https://cdc.iainponorogo.ac.id/wp-content/gampang-menang/https://cdc.iainponorogo.ac.id/-/demo/https://kebonagung.pacitankab.go.id/-/gampang-menang/
ภูเขาไฟในประเทศไทย มีที่ไหนบ้าง และมีลักษณะเป็นอย่างไร MUSLIMTHAIPOST

 

ภูเขาไฟในประเทศไทย มีที่ไหนบ้าง และมีลักษณะเป็นอย่างไร


17,258 ผู้ชม

สำหรับประเทศไทย พบว่า ภูเขาไฟส่วนใหญ่มักเกิดบริเวณตอนบนของประเทศ มีลักษณะการกระจายตัวและตำแหน่งที่ไม่แน่นอน


ภูเขาไฟในประเทศไทย

ภูเขาไฟในประเทศไทย มีที่ไหนบ้าง และมีลักษณะเป็นอย่างไร


          สำหรับประเทศไทย พบว่า ภูเขาไฟส่วนใหญ่มักเกิดบริเวณตอนบนของประเทศ มีลักษณะการกระจายตัวและตำแหน่งที่ไม่แน่นอน ส่วนทางด้านภาคใต้ของประเทศมักไม่ค่อยพบ สันนิษฐานว่าเป็นภูเขาไฟเมื่อประมาณ 2 - 4 ล้านปีที่แล้ว จากรายงานทางธรณีวิทยาและแผนที่ทางธรณีวิทยาประเทศไทย พบบริเวณที่เป็นหินภูเขาไฟ หรือหินบะซอลต์ ซึ่งเป็นหินที่เกิดจากภูเขาไฟ อยู่ 5 บริเวณ ได้แก่
                     บริเวณที่ 1 ทางภาคเหนือ ได้แก่ อำเภอแม่ทา อำเภอสบปราบ และอำเภอเมืองลำปาง ทางด้านทิศตะวันตกของจังหวัดแพร่ น่าน อุตรดิตถ์ ตาก และสุโขทัย เป็นหินบะซอลต์ ไรโอไลต์ แอนดีไซต์ และแอกโกเมอเรต (ศิลาแลง)
                    บริเวณที่ 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบมากทางตอนใต้ของภาค บริเวณเขากระโดง เขาพนมรุ้ง และภูอังคาร จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ และทางทิศใต้ของจังหวัดศรีสะเกษ
                    บริเวณที่ 3 ที่ราบสูงภาคกลาง พบที่จังหวัดสระบุรี โคกสำโรง หล่มเก่า ท่าลี่ และทางด้านทิศตะวันตกของภูกระดึง จังหวัดเลย อำเภอเดิมบางนางบวช อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
                     บริเวณที่ 4 ภาคตะวันตก พบที่อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี
                     บริเวณที่ 5 ภาคตะวันออก พบที่บ้านบ่อไร่ จังหวัดตราด บ้านบ่อพลอย จังหวัดจันทบุรี
                    โดยภูเขาไฟที่พบในประเทศไทยทั้งหมดเป็นภูเขาไฟที่สิ้น พลังแล้วทั้งสิ้น จากการสำรวจพบว่าเป็นภูเขาไฟที่มีอายุอย่างน้อยที่สุดประมาณ 7 แสนปีที่แล้ว ส่วนใหญ่มีสัณฐานแบบรูปโล่ (Shield Volcanoes) คือสัณฐานไม่สูงมากนักมีความลาดเอียงไม่เกิน 10 องศา ส่วนความเอียงที่ฐานไม่เกิน 2 องศา เนื่องจากการไหลแทรกตัวของลาวาตามรอยแตกของหินเปลือกโลก กลายเป็นหินบะซอลต์ และมีแร่รัตนชาติอยู่มาก เช่น ทับทิม บุษราคัม และเขียวส่อง เป็นต้น อย่างไรก็ตามการระเบิดของภูเขาไฟนอกจากจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและ ทรัพย์สินแล้ว ยังเกิดปรากฏการณ์ธรรมชาติอื่น ๆ เช่น คลื่นซึนามิ (Tsunamis) ขณะเกิดภูเขาไฟระเบิด โดยเฉพาะภูเขาไฟใต้ท้องมหาสมุทร ทำให้เกิดคลื่นสูงขนาดตึก 3 ชั้น กวาดสิ่งต่างๆ ลงสู่ทะเล นอกจากนั้นภายหลังการเกิดภูเขาไฟระเบิดฝุ่นเถ้าภูเขาไฟไปตกทับถมอยู่ใกล้ ภูเขาไฟ ทำให้เมื่อมีฝนตกหนัก อาจเกิดน้ำท่วมและโคลนถล่มตามา ดังที่เกิดกับภูเขาไฟที่ระเบิดในประเทศฟิลิปปินส์ ชื่อ ภูเขาไฟพินาตูโบ เป็นต้น ในด้านประโยชน์ของภูเขาไฟระเบิดเราพบว่าการระเบิดของภูเขาไฟเป็นการปลดปล่อย พลังงานภายใต้เปลือกโลก ทำให้เกิดสภาวะสมดุล ตลอดจนแหล่งที่มีภูเขาไฟระเบิด และมีธารลาวาไหลออกมาขณะที่ไหลผ่านหินอัคนีและหินชั้นเดิมจะทำให้เกิดกระบวน การแปรสภาพของหินกลายเป็นหินแปร ซึ่งเป็นแหล่งแร่ที่สำคัญ เช่น เพชร รัตตนชาติ เป็นต้น นอกจากนั้นแหล่งภูเขาจะเป็นบริเวณที่ดินมีคุณภาพดี เช่น บริเวณอำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี เป็นต้น และฝุ่นเถ้าภูเขาไฟที่ระเบิดออกมาและฟุ้งกระจายลอยในในบรรยากาศชั้นสตราโต สเฟียร์ ยังทำให้บรรยากาศของโลกเย็นลง เป็นการช่วยปรับระดับอุณหภูมิของโลกด้วย


ภูเขาไฟในประเทศไทย ภูเขาไฟในไทย , แนวภูเขาไฟในประเทศไทย , การเกิดภูเขาไฟในประเทศไทย , ภูเขาไฟในประเทศไทยอยู่ที่ไหน , รอยภูเขาไฟในประเทศไทย


ที่มา Physical Geography

อัพเดทล่าสุด