รวม ยาสมุนไพรรักษาโรคนิ่วในไต สมุนไพร สำหรับ สลาย โรคนิ่วในไต โดยเฉพาะ


10,197 ผู้ชม


สมุนไพรสลายนิ่วในไต ยาสมุนไพรรักษาโรคนิ่วในไต
ชา เป็นอะไรๆ ที่ใครก็รู้จักกันทั้งโลก ไม่ว่าชาติไหนๆ คำว่า ชาแท้ๆ เป็นชื่อพืชชนิดหนึ่ง มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Camellia sinensis หรือ Thea sinensis (syn.) อยู่ในวงศ์ Theaceae พืชชนิดนี้ น่าจะมีถิ่นกำเนิดมาจากจีน เมื่อเร็วๆ นี้ นักวิทยาศาสตร์ยังพบว่าชา ทั้งชาดำและชาเขียวมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง การดื่มชาเป็นประจำช่วยลดการมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ ได้ เช่น มะเร็งในกระเพาะอาหาร หลอดอาหาร ลำไส้เล็ก ปอด ผิวหนัง ลำไส้ใหญ่ ตับอ่อน และมะเร็งเต้านม
การชงชาแบบจีน เป็นเทคนิคการสกัดตัวยา ที่ทางเภสัชกรรมเรียกว่า defusion เป็นการสกัดสารที่เป็นตัวยาสำคัญ ด้วยน้ำร้อน ในช่วงเวลาสั้นๆ เพื่อไม่ให้สารที่ไม่พึงประสงค์ ถูกสกัดออกมา หรือเพื่อป้องกันไม่ให้สารที่ต้องการถูกทำลายด้วยความร้อนที่นานเกินไป รวมทั้งสามารถรักษากลิ่น รส ที่ต้องการของสมุนไพรชนิดนั้นๆ เอาไว้ได้ด้วย การชงชาแบบจีนจะเทน้ำร้อนในกาน้ำชาเล็กๆ ที่มีใบชาบรรจุอยู่ ทิ้งไว้ประมาณ 10-15 นาที แล้วจึงรินน้ำชาออกมาดื่ม กลิ่นชาจึงยังคงหอมกรุ่นละมุน ทั้งยังไม่มีสารที่ไม่พึงประสงค์ออกมา
สมุนไพรที่ใช้รูปแบบ ในการบริโภคเช่นเดียวกับชา เรามักจะเรียกชาสมุนไพร ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่น ที่ต้องการคงไว้ไม่ให้สูญเสียไปกับความร้อนที่มากเกินไป ผู้บริโภคที่นิยมบริโภคชาสมุนไพร นอกจากต้องการฤทธิ์ทางยาแล้ว ยังต้องการสัมผัสกลิ่นที่ละเมียดละไมจากสมุนไพรด้วย
ส่วนคุณค่าทางยาของชา สมุนไพรนั้น ขึ้นกับชนิดของชาสมุนไพร ไม่ใช่ว่าชาสมุนไพรทุกชนิด จะปลอดภัยในการบริโภค ตรงกันข้าม อาจจะเป็นอันตรายสำหรับบางคนได้ วิธีที่ดีที่สุดในการบริโภคชาสมุนไพรคือ ต้องเรียนรู้ข้อมูลของสมุนไพร ที่ใช้ในการบริโภคเป็นอย่างดีก่อนใช้ เพราะ สมุนไพรแต่ละชนิด มีข้อควรระวัง ขนาด และสรรพคุณต่างกัน ยิ่งเป็นสมุนไพรที่ใช้ในการรักษาโรคที่รุนแรง ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ
ชาสมุนไพรส่วนใหญ่ จะมีสรรพคุณในการบำรุงสุขภาพ ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลม หรือเพียงเพื่อเสพกลิ่นรส เช่น ชาใบเตย ชาใบตระไคร้ ชามะตูม มักจะดื่มได้เรื่อยๆ ไม่จำกัดปริมาณหรือเวลา ชาสมุนไพรที่มีขายในท้องตลาดส่วนใหญ่ มักจะเป็นชาประเภทนี้
เมื่อร่างกายเราเจ็บ ป่วย หลายๆ โรคเราอาจฟื้นตัวได้เอง โดยไม่ต้องกินยาเคมี จนร่างกายเราสูญเสียความสามารถในการสร้างภูมิคุ้มกันไป หรือเมื่อเราจะใช้ยาเราลองหายาที่มาจากธรรมชาติ ในการเยียวยาดูก่อน ชาสมุนไพรน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
สำหรับท่านที่ต้องการ ดื่มชา เพื่อความสุนทรีย์ และบำรุงสุขภาพก็นับเป็นอะไรที่ดีๆ ในชีวิตของคนเรา ที่ได้เชื่อมโยงชีวิตกับธรรมชาติ ผ่านกลิ่นรสที่หอมละมุนของชา ซึ่งบ้านเรามีชาสมุนไพรมากมาย ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ต่อร่างกาย

ชารางจืด กำจัดพิษ (Detoxifier and Body-cleanser)

ทำจากใบรางจืดอบแห้งมีกลิ่น ใบไม้แห้ง หอมอ่อนๆ เป็นธรรมชาติ ให้น้ำชาสีน้ำตาลออกเขียว มีสรรพคุณกำจัดพิษ แก้เมาค้าง บรรเทาอาการผื่นแพ้ และลดความร้อนในร่างกาย เหมาะกับเมืองไทยในขณะนี้ ที่ร้อนขึ้นเรื่อยๆ ชารางจืดไม่มีพิษดื่มเป็นประจำได้ทุกวัน

ชามะตูม บำรุงสุขภาพ (Tonic)

ทำจากผลมะตูมแก่ บดเป็นผง ให้น้ำชาสีแดงออกน้ำตาล มีกลิ่นหอมหวานชวนดื่ม ส่วนใหญ่จะแต่งรสด้วยน้ำตาล เพื่อให้ได้รสชาดที่ดีขึ้น มะตูมเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณบำรุงธาตุ แก้ร้อนใน เป็นยาอายุวัฒนะ

ชาขิง แก้หวัด และช่วยย่อย (Cold aid, digestive aid)

ทำจากเหง้าขิงแก่ ที่มีน้ำมันหอมระเหย มีสรรพคุณทางร้อน ช่วยบรรเทาหวัด แก้คลื่นไส้อาเจียน เมารถเมาเรือ ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืด คนเราถ้าระบบย่อยอาหารไม่ดีแล้ว ระบบอื่นก็จะพลอยรวนไปด้วย

ชากระเจี๊ยบ ขับปัสสาวะไขมันในเลือด(Diuretic,Lower blood cholestrol)

ทำจากฐานรองดอกของกระเจี๊ยบ แดง มีคุณสมบัติในการลดไขมันในเลือด ลดความดันโลหิตสูง แก้กระหายน้ำทำให้ชุ่มคอชื่นใจ ชากระเจี๊ยบมีสีแดง รสเปรี้ยวมักเติมน้ำตาลเพื่อแต่งรส

ชาตระไคร้ ขับลม ช่วยย่อย (Digestive aid,anticramp)

ทำจากต้นและใบตระไคร้อบให้ แห้งแล้วบด ตระไคร้มีกลิ่นหอม ช่วยย่อยอาหาร แก้ลมวิงเวียน แก้ปวดเกร็งในท้อง ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ และมีรายงานการทดลองพบว่า ตระไคร้มีคุณสมบัติต้านมะเร็งได้ด้วย

ชาใบเตย บำรุงหัวใจ ขับปัสสาวะ(Tonic, diuretic)

ทำจากใบเตยหอม อบ บดเป็นผง มีสีเขียวใบเตย มีกลิ่นหอมชื่นใจ ใบเตยมีคุณสมบัติขับปัสสาวะ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด ชาใบเตยจึงเหมาะกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง คนธรรมดาทั่วไปก็ดื่มได้ กลิ่นหอมของใบเตยชื่นใจ คลายเครียดได้ดีแท้

ชาชุมเห็ดเทศ ช่วยระบายท้อง (Laxative)

ได้จากใบชุมเห็ดเทศคั่วให้ แห้ง เพื่อลดการไซร็ท้อง แล้วบดเป็นผง ให้น้ำชาสีน้ำตาลมีกลิ่นหอมของใบไม้คั่ว มีสรรพคุณเป็นยาระบาย แต่หากดื่มเป็นประจำร่างกายก็อาจดื้อยาได้ ควรหาวิธีอื่นในการสร้างนิสัยการถ่ายให้เป็นประจำโดยวิธีอื่นด้วย

ชาใบฝรั่ง ดับกลิ่น ฆ่าเชื้อ (Deodorant & antiseptic, antidiarrhea)

ทำจากใบฝรั่งไทยอบให้แห้ง บดเป็นผง มีกลิ่นหอมชวนดื่ม มีคุณสมบัติดับกลิ่นปาก ฆ่าเชื้อในปากและคอ เหมาะที่จะรับประทานหลังอาหาร สามารถที่จะใช้ชาใบฝรั่งระงับอาการท้องเสีย (ในรายที่ไม่มีไข้) แต่ต้องชงอย่างเข้มข้นกว่าปกติ

ชาหญ้าหนวดแมว ขับปัสสาวะ (Diuretic)

ทำจากหญ้าหนวดแมวอบแห้ง บด มีรสคล้ายๆ ใบชา ชวนดื่ม มีคุณสมบัติขับปัสสาวะ
ขับนิ่วก้อนเล็กๆ มีคุณสมบัติขับกรดยูริค เหมาะกับคนที่เป็นต่อมลูกหมากโต คนที่เป็นนิ่วก้อนเล็กๆ ช่วยลดน้ำตาลในเลือด เหมาะกับคนที่เป็นโรคเบาหวาน มีโปแตสเซียมสูง ระวังการใช้กับคนที่เป็นโรคหัวใจ

ชาดอกคำฝอย ลดไขมันในเลือด (Lower blood cholesterol)

ได้จากดอกคำฝอยมีสีแดงชวน ดื่ม กลิ่นหอมชื่นใจ มีคุณสมบัติลดไขมันในเส้นเลือด ขับเหงื่อ เป็นยาระบายอ่อนๆ บำรุงเลือดสตรี ขับระดู ระงับอาการปวดในสตรีที่รอบเดือนไม่ปกติ
ตัวอย่างชา สมุนไพรที่กล่าวมา เป็นชาสมุนไพรไทย ที่มีขายในท้องตลาด ล้วนแต่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ สามารถดื่มได้ทุกวัน บ้านเรายังมีสมุนไพรมากมาย ที่สามารถพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบของชาสมุนไพรได้ เช่น เราสามารถทำชาในมะกรูด ชากระเพา จากก้นครัวของเรา มารับรองแขก แม้ไม่มีขาย เราเพียงแต่เอามะกรูดที่ใช้ไม่หมด ผึ่งลมจนแห้ง (ต้องผึ่งลม อย่าตากแดด เพราะกลิ่นและตัวยาจะหายไป) แล้วหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่โหลปิดสนิททิ้งไว้ เวลาจะใช้ก็เอามาชงต่างใบชา ใช้น้ำผึ้งแต่งรสเวลาดื่ม แค่นี้เราก็มีน้ำชารับรองแขกที่ไม่เหมือนใคร
ชาสมุนไพรจึงเป็นคุณ ค่าวัฒนธรรมของตะวันออก ที่แผ่กระจายไปทั่วโลก การดื่มชาสมุไพร ก็คือ การสานต่อวัฒนธรรมสุขภาพดั้งเดิม ทั้งยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพ เมื่อเปรียบเทียบกับน้ำอัดลมที่มีเพียงน้ำตาล คาเฟอีน และกลิ่นสังเคราะห์ แล้วอัดลมลงไป ชาสมุนไพรมีคุณค่ากว่าไหนๆ
ที่มา  advisor.anamai.moph.go.th

อัพเดทล่าสุด