส้เล็ก
ข้อห้ามสำหรับการตรวจวีดีโอแคปซูล - หลอดอาหารตีบหรือภาวะที่มีการกลืนผิดปกติ
- ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม
- ภาวะลำไส้เล็กอุดตัน
- ผู้ป่วยไม่ร่วมมือหรือปฏิเสธการผ่าตัด
ขั้นตอนการตรวจ - ขั้นตอนการวินิจฉัยเริ่มจากการให้คนไข้กลืนแค็ปซูลพร้อมน้ำ โดยไม่ต้องเคี้ยว
- หลังจากขั้นตอนนี้แล้วแค็ปซูลจะเดินทางไปตามส่วนต่างๆ ของระบบ
ทางเดินอาหาร คล้ายยานกระสวยขนาดจิ๋วติดตั้งกล้องบันทึกภาพ และไฟ กระพริบส่องสว่าง ท่องไปตามเส้นทางวิบาก และคดเคี้ยวในระบบทางเดินอาหาร - โดย เริ่มจากปาก ไปยังหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็กตอนต้น ลำไส้เล็กตอนกลาง ลำไส้เล็กตอนปลาย ช่วงลิ้นเชื่อมต่อก่อนถึงลำไส้ใหญ่ กระพุ้งแรก ของลำไส้ใหญ่ และลำไส้ใหญ่ ทั้งนี้แค็ปซูลดังกล่าวจะมีแสงไฟกระพริบส่องสว่าง 2 ครั้งต่อวินาที พร้อมบันทึกภาพส่วนต่างๆ ของระบบทางเดินอาหาร และจะส่งสัญญาณภาพต่อไปยังชุดสายอากาศรับส่งสัญญาณที่ติดไว้บริเวณหน้าท้อง คนไข้รวม 8 จุด
- จาก นั้นสัญญาณดังกล่าวนี้จะส่งต่อเนื่องเชื่อมเข้าเก็บบันทึกไว้ในเครื่อง บันทึกภาพ และข้อมูล ที่ถูกติดตั้งไว้กับเข็มขัดรัดเอวคนไข้นั่นเอง ซึ่งจะใช้เวลาในการวินิจฉัยนี้ประมาณ 6-8 ชั่วโมง
- ระหว่างนั้นคนไข้สามารถเคลื่อนไหวทำงานได้ตามปกติ
- ก่อนที่แค็ปซูลจะถูกถ่ายออกมาทางอุจจาระตามปกติ และจะไม่นำแค็ปซูลดังกล่าวกลับมาใช้อีก
- เมื่อ เสร็จสิ้นขั้นตอนการวินิจฉัยนี้แล้ว แพทย์จะนำภาพ และข้อมูลดังกล่าวไปวิเคราะห์ประมวลผล เพื่อให้การรักษาคนไข้ได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ และถูกต้องตรงจุดสาเหตุของโรคต่อไป
พัฒนาการของเครื่องมือ - เทคโนโลยี Capsule Endoscopy (CE) ได้รับการประดิษฐ์คิดค้นโดยแพทย์ชาวอิสราเอลชื่อ Dr.Gavriel Iddan เมื่อปี ค.ศ. 1981 และใช้เวลานานถึง 20 ปีในการพัฒนาขีดความสามารถของเครื่องมือ และชุดวัสดุอุปกรณ์
- จนกระทั่งสามารถนำมาใช้ได้จริงและได้รับการอนุมัติขึ้นจดทะเบียนจากองค์การอาหาร และยาประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนสิงหาคม 2001
- ข้อจำกัดของเครื่องมือรุ่นแรกอยู่ที่การระบุตำแหน่งที่แน่นอนของพยาธิสภาพที่ตรวจพบ
- ทางบริษัท ผู้ผลิตจึงพัฒนารุ่นที่สอง มีชื่อเรียกว่า M2A Plus และพัฒนาซอฟแวร์รองรับอุปกรณ์เวอร์ชั่นใหม่ชื่อ RAPID 1.4 software จนสามารถแก้ปัญหาทั้งหมดได้อย่างสิ้นเชิง และได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบันนี้
วิธีอื่นๆ สำหรับการศึกษารอยโรคในลำไส้เล็ก - การใช้กล้องส่องเข้าไปในลำไส้เล็ก
- วีดีโอแคปซูล
- การใช้ภาพทางรังสีวิทยา เช่น การกลืนแป้ง
- การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์
ข้อบ่งชี้ในการพิจารณาส่งตรวจลำไส้เล็ก - เลือดออกในทางเดินอาหารที่ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน
- ซีดจากการขาดธาตุเหล็ก
- ภาพรังสีวิทยาผิดปกติ
- การดูดซึมในทางเดินอาหารผิดปกติ
- การตรวจหาเนื้องอกในลำไส้เล็ก
- เพื่อวินิจฉัยโรคลำไส้เล็กบีบตัวผิดปกติ
- การตรวจเพื่อเฝ้าระวังเนื้องอกในลำไส้เล็กที่อาจกลายเป็นมะเร็งได้
- การประเมินปัญหาท้องเสียเรื้อรัง
- การวินิจฉัยหาสาเหตุการอุดตันของลำไส้ที่ไม่สมบูรณ์
ที่มา : นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ |