โรคตาแดง อาการ ตาแดงข้างเดียว ตาแดงไม่หาย วิธีป้องกัน


5,213 ผู้ชม


โรคตาแดงเป็นโรคตาที่พบได้บ่อย
เป็น การอักเสบของเยื่อบุตา (conjuntive) ที่คลุมหนังตาบนและหนังตาล่างรวมเยื่อบุตาที่คลุมตาขาวโรคตาแดงอาจจะเป็นแบบ เฉียบพลันหรือแบบเรื้อรัง สาเหตุอาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส Chlamydia trachomatis ภูมิแพ้ หรือ สัมผัสสารที่เป็นพิษต่อตา สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส มักจะติดต่อทางมือ ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวโดยมากใช้เวลาหาย 2 สัปดาห์ ตาแดงจากโรคภูมิแพ้มักจะเป็นตาแดงเรื้อรัง มีการอักเสบของหนังตา ตาแห้ง การใช้ contact lens หรือน้ำยาล้างตาก็เป็นสาเหตุของตาแดงเรื้อรัง
อาการโรคตาแดง
คันตา เป็นอาการที่สำคัญของผู้ป่วยตาแดงที่เกิดจากภูมิแพ้ อาการคันอาจจะเป็นมากหรือน้อย คนที่เป็นโรคตาแดงโดยที่ไม่มีอาการคัน ไม่ใช่ิเิกิดจากโรคภูมิแพ้ นอกจากนั้นอาจจะมีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัวเช่น หอบหืด ผื่นแพ้
ขี้ตา ลักษณะของขี้ตาก็ช่วยบอกสาเหตุของโรคตาแดง
  • ขี้ตาใสเหมือนน้ำตามักจะเกิดจากไวรัสหรือโรคภูมิแพ้
  • ขี้ตาเป็นเหมือกขาวมักจะเกิดจากภูมิแพ้หรือตาแห้ง
  • ขีตาเป็นหนองมักจะร่วมกับมีสะเก็ดปิดตาตอนเชาทำให้เปิดตาลำบากสาเหตุมักจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย
ตาแดงที่เป็นข้างหนึ่งหรือสองข้าง
  • เป็นพร้อมกันสองข้างโดยมากมักจะเกิดจากภูมิแพ้
  • เป็นข้างหนึ่งก่อนแ้ล้วค่อยเป็น 2 ข้าง สาเหตุเกิดจาการติดเชื้อแบบแบคทีเรีย ไวรัส หรือ Chlamydia
  • ผู้ที่มีโรคตาแดงข้างเดียวแบบเรื้อรัง ชนิดนี้ต้องส่งปรึกษาแพทย์
อาการปวดตาหรือมองแสงจ้าไม่ได้  มักเกิดจากโรคชนิดอื่นเช่น ต้อหิน ม่านตาอักเสบ เป็นต้น ดังนั้นหากมีตาแดงร่วมกับปวดตาหรือมองแสงไม่ได้ต้องรีบพบแพทย์
ตามัว แมว่ากระพริบตาแล้วก็ยังมัวอยู่ โรคตาแดงมักจะเห็นปกติหากมีอาการตามัวร่วมกับตาแดงต้องปรึกษาแพทย์
ประวัติอื่น การเป็นหวัด การใช้ยาหยอดตา น้ำตาเทียม เครื่องสำอาง โรคประจำตัว ยาที่ใช้อยู่ประจำ
การป้องกันโรคตาแดง
  • อย่าใช้เครื่องสำอางร่วมกับคนอื่น
  • อย่าใช้ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวร่วมกัน
  • ล้างมือบ่อย ๆ อย่าเอามือขยี้ตา
  • อย่าสัมผัสมือกบผู้ป่วยตาแดง
  • อย่าใชยาหยอดตาของผู้อื่น
  • ยาหยอดตาเมื่อเปฺดใช้แล้วเกิน 1 เกือนให้ทิ้งไป
  • ใส่แว่นตาป้องกันเมื่อต้องทำงานสัมผัสกับสารเคมี
หากมีอาการต่อไปนี้ให้รีบพบแพทย์
  • ตามัวลง ปวดตามากขึ้น กรอกตาแล้วปวด ไข้
  • ใช้ยาหยอดตาไปแล้ว 48 ชั่วโมงไม่ดีขึ้น
  • แพ้แสงมาก
 

 ที่มา : สารโรงพยาบาลศรีประจันต์ ปีที่ 2 ฉบับที่ 9 เดือน พฤษภาคม - สิงหาคม 2551

ที่มา  hsrip.spo.moph.go.th

อัพเดทล่าสุด