เผย เหงือกบวมในเด็ก รายละเอียด วิธีบรรเทาอาการเหงือกบวมในเด็กเล็ก


14,756 ผู้ชม


เหงือกบวมในเด็ก - วิธีบรรเทาอาการเหงือกบวมในเด็กเล็ก

โครงสร้างและชนิดของฟัน 

โครงสร้าง

ภายนอก     ฟันแต่ละซี่เมื่อดูลักษณะภายนอกแบ่งเป็น     2   ส่วนคือ

       1.    ตัวฟัน   คือ  ส่วนของฟันที่ขึ้นมาพ้นกระดูกขากรรไกรและเหงือก  เป็นส่วนที่มองเห็นได้ภายนอกในช่องปาก

2.        รากฟัน  คือ  ส่วนขอบงฟันที่ฝังอยู่ขากรรไกรมีเยื่อปริทันต์ยึดติดอยู่กับกระดูก

ภายใน          ฟันประกอบด้วยชั้นต่าง  ๆ  เรียงลำดับจากส่วนนอกเข้าไป  ดังนี้

1.        เคลือบฟัน  เป็นส่วนที่แข็งแรงที่สุด

2.        เนื้อฟัน  มีความแข็งแรงใกล้เคียงกับกระดูก

3.        โพรงประสาทฟัน  อยู่ใจกลางของตัวฟัน

ชนิดของฟัน

ฟันคนเรามี   2   ชนิด  ได้แก่

1.        ฟันน้ำนม  มี  20  ซี่  ซี่แรกขึ้นเมือเด็กอายุประมาณ  6  เดือน และซี่ต่อๆมาจะขึ่นตามมาจนครบเมื่ออายุประมาณ 2.5 – 3 ปี

2.        ฟันแท้  มี  32  ซี่  ซี่แรกขึ้นเมื่อเด็กอายุประมาณ  6  ปี

รูปร่างและหน้าที่ของฟัน 

ฟันหน้า       เป็นฟันที่อยู่ทางด้านหน้าตรงกลาง  เป็นฟันบน  4  ซี่  เป็นฟันล่าง  4  ซี่  รูปร่างแบน  บาง มี 1 ราก  ใช้ตัดหรือกัดอาหาร ให้ความสวยงามและช่วยในการพูดออกเสียง

ฟันเขี้ยว      เป็นฟันที่อยู่ถัดไปตรงมุมปาก  ซ้าย – ขวา  บน – ล่าง  ตำแหน่งละ  1  ซี่  รวม  4  ซี่ ปลายฟันค่อนข้างแหลม  มีรากยาว  1  ราก  เป็นฟันที่แข็งแรงมาก  ใช้ฉีกอาหารและช่วยรักษามุมปากไม่ให้บุ๋ม

ฟันหลัง         เป็นฟันที่อยู่ถัดฟันเขี้ยวไปทางด้านหลังทั้งหมดแบ่งเป็น     ฟันกรามน้อย 

(ไม่มีฟันน้ำนม)  ซ้าย – ขวา  บน – ล่าง  ตำแหน่งละ  2  ซี่  มี  1 – 2  ราก  ทำหน้าที่ขบเคี้ยวอาหาร  ที่เหลืออีก  12  ซี่เป็นฟันกราม  (ในฟันน้ำนมมี  8  ซี่ )  ซ้าย – ขวา   บน – ล่าง   ตำแหน่งละ  3  ซี่  มี  2 – 3 ราก มีขนาดใหญ่ที่สุด  หน้าตัดกว้างใช้บดเคี้ยวอาหารให้ละเอียดก่อนกลืน  ช่วยให้กระเพาะอาหารไม่ทำงานหนักเกินไป

 

            เนื้อเยื่อที่เกี่ยวข้องกับฟัน

เหงือก 

-   เป็นเนื้อเยื่อที่อยู่ชิดกับบริเวณคอฟัน  คลุมอยู่บนกระดูกขากรรไกรที่รองรับฟัน  ป้องกันอันตรายต่ออวัยวะข้างใต้

-   เหงือกโดยปกติมีสีชมพูอ่อน  อาจมีสีคล้ำตามสีผิวของแต่บุคคล  เนื้อแน่น  ขอบเหงือกบางแนบ   และโค้งเว้าไปตามลักษณะคอฟันแต่ละซี่

-   เหงือกที่อยู่ระหว่างซอกฟันจะเป็นรูปสามเหลี่ยม  มียอดแหลมเต็มซอกฟัน

-   ระหว่างขอบเหงือกและตัวฟัน  ไม่ได้ติดกันสนิท  แต่จะมีร่องโดยรอบประมาณ  1 -  3  มิลลิเมตร  ซึ่งร่องนี้ถ้าทำความสะอาดไม่ดี  มีคราบจุลินทรีย์และหินน้ำลายสะสม  ก็จะทำให้เกิดการอักเสบของเหงือก  เกิดโรคปริทันต์  มีการทำลายของกระดูก  เหงือกร่น  ฟันโยกได้

เนื้อเยื่อปริทันต์ 

        ปกติแล้วมองไม่เห็นในช่องปาก   เพราะเป็นเนื้อเยื่อที่อยู่  ยืดหยุ่นได้เล็กน้อยจึงช่วยกระจายแรงบดเคี้ยวจากฟันไปยังกระดูกขากรรไกรได้

กระดูกขากรรไกร

                ประกอบด้วย  กระดูกขากรรไกรบนและล่าง  ซึ่งกระดูกขากรรไกรล่างจะมีความหนาแน่นทึบมากกว่า   กระดูกที่รากฟันฝังตัวอยู่เรียกว่า   กระดูกเบ้ารากฟัน    โดยกระดูกบริเวณนั้นจะโค้งเว้าไปตามรูปร่างของรากฟันแต่ละซี่   ถ้ากระดูกมีความสมบูรณ์แข็งแรง   ฟันจะยึดติดแน่นแต่ถ้าเมื่อใดมีการทำลายของกระดูกเกิดขึ้น   อาจเนื่องจากคราบจุลินทรีย์หรือโรคทางระบบ  เช่น  เบาหวาน   โรคเลือด  ฟันจะโยก  ปวด  บวม  ไม่สามารถทำหน้าที่ตามปกติได้

อวัยวะอื่น ๆ ในช่องปาก 

                ลิ้น    เป็นอวัยวะสำคัญอย่างยิ่งที่อยู่ใกล้ชิดกับฟัน  ลิ้นนอกจากจะทำหน้าที่ในการกวาด

รวบรวมอาหารส่งไม่ให้ฟันบดเคี้ยวได้สะดวกแล้วลิ้นยังช่วยในการพูดออกเสียง   เช่น     ฟ   ซ   และที่สำคัญคือ   ลิ้นสามารถรับความรู้สึก  รับสัมผัส  และรับรสอาหารได้ไว

ต่อมน้ำลาย

                ในกระบวนการบดเคี้ยว  ต่อมน้ำลายจะถูกกระตุ้นให้หลั่งน้ำลาย   เพื่อช่วยในการผสมอาหารให้มีความชื้น  นุ่ม  ลื่น  พร้อมสำหรับการกลืนและช่วยให้ความชุ่มชื้นแก่อวัยวะอื่น ๆ ในช่องปาก

เยื่อบุช่องปาก

                ได้แก่บริเวณผนังของกระพุ้งแก้ม  ริมฝีปาก  ซึ่งเป็นส่วนประกอบภายในช่องปากที่ช่วยในการบดเคี้ยว   และการทำงานของอวัยวะอื่น ๆ ในช่องปาก  ดังนั้นจึงเป็นส่วนที่ควรดูแลให้ความสำคัญให้อยู่สภาพปกติเสมอเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพ

คราบจุลินทรีย์คืออะไร

                คราบจุลินทรีย์เกิดจากการรวมตัวของเชื้อ   มิวแทนส์   สเตรปโคอคไค   กับโปรตีนใน

น้ำลาย  เกาะแน่นตามผิวเรียบของฟัน  จึงไม่สามารถกำจัดออกได้ด้วยการบ้วนปากในระยะแรก ๆ  จะเป็นแผ่นฟิล์มบาง  ๆ  สังเกตได้ยาก  เมื่อรวมตัวกันมาก ๆ จะรวมตัวกันเป็นคราบสีเหลืองๆ  มองเห็นด้วนตาเปล่าได้ชัดเจน   บริเวณที่พบได้มากคือ  ตามบริเวณคอฟัน  ซอกฟัน  หลุมร่องฟัน 

ชาวบ้านทั่วไปมักเรียกคราบจุลินทรีย์ว่า    ขี้ฟัน

คราบจุลินทรีย์ทำให้ฟันผุได้อย่างไร

                เชื้อจุลินทรีย์ในคราบจุลินทรีย์  คือ  ต้นเหตุของฟันผุเพราะขณะที่เชื้อจุลินทรีย์เปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นพลังจะปล่อยกรดออกมาทำให้ค่าความเป็นกรดด่างของสภาพแวดล้อมของฟัน  เปลี่ยนจากภาวะความเป็นกลาง  ( ค่า  pH= 7) กลายเป็นกรด  ( ค่า  pH= 5.5 – 4.5)  ทำให้ผลึกของแคลเซียมฟอสเฟตในผิวเคลือบฟันแตกตัวออกจากตัวฟันได้   เกิดภาวะการสูญเสียแร่ธาตุออกจากผิวเคลือบฟันอย่างช้า   ภาวะเช่นนี้จะเกิดราว   20 – 30  นาที  สภาพแวดล้อมของฟันจึงจะกลับสู่สภาวะปกติ  และเกิดการคืนกลับของแร่ธาตุจากน้ำลายสู่ตัวฟัน   เพื่อซ่อมแซมผิวฟันให้คืนสู่สภาพปกติได้ตามธรรมชาติ   แต่หากกินอาหารที่มีน้ำตาลบ่อย ๆ จุลินทรีย์จะสร้างกรดได้บ่อย  ทำให้การสูญเสียแร่ธาตุออกจากตัวฟันเกิดได้มากกว่ากระบวนการคืนกลับของแร่ธาตุ  ฟันจึงผุเป็นรู

 

โรคฟันผุ

                ภายหลังการกินอาหาร  เชื้อจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในคราบจุลินทรีย์บนตัวฟันจะเจริญเติบโตโดยใช้สารอาหารพวกแป้งและน้ำตาลที่ตกค้างอยู่ในปาก  ผลจากการย่อยสลายจะเกิดเป็นกรดไปกัดกร่อนฟันทำให้ฟันผุเป็นรูโดยเริ่มผุที่ชั้นเคลือบฟันแล้วลุกลามไปที่ชั้นเนื้อฟัน   และในที่สุดเมื่อผุถึงชั้นโพรงฟันก็จะเกิดอาการปวดฟัน

   ฟัน

สารอาหาร

ระยะเวลา

โรคฟันผุ

จุลินทรีย์รีย์

 

องค์ประกอบที่ทำให้เกิดโรคฟันผุ  4   ประการ  คือจุลินทรีย์    สารอาหาร  ฟัน  และระยะเวลาที่เหมาะสม   หากขาดองค์ประกอบหนึ่งแล้วก็จะไม่เกิดโรคฟัน

 

 

 

อาการและการรักษาโรคฟันผุ

ระยะที่  1   กรดเริ่มทำลายชั้นเคลือบฟัน   อาจเห็นเป็นรอยสีขาวขุ่นบริเวณที่เป็นผิวเรียบของฟัน   หรือตามหลุมร่องฟันมีสีเทาดำ   ยังไม่มีอาการ

การรักษา     โดยการอุดฟัน

ระยะที่  2    กรดกัดกร่อนลึกลงไปถึงชั้นเนื้อฟัน  มีสีเทาดำ  เห็นรูผุชัดเจนขึ้น  มีเศษอาหารติด  การผุชั้นนี้จะลุกลามเร็วกว่าระยะแรกเนื่องจากเนื้อฟันแข็งแรงน้อยกว่าชั้นเคลือบฟัน   จะเริ่มมีอาการเสียวฟัน  เมื่อถูกของร้อน  เย็นหรือหวานจัด

การรักษา     โดยการอุด

ระยะที่  3      ผุถึงโพรงประสาทฟัน  มีลักษะเป็นโพรงใหญ่สีดำ  มีการอักเสบของเนื้อเยื่อในโพรงฟันทำให้มีอาการปวดฟันรุนแรงอาจปวดตลอดเวลา  หรือปวดเป็นพัก ๆ   ถ้าทิ้งไว้นาน ๆ  การผุจะลุกลามจนเกิดหนองทำให้เหงือกบวม

การรักษา       1.  การถอนฟันออก

                       2.  กรรักษาครองรากฟันเพื่อเก็บฟันไว้  แล้วอุดฟันหรือคลอบฟัน

โรคเหงือกอักเสบ

ลักษณะทั่วไปของเหงือก

สี  เหงือกปกติ มีสีชมพู ในคนผิวดำอาจพบเหงือกสีเข้มได้

ขนาด   ขนาดของเหงือกขึ้นอยู่กับจำนวนรวมของเซลล์สารระหว่างเซลล์และเลือดที่มาเลี้ยง

รูปร่าง  รูปร่างของเหงือกสามเหลี่ยมระหว่างฟันจะขึ้นกับลักษณะรูปร่างของการเรียงตัวของฟัน

ลักษณะพื้นผิว  พบลักษณะผิวส้มที่บริเวณเหงือกยึดจะเห็นชัดเจนขึ้นเมื่อผิวเหงือกแห้ง

ความยืดหยุ่น  เหงือกมีลักษณะแน่น แข็ง และยืดหยุ่นยึดติดแน่นกับผิวฟัน

ร่องเหงือก  เหงือกสภาพปกติ  เมื่อเครื่องมือปริทันต์วัดจะมีความลึก0.5-3.0 มิลลิเมตร

สาเหตุของโรคเหงือกอักเสบ

            โรคเหงือกอักเสบจะมีสาเหตุมาจากแผ่นคราบจุลินทรีย์และระคายเคืองของหินน้ำลายหรือหินปูนซึ่งมีลักษณะแข็งและขรุขระ

                ลักษณะของโรคเหงือกอักเสบ

                โรคเหงือกอักเสบมีลักษณะบวมของเหงือก   เลือดออกง่าย  หากปล่อยทิ้งไว้  และไม่ทำการรักษาจะมีอาการรุนแรงมากขึ้นจนเกิดเป็นโรคปริทันต์ตามมา

                อาการโรคเหงือกอักเสบได้แบ่งออกเป็น    3   ระยะ  คือ

ระยะที่  1   เหงือกอักเสบเล็กน้อย มีลักษณะเหงือกบวมแดง    มีเลือดออกเล็กน้อยเวลาแปรงฟัน

         การรักษา     รักษาสุขภาพช่องปาก   และแปรงฟันให้ถูกวิธีร่วมกับการใช้ไหมขัดฟัน

ระยะที่  2      เหงือกอักเสบปานกลาง   เหงือกบวมแดง   และมีเลือดออกมากขึ้นกว่า

          การรักษา       ขูดหินน้ำลายและแปรงฟันให้ถูกวิธี

ระยะที่   3      เหงือกอักเสบรุนแรง   เหงือกจะมีลักษณะบวมแดงจัด   ยอดเหงือกสามเหลี่ยมเป็นกระเปาะหรือแอ่งขอบเหงือกร่นเป็นรอยแยก

             การรักษาขูดหินน้ำลายและการแปรงฟันที่ถูกวิธี

โรคปริทันต์อักเสบ

โรคปริทันต์อักเสบ มี 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 เหงือก อักเสบมีลักษณะบวมแดง เป็นมัน ซึ่งเป็นการลุกลามมาจากโรคเหงือกอักเสบแล้วไม่ได้รับการรักษา และมักพบว่ามีเลือดออกบริเวณคอฟัน อันเป็นอาการเริ่มแรกของโรคปริทันต์อักเสบ

ระยะที่ 2 โรคปริทันต์อักเสบระยะต้น เป็นระยะที่เริ่มมีการทำลายของกระดูกรองรับรากฟัน ฟันเริ่มโยกเล็กน้อย

ระยะที่ 3 โรคปริทันต์อักเสบระยะกลาง เป็นระยะที่ทำลายกระดูกรองรับรากฟัน ฟันโยก 

ระยะที่ 4 โรค ปริทันต์อักเสบระยะปลาย เป็นระยะที่มีการทำลายกระดูกรองงรับรากฟันจนเกือบหมดทั้งซี่ฟัน ทำให้เกิดฝีปลายราก มีอาการปวดร่วมด้วย ซึ่งอาจต้องถอนฟันหรือมีการรักษาที่ยุ่งยากขึ้น

การรักษา

การขูดหินน้ำลาย

การเกลารากฟัน

การถอนฟัน

การแปรงฟัน

การแปรงฟันที่ถูกวิธี

การแปรงฟันด้านใกล้แก้ม  วางปลายขนแปรงบริเวณขอบเหงือกทำมุม 45องศากับฟัน ขยับแปรงไปมาหลายๆครั้ง ก่อนปัดลง(สำหรับฟันบน) และปัดขึ้น(สำหรับฟันล่าง)พยายามแปรงฟันให้ทั่วทุกซี่ทุกด้าน

การแปรงฟันด้านใกล้ลิ้น กระทำเช่นเดียวกับการแปรงฟันด้านใกล้แก้ม

การแปรงฟันด้านบดเคี้ยว วางปลายขนแปรงให้ตั้งฉากกับด้านบดเคี้ยว กดเพียงเบาๆแล้วลากไปมาหลายๆครั้งบนฟันทุกซี่ทั้งฟันบนและฟันล่าง

การแปรงฟันหน้าด้านในทั้งบนและล่าง
วางตำแหน่งของแปรงไปทางยาว ให้ขนแปรงทางด้านหัวแปรงอยู่ตรง บริเวณขอบเหงือก และ ขยับขึ้น และลงหลายๆครั้ง

การใช้ไหมขัดฟัน

ที่มา  gotoknow.org

อัพเดทล่าสุด