ตลาดแรงงาน บทวิเคราะห์เรื่องตลาดแรงงาน เหมาสำหรรับเป็นข้อมูลทำวิทยานิพนธ์และรายงาน


3,315 ผู้ชม

สังคมแรงงานและการประกอบอาชีพ ใครบ้างที่จะรู้จักคำว่า “ตลาดแรงงาน” ตลาดแรงงาน ถ้าตอบกวน ๆ หรือตื้น ๆ อาจบอกว่า ก็ตลาดขายงานไงเล่า ก็ถูกแต่ยังผิดประเด็นอยู่ดี


ตลาดแรงงาน
ตลาดแรงงาน  บทวิเคราะห์เรื่องตลาดแรงงาน เหมาสำหรรับเป็นข้อมูลทำวิทยานิพนธ์และรายงาน
ตลาดแรงงาน ... ผักปลาไม่เกี่ยว
          สังคมแรงงานและการประกอบอาชีพ ใครบ้างที่จะรู้จักคำว่า “ตลาดแรงงาน” ตลาดแรงงาน ถ้าตอบกวน ๆ หรือตื้น ๆ อาจบอกว่า ก็ตลาดขายงานไงเล่า ก็ถูกแต่ยังผิดประเด็นอยู่ดี ตลาดแรงงานตามในพจนานุกรมเล่มต่าง ๆ หรือพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ. 2525 โดยให้ความหมายว่า
          ตลาด      หมายถึง ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ
          แรงงาน    หมายถึง ประชากรวัยทำงาน, ความสามารถในการทำงาน, กิจการที่คนงานทำในการผลิตเศรษฐทรัพย์, ผู้ใช้แรงงาน
          เมื่อรวมกันกับคำว่า ตลาดแรงงาน ซึ่งหมายถึงสถานที่ชุมนุม พบปะ นัดพบ ระหว่างลูกจ้างนายจ้าง เพื่อติดต่อนัดพบแรงงาน การค้าและกิจการต่าง ๆ ซึ่งจะเปิดรับหลายตำแหน่ง (ไม่รวมวงการธุรกิจสมัครแชร์พีระมิด หรือแชร์ลูกโซ่) แต่แล้วยังไงก็ตามแต่ ยังมีอีกความหมายนั่นคือ หมายถึง ทรัพยากรบุคลากรในด้านอาชีพและการงาน หรือด้านเศรษฐทรัพย์ การรับเข้าทำงาน หรือยังขาดแคลนอยู่ในวงการอาชีพ และสังคม ซึ่งปัจจุบันนี้ ในประเทศไทยบ้านเราเองยังอยู่ในช่วงเศรษฐกิจระยะฟื้นตัว ตลาดแรงงานในช่วงนี้ยังขาดบุคลากรทางด้านการแพทย์ วิทยาการและวิทยาศาสตร์ เป็นส่วนใหญ่ เข้ามาสู่ที่ตัวเรากันบ้าง ตอนนี้เคิดจะเรียนคณะ และสาขาวิชาอะไรบ้างแล้ว ลองมาคิดเรื่องภาพทั่วไปในประเทศ ว่าในโลกอาชีพยังขาดบุคลากรทางด้านอื่น ๆ ด้านใดบ้าง และคิดคาดแนวโน้มความเป็นไปได้ของโลกอาชีพหลังจากที่ตนเองจบการศึกษา ระดับอุดมศึกษา ซึ่งในตลาดแรงงานแบ่งระดับความต้องการได้ดังนี้
          1.ระดับล้นตลาดแรงงาน หมายถึง ความต้องการในอาชีพบางสาขามีมากเกินไปใน ตลาดแรงงาน ซึ่งตอนในปี 2544 มีอาชีพมนุษย์ศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ยังอยู่ในระดับที่ล้นตลาด เพราะบุคลากรและจำนวนความต้องการรับเข้างานไม่สมดุลย์กัน (อย่างเช่นต้องการรับสมัครนักศึกษาจบสาขาวิศวกรรมไปทำงาน จำนวนรับสูงสุด 500 คน แต่ในตลาดแรงงานมีผู้จบสาขาวิศวกรรมจำนวน 2500 คน ซึ่งยังมีมากเกินไป อาจจะมีปัญหา อย่างอื่นตามมา รัฐอาจจะเสียงบประมาณในการจัดสรรหาคนมาทำงานในด้านอื่น ๆ)
          2.ระดับใกล้ล้นตลาด หมายถึง ความต้องการในอาชีพหรือบางสาขา เพื่อรับการทำงานนั้น คาดว่ามีแนวโน้มจะล้นตลาดอีก 2 - 3 ปีข้างหน้า ซึ่งความต้องการเหล่านี้จะอยู่ใกล้ระยะอิ่มตัวในเวลาไม่กี่ปี ในสาขาที่จะใกล้ล้นตลาดได้แก่ ช่างกล้อง ช่างภาพ งานทางด้านนิเทศ นักบริหารธุรกิจ เป็นต้น โอกาสเสี่ยงตกงานเป็น 3 ใน 4
          3.ระดับยังมีความต้องการอยู่ หมายถึง ความต้องการในอาชีพหรือสาขาต่าง ๆ การรับสมัครเข้าทำงานยังมีอยู่เรื่อย ๆ ได้แก่ นักการเมือง นักแสดง ช่างอุตสาหกรรม เป็นต้น
          4.ระดับมีความต้องการมาก หมายถึง ความต้องการในอาชีพหรือสาขาต่าง ๆ ยังมีความต้องการสูง เพราะยังขาดบุคลากรทางด้านนี้อยู่ในประเทศเป็นจำนวนหนึ่ง การที่ตลาดต้องการบุคลากร มากอันเนื่องมาจากขาดบุคลากรอยู่หลายตำแหน่ง ได้แก่ วิทยาศาสตร์ สาขาวิชาการท่องเที่ยว บริการ ครู - ข้าราชการ เป็นต้น
          5.ระดับมีความต้องการสูง หมายถึง ความต้องการของแรงงานยังขาดอยู่อีกมากซึ่งยังเป็นอาชีพที่มีคนทำอยู่น้อยมาก หรือไม่มีเลยและจำเป็นอย่างยิ่งในตลาด ได้แก่ อาชีพแพทย์ พยาบาล แพทย์อาสา นักชันสูตรศพในคดีฆาตกรรม นักวิทยาศาสตร์ นักพัฒนาประเทศ คอมพิวเตอร์ นักวางระบบ เป็นต้น และยืนยันว่าการตกงานไม่อัตราการเสี่ยง
     
          ทั้งหมดนี้ ในตลาดแรงงานในเมืองไทยยังมีความต้องการอยู่อีกมากมาย แต่ความจริงแล้วอย่าคิดว่า สาขาที่เราเรียน เรียนไปตกงานแน่นอน การที่จะตกงานหรือไม่ตกงาน ขึ้นกับความสามารถ ความขยันของเราเอง เรียนคณะสาขาไหน ทุกสาขาวิชาไม่มีคำว่าตกงาน นอกจากว่าเราจะเอาไปประยุกต์ใช้เป็นหรือเปล่า หรือเรียนเสริมเพิ่มเติมแล้วมาพัฒนาฝีมือของตน
การเลือกอาชีพของผู้เข้าสู่ตลาดแรงงาน
          เมื่อกล่าวถึงคำว่า "อาชีพ" เชื่อแน่ว่าคนทุกคนจะนึกถึงอาชีพที่แตกต่างกันออกไป บางคนอาจกำลังนึกถึงอาชีพนักบิน นักวิทยาศาสตร์ นักธุรกิจ ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ แอร์โฮสเตส พนักงานโรมแรม หรือนักการเมือง ขึ้นอยู่กับความคาดหวัง หรือความคิดของแต่ละคน ในที่นี้จะขอสรุปแนวทางการเลือกอาชีพที่เรียกว่า "หลัก 4 ประการ" ซึ่งประกอบด้วย
          ประการแรก ต้องรู้จักตัวเอง โดยดูจากความชอบบุคลิกลักษณะ หรือความถนัดของตนเอง คงไม่มีใครรู้จักตัวเราเองดีเท่ากับตัวเรา อย่างไรก็ตามนักจิตวิทยาเขาก็มีเครื่องมือสำหรับวัดบุคลิกภาพหรือความถนัด ซึ่งปกติงานที่คนเราทำจะเกี่ยวข้องกับข้อมูล (data) บุคคล (person) หรือเครื่องมือ (tool) สำหรับบุคลิกภาพของคนเราจะมีความสัมพันธ์กับอาชีพ ตามทฤษฎีของ John L. Holland บุคลิกภาพจะแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ได้แก่ แบบจริงจัง (realistic) แบบยึดระเบียบแบบแผน (conventional) แบบกล้าเสี่ยง (enterprising) แบบคิดวิเคราะห์ (investigative) แบบมีศิลปะ (artistic) และแบบชอบสังคม (social)
          ประการที่สอง ต้องรู้จักอาชีพที่มีแนวโน้มเติบโตในอดีต หลายคนมักจะเรียน โดยปราศจากหลักการ ไม่ยึดหรือไม่คำนึงถึงอาชีพที่จะต้องทำในอนาคต ขอเพียงเรียนให้จบหรือเลือกเรียนตาม "กระแสเพื่อน" เพื่อนเรียนอะไรที่สถาบันไหนก็ตามไปเรียนด้วย ซึ่งไม่ใช่หลักการเลือกเรียน+ที่ดี ผู้ที่มีความพร้อมของข้อมูลอาชีพที่ดีมักจะตัดสินใจเลือกเรียนในสาขาวิชาคณะ หรือสถาบันการศึกษาที่ตนเองได้พิจารณาแล้ว และเมื่อตั้งใจเรียน จนสำเร็จการศึกษาก็มักจะได้งานทำไม่ต้องอยู่ในภาวะตกงานหรือว่างงาน เพราะฉะนั้นในข้อนี้จะขอแนะนำข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและ อุดมศึกษา เพื่อชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มในอดีตที่ผ่านมาว่าเป็นอย่างไร
          - ระดับอาชีวศึกษา โดยเฉพาะระดับ ปวส. จากข้อมูลการสำรวจภาวะการทำงานของกำลังคนระดับกลางและระดับสูง ปี 2536-2545 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ รายงานว่าผู้สำเร็จการศึกษาในสาขาพาณิชยกรรมได้งานทำเฉลี่ยร้อยละ 50.84 ช่างอุตสาหกรรม ร้อยละ 48.82 ศิลปหัตถกรรม ร้อยละ 36.39 คหกรรม ร้อยละ 29.37 และเกษตรกรรม ร้อยละ 25.91
          - ระดับอุดมศึกษา ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (ทบวงมหาวิทยาลัย) ในการสำรวจภาวะการหางานทำของบัณฑิต ปีสำรวจ 2531-2543 ชี้ให้เห็นถึงสาขาการศึกษาที่สำเร็จการศึกษาแล้วมีอัตราการมีงานทำ ดังนี้ แพทยศาสตร์ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ร้อยละ 95.27 คหกรรมศาสตร์ ร้อยละ 78.13 วิศวกรรมศาสตร์ ร้อยละ 76.81 ศึกษาศาสตร์และการฝึกหัดครู ร้อยละ 76.43 เกษตรศาสตร์ วนศาสตร์และการประมง ร้อยละ 75.66 สถาปัตยกรรมศาสตร์ ร้อยละ 74.88 การบริหารธุรกิจและพาณิชยการ ร้อยละ 73.26 คณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 70.93 มนุษยศาสตร์ ศาสนา และเทววิทยา ร้อยละ 67.60 วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ร้อยละ 67.15 การสื่อสารมวลชน และการเอกสาร ร้อยละ 67.12 นิติศาสตร์ ร้อยละ 64.42 สังคมพฤติกรรมศาสตร์ ร้อยละ 63.85 วิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์ ร้อยละ 62.84
          ประการที่สาม ต้องศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงของสภาวะเศรษฐกิจสังคมโลก ด้วยการหมั่นอ่านข่าวหนังสือพิมพ์ ค้นหาข้อมูลจากสื่ออินเตอร์เน็ท รายงานการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแนวโน้มความต้องการแรงงานโดยประเด็นที่ควรสนใจ เป็นพิเศษ คือ อาชีพที่จะเกิดขึ้นใหม่ซึ่งมักจะเปลี่ยนแปลงไปตามเศรษฐกิจสังคมของโลกและ ประเทศ สำหรับประเด็นที่กล่าวถึงกันมากในช่วงทศวรรษนี้เห็นจะได้แก่ การเปิดการค้าเสรี (Free Trade Area) ของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเซียแปซิฟิค และโดยเฉพาะประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ จึงคาดว่าจะส่งผลให้ภาคธุรกิจของไทยมีความต้องการแรงงานเพิ่มขึ้นด้วยและจาก การศึกษาวิจัยของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เกี่ยวกับอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ (logistics) ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ทำธุรกิจด้านการขนส่ง การให้บริการที่เกี่ยวเนื่องกับการขนส่ง คลังสินค้า การจัดการสินค้า การขนถ่ายสินค้า รวมถึงการทำพิธีการศุลกากร
          โดย TDRI คาดว่า ในปี 2548-2552 จำนวนผู้ที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะเข้าสู่ระบบโลจิสติกส์ในปี 2548 มีจำนวน 240,850 คน และเพิ่มขึ้นเป็น 272,329 คน ในปี 2552 และเมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาแล้ว พบว่าในระดับอาชีวศึกษาสาขาที่เกี่ยวข้องกับด้านโลจิสติกส์ ได้แก่ ช่างไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ช่างยนต์ สาขาวิชาในระดับปริญญาตรีจะอยู่ในสาขามนุษยศาสตร์ ด้านภาษา ประกอบด้วย ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส สังคมศาสตร์ พาณิชยการและกฎหมาย วิทยาศาสตร์ในสาขาคณิตศาสตร์และสถิติคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมศาสตร์สาขาคอมพิวเตอร์ โทรคมนาคม การบินและอากาศยาน เรือ ยานยนต์และขนส่ง สำหรับความรู้ความสามารถและทักษะของบุคลากรที่อุตสาหกรรมโลจิสติกส์มีความ ต้องการจำแนกตามกิจกรรมหลัก ประกอบด้วย
          1. การจัดซื้อและเจรจาต่อรอง ต้องการบุคลากรที่มีระดับความรู้เกี่ยวกับหลักการ จัดซื้อและกระบวนการ ระดับทักษะที่ต้องมีคือ การใช้คอมพิวเตอร์ และซอฟท์แวร์ที่เกี่ยวข้อง
          2. การจัดการขนส่ง ต้องการบุคลากรที่มีระดับความรู้เกี่ยวกับการจัดตารางเวลาและรูปแบบการขนส่ง ที่เหมาะสม ความรู้เกี่ยวกับถนนและเส้นทางการขนส่ง การขับรถอย่างปลอดภัย ความรู้เกี่ยวกับสินค้า กฎระเบียบด้านความปลอดภัย กฎหมายการขนย้ายสินค้าและมีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ภาษาและการสื่อสาร การจัดการอุปกรณ์และบุคลากร การจัดลำดับความสำคัญของงานให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนด การเข้าใจและทำตามคำสั่งได้ รวมทั้งการให้บริการลูกค้า
          3. การจัดการด้านส่งออกและนำเข้า ต้องการบุคลากรที่มีความรู้และทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ภาษาและการสื่อสาร การวิเคราะห์และวางแผนงาน
          4. การเคลื่อนย้ายสินค้า การจัดการคลังสินค้าและสินค้าคงคลัง ต้องการบุคลากรที่มีความรู้พื้นฐานในการดูแลระบบสินค้าคงคลังและกระบวนการ ของสินค้าคงคลัง ความรู้เกี่ยวกับสินค้า กฎหมายและความปลอดภัย ส่วนทักษะที่ต้องมีคือ การใช้คอมพิวเตอร์ ภาษาและการสื่อสาร
          5. การตลาดและการให้บริการลูกค้า ต้องการบุคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับโลจิสติกส์และการบริการ ความรู้พื้นฐานด้านบัญชี กฎหมายการค้าการลงทุน และความรู้เกี่ยวกับการประกันสินค้า
          6. การจัดการห่วงโซ่อุปทาน ต้องการบุคลากรที่มีความรู้เกี่ยวกับคลังสินค้าและระบบสินค้าคงคลัง กระบวนการและการวางแผนวัตถุดิบ ความรู้เกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทาน เทคโนโลยีและการจัดการการขนส่งและการกระจายสินค้า
          ส่วนทักษะที่บุคลากรจำเป็นต้องมีคือ การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทาน การแก้ไขปัญหา การติดต่อและการนำเสนอ การประสานงาน ภาษาและการสื่อสาร การใช้กลยุทธ์และการเชื่อมโยงระหว่างองค์กร รวมทั้งการจัดการด้านทุน
          ประการที่สี่ ต้องทราบแนวโน้มของเศรษฐกิจและรายได้ของประเทศ ข้อนี้มีหลักการง่าย ๆ คือ "การจะเลือกประกอบอาชีพใด ควรดูจากรายได้ของประเทศว่ามาจากภาคเศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมใด การจะเลือกประกอบอาชีพใดให้ดูจากรายได้หรือค่าตอบแทนแรงงานในอาชีพนั้น" แน่นอนว่าทุกคนหวังที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีบ้าน มีรถและมีเงินทองสำหรับใช้สอยในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้นผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานใหม่จึงควรติดตามและสังเกตุอาชีพรอบตัวที่ พบเห็นในสังคม มีวิธีการอยู่วิธีการหนึ่ง เรียกว่า "การวิจัยอาชีพ" โดยผู้ที่สนใจที่จะประกอบอาชีพใดให้ทำการวิจัยด้วยการสำรวจอาชีพที่เราสนใจ หรืออาชีพที่เราใฝ่ฝันไว้ และสอบถามจาก ผู้รู้ (key person) 3 คน คือ นายจ้าง ผู้ประกอบอาชีพนั้นอยู่และหน่วยงานผลิตกำลังคนหรือสถาบันการศึกษา ที่ออกแบบหลักสูตรการศึกษาต่าง ๆ เพราะกลุ่มบุคคลเหล่านี้จะมีข้อมูลและทราบแนวโน้มสถานการณ์ สภาพการทำงานที่เกี่ยวข้องกับอาชีพที่เราสนใจ เมื่อเราเก็บรวบรวมข้อมุลได้แล้วจึงนำมาสังเคราะห์และสรุปเพื่อเป็นทางเลือก ในการตัดสินใจว่าเหมาะสมที่เราจะเรียนต่อในสาขาวิชานั้น ๆ หรือไม่
          กล่าวโดยสรุป หลัก 4 ประการสำหรับเป็นแนวทางเลือกประกอบอาชีพเริ่มจาก ต้องรู้จักตนเอง ต้องรู้จักอาชีพที่มีแนวโน้มเติบโตในอดีต ต้องศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจสังคมโลก และต้องทราบแนวโน้มของเศรษฐกิจและรายได้ของประเทศ ดังนั้น หวังเป็นอย่างยิ่งว่า นักเรียน นักศึกษา ผู้ปกครอง คนหางาน รวมทั้งผู้กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงานทุกคนจะมีข้อมูลสำหรับใช้ประกอบการตัดสิน ใจเลือกเรียน สมัครงานและได้งานทำในอาชีพที่เหมาะสมกับตนเองตามที่ได้ใฝ่ฝันตั้งใจเอาไว้
การพัฒนาเศรษฐกิจ
ความหมายของเศรษฐกิจ
          เศรษฐกิจคือ การกระทำใด ๆ อันก่อให้เกิด การผลิต การจำหน่ายและการบริโภค ซึ่งความหมายในทางเศรษฐกิจจะแตกต่างจากความหมายที่เข้าใจกันโดยทั่วไปบ้าง ดังนี้
การผลิต
          คือการกระทำเพื่อให้เกิดผลที่สามารถตีค่าออกมาเป็นเงินได้ หากการกระทำใด ซึ่งผลของการกระทำแม้จะมีคุณค่ามีประโยชน์แต่ไม่สามารถตีค่าออกมาเป็นเงิน ได้ การกระทำนั้นในความหมายทางเศรษฐกิจไม่ถือเป็นการผลิต และผลของการกระทำ ก็ไม่เรียกผลผลิต อาจจะเรียกเป็นผลงาน
การจำหน่าย
          คือการนำผลผลิตไปเสนอต่อผู้ที่มีความต้องการ หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ การนำผลผลิตไปสู่ตลาด เพื่อให้เกิดการซื้อขายกันขึ้น
การบริโภค
          คือการจับจ่ายใช้สอยรวมถึงการรับประทานด้วย จะมองเห็นได้ว่า เศรษฐกิจนั้นจะเน้นที่ราคาหรือเงิน ของบางสิ่งถึงแม้จะมีประโยชน์ซึ่งมนุษย์และสิ่งมีชีวิตจะขาดเสียมิได้ เช่น อากาศสำหรับหายใจ แต่เนื่องจากอากาศมีอยู่ทั่วไป ซื้อขายกันไม่ได้ อากาศจึงไม่ถือเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจ แต่ถ้ามีคนเอาอากาศนั้นมาบรรจุในภาชนะ เพื่อจำหน่าย อากาศเช่นนั้นก็กลายเป็นปัจจัยทางเศรษฐกิจไป ดังนั้นเมื่อพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจจึงต้องเกี่ยวข้องกับราคาหรือเงินเสมอ
ระบบเศรษฐกิจ
          คือหลักการและวิธีการเกี่ยวกับการดำเนินการด้านเศรษฐกิจของรัฐ คือ ระบบสังคมนิยมและระบบทุนนิยม
ระบบสังคมนิยม
          เป็นระบบเศรษฐกิจที่ผูกขาดโดยรัฐ กล่าวคือ รัฐจะเป็นเจ้าของทรัพยากรต่าง ๆ รวมทั้งปัจจัยในการผลิตทุกอย่างแม้กระทั่งแรงงาน เอกชนไม่มีสิทธิแม้แต่จะใช้แรงงานของตนในการเลือก ประกอบอาชีพตามความพอใจ รัฐเป็นทั้งเจ้าของและผู้ประกอบการ กลไกราคาในการตัดสินใจปัญหาพื้นฐาน ราคาสินค้าและบริการค่าตอบแทนปัจจัยการผลิต และการจำหน่ายจ่ายแจกผลผลิต จะถูกกำหนดโดยรัฐบาล นอกจากนั้นรัฐยังเป็นผู้กำหนดว่าจะผลิตอะไร โดยไม่คำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภค
          ระบบนี้เกิดขึ้นตามแนวความคิดที่ว่าหากปล่อยให้ทุกคนทำตามใจตัวเองไปคนละทิศ ละทาง อาจทำให้เกิดผลเสียต่อส่วนรวมได้ เพราะบางคนมีความรู้และประสบการณ์น้อยมองการณ์ไกลไม่เก่ง มีทุนมีกำลังน้อย อาจถูกเอารัดเอาเปรียบโดยผู้มีกำลังเหนือกว่าได้ และในเมื่อจุดหมายของสังคมก็คือความอยู่ดีกินดีและความเสมอภาคกันทาง เศรษฐกิจแล้ว รัฐจึงควรผูกขาดทางด้านเศรษฐกิจเสียด้วย
ระบบทุนนิยม
          ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม ยังมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกมาก เช่น ระบบเศรษฐกิจเสรีบ้าง ระบบเสรีนิยมบ้าง ฯลฯ ระบบนี้จะเปิดโอกาสให้เอกชนมีเสรีภาพในการประกอบธุรกิจต่าง ๆ มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและปัจจัยในการผลิตตลอดถึงการจัดการทรัพย์สินของตน อย่างอิสระ เอกชนทุกคนสามารถลงทุนแข่งขันกันในทางเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่ รัฐบาลจะไม่เข้ามาแข่งขันกับเอกชน แต่จะคอยให้ความคุ้มครองและช่วยเหลือตามอำนาจหน้าที่ที่กฎหมายกำหนดไว้ ระบบนี้เกิดขึ้นตามแนวความคิดที่ว่า การแข่งขันกันจะทำให้เกิดคุณภาพในการผลิตให้ตลาดหรือผู้บริโภคเป็นผู้ตัดสิน ใจ
ระบบเศรษฐกิจของไทย
          ในระบบเศรษฐกิจทั้งสองระบบนั้น ยังไม่มีประเทศใดที่จะใช้ระบบใดระบบหนึ่งโดยเฉพาะ มักจะใช้ปะปนกัน ประเทศใดนำระบบใดไปใช้มาก เราก็เรียกระบบเศรษฐกิจของประเทศนั้นว่าเป็นระบบนั้น อย่างไรก็ดี ประเทศที่ปกครองโดยลัทธิคอมมิวนิสต์ จะนำระบบสังคมนิยมไปใช้เพียงระบบเดียว ส่วนประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย บางประเทศก็นำระบบสังคมนิยมไปใช้ในบางส่วนหรือบางกรณี เช่น ประเทศอินเดีย นำระบบสังคมนิยมไปใช้ในธุรกิจสำคัญ ๆ เช่น กิจการธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น รัฐจะเป็นผู้ดำเนินการเอง ส่วนธุรกิจอื่น ๆ อนุญาตให้เอกชนทำได้
          สำหรับประเทศไทย ได้นำระบบทุนนิยมมาใช้ เปิดโอกาสให้เอกชนแข่งขันกันทางด้านธุรกิจอย่างเต็มที่ ในขณะเดียวกัน รัฐบาลจะเขาไปดำเนินการเฉพาะในบางกรณีที่เห็นว่าเกี่ยวข้องกับความสงบเรียบ ร้อยและความมั่นคงของชาติเท่านั้น และเราเรียกกิจการเช่นนั้นว่า รัฐวิสาหกิจ เช่น กิจการไฟฟ้า ประปา รถไฟ ยาสูบ ฯลฯ
ปัญหาเศรษฐกิจของไทย
          ประเทศไทยเป็นประเทศที่กำลังพัฒนา มีปัญหาที่จะต้องทำการปรับปรุงแก้ไขอีกมาก โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ มีปัญหาที่ควรจะได้นำมาศึกษาในหลายด้าน ๆ ด้วยกัน ในที่นี้จะนำมากล่าวพอเป็นสังเขปเท่านั้น
การแตกต่างในรายได้
          รายได้ของประชาชนยังมีความแตกต่างกันอยู่มากระหว่างคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ ดีหรือที่เรียกกันว่าคนรวย กับคนที่มีฐานะด้อยทางเศรษฐกิจ หรือที่เรียกกันว่าคนจน ช่องว่างระหว่างรายได้ของคนรวยกับคนจนนับว่าต่างกันมากทำให้เกิดการได้ เปรียบเสียเปรียบในทางเศรษฐกิจ คนรวยนับวันยิ่งรวย ส่วนคนจนนับวันยิ่งจนลง ปัญหานี้จะต้องแก้ไข โดยหาทางเพิ่มรายได้แก่คนจนให้สูงขึ้น และให้คนรวยได้ยอมสละผลประโยชน์ของตนบางส่วนลงเพื่อประโยชน์ต่อส่วนรวม คือคนรวยอาจจะมีรายได้คงที่ แต่ให้รายได้คนจนเพิ่มขึ้น ช่องว่างระหว่างรายได้ก็จะแคบเข้า
สินค้าขั้นปฐม
          ประเทศไทยเป็นประเทศกสิกรรม สินค้าหลักในการส่งออกได้แก่ผลผลิตทางการเกษตรที่ไม่ได้แปรรูป ซึ่งเรียกว่า “สินค้าขั้นปฐม” สินค้าเช่นนี้มีปริมาณมากแต่ราคาต่ำ เช่น เราขายข้าวจำนวนหลายสิบตันจึงจะเท่ากับราคาผลผลิตทางอุตสาหกรรม เช่น รถยนต์ 1 คัน และข้อสำคัญอีกประการหนึ่ง สินค้าขั้นปฐมนี้เสียหายได้ง่าย เช่น ผลไม้ที่สุกแล้ว อาจเน่าระหว่างการขนส่งได้ทำให้เสียค่าใช้จ่ายในการบรรจุหีบห่อสูง
การตลาด
          สินค้าทางการเกษตรของไทยมีปัญหาทางด้านการตลาดอย่างมาก ราคาไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับราคาตลาดโลก ปีใดประเทศคู่แข่งส่งสินค้าไปสู่ตลาดโลกน้อย ปีนั้นอาจทำให้สินค้าเกษตรของไทยราคาสูงขึ้นบ้าง แต่ถ้าปีใดประเทศคู่แข่งส่งสินค้าออกมาก ราคาสินค้าของไทยก็จะตก และข้อสำคัญที่สุด ตลาดของไทยถูกประเทศคู่แข่งที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจสูงกว่า แย่งตลาดอยู่เสมอ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา นำสินค้าเกษตรของตนออกมาแข่งกับสินค้าเกษตรของไทย โดยขายในราคาที่ต่ำกว่า ทำให้ไทยขายสินค้าไม่ได้ต้องสูญเสียตลาดไป จำเป็นต้องแสวงหาตลาดใหม่อยู่ตลอดเวลา
การขาดดุลการค้า
          เนื่องจากสินค้าของไทยเป็นสินค้าทางการเกษตรขั้นปฐมดังกล่าวแล้ว เราส่งสินค้าออกเป็นจำนวนมาก จึงจะสามารถ ซื้อสินค้าสำหรับอุตสาหกรรมประเภทเครื่องจักรกลได้สัก 1 รายการ และประกอบกับประเทศไทยกำลังเร่งรัดพัฒนา สินค้าประเภทเครื่องจักรกลต่าง ๆ จึงมีความจำเป็นต้องซื้อ เพราะเป็นสินค้าเพื่อทำการผลิต ซึ่งต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศปีละมาก ๆ ทำให้ไทยขาดดุลการค้ากับต่างประเทศมาก โดยเฉพาะกับประเทศอุตสาหกรรม เช่น ญี่ปุ่น ไทยขาดดุลการค้ามาเป็นเวลานับสิบ ๆ ปีแล้ว
การว่างงาน
          การว่างงานเป็นปัญหาที่สำคัญอีกปัญหาหนึ่งของไทย เนื่องจากประชากรเพิ่มขึ้นมาก การขยายตัวทางเศรษฐกิจไม่สมดุลกับอัตราเพิ่มของประชาชน อย่างไรก็ดีการแก้ปัญหาการเพิ่มของประชากรในปัจจุบันนับว่าได้ผลเป็นที่น่า พอใจ แต่การขยายตัวทางเศรษฐกิจยังไม่ดีเท่าที่ควร ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของโลกตกต่ำกระทบถึงเศรษฐกิจภายในประเทศของไทย จึงทำให้ไม่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากนัก เป็นเหตุให้มีคนว่างงานเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัยแรงงาน ที่สำเร็จการศึกษาทั้งระดับอุดมศึกษาและต่ำกว่าอุดมศึกษา ว่างงานเพิ่มขึ้นทุกปี เป็นเหตุให้เกิดการสูญเปล่าทางแรงงาน และเป็นเหตุทำให้คนต้องยอมทำงานต่ำกว่าความรู้ความสามารถ ได้รับค่าจ้างต่ำไม่สมกับการทำงาน ซึ่งเป็นปัญหาที่จะต้องแก้ไขโดยเร่งด่วน
แนวทางพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
          การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยได้ดำเนินการมาโดยตลอด แต่ก่อน ๆ มาได้ดำเนินการแบบไม่มีเป้าหมายที่แน่นอน ส่วนมากจะเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า และมีหน่วยงานของรัฐรับผิดชอบอยู่หลายหน่วยงาน บางครั้งจึงเกิดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อน เป็นการลงทุนโดยเสียเปล่า รัฐบาลจึงได้แก้ปัญหาโดยจัดให้มีการพัฒนาอย่างมีแผนมีขั้นตอนในการดำเนินงาน ซึ่งเรียกว่าแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประเทศไทยได้เริ่มทำการพัฒนาประเทศโดยกำหนดเป็นแผนระดับชาติครั้งแรกในปี พ.ศ.2504 กำหนดเป็นแผนพัฒนาแผนละ 5 ปี นับถึงปัจจุบัน (พ.ศ.2543) ได้ใช้แผนพัฒนาไปแล้ว 7 แผน (เป็นเวลา 35 ปี) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เริ่มใช้ในปี 2540 และจะสิ้นสุดลงในปี 2544
          การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยตามแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทุกฉบับ ถึงแม้จะมีวัตถุประสงค์หลักแตกต่างกันไปบ้าง แต่ก็มุ่งแก้ปัญญาหลักที่สำคัญ ๆ อยู่ 3 ประการ คือ การพัฒนาอาชีพและรายได้ การพัฒนาตลาดแรงงาน
การพัฒนาผลผลิตและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
การพัฒนาอาชีพและรายได้ อาชีพที่ควรจะได้รับการพัฒนา มีดังนี้
          1.อาชีพเกษตรกรรม เป็นอาชีพหลักของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งประชาชนที่ประกอบอาชีพนี้ ใช้วิธีการเก่า ๆ ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ซึ่งต้องพึ่งธรรมชาติโดยเฉพาะน้ำฝนอยู่มาก ทำให้ได้ผลผลิตต่ำ แต่ต้นทุนสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้เกษตรกรมีรายได้ต่ำฐานะยากจน
          แนวทางพัฒนาอาชีพทางด้านการเกษตรนี้ จะต้องให้ความรู้แก่เกษตรกรให้รู้จักวิธีการลดต้นทุนการผลิต โดยนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ให้มีความรู้ในคุณภาพของดินและการบำรุงรักษาดิน ตลอดถึงการใช้ปุ๋ยและในขณะเดียวกันจะต้องให้เกษตรกรรู้จักใช้ที่ดิน ในการเพาะปลูกเพื่อให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เช่น การจัดให้มีการปลูกพืชหมุนเวียนเป็นต้น
          2.อาชีพอุตสาหกรรม เป็นอาชีพที่กำลังได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลอย่างเต็มที่เปิดโอกาสให้ชาว ต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นทุกปี ผลผลิตทางด้านอุตสาหกรรมไทย เช่น ประเภทสิ่งทอมีคุณภาพได้มาตรฐาน ได้รับความนิยมจากต่างประเทศ ปริมาณในการส่งออกเพิ่มมากขึ้นทุกปี
          การส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรม ควรจะได้เน้นอุตสาหกรรมประเภทที่ใช้วัตถุดิบในประเทศไทย โดยเฉพาะวัตถุดิบทางด้านการเกษตร ซึ่งจะเป็นวิธีการหนึ่งในด้านการช่วยเหลือเกษตรกรไปในตัว และจะทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำ เพราะไม่ต้องซื้อจากต่างประเทศ ซึ่งจะต้องเสียภาษีและค่าขนส่งเพิ่มมากขึ้น อาจจะทำให้สินค้าที่ผลิตได้นั้นราคาสูงเกินไป
          การส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมนั้น รัฐบาลมุ่งส่งเสริมอุตสาหกรรมประเภทส่งออกเป็นสำคัญ เพื่อจะให้ได้เงินตราต่างประเทศเข้าประเทศ เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ ถึงแม้รัฐบาลจะส่งเสริมอุตสาหกรรมส่งออก ก็มิได้หมายความว่าจะไม่ส่งเสริมอุตสาหกรรมด้านอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมย่อยที่มุ่งตลาดภายในประเทศ และอุตสาหกรรมในครอบครัว รัฐบาลก็ได้ให้การสนับสนุนเช่นกัน เช่นการส่งเสริมหัตถกรรมพื้นบ้าน เพื่อใช้เองและจำหน่ายเป็นรายได้แก่ครอบครัวอีกด้วย
          3. อาชีพบริการ อาชีพบริการคือการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้อื่น เช่น พนักงานโรงแรม พนักงานขับรถและเก็บค่าโดยสาร มัคคุเทศก์ อาชีพบริการกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นตามลำดับ และเป็นทางหนึ่งในการแก้ปัญหาคนว่างงาน กล่าวคือ ตลาดแรงงานด้านอื่น ๆ แคบลงทุกที แต่ด้านบริการยังมีโอกาสขยายออกไปได้อีกมากผู้ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานจะต้องมี ความสำนึกว่างานทุกอย่างที่สุจริตและถูกกฎหมาย เป็นงานที่มีเกียรติด้วยกันทั้งนั้น อาชีพบริการก็เป็นอาชีพที่มีเกียรติและสามารถทำรายได้ให้แก่ครอบครัวได้เป็น อย่างดี
          ในการส่งเสริมอาชีพด้านบริการ รัฐบาลควรจะส่งเสริมให้บรรยากาศเหมาะสมที่จะลงทุนทางด้านนี้ เช่น ส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นต้น เมื่อมีสถานที่ที่สามารถดึงดูดความสนใจให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาท่อง เที่ยว อาชีพบริการก็จะเกิดขึ้นอีกหลายอาชีพ เช่น มีมัคคุเทศก์ มีการบริการอาหาร เครื่องดื่ม สถานที่พัก ขายของที่ระลึก
การพัฒนาตลาดแรงงาน
          แรงงานเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งของไทย ซึ่งนับวันจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ตลาดแรงงานของไทย สามารถแยกประเภทของแรงงานออกได้ ดังนี้
แรงงานที่ใช้ความรู้ความชำนาญพิเศษ
          แรงงานประเภทนี้จะต้องได้รับการฝึกอบรมมาเป็นระยะเวลานาน เช่น แพทย์ วิศวกร สถาปนิก เป็นต้น แรงงานประเภทนี้ยังขาดแคลน ไม่มีปัญหาในการว่างงาน รัฐบาลเร่งผลิตแรงงานประเภทนี้ เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอแก่ตลาดแรงงาน
แรงงานประเภทมีฝีมือ            
          แรงงานประเภทนี้ต้องผ่านการฝึกอบรมหรือมีประสบการณ์ในการทำงานมานานพอสมควร เช่น ช่างยนต์ ช่างไม้ ช่างปูน แรงงานประเภทนี้เริ่มมีปัญหา เพราะผู้มีฝีมือมีจำนวนมากขึ้นทำให้เกิดการจ้างทำงานมีอัตราค่าจ้างต่ำกว่า ความสามารถ หรือได้ทำงานที่ไม่ถนัด ไม่ตรงกับความสามารถจึงทำให้ไม่อาจทำงานได้อย่างเต็มที่ และมีประสิทธิภาพ แรงงานประเภทนี้รัฐบาลได้มีแผนในการที่จะผลิตเพิ่มขึ้นตามลำดับ และจะต้องหาทางส่งเสริมให้ได้ทำงานที่เหมาะสมกับความสามารถของแต่ละบุคคล
แรงงานไร้ฝีมือ              
          แรงงานประเภทนี้ไม่สู้มีปัญหาในอาชีพเกษตรกรรม แต่กำลังมีปัญหาทางด้านอุตสาหกรรม ไม่เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานเท่าที่ควร ส่วนมากจะเป็นแรงงานกรรมกร ใช้กำลังกายมากกว่ากำลังสมอง เช่น รับจ้าง แบกหาม ขุดดิน เป็นต้น พวกนี้ มักจะได้ค่าแรงต่ำ ไม่ค่อยพอแก่การครองชีพ มีความเป็นอยู่อย่างอัตคัดขัดสน       
          รัฐบาลกำลังเร่งรัดพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยจัดให้มีการฝึกอบรมวิชาชีพต่าง ๆ ในระยะสั้น เพื่อให้แรงงานไร้ฝีมือเป็นแรงงานที่มีฝีมือหรือกึ่งฝีมือ ส่งเสริมความสามารถและประสิทธิภาพในการทำงาน โดยหวังให้แรงงานเหล่านั้นเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานต่อไป
แรงงานประเภทปัญญาชน
          แรงงานประเภทนี้ได้แก่ผู้ที่จบการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ส่วนมากเป็นการศึกษาทางด้านสังคมศาสตร์มีความรู้และสติปัญญาสูง แต่ไม่ค่อยมีฝีมือในวิชาชีพ แรงงานประเภทนี้กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงานเพิ่มมากขึ้นทุกปี มีหน่วยงานที่จะรองรับของแรงงานประเภทนี้ก็คือภาครัฐบาล การรับราชการเป็นเป้าหมายหลักแต่การขยายอัตรากำลังของภาครัฐบาล เพิ่มได้ไม่เกินปีละ 2% จึงทำให้แรงงานประเภทนี้ไม่ค่อยมีทางไป จำนวนบัณฑิตว่างงานจึงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ           
          รัฐบาลจะแก้ปัญหาโดยส่งเสริมให้เอกชนเข้ามาช่วยกัน คือส่งเสริมให้มีการลงทุนในทุก ๆ ด้าน เพื่อให้หน่วยงานของเอกชนนั้นได้รับบัณฑิตในสาขาต่าง ๆ เข้าทำงานในหน่วยงานของตนบ้าง และในขณะเดียวกันจะต้องส่งเสริมให้บัณฑิตเหล่านั้น สามารถช่วยตนเองโดยคิดสร้างงานขึ้นมาเอง เช่น ทำธุรกิจ การค้าที่เริ่มจากทุนที่ไม่มากนัก เป็นต้น
การเตรียมตัวสู่ตลาดแรงงาน
วิธีการเตรียมตัวสู่แรงงานควรจะได้คำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
ฝีมือ
          ควรจะได้ฝึกฝนหาความรู้ในวิชาชีพให้มีความชำนาญด้านใดด้านหนึ่งพอสมควรเสีย ก่อน เพื่อจะได้เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานและจะได้ค่าแรงสูง
สถานที่หางาน
          การทำงานควรจะไปติดต่อกับหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบโดยตรง เช่น ที่กรมแรงงาน กระทรวงมหาดไทย หรือถ้าอยู่ต่างจังหวัดก็ติดต่อแรงงานจังหวัด นายอำเภอ เป็นต้น หากจะไปติดต่อกับหน่วยงานของเอกชนโดยตรงควรจะได้สังเกตและพิจารณาว่าเอกชน รายนั้น ๆ ได้รับอนุญาตเกี่ยวกับกิจการนั้น ๆ โดยถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการ ก็ไม่ควรตัดสินใจเข้าทำงานด้วย เพราะจะเกิดปัญหาตามมาในภายหลัง
ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายแรงงาน
          ไม่จำเป็นต้องรู้กฎหมายแรงงานอย่างละเอียดเหมือนนักกฎหมาย แต่ควรจะรู้หลักการใหญ่ ๆ อัน จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้แรงงาน เช่น ค่าจ้างขั้นต่ำ สิทธิในการเรียกร้อง สิทธิในการลา เป็นต้น
การพัฒนาผลผลิตและการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม
          การพัฒนาในด้านวิชาการสมัยใหม่หรือที่เรียกกันว่า เทคโนโลยีนั้นมีความจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้ทั้งในภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้เพื่อให้ต้นทุนในการผลิตลดลงและเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น เช่น ในด้านการเกษตร ควรจะใช้เครื่องทุ่นแรงเพื่อให้สามารถทำงานได้มาก และทันต่อเหตุการณ์ พิสูจน์ลักษณะของดิน เพื่อจะได้นำพืชที่เหมาะสมกับดินในท้องที่นั้นมาปลูก เป็นต้น ในด้านอุตสาหกรรม ควรจะได้นำเครื่องจักรกลมาใช้แทนแรงงานคน เพื่อให้เกิดความรวดเร็วและได้มาตรฐานจะทำให้สามารถผลิตสินค้าได้มากขึ้น และมีมาตรฐานเดียวกัน ทำให้ไม่ถูกกดราคา เป็นต้น
ภาวะดุลการค้าและการเงินของประเทศ
          นับตั้งแต่ประเทศไทยได้ใช้แผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศเป็นต้นมา จะเห็นได้ว่าเศรษฐกิจโดยส่วนรวมดีขึ้นพอสมควร แต่ก็มีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นเป็นระยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งดุลการค้ากับต่างประเทศประเทศไทยเสียเปรียบดุลการค้าตลอด มา เพิ่งจะเริ่มดีขึ้นในระยะตอนปลายของแผนพัฒนาที่ 5 (ปี 2525-2529) ดุลการค้าของไทยได้ลดการขาดดุลลงบ้าง แต่ก็ยังไม่ถึงกับได้เปรียบหรือแม้แต่เสมอดุลการค้า
          มูลเหตุที่ทำให้ไทยขาดดุลการค้าคือ สินค้าส่งออกของไทยที่เป็นสินค้าหลักได้แก่ ผลผลิตทางการเกษตร ซึ่งมีราคาต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าที่นำเข้าซึ่งเป็นสินค้าจำเป็น เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องจักรและอุปกรณ์ในการก่อสร้างถึงแม้ปัจจุบันประเทศไทยจะค้นพบแหล่ง แก๊สธรรมชาติ แต่ก็ยังนำขึ้นมาใช้ไม่เพียงพอแก่ความต้องการ จำเป็นต้องสั่งซื้อน้ำมันดิบจากต่างประเทศ และคงทำให้ไทยเสียเปรียบดุลการค้าต่อไปอีกระยะหนึ่ง
          สำหรับการเงินและการคลังของประเทศ แม้ว่าประเทศไทยจะประสบมรสุมทางการเงินจากหลาย ๆ ด้าน แต่รัฐบาลไทยก็สามารถรักษาเสถียรภาพการเงินการคลังของประเทศไว้ได้อย่างมั่น คง อัตราดุลการชำระเงินของประเทศอยู่ในสภาพเกินดุลมาโดยตลอด เป็นเหตุให้เศรษฐกิจในภาพรวมอยู่ในภาวะคล่องตัว อัตราเงินเฟ้ออยู่ในสภาพที่เหมาะสม เป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ
แนวโน้มในการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย
          การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยในอนาคตคาดว่าจะมีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้น โดยพิจารณาจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 ซึ่งเริ่มใช้ในปี 2530 และจะไปสิ้นสุดลงในปี 2534 ทำให้มั่นใจได้ว่า ในระยะ 5 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจโดยส่วนรวมของประเทศจะขยายตัวดีขึ้น และมีเสถียรภาพมั่นคงขึ้น รายได้ของประชาชนจะสูงขึ้น เฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ต่อปี ขณะที่เงินเฟ้อจะอยู่ในระดับต่ำถึงร้อยละ 2.3 และอัตราเพิ่มของประชากรจะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 1.3 ซึ่งจะเป็นผลดีทำให้รายได้เฉลี่ยต่อหัวเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5.5 ต่อปี การส่งสินค้าออกจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจะทำให้ขาดดุลการค้าลดน้อยลง และการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น อันจะช่วยรองรับแรงงานได้มากขึ้น ทั้งนี้เพราะรัฐบาลจะยึดแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 6 โดยสรุป ดังนี้
          1. เพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาประเทศ ทั้งในด้านทรัพยากรมนุษย์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนปรับปรุงระบบการบริหารและการจัดการ โดยยึดหลักการทำงานเป็นระบบและครบวงจร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทบทวนบทบาทของรัฐให้อยู่ในกรอบที่เป็นหน้าที่อันชอบ ธรรมของรัฐและคำนึงถึงความเหมาะสมกับขีดความสามารถและฐานะทางการเงินการคลัง เป็นสำคัญ โดยหันมาเพิ่มบทบาทของเอกชนให้มากขึ้นในการพัฒนาประเทศ ไม่เฉพาะแต่ในด้านการผลิตเท่านั้น แต่ให้รวมถึงการให้บริการพื้นฐานบางประการ ซึ่งเคยเป็นหน้าที่ของรัฐด้วย
          2. ปรับปรุงระบบการผลิต การตลาด และยกระดับคุณภาพปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ต้นทุนการผลิตสินค้าลดลง กระจายสินค้าให้มากขึ้นควบคู่ไปกับการขยายตลาด ซึ่งจะทำให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ดียิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะเน้นการพัฒนาระบบตลาดในประเทศไปพร้อม ๆ กัน
          3. มุ่งกระจายรายได้และความเจริญไปสู่ภูมิภาคและชนบทมากขึ้น โดยให้ยึดกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ทั้งในภูมิภาคและชนบท เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่ควรได้รับผลจากการพัฒนาประเทศ โดยแนวทางที่รัฐบาลกำหนดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 จึงคาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยส่วนรวมจะดีขึ้น
ดุลยภาพของตลาดแรงงาน
 
กรณี classic
สมมติฐาน
          1. แรงงานมี perfect foresight คือการคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำ เมื่อราคาเปลี่ยนแปลงไป แรงงานสามารถคาดคะเนราคาที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างถูกต้อง ΔPe=P ทำให้ ΔPe/P ไม่เปลี่ยนแปลง
          2. ไม่มีภาพลวงตาทางด้านการเงิน (money illusion)  แรงงานจะทำงานเพิ่มขึ้นหรือลดลง ขึ้นอยู่กับค่าจ้างที่แท้จริง (w) เท่านั้น  ถ้าราคาเปลี่ยนแปลงไปเท่าใดแรงงานตามความเชื่อของ classic จะสามารถปรับตัวได้
กำหนดให้ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น  (P↑)
          ส่งผลให้หน่วยผลิตต้องการผลกำไรมากขึ้นจึงขยายการผลิต ต้องการจำนวนแรงงานเพิ่มขึ้น (N↑) ทำให้อุปสงค์ของแรงงานเพิ่ม (DL) จาก W=P0.f(N) เป็น P1.f(N) และถ้าหาแรงงานไม่ได้จะเกิดอุปสงค์ส่วนเกิน ดังนั้นผู้ผลิตต้องเพิ่มอัตราค่าจ้างที่เป็นตัวเงินเพิ่มขึ้น (W↑) การเพิ่มขึ้นของของอัตราค่าจ้างที่เป็นตัวเงินจะเพิ่มขึ้นเท่า ๆ กับราคาที่เพิ่มขึ้นเพราะแรงงานสามารถคาดการณ์ได้ว่าราคาจะเพิ่มขึ้นเท่าใด จึงทำให้เส้น SL shift ไปทางซ้าย และผู้ผลิตจึงต้องเพิ่ม อัตราค่าจ้างที่เป็นตัวเงินเพื่อที่จะทำให้แรงงานกลับเข้ามาทำงานในจำนวนที่เท่าเดิม
          ราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ค่าจ้างที่เป็นตัวเงินเพิ่มขึ้นและ classic มีความเชื่อว่าจำนวนการจ้างงานขึ้นอยู่กับอัตราค่าจ้างที่แท้จริง (w=W/P)
ภาพ ก จะเห็นได้ว่าจุดดุลยภาพไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพราะการเพิ่มของราคา (Pe)และอัตราค่าจ้างที่เป็นตัวเงินเพิ่มขึ้นเท่ากันเพราะแรงงานสามารถคาด การณ์ การเพิ่มขึ้นของราคาได้อย่างชัดเจนแม่นยำ ส่งผลให้ค่าจ้างที่แท้จริงไม่เปลี่ยนแปลงด้วย
ดุลยภาพเมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้น
ภาพ ข เมื่อราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ผู้ผลิตต้องการผลิตสินค้าเพิ่ม จึงมีความต้องแรงงาน แต่ในกรณีของ classic แรงงานสามารถคาดการณ์การเพิ่มขึ้นของราคาได้อย่างแม่นยำ และไม่มีภาพลวงตาทางด้านการเงิน และผู้ผลิตจึงต้องเพิ่ม อัตราค่าจ้างที่เป็นตัวที่เงินเท่ากับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้จำนวนแรงงานไม่เปลี่ยนแปลง
Production Function
ภาพ ค production function   y=y(N,K) ผลผลิตที่แท้จริงขึ้นอยู่กับจำนวนการจ้างงานที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันโดย ที่ต้นทุนคงที่ดังนั้นเมื่อจำนวนของแรงงานไม่เปลี่ยนแปลงทำให้จำนวนผลผลิต (y) เท่าเดิม

ดุลยภาพเมื่อกำหนดให้ราคาสินค้าเปลี่ยนแปลง
ภาพ ง เส้น AS หรืออุปสงค์มวลรวมเมื่อกำหนดให้ราคาสินค้าเปลี่ยนแปลง โดยให้ราคาเพิ่มจะไม่ทำให้ผลผลิตที่แท้จริงเปลี่ยนแปลงเพราะจำนวนของแรงงาน ไม่เปลี่ยนแปลง เส้น AS จึงเป็นเส้นตรงขนานกับแกนตั้ง ซึ่งมี slope เป็นศูนย์ คือมีการจ้างงานเต็มที่แล้ว จำนวนผลผลิตไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้อีก ราคาจะเป็นตัวปรับในตลาดสินค้าตามความเชื่อของ classic แต่ไม่มีผลกระทบกับภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงคือไม่ทำให้ผลผลิตเพิ่มหรือจำนวนแรงงานเพิ่ม

ตลาดแรงงาน , แนวโน้มตลาดแรงงาน , ความต้องการของตลาดแรงงาน , การศึกษาตลาดแรงงาน , ความต้องการตลาดแรงงาน , บทวิเคราะห์ตลาดแรงงาน , วิจัยเรื่องตลาดแรงงาน , วิทยานิพนธ์เรื่องตลาดแรงงาน , ตลาดแรงงาน คือ

ที่มา ru.ac.th

อัพเดทล่าสุด