อาการที่ต้องรักษารากฟัน |
รักษาคลองรากฟันสำคัญไฉน? |
ฟันประกอบไปด้วย ตัวฟัน ซึ่งเป็นส่วนที่มองเห็นในช่องปาก และรากฟัน ซึ่งเป็นส่วนที่ฝังตัวในเหงือกและกระดูกขากรรไกร ส่วนของตัวฟันจะมีโพรงอยู่ข้างใน เรียกว่าโพรงเนื้อเยื่อในฟัน ซึ่งเชื่อมต่อกับโพรงในรากฟันที่เรียกว่า คลองรากฟัน |
 |  |
โพรง ในตัวฟันและคลองรากฟันมีเนื้อเยื่อ ซึ่งประกอบด้วย เซลล์ต่างๆ เส้นประสาท และเส้นเลือด เนื้อเยื่อนี้มีความสำคัญในการรับความรู้สึก การต่อสู้กับเชื้อโรค การเจริญของฟัน และการสร้างเนื้อฟันใหม่มาทดแทน |
 |   |
อาการของฟันที่อาจต้องรับการรักษาคลองรากฟัน |
ปกติ เนื้อเยื่อในโพรงฟัน สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคและต้านทานการอักเสบที่ไม่รุนแรงได้ แต่เมื่อการอักเสบหรือการติดเชื้อรุนแรงขึ้น เช่น กรณีที่ฟันผุลึกมาก ฟันถูกกระแทกแรงๆจากอุบัติเหตุ ฟันที่แตกหักไปจนทะลุเข้าไปในโพรงฟัน เนื้อเยื่อในโพรงฟันก็จะถูกทำลาย และเน่าตายไปในที่สุด |
 |  |
 | อาการ แสดงเมื่อเนื้อเยื่อในโพรงฟันมีการอักเสบ มักเริ่มด้วยอาการเสียวฟันจากการดื่มน้ำเย็น น้ำร้อน จากนั้นการปวดอาจเกิดขึ้นเองแม้ไม่มีสิ่งกระตุ้น อาการเหล่านี้อาจเป็น ๆ หาย ๆ หรือ บางครั้งอาจปวดรุนแรงจนนอนไม่ได้ สีของฟันอาจคล้ำลง (ลูกศรด้านล่าง) อย่างไรก็ตามบางครั้งอาจไม่มีอาการแสดงใด ๆ เลยก็ได้ |
 | การปล่อย ฟันที่เป็นโรคทิ้งไว้นาน ๆ ยังทำให้เชื้อโรคออกไปทำลายกระดูกรอบ ๆ ฟัน ซึ่งทำให้เกิดอาการเคี้ยวเจ็บ หรือ เกิดตุ่มหนองทั้งภายในช่องปาก หรือบริเวณใบหน้า ในกรณีที่กระดูกรองรับฟันถูกทำลายไปเป็นจำนวนมากอาจทำให้ไม่สามารถเก็บรักษา ฟันไว้ได้ |
ทำไม จึงจำเป็นต้องรักษาคลองรากฟัน? |
เนื่อง จากฟันมีหน้าที่รักษาโครงรูปร่างของกระดูกที่รองรับฟันโดยรอบ ดังนั้นถ้าฟันถูกถอนออกไป กระดูกบริเวณนั้นจะเกิดการยุบตัวลงไปด้วย ทำให้เมื่อทำฟันปลอมจะไม่สวยเหมือนฟันธรรมชาติ การบดเคี้ยวด้อยประสิทธิภาพลง |
 | ถ้าฟัน ถูกถอนไปนาน ๆ โดยไม่มีการใส่ฟันปลอมทดแทน ฟันที่อยู่ข้างเคียงซี่ที่ถอนไปจะเกิดล้มเอียง ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟัน ซึ่งทำให้เศษอาหารติด และอาจมีโรคเหงือกอักเสบตามมา |
 | ฟันคู่สบ ของฟันที่ถูกถอนไป ก็สามารถยื่นเข้ามาในบริเวณของฟันที่ถูกถอนไป ทำให้มีระดับของฟันไม่สม่ำเสมอ กรณีที่ฟันยื่นลงมามากจนไปกัด ทำให้สันเหงือกอักเสบอาจต้องพิจารณาถอนฟันที่ยื่นยาวนั้นออกไปด้วย |
ผล เสียอื่น ๆ ของการถอนฟันออกไปได้แก่ การเคี้ยวอาหารเพียงข้างเดียว หรือมีการเคี้ยวเฉพาะบริเวณที่มีฟันอยู่ครบ อาจทำให้เกิดการสึกของฟัน หรือเกิดอาการปวดของกล้ามเนื้อบดเคี้ยว และข้อต่อขากรรไกรได้ |
การรักษา คลองรากฟัน |
การรักษาคลองรากฟันเป็นการกำจัดเนื้อเยื่อในโพรงฟันที่อักเสบ หรือเป็นหนองออกทำให้อาการเจ็บปวดหายไป แล้วยังมีฟันไว้ใช้งานได้ตามปกติ ทันตแพทย์จะทำการตรวจในช่องปาก และเอ็กซเรย์ฟันเพื่อวินิจฉัยและวางแผนการ |
ขั้นตอนในการรักษาคลองรากฟัน |
ทันตแพทย์ จะทำความสะอาดโพรงฟันให้ปลอดเชื้อ ด้วยเครื่องมือเล็ก ๆ ร่วมกับน้ำยาคลองรากฟัน และการใส่ยาฆ่าเชื้อในคลองรากฟัน การรักษาปกติใช้เวลา 2-3 ครั้ง แต่ในบางกรณี สามารถทำให้เสร็จในครั้งเดียวได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของฟันแต่ละซี่ เมื่อคลองรากฟันสะอาดปราศจากเชื้อโรคแล้ว ทันตแพทย์จะอุดคลองรากฟันให้แน่นด้วยวัสดุอุดคลองรากฟันและซีเมนต์เพื่อ ป้องกันไม่ให้มีการรั่วซึมของเชี้อโรคไปยังปลายราก ฟันที่ได้รับการรักษาเรียบร้อยแล้ว ควรได้รับการตรวจเช็คเป็นระยะ เพื่อให้แน่ใจว่า รอยโรคบริเวณรอบรากฟันหายเป็นปกติ โดยทั่วไปร่างกายของเราจะสร้างกระดูกใหม่ขึ้นมาทดแทนกระดูกเก่าที่ถูกทำลาย ไปจากการติดเชื้อ |
ฟันที่รักษารากฟันแล้ว ควรบูรณะอย่างไร |
ฟันที่บูรณะด้วยแกน (post) และ ครอบฟัน (crown) แล้ว | ฟันส่วน ใหญ่ที่ต้องรักษาคลองรากฟัน มักมีรอยผุใหญ่และเหลือเนื้อฟันน้อย จึงหักได้ง่ายควรพยายามหลีกเลี่ยงการใช้งานระหว่างการรักษาคลองรากฟัน และควรรีบรับการบูรณะด้วย วัสดุถาวรเพื่อปิดกั้นช่องทางที่เชื้อโรคจะลงไปสู่ปลายรากและป้องกันไม่ให้ฟันแตกหักได้ง่าย ในฟันหน้า ถ้ามีเนื้อฟันเหลืออยู่มาก สามารถอุดฟันด้วยวัสดุอุดถาวรตามปกติ แต่ถ้ามีเนื้อฟันเหลือน้อย อาจต้องใช้เดือยยึดในรากฟันก่อน จึงจะทำครอบฟันได้ ในฟันหลัง แนะนำให้ทำการบูรณะในรูปแบบที่มีการคลุมด้านบดเคี้ยวของตัวฟันทั้งหมด และอาจต้องใช้เดือย ร่วมด้วย ในกรณีที่มีเนื้อฟันเหลือน้อยเช่นกัน การบูรณะฟันให้เหมาะสมจะทำให้ฟันที่รักษารากอยู่ได้ยืนยาวเท่าฟันธรรมชาติ |
| |