สัญญาจ้างแรงงาน ตัวอย่างสัญญาจ้างแรงงานที่ถูกต้องและมีมาตราฐาน


2,891 ผู้ชม

สัญญาจ้างแรงงาน ตัวอย่างสัญญาจ้างแรงงานที่ถูกต้องและมีมาตราฐาน


สัญญาจ้างแรงงาน


-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

หนังสือสัญญาจ้างแรงงาน
เขียนที่……………………………………..
                                                                                      วันที่……………………………………………..
     หนังสือสัญญาฉบับนี้ทำขึ้นระหว่างบริษัท……………………………………………..จำกัด โดย
………………………………………….กรรมการผู้จัดการ สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่เลขที่………………….
ถนน……………………………แขวง………………………………..เขต……………………………………
กรุงเทพมหานคร  ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า  "นายจ้าง” ฝ่ายหนึ่ง กับ………………………………………
……………………………………………..อายุ…………ปี อยู่บ้านเลขที่………………หมู่ที่………………
ตรอก/ซอย……………………………ถนน…………………………………ตำบล……………………………
อำเภอ………………………….……….จังหวัด………………………………. ซึ่งต่อไปในสัญญานี้เรียกว่า
"ลูกจ้าง” อีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงทำสัญญานี้ไว้ต่อกัน ดังมีข้อความต่อไปนี้ คือ:-
     ข้อ 1.  นายจ้างตกลงว่าจ้างและลูกจ้างตกลงรับจ้างทำงานในตำแหน่ง………………………………
……………………………. ณ สถานที่ทำการของนายจ้างในประเทศ ก. มีกำหนดเวลา…………………..เดือน
โดยลูกจ้างจะเข้าทำงานตั้งแต่ วันที่………………………………….จนถึงวันที่………………………………..
และนายจ้างขอสงวนสิทธิ์ที่จะย้ายลูกจ้างไปทำงานในตำแหน่งอื่นหรือในแผนกใด ๆ ของนายจ้างได้ตามที่
เห็นสมควร
     ข้อ 2.  นายจ้างตกลงว่า ให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงานในระยะเวลา 3 เดือนนับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงาน
และนายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ในระหว่างระยะเวลาการทดลองปฏิบัติงานนี้  เมื่อนายจ้างได้พิจารณาเห็นว่า
ลูกจ้างไม่พยายามปฏิบัติตามข้อตกลงในหนังสือสัญญาฉบับนี้ หรือละเมิดต่อข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานโดยลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าจ้าง เฉพาะงวดรายเดือนที่จ่ายแล้วเท่านั้น  แต่ลูกจ้างไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าจ้างส่วนที่เหลือตามสัญญานี้และเงิน ค่าชดเชยหรือค่าตอบแทนใด ๆ เนื่องจากเลิกจ้างแต่อย่างใด  เมื่อลูกจ้างทำงานครบกำหนดระยะเวลาทดลองปฏิบัติงานดังกล่าวข้างต้นแล้ว  และนายจ้างประสงค์จะจ้างลูกจ้างนั้นต่อไปจนครบกำหนดตามสัญญานี้  ให้นายจ้างแจ้งให้ลูกจ้างทราบเป็นลายลักษณ์อักษร 
      ข้อ 3.  นายจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างรวมเป็นเงินทั้งสิ้น………………………………….บาท
(………………………………………………….) โดยแบ่งจ่ายเป็นงวดรายเดือน ๆ ละ …………………..บาท
(………………………………………………….) รวมทั้งสิ้น 8 งวด โดยนายจ้างจะหักภาษีเงินได้ไว้ทุกคราวที่
จ่ายค่าจ้างและค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับหลังจากหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้วนั้น  ให้ถือว่าเป็นจำนวนค่าจ้างเต็มที่ลูกจ้าง
มีสิทธิได้รับตามสัญญานี้
     ข้อ 4.  นายจ้างตกลงว่า ถ้างานที่ทำสำเร็จบริบูรณ์เป็นไปตามสัญญาระหว่างนายจ้างและผู้ว่าจ้าง
และผู้ว่าจ้างนั้นได้รับมอบงานจากนายจ้างเรียบร้อยแล้ว  ก่อนระยะเวลาที่กำหนดตามข้อ 1.  นายจ้างยินดีที่จะ
จ่ายค่าจ้างที่เหลือทั้งหมดให้แก่ลูกจ้างทันที  โดยลูกจ้างมิต้องทำงานต่อไปจนครบกำหนดสัญญา  และลูกจ้าง
ตกลงว่า ถ้างานที่ทำสำเร็จสมบูรณ์ล่าช้ากว่าระยะเวลาที่กำหนดตามข้อ 1.  ลูกจ้างยินดีทำงานต่อไปจนถึงวันที่
งานทำสำเร็จบริบูรณ์เป็นไปตามสัญญาระหว่างนายจ้างและผู้ว่าจ้างทุกประการ  โดยลูกจ้างจะไม่เรียกร้องค่าจ้าง
ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด หรือค่าตอบแทนใด ๆ จากนายจ้างแต่อย่างใด
     ข้อ 5.  นายจ้างตกลงจ่ายค่าจ้างแต่ละงวดตามข้อ 3.  ให้แก่ลูกจ้างตามอัตราดังต่อไปนี้  คือ.
          5.1 ร้อยละ………………………….ของยอดเงินแต่ละงวดหลังจากหักภาษี ณ ที่จ่าย จะจ่าย
ให้แก่ลูกจ้างโดยตรง ณ สถานที่ทำงานของลูกจ้าง ในวันทำงานสุดท้ายของเดือน
          5.2 ร้อยละ………………………….ของยอดเงินแต่ละงวดหลังจากหักภาษี ณ ที่จ่าย จะจ่าย
ให้แก่ตัวแทนของลูกจ้างในประเทศไทย ณ สถานที่ทำการของนายจ้างในวันทำงานสุดท้ายของเดือน
          5.3 ร้อยละ………………………….ของยอดเงินแต่ละงวดหลังจากหักภาษี ณ ที่จ่าย นายจ้าง
จะหักไว้เป็นเงินสะสมของลูกจ้าง และจะจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยเรียบร้อย
โดยลูกจ้างไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องดอกเบี้ยในเงินสะสมดังกล่าวแต่อย่างใด
     ข้อ 6.  นอกเหนือจากค่าจ้างที่กำหนดไว้ใน ข้อ 3. ดังกล่าวข้างต้นแล้ว  นายจ้างตกลงกำหนดโบนัส
ไว้เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น……………………..บาท (…………………………………………………………)
เพื่อแบ่งเฉลี่ยจ่ายให้แก่ลูกจ้างทุกคนที่เดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยหลังจากทำงานสำเร็จบริบูรณ์เป็นไป
ตามสัญญานี้แล้ว  สำหรับจำนวนเงินโบนัสที่ลูกจ้างแต่ละคนมีสิทธิได้รับจากยอดเงินจำนวนดังกล่าว  นายจ้าง
จะเป็นผู้พิจารณากำหนดตามความเหมาะสมและตามเห็นชอบของหัวหน้างาน
     ข้อ 7.  นอกเหนือจากค่าจ้างและเงินโบนัสที่กำหนดในข้อ 3. และ 6. ดังกล่าวข้างต้นแล้ว นายจ้าง
จะจัดสวัสดิการในด้านต่าง ๆ เช่น การเอาประกันชีวิตสำหรับการเดินทางและระหว่างการทำงานไว้กับบริษัท
ประกันภัย  โดยให้ลูกจ้างเป็นผู้รับประโยชน์จากสัญญาประกันการจ่ายค่ารักษาพยาบาล  โดยยึดถืออำนาจการคุ้มครองของประกันชีวิต  การจัดที่พักอาศัยและอาหารสำหรับลูกจ้าง  การจัดพาหนะรับส่งระหว่างเวลาทำงาน  การจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทนต่อสำนักงานกองทุนเงินทดแทนตามที่กฎหมาย กำหนด เพื่อเป็นทุนให้มีการจ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง  ตลอดจนการจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการเดินทาง รวมทั้งการจัดสวัสดิการอื่น ๆ ตามที่นายจ้างเห็นสมควร  โดยนายจ้างจะประกาศให้ลูกจ้างทราบเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นคราว ๆ ไป
     ข้อ 8.  ในกรณีที่งานที่ทำต้องหยุดชะงักชั่วคราวก็ดี หรือไม่สามารถทำต่อไปได้เพราะเหตุสุดวิสัย
ก็ดี  หรือเกิดภาวะสงครามหรือความไม่สงบขึ้นในประเทศ ก. ก็ดี  ซึ่งมิใช่เป็นความผิดของนายจ้าง ๆ ไม่ต้อง
รับผิดในการจ่ายค่าจ้างสำหรับช่วงระยะเวลาที่ต้องหยุดงานไปเพราะเหตุดัง กล่าว  แต่นายจ้างจะต้องจัดสวัสดิการทางด้านที่พักอาศัยและอาหาร การรักษาพยาบาลและสวัสดิการอื่น ๆ ที่จำเป็นให้ลูกจ้าง  สำหรับช่วงระยะ
เวลาที่ต้องหยุดงานไปเพราะเหตุดังกล่าว
     ข้อ 9.  ลูกจ้างสัญญาว่าจะเชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งของหัวหน้างานหรือผู้จัดการ และจะปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง ทั้งที่ได้บัญญัติไว้แล้วในขณะนี้หรือจะได้บัญญัติขึ้นต่อไปในภายหน้าด้วย และนายจ้างและลูกจ้างตกลงให้ถือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานดังกล่าวเป็นส่วน หนึ่งของสัญญานี้ หากมีบทบัญญัติใด ๆ ขัดหรือแย้งกับหนังสือสัญญาฉบับนี้ ให้นำเอาบทบัญญัติของสัญญานี้มาใช้บังคับ
     ข้อ 10.  ลูกจ้างจะต้องปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวังเท่าที่จำเป็น เพื่อป้องกันความเสียหายอันอาจจะพึงมีขึ้น และจะต้องใช้ความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยต่อร่างกายและทรัพย์สินของบุคคล อื่น โดยลูกจ้างจะต้องรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ได้กระทำต่อนายจ้างหรือบุคคลอื่นใด
     ข้อ 11.  ลูกจ้างจะต้องปฏิบัติและรับผิดชอบตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากรกฎหมายแรงงานและ กฎหมายอื่น ๆ ทั้งของประเทศไทยและประเทศ ก. และลูกจ้างสัญญาว่าจะไม่กระทำการใด ๆ อันเป็นการเปิดเผยความลับหรือสิ่งปกปิดใด ๆ ของนายจ้างโดยเด็ดขาด ซึ่งลูกจ้างได้รับทราบเนื่องจากปฏิบัติงานหรือได้ค้นพบในระหว่างระยะเวลาการ จ้าง เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากนายจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร
     ข้อ 12.  เมื่อสัญญานี้สิ้นสุดลงไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตาม ลูกจ้างจะต้องส่งคืนซึ่งยานพาหนะ เครื่องมือ
อุปกรณ์ แบบพิมพ์ คู่มือ บันทึก รายงานวัสดุอื่น ๆ  อันเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของนายจ้างและที่อยู่ภายใต้
การควบคุมดูแลของลูกจ้างให้แก่นายจ้างโดยพลัน
     ข้อ 13.  คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายยินยอมให้คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดใช้สิทธิใด ๆ ที่จะพึงมีตามสัญญานี้
เพื่อระงับข้อพิพาทโดยสำนักงานแรงงานไทยในประเทศอีรัก ซึ่งเกี่ยวพันกับสิทธิของคู่สัญญาฝ่ายนั้น หรือ
ระงับข้อพิพาทเกี่ยวพันกับงานที่ทำภายใต้สัญญานี้  ในกรณีที่ไม่มีสำนักงานแรงงานไทยในประเทศนั้น ให้
ระงับข้อพิพาทดังกล่าวโดยสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยแล้วแต่กรณี
   ข้อ 14.  เว้นแต่ข้อความในสัญญานี้จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดไม่ปฏิบัติ
ตามหนังสือสัญญาฉบับนี้ หรือปฏิบัติผิดสัญญาข้อหนึ่งข้อใดแห่งสัญญานี้ก็ดี  คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิบอก
เลิกสัญญาได้ทันที  ทั้งนี้ต้องบอกกล่าวให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน
     หนังสือสัญญานี้ทำขึ้นเป็นสามฉบับ ซึ่งต่างมีข้อความถูกต้องตรงกันทุกประการสำหรับเจ้าพนักงาน
เจ้าหน้าที่กรมแรงงานหนึ่งฉบับ  นายจ้างและลูกจ้างถือไว้ฝ่ายละฉบับ  คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายได้อ่านและเข้าใจ
ข้อความแห่งสัญญานี้โดยตลอดแล้ว  จึงได้ลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญต่อหน้าพยาน

ลงชื่อ………………………………………..ผู้ว่าจ้าง               
       (…………………………………………..)         
                     กรรมการผู้จัดการ        

ลงชื่อ………………………………………..พยาน
       (……………………………………..…..)


ลงชื่อ……………………………………….ผู้ว่าจ้าง   
       (..………………………………………..) 


ลงชื่อ………………………………………..พยาน        
        (………………………………………..)

-------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

สัญญาจ้างแรงงาน , สัญญาจ้างแรงงาน employment contract , ตัวอย่างสัญญาจ้างแรงงาน , แบบฟอร์มสัญญาจ้างแรงงาน , หนังสือสัญญาจ้างแรงงาน , แบบสัญญาจ้างแรงงาน , ตัวอย่างสัญญาจ้างแรงงานที่ถูกต้อง , ตัวอย่างสัญญาจ้างแรงงานที่มีมาตรฐาน

ที่มา buncheesme.com

อัพเดทล่าสุด