ทำไมถึงปวดท้องน้อย แล้ว อาการปวดท้องน้อยเกิดจาก !!


833 ผู้ชม


   
สาเหตุของการปวดท้องน้อย
การปวดท้องน้อย อาจเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน อาจเป็นลักษณะทันทีทันใด หรือ เป็นเรื้อรังนานๆ ก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ต่างกัน เมื่อจะไปหาแพทย์ แพทย์มักจะถามหลายคำถามเกี่ยวกับลักษณะการปวด และการรบกวนผิดปกติที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน  ขณะที่มีอาการปวด การปวดท้องน้อยแบ่งออกเป็น  2  ลักษณะ  คือ
1. การปวดท้องน้อยอย่างทันทีทันใด (Acute Pelvic Pain)
การปวดท้องน้อยทันทีทันใด มักเกิดจากสาเหตุอย่างหนึ่งอย่างเดียว เช่น การอักเสบ มดลูกอักเสบ เนื้องอกของรังไข่ หรือ ท้องนอกมดลูก
การอักเสบ ได้แก่ มดลูกอักเสบ ปีกมดลูกอักเสบ การอักเสบของทางเดินปัสสาวะ ลำไส้ หรือ ไส้ติ่งอักเสบ
มดลูกอักเสบ (Pelvic in flammatory disease) โดยทั่วไป หมายถึง มีการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ อาจมีอาการปัสสาวะลำบาก  ปัสสาวะบ่อย มีอาการปวดหลังร่วมด้วย
เนื้องอกรังไข่ อาจมีลักษณะเป็น เนื้องอกตันหรือถุงน้ำ (Cyst) อาการปวดอาจมีลักษณะปวดตื้อๆ ถ่วงๆ ท้องน้อย  จะมีอาการปวดแบบทันทีทันใด  ถ้าถุง Cyst มีการรั่ว ทำให้น้ำหรือเลือดออกมาในช่องท้อง หรือมีการบิดตัวที่ขั้ว Cyst
ท้องนอกมดลูก คือ  การตั้งครรภ์ที่ตัวอ่อนไปเกาะ เจริญที่อื่นนอกตัวมดลูก มักเกิดขึ้นที่ท่อนำไข่ คือ หลังจากปฏิสนธิตัว อ่อน ซึ่งควรจะเคลื่อนเข้ามาในมดลูก แต่มาไม่ได้  อาจจะเกิดจากมีพังผืดในท่อนำไข่ เมื่อเจริญมากขึ้นก็ดันท่อนำไข่โป่งและ แตก มีเลือดไหลออกมาในช่องท้อง ทำให้ปวดและมีอาการเสียเลือด  อาจมีอาการช็อกและเสียชีวิตได้
2. การปวดท้องน้อยเรื้อรัง
อาจมีสาเหตุเดียวหรือเกิดจากหลายๆ สาเหตุร่วมกัน อาการเริ่มแรกมักปวดเป็นๆ หายๆ แล้วต่อมาปวดตลอดเวลา หรือ บางรายปวดร่วมกับการมีรอบประจำเดือน  ตัวอย่างเช่น  ปวดประจำเดือน สาเหตุจากโรคอวัยวะอื่นๆ เนื้องอกมดลูก และเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญขึ้นผิดที่
ปวดประจำเดือน  เมื่อสตรีมีประจำเดือนไม่ ควรจะปวด หรือปวดเพียงเล็กน้อยพอรู้สึก ถ้าปวดมากมักจะมีความผิดปกติเกิดขึ้น อาจเกิดจากการมีสารเคมีบางอย่าง ที่ทำให้มดลูกบีบตัวมากเกินไป (Prostaglandin) หรือจากมีเนื้องอกมดลูก หรือจากโรคเยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่  ถ้าปวดช่วงกลางๆ รอบเดือน (คือ ประมาณวันที่ 14 - 15 ของรอบเดือน) บางครางมีเลือดออกด้วยน้อยๆ อาจเกิดจากการตกไข่  เชื่อว่า น้ำจากถุงรังไข่ขณะตกไข่ ไหลออกมาระคายเคืองเยื่อบุช่องท้อง ที่อาจมีความผิดปกติบางอย่าง ซึ่งอาจจะมีอาการน้อยๆ หรือปวดมากก็ได้
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญขึ้นผิดที่ หมาย ความว่า การที่มีเยื่อบุโพรงมดลูก ที่มีหน้าที่เลี้ยงตัวอ่อนเวลาเริ่มตั้งครรภ์  หรือเมื่อหลอดเลือดออกมา พร้อมกับเลือดจากโพรงมดลูก เวลามีประจำเดือนนั้น ไปขึ้นอยู่นอกโพรงมดลูก  ซึ่งอาจจะเป็นว่าขึ้นอยู่ภายในเนื้อมดลูก หรือขึ้นอยู่ภายนอกมดลูกในอุ้งเชิงกราน ซึ่งโรคนี้จะทำให้มีอาการปวดประจำ เดือน  โดยเฉพาะในวันแรกๆ ของประจำเดือน หรือวันก่อนมีประจำเดือนมา แล้วมักจะปวดมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ
สำหรับคนที่มีคู่แล้ว  อาจมีปัญหาว่าเจ็บในท้องน้อย เวลามีเพศสัมพันธ์หรือมีบุตรยาก  ทั้งนี้เพราะการที่เยื่อบุโพรงมดลูกไปขึ้นผิดที่ ทำให้มีปฏิกิริยาของร่างกายบริเวณนั้น ต่อต้านเหมือนมีการอักเสบ เมื่อนานๆ เข้า ก็เกิดเป็นพังผืดเกิดขึ้น  และการที่เลือดออกเหมือนประจำเดือน ก็ทำให้เลือดขังอยู่ โดยเฉพาะในเนื้อมดลูกและรังไข่ ทำให้เกิดเป็นถุง Cyst ขึ้นและทำให้ปวด  บางครั้งเลือดที่ขังอยู่ใน Cyst รั่วหรือแตกออกมา ระคายเคืองเนื้อเยื่อช่องท้อง ก็ทำให้มีอาการปวดรุนแรงฉับพลันได้  ส่วนที่ขึ้นอยู่ในเนื้อมดลูก ทำให้ตัวมดลูกโตขึ้น ทำให้เลือดประจำเดือนมามากขึ้น เหมือนอาการของเนื้องอกมดลูกได้
เนื้องอกมดลูก หมาย ถึง กล้ามเนื้อของมดลูกกลายเป็นเนื้องอก คือ แบ่งตัวเจริญเร็วกว่าธรรมดาไม่หยุดนิ่ง แต่ไม่ใช่มะเร็ง  เพราะไม่ลุกลามไปที่อื่น แต่มดลูกที่โตจะไปเบียดบังอวัยวะอื่น ทำให้ปวด หรือเนื้อดีของมดลูกพยายามบีบตัว ไล่ก้อนเนื้องอกเวลามีประจำเดือน เพราะคิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม จึงทำให้มี อาการปวดขึ้นได้
สาเหตุจากโรคอวัยวะอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับอวัยวะสืบพันธ์ ก็ทำให้มีอาการปวดท้องน้อยได้ เช่น กล้ามเนื้อหน้าท้อง หลัง กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานอักเสบ ลำไส้อักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะหรือที่ท่อไต หรือแม้กระทั่งภาวะทางจิตใจหรือภาวะเครียด
 
นพ. ธีรศักดิ์ ธำรงธีระกุล
สูติ-นรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรักษาผู้มีบุตรยาก รพ.วิภาวดี
     
                   
            แหล่งข้อมูล : โรงพยาบาลวิภาวดี - www.vibhavadi.com      
              
การปวดท้องน้อย อาจเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน อาจเป็นลักษณะทันทีทันใด หรือ เป็นเรื้อรังนานๆ ก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ต่างกัน เมื่อจะไปหาแพทย์ แพทย์มักจะถามหลายคำถามเกี่ยวกับลักษณะการปวด และการรบกวนผิดปกติที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน  ขณะที่มีอาการปวด การปวดท้องน้อยแบ่งออกเป็น  2  ลักษณะ  คือ
1. การปวดท้องน้อยอย่างทันทีทันใด (Acute Pelvic Pain)
การปวดท้องน้อยทันทีทันใด มักเกิดจากสาเหตุอย่างหนึ่งอย่างเดียว เช่น การอักเสบ มดลูกอักเสบ เนื้องอกของรังไข่ หรือ ท้องนอกมดลูก
การอักเสบ ได้แก่ มดลูกอักเสบ ปีกมดลูกอักเสบ การอักเสบของทางเดินปัสสาวะ ลำไส้ หรือ ไส้ติ่งอักเสบ
มดลูกอักเสบ (Pelvic in flammatory disease) โดยทั่วไป หมายถึง มีการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ อาจมีอาการปัสสาวะลำบาก  ปัสสาวะบ่อย มีอาการปวดหลังร่วมด้วย
เนื้องอกรังไข่ อาจมีลักษณะเป็น เนื้องอกตันหรือถุงน้ำ (Cyst) อาการปวดอาจมีลักษณะปวดตื้อๆ ถ่วงๆ ท้องน้อย  จะมีอาการปวดแบบทันทีทันใด  ถ้าถุง Cyst มีการรั่ว ทำให้น้ำหรือเลือดออกมาในช่องท้อง หรือมีการบิดตัวที่ขั้ว Cyst
ท้องนอกมดลูก คือ  การตั้งครรภ์ที่ตัวอ่อนไปเกาะ เจริญที่อื่นนอกตัวมดลูก มักเกิดขึ้นที่ท่อนำไข่ คือ หลังจากปฏิสนธิตัว อ่อน ซึ่งควรจะเคลื่อนเข้ามาในมดลูก แต่มาไม่ได้  อาจจะเกิดจากมีพังผืดในท่อนำไข่ เมื่อเจริญมากขึ้นก็ดันท่อนำไข่โป่งและ แตก มีเลือดไหลออกมาในช่องท้อง ทำให้ปวดและมีอาการเสียเลือด  อาจมีอาการช็อกและเสียชีวิตได้
2. การปวดท้องน้อยเรื้อรัง
อาจมีสาเหตุเดียวหรือเกิดจากหลายๆ สาเหตุร่วมกัน อาการเริ่มแรกมักปวดเป็นๆ หายๆ แล้วต่อมาปวดตลอดเวลา หรือ บางรายปวดร่วมกับการมีรอบประจำเดือน  ตัวอย่างเช่น  ปวดประจำเดือน สาเหตุจากโรคอวัยวะอื่นๆ เนื้องอกมดลูก และเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญขึ้นผิดที่
ปวดประจำเดือน  เมื่อสตรีมีประจำเดือนไม่ ควรจะปวด หรือปวดเพียงเล็กน้อยพอรู้สึก ถ้าปวดมากมักจะมีความผิดปกติเกิดขึ้น อาจเกิดจากการมีสารเคมีบางอย่าง ที่ทำให้มดลูกบีบตัวมากเกินไป (Prostaglandin) หรือจากมีเนื้องอกมดลูก หรือจากโรคเยื่อบุโพรงมดลูกขึ้นผิดที่  ถ้าปวดช่วงกลางๆ รอบเดือน (คือ ประมาณวันที่ 14 - 15 ของรอบเดือน) บางครางมีเลือดออกด้วยน้อยๆ อาจเกิดจากการตกไข่  เชื่อว่า น้ำจากถุงรังไข่ขณะตกไข่ ไหลออกมาระคายเคืองเยื่อบุช่องท้อง ที่อาจมีความผิดปกติบางอย่าง ซึ่งอาจจะมีอาการน้อยๆ หรือปวดมากก็ได้
เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญขึ้นผิดที่ หมาย ความว่า การที่มีเยื่อบุโพรงมดลูก ที่มีหน้าที่เลี้ยงตัวอ่อนเวลาเริ่มตั้งครรภ์  หรือเมื่อหลอดเลือดออกมา พร้อมกับเลือดจากโพรงมดลูก เวลามีประจำเดือนนั้น ไปขึ้นอยู่นอกโพรงมดลูก  ซึ่งอาจจะเป็นว่าขึ้นอยู่ภายในเนื้อมดลูก หรือขึ้นอยู่ภายนอกมดลูกในอุ้งเชิงกราน ซึ่งโรคนี้จะทำให้มีอาการปวดประจำ เดือน  โดยเฉพาะในวันแรกๆ ของประจำเดือน หรือวันก่อนมีประจำเดือนมา แล้วมักจะปวดมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไปนานๆ
สำหรับคนที่มีคู่แล้ว  อาจมีปัญหาว่าเจ็บในท้องน้อย เวลามีเพศสัมพันธ์หรือมีบุตรยาก  ทั้งนี้เพราะการที่เยื่อบุโพรงมดลูกไปขึ้นผิดที่ ทำให้มีปฏิกิริยาของร่างกายบริเวณนั้น ต่อต้านเหมือนมีการอักเสบ เมื่อนานๆ เข้า ก็เกิดเป็นพังผืดเกิดขึ้น  และการที่เลือดออกเหมือนประจำเดือน ก็ทำให้เลือดขังอยู่ โดยเฉพาะในเนื้อมดลูกและรังไข่ ทำให้เกิดเป็นถุง Cyst ขึ้นและทำให้ปวด  บางครั้งเลือดที่ขังอยู่ใน Cyst รั่วหรือแตกออกมา ระคายเคืองเนื้อเยื่อช่องท้อง ก็ทำให้มีอาการปวดรุนแรงฉับพลันได้  ส่วนที่ขึ้นอยู่ในเนื้อมดลูก ทำให้ตัวมดลูกโตขึ้น ทำให้เลือดประจำเดือนมามากขึ้น เหมือนอาการของเนื้องอกมดลูกได้
เนื้องอกมดลูก หมาย ถึง กล้ามเนื้อของมดลูกกลายเป็นเนื้องอก คือ แบ่งตัวเจริญเร็วกว่าธรรมดาไม่หยุดนิ่ง แต่ไม่ใช่มะเร็ง  เพราะไม่ลุกลามไปที่อื่น แต่มดลูกที่โตจะไปเบียดบังอวัยวะอื่น ทำให้ปวด หรือเนื้อดีของมดลูกพยายามบีบตัว ไล่ก้อนเนื้องอกเวลามีประจำเดือน เพราะคิดว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม จึงทำให้มี อาการปวดขึ้นได้
สาเหตุจากโรคอวัยวะอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับอวัยวะสืบพันธ์ ก็ทำให้มีอาการปวดท้องน้อยได้ เช่น กล้ามเนื้อหน้าท้อง หลัง กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานอักเสบ ลำไส้อักเสบ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะหรือที่ท่อไต หรือแม้กระทั่งภาวะทางจิตใจหรือภาวะเครียด
 
นพ. ธีรศักดิ์ ธำรงธีระกุล
สูติ-นรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านรักษาผู้มีบุตรยาก รพ.วิภาวดี
     
                   
            แหล่งข้อมูล : โรงพยาบาลวิภาวดี - www.vibhavadi.com      
          
 

อัพเดทล่าสุด