สิทธิประกันสังคม ที่คนทำงานคนรู้ไว้


1,704 ผู้ชม

หากคุณเป็นมนุษย์กินเงินเดือนคนหนึ่ง คงปฏิเสธไม่ได้ว่าในยุคที่ฝืดเคืองด้านสวัสดิ การเฉกเช่นปัจจุบัน


ประกันสังคม สิทธิที่ควรรู้

สิทธิประกันสังคม ที่คนทำงานคนรู้ไว้

สิทธิประกันสังคม ที่คนทำงานคนรู้ไว้

หากคุณ เป็นมนุษย์ กินเงินเดือน คนหนึ่ง คงปฏิเสธ ไม่ได้ว่า ในยุค ที่ฝืดเคือง ด้าน สวัสดิ การ เฉกเช่น ปัจจุบัน การเข้าเป็น ผู้ประกันตน กับสำนักงาน "ประกันสังคม" ของคน ทำงาน ในวันนี้ ไม่ใช่ เรื่องที่จะ ถูกดูแคลน หรือจัดเป็น "บุคคลชั้นสอง" ในสังคมอีกต่อไป

นั่นเป็น เพราะว่า ในวันนี้ สิทธิ ประโยชน์ จากการ ประกัน สังคม ที่คนทำงาน เช่นเราๆ ได้รับ ได้เพิ่มขึ้น มากมายทีเดียว

ลองหัน กลับมา ดูกัน สิว่า สำนักงาน ประกัน สังคม ให้สิทธิ ประโยชน์ อะไร อย่างไร กันบ้าง ในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมา สำนักงาน ประกัน สังคม ได้ทะยอย ประกาศ ประโยชน์ ทดแทน ออกมา ค่อนข้างมาก และ มีส่วน ปลีกย่อย อีกมากมาย ที่คนทำงาน จำนวนมาก ตกหล่น ทำให้ ไม่ได้รับรู้ อาจจะเป็น เพราะไม่ได้ ใส่ใจ หรือ ไม่มีเวลา เพียงพอ ที่จะติดตาม ข่าวสาร ก็ตามแต่

โดยรวม ของผล ประโยชน์ ทดแทน หรือ ประโยชน์ ที่ผู้ ประกันตน จะได้รับ หรือเป็น ที่รู้ ๆ กัน อยู่แล้ว แยก ออกเป็น 7 ประเภทหลัก ด้วยกันคือ ประโยชน์ จากการ ประสบ อุบัติเหตุ หรือ เจ็บป่วย, การคลอดบุตร,การตาย,ทุพพลภาพ,สงเคราะห์ บุตร,ชราภาพ และ การว่างงาน ซึ่งในกรณี หลังนี้ สำนักงาน ประกัน สังคม ยังไม่ บังคับ ใช้ใน ปัจจุบัน

ในส่วน ของการ จ่ายเงิน สมทบ เข้ากองทุน ประกัน สังคม รวมทั้ง 6 ประเภท นั้น สืบเนื่องจาก ในภาวะ วิกฤติ เศรษฐกิจ คนทำงาน ต้องแบกรับ ภาระ ค่าใช้จ่าย ค่อนข้างมาก ช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา สำนักงาน ประกัน สังคม จึงได้ ลดหย่อน ให้ผู้ ประกันตน จ่ายเงิน สมทบ แต่ละ ประเภท ลดลง โดยปีนี้ การจ่ายเงิน เข้าสมทบ กองทุน ประกัน สังคม กรณีเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ และเสียชีวิต ผู้ประกันตน ยังคง จ่ายเงิน สมทบ อัตรา 2% ของค่าจ้าง แต่จะเก็บ เพิ่มขึ้น ในปีหน้า เป็น 3%

ขณะเดียวกัน ผู้ประกันตน จะต้องจ่ายเงิน สมทบ ในส่วนของ สงเคราะห์บุตร และชราภาพ ปีนี้ 1% แต่ใน ปีหน้า จะเพิ่มเป็น 1.5 % รวมกับ เงินสมทบ ที่ผู้ ประกันตน จะต้องจ่าย 4 ประเภทแรก ในปีหน้า ทั้งสิ้น 4.5% ของค่าจ้าง

สมมติว่า คุณมีบุตร 1 คน และมีเงินเดือน 10,000 บาท ต่อเดือน และ ส่งเงิน เข้าสู่ กองทุน 6 ประเภท ในปีหน้า ก็จะ ถูกหัก เข้ากองทุนไป 450 บาท แต่คุณ จะได้รับ ประโยชน์ ทดแทนแน่ ๆ จากเงิน สงเคราะห์บุตร 150 บาท ต่อเดือน กลับคืน คุณจ่าย สมทบเพียง 300 บาท ต่อเดือน เงินส่วน ลดนี้ อาจจะ ไม่มาก แต่ก็ช่วย ลดภาระ จ่ายค่าน้ำ ค่าไฟ ในบ้าน ได้บ้าง

นี่ยัง ไม่รวม ถึงที่คุณ จะได้ จากการ รับประโยชน์ ทดแทน การเจ็บป่วย อุบัติเหตุ ทุพพลภาพ กระทั่ง สงเคราะห์ ชราภาพ ยามที่ คุณเกษียณ อายุอีกด้วย อาจเป็น ตัวเลข การจ่ายเงิน สมทบ ที่เพิ่มขึ้น มาบ้าง แต่สิ่ง ที่คุณ จะได้รับ ความคุ้มครอง ก็ใช่ว่า จะน้อย นิดเสีย ทีเดียว โดยเฉพาะ ในยาม ที่เศรษฐกิจ ยังไม่ กระเตื้อง ขึ้นเท่า ที่ควร เช่นนี้

แต่สิ่งที่ "คุณ" มนุษย์เงินเดือน ควรให้ ความใส่ใจ ก็คือ ควรจะ ติดตาม ข่าวความ เคลื่อนไหว ของกองทุน ประกัน สังคม ตลอดเวลา เพราะนั่น คือ ผลประโยชน์ ของตัว คุณเอง โดยตรง และ ในปัจจุบัน สำนักงาน ประกัน สังคม ก็ได้ พยายาม ขยายความ คุ้มครอง ให้กับ ผู้ประกัน ตนได้ ค่อนข้าง ครอบคลุม ตลอดจน การประชา สัมพันธ์ ข่าวสาร ให้ผู้ประกัน ตนทราบ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ กองทุน เป็นสวัสดิการ เข้าถึง ชีวิต ประจำวัน ของคน ทำงาน มากที่สุด

นอกเหนือ จากการ คุ้มครอง ให้กับ ผู้ประกันตน ที่เป็น ลูกจ้าง บริษัทแล้ว คนที่ ออกจากงาน หรือสิ้น สภาพ การเป็น ลูกจ้าง ก็ยัง สามารถ เข้าสู่ ระบบ ประกัน สังคม ต่อได้อีกด้วย โดยขอยื่นเรื่อง เป็นผู้ ประกันตน และ ขอจ่ายเงิน สมทบเอง ตามมาตรา 39

"ข่าวดี" จากประกัน สังคม ที่ประกาศ ออกมา เมื่อเร็ว ๆ นี้ ก็คือ การขยาย ความคุ้มครอง ให้กับ ลูกจ้าง ที่อยู่ ในสถาน ประกอบการ ต่ำกว่า 10 คน สามารถ เข้าสู่ ระบบ ประกัน สังคมได้ คาดว่า จะนำมา ใช้ได้ราว ๆ เดือน เมษายน ปีหน้า นับว่า ประโยชน์ ของกองทุน ประกัน สังคม สามารถ ครอบคลุม ถึงคนทุกชั้น ทุกระดับ มากขึ้น นับตั้งแต่เกิด แก่ เจ็บและตาย เลยทีเดียว

ทีนี้เรา ลองมา ทบทวน หรือ สำรวจ กันว่า มีประเด็น ไหนบ้าง ที่คุณ ตกหล่นไป เพื่อที่ว่า คุณจะได้ ไม่เสีย สิทธิ ที่ควร พึ่งได้ หลังจากที่ ได้ส่ง เงินสมทบ เข้ากองทุน ประกัน สังคม ไปแล้ว

สิทธิประกันสังคม ที่คนทำงานคนรู้ไว้ ประสบอัตรายหรือเจ็บป่วย

หากคุณ ยังไม่ได้ ทำประกัน ชีวิตและ อุบัติเหตุ กับบริษัท ประกันชีวิต บริษัทใด บริษัทหนึ่ง การที่คุณ เข้าสู่ กองทุน ประกัน สังคม ก็เป็นอีก "ทางเลือก" หนึ่ง ที่คุณ ไม่ควร มองข้าม ไปได้เลย

หลังจาก จ่ายเงิน เข้าสมทบ มาแล้ว ไม่น้อย กว่า 3 เดือน ภายใน เวลา 15 เดือน สิทธิ ประโยชน์ ทดแทน ที่คุณ จะได้ จากกองทุน ประกัน สังคม ในกรณี นี้ก็ คือ เมื่อคุณ เจ็บป่วย และ ประสบ อุบัติเหตุ เฉพาะ ที่ไม่ใช่ เหตุจากการ ทำงาน ก็จะได้ ค่าบริการ ทางการแพทย์ , เงินทดแทน การขาด รายได้ ตลอดจน ค่าทำฟัน ได้อีกด้วย อันได้แก่ ถอนฟัน ,อุดฟัน และ ขูดหินปูน ได้ไม่ เกินครั้ง ละ 200 บาท และ ไม่เกิน 400 บาท ต่อปี

กรณีที่ คุณเจ็บป่วย ทั่วไป ก็จะ สามารถเข้า และ เบิกค่า รักษา พยาบาล จาก สถาน พยาบาล ตามที่ คุณได้เลือก และอยู่ ในเครือข่าย ของสถาน พยาบาล แห่งนั้น โดยไม่ต้อง เสียค่า ใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น

หากคุณ เจ็บป่วย ฉุกเฉิน ก็สามารถ เข้ารับ การรักษา ในโรงพยาบาล ที่ไม่ได้ ระบุไว้ได้ โดยที่ กองทุน ประกัน สังคม จะจ่าย ค่ารักษา พยาบาล ทั้งผู้ป่วยใน และ ผู้ป่วยนอก ให้ภายใน เวลาไม่เกิน 72 ชั่วโมง หรือ 3 วัน ทำการ ซึ่งจะได้ สิทธิ เป็นผู้ป่วยใน และนอก อย่างละ 2 ครั้ง ต่อปี

แต่ถ้า ได้รับ อุบัติเหตุ และ รักษา ในโรงพยาบาล ของรัฐภายใน 72 ชั่วโมง ก็จะจ่าย เท่าที่ จ่ายจริง และ ถ้าเป็น โรงพยาบาล เอกชน จะจ่าย ตามกรณี ฉุกเฉิน โดยไม่กำหนด จำนวนครั้ง

นอกจากนั้น ผู้ประกันตน ยังได้รับ เงินทดแทน การขาดรายได้ โดยไม่ สามารถ ทำงาน ได้ตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จากกองทุน ประกัน สังคม อีก 50% ของค่าจ้าง ครั้งละ ไม่เกิน 90 วัน ปี ละไม่เกิน 180 วัน

ส่วนผู้ที่ เจ็บป่วย หรือ ประสบ อุบัติเหตุ เนื่องจาก การทำงาน ให้แก่นายจ้าง คุณยัง สามารถ เบิกเงิน ทดแทน การขาด รายได้ จากกองทุน เงินทดแทน ได้อีกด้วย นั่นคือ ค่ารักษา พยายบาล เบิกได้ เท่าที่ จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 35,000 บาท ต่อ การเจ็บป่วย หรืออุบัติเหตุ 1 ครั้ง และ หากไม่ สามารถ ทำงาน ได้ติดต่อกัน เกิน 3 วัน ก็จะได้ ค่าทดแทน เป็นรายเดือน 60 % ของค่ารายเดือน จ่ายให้ ไม่เกิน 1 ปี เช่น เดียวกัน กับสูญเสีย อวัยวะ หรือสูญเสีย อวัยวะ บางส่วน ก็จะได้ เงินทดแทน เช่นกัน แต่จ่าย ให้ไม่เกิน 10 ปี และ หากต้อง ได้รับ การฟื้นฟู สมรรถภาพ ก็จะมี ค่าใช้จ่าย ด้านการแพทย์ และอาชีพ ให้ตามจ่ายจริง แต่ไม่เกิน 20,000 บาท รวมถึง ค่าใช้จ่าย ในการผ่าตัด เพื่อ มีผล ต่อการ ฟื้นฟู อีกไม่เกิน 20,000 บาท

สิ่งที่ ผู้ประกัน ตน ต้องเตรียมตัว เพื่อขอ ใช้สิทธิ จากกองทุน ประกัน สังคม ประกอบด้วย แบบคำ ขอรับ ประโยชน์ ,ใบเสร็จ รับเงิน , ใบรับรอง แพทย์ (เพื่อขอรับ เงินทดแทน แพทย์ ต้อง ระบุ วันหยุดงาน และ ค่าอวัยวะเทียม), สำเนา บัตรประจำ ตัวประชาชน, สำเนาบัตร ประกันสังคม, สำเนาบัตร รับรอง สิทธิ (ขอรับ ค่ารักษา พยาบาล และ อวัยวะเทียม) และหนังสือ รับรอง ของนายจ้าง (ขอรับเงิน ทดแทน รายได้)

สิทธิประกันสังคม ที่คนทำงานคนรู้ไว้ เงินช่วยทุพพลภาพและตาย

เงื่อนไข ของผู้ที่ จะเข้า สู่ระบบ ประกัน สังคม และ มีสิทธิ ได้รับ ประโยชน์ จากกรณี "ทุพพลภาพ" ซึ่งไม่เกิด จากการ ทำงาน นั้น ลูกจ้าง จะต้อง จ่ายเงิน สมทบ มาแล้ว กว่า 3 เดือน ภายในเวลา 15 เดือน ก่อนวันที่ แพทย์ กำหนด ให้เป็น ผู้ทุพพลภาพ

สิทธิที่ จะได้รับ จะเป็น ค่ารักษา พยาบาล ไม่เกิน เดือนละ 20,000 บาท และจะได้ รับเงิน ทดแทน ขาดรายได้ 50 % ของ ค่าจ้าง ตลอดชีวิต รวมถึง ค่าอวัยวะ เทียม และ ค่าอุปกรณ์ ในการ บำบัดโรค อีกด้วย

แต่ถ้าหาก ทุพพลภาพ ถึงแก่ ความตาย จะได้รับ ค่าทำศพ 30,000 และทายาท ยังจะ ได้รับ เงินสงเคราะห์อีก โดยคิดจาก การจ่าย สมทบ ของผู้ตาย ถ้าจ่าย มาแล้ว 3 ปี ขึ้นไป จะได้เงินทดแทน ตามรายได้ เดือนสุดท้าย ของผู้ตาย คูณด้วย 3 หรือ เงินเดือน 3 เดือน นั่นเอง ส่วนผู้ตาย ที่จ่ายเงิน สมทบ ตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป จะได้รับ เงินทดแทน เงินเดือน สุดท้าย คูณด้วย 10

ในขณะที่ ผู้ทุพพลภาพ อันเกิด จากกา รทำงาน จะได้รับ ประโยชน์ ทดแทน จากกองทุน ทดแทน ของนายจ้าง ได้สิทธิ ทันที หลังจาก ที่เป็นลูกจ้าง และจะได้ รับค่า ทดแทน เป็นรายเดือน 60% ของค่าจ้าง รายเดือน โดยจ่าย ไม่เกิน 15 ปี

หลักฐาน ที่ทายาท จะต้องเตรียม ในการ ขอรับ ประโยชน์ กรณี ทุพพลภาพ จากกองทุน ประกัน สังคม ก็คือ แบบคำขอ ประโยชน์ ทดแทน กรณี ทุพพลภาพ ,ใบเสร็จ รับเงิน (หากขอรับ ค่าอวัยวะเทียม หรืออุปกรณ์), ใบรับรอง แพทย์ ,สำเนาบัตร ประชาชน, สำเนาบัตร ประกัน สังคม และ หนังสือ รับรอง ของนายจ้าง

กรณี "ตาย" ไม่ใช่ จากการ ทำงาน ไม่ว่า จะด้วยเหตุใด ก็ตาม จะมีสิทธิ รับผล ประโยชน์ จากกองทุน ประกัน สังคม ก็ต่อเมื่อ ได้จ่ายเงิน สมทบ มาแล้ว 1 เดือน ภายใน เวลา 6 เดือน ก่อนถึงแก่ ความตาย โดยทายาท หรือ ผู้จัดการศพ จะได้รับ สิทธิ ค่าทำศพ 30,000 บาท และเงินสงเคราะห์ ซึ่งแยก ตามระยะ เวลาการจ่ายเงิน สมทบ หากจ่ายไปแล้ว 3 ปี ขึ้นไป ได้รับเงิน สงเคราะห์ 50 % ของ เงินเดือน คูณด้วย 3 หรือ เงินเดือน เดือนครึ่ง

แต่ถ้า ผู้ตาย ได้จ่ายเงิน สมทบ มาแล้ว 10 ปีขึ้นไป จะได้ รับเงิน 50% ของ ค่าจ้าง รายเดือน คูณด้วย 10 หรือ เงินเดือน สุดท้าย 5 เดือน นั่นเอง

ส่วนกรณี ตายจาก อุบัติเหตุ หรือ เจ็บป่วย หรือสูญหาย เนื่องจาก การทำงาน ผู้ประกัน ตนจะได้รับ ค่าทดแทน เพิ่มจาก กองทุน เงินทดแทน ของนายจ้าง เป็นค่าทำศพ 100 เท่า ของอัตรา สูงสุด ของค่าจ้าง ขั้นต่ำ รายวัน และ ค่าทดแทน รายเดือน อีก 60% ของ ค่าจ้าง รายเดือน จำนวน 8 ปี หรือ ไม่ต่ำกว่า เดือนละ 2,000 บาท แต่ไม่เกิน 9,000 บาท

สิทธิประกันสังคม ที่คนทำงานคนรู้ไว้ ค่าคลอดบุตร

เมื่อแต่งงาน มีครอบครัว สิ่งที่จะ ตามมา ก็คือ การวางแผน มีลูก เพื่อให้ ชีวิตใน ครอบครัว มีความ สมบูรณ์ ยิ่งขึ้น ซึ่งหากคุณ เข้าสู่ ระบบ ประกัน สังคมแล้ว ก็อย่าลืม ใช้สิทธิ ในการ เบิกค่า คลอดบุตร แม้ว่า เงินค่า คลอดบุตร ที่ได้รับ จะเป็นการ เหมาจ่าย ให้เพียง 4,000 บาท ต่อ การมีบุตร 1 คน เท่านั้น แต่หาก ย้อนกลับ ไปมอง บริษัท ประกัน ชีวิตทั่วไป สิทธิตรงนี้ จะไม่ได้รับ ขณะที่ กองทุน ประกัน สังคมนี้ จะให้ สิทธิ การเบิก ทั้งจาก สามี (ที่ประกันตน) และตัวเอง ได้คนละ 2 ครั้ง

นั่นเท่า กับว่า คุณมี ลูก 4 คน จะเบิก ได้ถึง 16,000 บาท ที่ นอกเหนือ ไปกว่านั้น คุณผู้หญิง ยังมี สิทธิ ที่จะ ได้รับ เงินสงเคราะห์ จากการ หยุดงาน เพื่อการ คลอดบุตร ในอัตรา 50% ของ ค่าจ้าง เป็นเวลา 90 วัน หรือ ได้รับ เงินช่วยเหลือ 1 เดือนครึ่ง

ผู้ประกัน ตนที่จะใช้สิทธิ ดังกล่าวนี้ได้ ต้องเป็น ผู้ที่ส่งเงิน เข้ากองทุน มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 7 เดือน ภายใน 15 เดือน

ส่วนจะไป คลอดที่โรงพยาบาล แห่งใดนั้น ประกัน สังคม เปิดโอกาส ผู้ประกันตน สามารถ เลือกใช้ บริการ โรงพยาบาล ได้เอง ตามสะดวก อีกด้วย

หลักฐาน ที่ต้องเตรียม เพื่อขอรับเงิน ประกอบด้วย แบบคำขอรับ ประโยชน์ กรณีคลอดบุตร ,สูติบัตรบุตร ต้นฉบับ พร้อมสำเนา, สำเนาบัตร ประชาชน/ คู่สมรส, สำเนาบัตร ประกันสังคม ,ทะเบียนสมรส พร้อมสำเนา (กรณีภรรยา ของผู้ประกันตน คลอดบุตร) หากไม่มี ทะเบียน สมรส ให้แนบหนังสือ รับรอง ของผู้ประกันตน และหนังสือ รับรองนายจ้าง

ทั้งนี้ผู้ประกันตนต้องยื่นขอรับประโยชน์ทดแทนภายในระยะเวลา 1 ปี นับจากวันที่คลอดบุตร

สิทธิประกันสังคม ที่คนทำงานคนรู้ไว้ เงินสงเคราะห์บุตร

หลังจาก คุณได้สิทธิ ค่าคลอดบุตร แล้ว คุณก็ น่าจะพลาด ใช้สิทธิ ประโยชน์ เรื่องเงิน "สงเคราะห์บุตร" ต่อเนื่องกันไป

นับแต่ ปลายปี 2541เป็นต้นมา สำนักงาน ประกัน สังคม ได้ขยายการ คุ้มครอง ให้เงิน สงเคราะห์ กับคน ทำงาน ที่มี บุตรแบบ เหมาจ่าย เดือนละ 150 บาท ต่อ บุตรหนึ่งคน โดยผู้ที่ จะได้รับ สิทธิ ดังกล่าว จะต้อง จ่ายเงิน เข้าสมทบ กับกองทุน ประกัน สังคม มาแล้ว ไม่น้อยกว่า 12 เดือน ภายใน ระยะเวลา 36 เดือน ในขณะที่ บุตรที่จะได้ รับเงิน สงเคราะนั้น จะต้องเป็น บุตรโดยชอบ ด้วยกฏหมาย ซึ่งไม่รวม ถึงบุตรบุญธรรม แต่ต้อง มีอายุ ตั้งแต่ แรกเกิด ไปจน 6 ปี เท่านั้น และจะได้ รับเงิน สงเคราะห์ บุตรได้เพียง 2 คน

อย่างไรก็ตาม ในกรณี ที่ผู้จ่ายเงิน เข้ากองทุน เป็นผู้ ทุพพลภาพ หรือ ได้ตาย จากไป ในช่วง ที่ลูก ของตัวเอง อายุยังไม่ครบ 6 ปี บุตร ก็ยัง จะได้รับ เงินสงเคราะห์ ต่อไป จนกว่า จะครบอายุ ตามที่กำหนด

การจ่ายเงิน ให้กับ ผู้ประกันตน ก็ยังสะดวก รวดเร็ว ทั้งยัง ประหยัดเวลา อีกด้วย โดยใช้ วิธีการโอนเงิน ผ่านมาทางธนาคาร ที่ได้ร่วม เซ็นสัญญา ตกลงร่วมกัน 6 แห่ง ธนาคาร ที่ว่าประกอบด้วย ธนาคาร กรุงเทพ ,ธนาคาร ไทยพาณิชย์,ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา,ธนาคาร ทหารไทย และ ล่าสุด ได้เพิ่ม ธนาคาร กสิกรไทย อีกแห่งหนึ่ง ดังนั้น ทุก ๆ วัน สิ้นเดือน ผู้ประกันตน ก็จะได้รับเงิน 150 บาท โอนเข้า บัญชีแน่ๆ

และในช่วง ระยะเวลา 1 ปี สำนักงาน ประกัน สังคม จะออก ค่าโอน ผ่าน ธนาคาร แทนให้กับ ผู้มีสิทธิ ก่อน เพื่อเป็นการ ช่วยเหลือ ในภาวะ วิกฤติ เศรษฐกิจ เช่นนี้ แต่หลังจากนั้น ผู้มีสิทธิ จะต้อง รับผิดชอบ ค่าใช้จ่าย ดังกล่าวเอง

ขั้นตอน การยื่น ขอรับ ประโยชน์ ทดแทน ก็คือ ก่อนอื่นผู้ประกันตน จะต้องไป ขอเปิดบัญชี "ออมทรัพย์" เท่านั้น กับธนาคาร ใดธนาคารหนึ่ง ที่กล่าว มาข้างต้น โดยถ่าย สำเนา เลขที่ บัญชี ธนาคาร และไปยื่นเรื่อง ยังสำนักงาน ประกันสังคม พร้อมกับ เอกสารอื่น ๆ ประกอบด้วย แบบยื่น คำขอรับ ประโยชน์ ทดแทน กรณี สงเคราะห์บุตร ,หนังสือ รับรอง ของนายจ้าง,สำเนา สูติบัตรบุตร,สำเนาบัตร ประกัน สังคม, สำเนา บัตรประชาชน /คู่สมรส, สำเนา ทะเบียน สมรส หรือ ทะเบียนหย่า

"ข้อพึงระวัง" ที่อาจ ทำให้ ผู้ประกัน ไม่มีสิทธิ รับเงินสงเคราะห์ หรือร ับเงินล่าช้าไป ก็คือ บัญชีเงินฝาก ไม่ใช่ บัญชีออมทรัพย์ หรือ เป็นบัญชี ที่ไม่มี การเคลื่อนไหว ทำให้ สำนักงานประกันสังคม โอนเงินให้ไม่ได้ ก่อนที่จะยื่นหลักฐาน จึงควรตรวจสอบหลักฐาน ดังกล่าวให้ดี และครบถ้วนเสียก่อน เพื่อว่าผู้รับสิทธิ จะได้รับเงิน รวดเร็ว ทั้งประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย

นอกเหนือ จากนั้น ผู้ประกันตน จะต้องยื่น คำขอ รับประโยชน์ ทดแทน ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่ วันที่ มีสิทธิ ขอรับ ประโยชน์ นั่นก็คือ หลังจาก ที่คุณได้ ส่งเงิน สมทบไป แล้ว 1 ปี นั่นเอง

ส่วนสถานที่ ยื่นคำขอรับ ประโยชน์ ทดแทน ก็คือ สำนักงานประกัน สังคม เขตพื้นที่/ จังหวัด/ สาขา ผู้ประกัน จ่ายเงิน สมทบ หรือทำงาน ประจำอยู่ นั่นเอง

ยอดล่าสุด ของการ ขอรับ เงินสงเคราะห์ บุตร 3 เดือน (ธันวาคม 2542-กุมภาพันธ์ 2543) จากสำนักงาน ประกัน สังคมไปแล้ว 3 แสนกว่า ราย หรือคิดเป็น เงินการจ่าย ประโยชน์ ทดแทน รวม 155 ล้านบาท

สิทธิประกันสังคม ที่คนทำงานคนรู้ไว้ เงินสงเคราะห์ชราภาพ

กรณีขอ ใช้สิทธิ เพื่อสงเคราะห์ ชราภาพนี้ เหมาะสำหรับ ผู้ที่กำลัง ย่างเข้าสู่ วัยเกษียณ อายุการทำงาน ซึ่งในการ ขอรับ สิทธิ ประโยชน์ นี้ สามารถ เลือกรับได้ 2 รูปแบบ ขึ้นอยู่กับ ตัวคุณว่า เข้าข่ายไหน คือ "แบบเงินบำนาญชราภาพ" หรือ "แบบเงินบำเหน็จชราภาพ" แต่ละแบบ จะมีเงื่อนไข ก่อให้เกิด สิทธิแตกต่าง กันไป ตามระยะ เวลาการ จ่ายเงิน สมทบ ของคน ทำงานแต่ละคน

การขอรับ "เงินบำนาญ" นั้น ผู้ใช้สิทธิ จะต้อง ส่งเงิน สมทบ กับกองทุน ประกัน สังคม มาเป็น ระยะเวลา ไม่น้อยกว่า 180 เดือน หรือ 1 ปี ครึ่ง และ มีอายุครบ 55 ปี รวมทั้ง การประกัน ตนสิ้นสุดลง ไม่จำเป็นว่า จะส่งเงิน เข้ากองทุน ติดต่อกัน หรือไม่ก็ตาม ก็สามารถ ยื่นขอ ใช้สิทธินี้ได้ และต้องเป็นผู้ ที่มีอายุ ครบ 55 ปี รวมทั้ง การประกันตน สิ้นสุดลง ถึงจะขอใช้สิทธิได้

ประโยชน์ ทดแทน ที่ผู้ใช้สิทธิ ขอรับเงิน บำนาญ ชราภาพ ก็คือ ในกรณี ที่ผู้ประกัน จ่ายเงิน ครบ 180 เดือน หรือ 15 ปี จะได้รับเงิน บำนาญ ชราภาพ ในอัตรา 15% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือน สุดท้าย หรือ ในช่วงเวลา การทำงาน 5 ปี ณ วันนี้ เงินที่ใช้คำนวณ เงินบำเหน็จ และ บำนาญ ชราภาพ ใช้ฐานเงินเดือน ต่ำสุด 4,800 บาท และสูงสุด 15,000 บาท นำมาใช้ เป็นฐาน ในการคำนวณ เงินสมทบ

สมมติว่า ฐานเงินเดือน สูงสุด 15,000 บาท คูณด้วย 15 % จึง เท่ากับว่า คุณจะได้รับเงิน บำนาญ 2,250 บาท ต่อเดือน ไปเรื่อย ๆ จนตลอดชีวิต

ส่วนกรณีที่ คุณจ่ายเงิน สมทบเกิน 180 เดือน หรือ มากกว่า 15 ปี ก็จะได้รับ เงินบำนาญ เพิ่มขึ้นจาก 15 % อีก 1 % ต่อ ระยะเวลา การจ่ายเงิน สมทบทุก 12 เดือน

ขณะที่การ ขอรับเงินแบบ "บำเหน็จ" นั้น เปิดโอกาส ให้กับ คนทำงาน ที่จ่ายเงิน สมทบ ไม่ครบ 180 เดือน โดยที่ การประกัน ตนสิ้นสุดลง และ มีอายุ ครบ 55 ปี หรือ เป็นผู้ ทุพพลภาพ หรือถึงแก่ ความตาย และได้จ่ายเงิน สมทบ ไม่ถึง 12 เดือนหรือ 1 ปี ก็จะได้รับเงิน บำเหน็จ ชราภาพ เท่ากับ จำนวน เงินสมทบ ที่ผู้นั้น ได้จ่ายเข้า กองทุนนั่นเอง

แต่สำหรับ ผู้ที่จ่ายเงิน เข้ากองทุน มากกว่า 12 เดือน ขึ้นไป จะได้รับ เงินบำเหน็จ เท่ากับ เงินสมทบ ที่ได้จ่ายไป บวกกับ เงินสมทบ ของนายจ้าง พร้อมดอกเบี้ย ณ ปัจจุบันอยู่ที่ 2.40% ซึ่งอัตรา ดังกล่าว จะเปลี่ยนแปลงไป ตามประกาศ ของสำนักงาน ประกันสังคม

กรณีที่ ผู้รับเงิน บำเหน็จ ชราภาพ ถึงแก่ ความตาย ภายใน 60 เดือน นับจากเดือน ที่มีสิทธิ ได้รับเงิน ก็จะได้ เงินจำนวน 10 เท่า ของเงิน บำนาญ ชราภาพ รายเดือน ทีได้ ครั้งสุดท้าย ก่อนตาย

หากคุณ ที่กำลัง จะเกษียณอายุ เข้าข่าย กฏเกณฑ์ใด ก็ "อย่าลืม" ใช้สิทธิ ยื่นขอรับ ประโยชน์ ทดแทน ภายใน 1 ปี นับ จากวันที่ มีสิทธิ ขอรับ ประโยชน์ และยังจะ ต้องติดต่อ ขอรับ เงินภายใน 2 ปี เท่านั้น หลังจากที่ สำนักงาน ประกัน สังคม ได้แจ้ง เรื่องมาถึงท่าน ไม่เช่นนั้น เงินดังกล่าว จะตกเป็น ของกองทุน ประกัน สังคม ทันที

สิทธิประกันสังคม , สิทธิประกันสังคม 2554 , การใช้สิทธิประกันสังคม , เช็คสิทธิประกันสังคม , สิทธิประกันสังคมมาตรา39 , สิทธิประกันสังคมมาตรา40

ที่มา nationejobs.com

อัพเดทล่าสุด