ลักษณะของโรคงูสวัด ไวรัสงูสวัด มี อาการของงูสวัด อย่างไร !!


4,651 ผู้ชม


ลักษณะของโรคงูสวัด ไวรัสงูสวัด
โดย : พญ.สุรีรัตน์ พงศ์พฤกษา โรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล พหลโยธิน
งู สวัด โรคนี้มีหลายคนสับสนกันว่าเกี่ยวข้องกับโรคสุกใสอย่างไร เกิดจากเชื้อไวรัสตัวเดียวกันไหม แล้วมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร เป็นแล้วรักษาหายหรือเปล่า เรามาหาคำตอบกันค่ะ
ลักษณะของโรคงูสวัด ไวรัสงูสวัด มี  อาการของงูสวัด อย่างไร !!

ต้นตอโรคงูสวัด

โรคงูสวัด เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคสุกใสมาแล้ว เมื่อมีอาการกำเริบขึ้นมาอีกครั้ง ทำให้เกิดรอยโรคขึ้นเป็นทางตามแนวเส้นประสาท โดย ในการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ครั้งแรกนั้น จะทำให้เกิดโรคสุกใสขึ้น เชื้อไวรัสจะผ่านจากผิวหนังและเยื่อบุเข้าสู่ร่างกาย ไปตามเส้นประสาทรับความรู้สึก แล้วแฝงหลบอยู่ที่ปมประสาทโดยไม่ทำให้เกิดอาการ เมื่อร่างกายมีภูมิต้านทานลดต่ำลง เชื้อไวรัสจะถูกกระตุ้นให้แบ่งตัวเพิ่มจำนวน แพร่กระจายมาตามเส้นประสาทนั้น ก่อให้เกิดรอยโรคขึ้น

 

โรค งูสวัด พบได้ทุกเพศ ทุกวัย ในทุกฤดูกาล เชื้อไวรัสชนิดนี้จะติดต่อโดยการหายใจ การได้รับเชื้อครั้งแรกเกิดเป็นสุกใสมักพบในเด็ก หรือวัยรุ่น ดังนั้นการกำเริบของเชื้อที่จะเกิดเป็นงูสวัดจึงมักพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก

 

ที่ไม่ควรมองข้ามเลย สำหรับแม่ทำงานอย่างเราๆ คือ ความเครียดค่ะ ไม่ว่าจะเครียดจากการงาน จากครอบครัว หรือจากเรื่องไหนๆ นับเป็นสาเหตุหนึ่งได้เหมือนกัน มีงานวิจัยพบว่า ขณะที่เรารู้สึกเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียด ที่ทำให้ต่อมไขมันทำงานมากขึ้น และทำให้เกิดโรคงูสวัดได้

 

สังเกตอาการ

หากว่า เป็นโรคนี้แล้ว คุณสังเกตตัวเองได้ไม่ยาก อาการนำคือ อาการปวดตามแนวเส้นประสาทที่จะมีผื่นขึ้น อาจมีไข้ต่ำๆ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย หรือปวดเมื่อยตามตัวร่วมด้วย ต่อมาเริ่มมีตุ่มหรือผื่นขึ้นเป็นแถว แล้วกลายเป็นตุ่มใสๆ บนฐานแดงลักษณะเหมือนผื่นที่พบในโรคสุกใส ตุ่มน้ำจะแตกหรือตกสะเก็ดแล้วหายภายในเวลา 1–3 สัปดาห์

 

จาก นั้นรอยโรคจะกระจายบนผิวหนังเป็นทางยาวตามแนวของเส้นประสาท พบบ่อยที่ลำตัว หากเป็นที่บริเวณเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงตา จะมีผื่นขึ้นที่ปลายจมูกก่อน และต่อมาอาจเกิดการอักเสบของเยื่อบุตาหรือจอประสาทตาได้ ถ้าเกิดบริเวณเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงใบหน้าและเส้นประสาทที่เกี่ยวกับการได้ ยิน จะเกิดรอยโรคที่ใบหู รูหู ได้ยินเสียงอื้อในหู หัวหมุน เสียการทรงตัว การได้ยินลดลง และด้านที่ใบหน้าอักเสบอาจจะเกิดอาการกล้ามเนื้อใบหน้าไม่ทำงานร่วมด้วยได้ ในผู้ป่วยเด็กที่ไม่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ผื่นมักหายโดยไม่มีรอยแผลเป็นเหลืออยู่ และมักไม่พบอาการปวดหลังผื่นหายเหมือนในผู้ใหญ่

สำหรับ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องแล้วเป็นโรคนี้ เชื้อไวรัสอาจแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย เป็นตุ่มน้ำขึ้นทั่วตัวคล้ายโรคสุกใสได้ ซึ่งเชื้ออาจกระจายไปยังปอด ตับ และระบบประสาทส่วนกลาง ทำให้อาการรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

เป็นแล้วหายได้

ใน ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันปกติ แพทย์จะรักษาตามอาการ ประคบตุ่มน้ำด้วยผ้าสะอาดชุบน้ำยาประคบแผลจนตุ่มน้ำแห้ง หรืออาจใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเกลืออุ่นๆ ปิดประคบไว้ เมื่อผ้าแห้งก็ชุบเปลี่ยนใหม่ ครั้งละประมาณ 15 นาที วันละ 3-4 ครั้ง และในระยะที่ตุ่มน้ำแตก ควรระวังการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณแผลแทรกซ้อนด้วย

 

ส่วน ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่เป็นงูสวัดบริเวณตา และผู้ป่วยสูงอายุ ซึ่งอาจมีอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง ต้องพบแพทย์เพื่อให้ยาต้านเชื้อไวรัส ควรเริ่มให้ยาเร็วที่สุด โดยเฉพาะในวันแรกๆ ที่มีอาการจึงจะได้ผลดี และช่วยลดอาการปวด ทำให้มีรอยโรคน้อยและหายเร็วขึ้น หากมีอาการคันมากควรให้ยาแก้แพ้แก้คัน ลดอาการคันที่จะทำให้เกาแล้วเกิดการติดเชื้อแทรกซ้อนตามมาได้

อาหารการกินก็ควรให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการดูแลประคับประคอง ควรใส่ใจด้วยเหมือนกันค่ะ ระยะที่เป็นโรคนี้ สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงคือ อาหารหมักดอง แต่ยังสามารถกินอาหารประเภทอื่นได้ตามปกติ

 

งูสวัด ป้องกันได้

การ ป้องกันการเกิดโรคงูสวัด คือการป้องกันไม่ให้เกิดเป็นโรคสุกใส ซึ่งติดต่อด้วยการสัมผัสโดยตรง หรือสูดหายใจเอาละอองฝอยของตุ่มน้ำ และสิ่งคัดหลั่งของทางเดินหายใจเข้าสู่ร่างกาย ผ่านทางเยื่อบุตาและเยื่อบุทางเดินหายใจส่วนต้น ซึ่งถ้าเกิดการระบาดของโรคสุกใสจะป้องกันได้ยาก เนื่องจากสามารถติดต่อทางลมหายใจได้ ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันโรคสุกใส ซึ่งสามารถฉีดได้ในเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป และมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสุกใสได้ดี โดยเฉพาะเมื่อมีการฉีดกระตุ้นซ้ำ มีข้อมูลพบว่าเด็กที่เคยเป็นโรคสุกใสมีโอกาสเกิดโรคงูสวัดร้อยละ15 แต่ถ้าได้รับวัคซีนสุกใสแล้วมีโอกาสเป็นโรคงูสวัดเพียงร้อยละ 2

 

ดูแลแบบแพทย์ทางเลือก

ตาม หลักการของการแพทย์ทางเลือก งูสวัดเป็นโรคที่เกิดจากการที่ร่างกายไม่สมดุล เนื่องจากร่างกายแบบร้อนเกินไป ซึ่งมาจากการบริโภคอาหารฤทธิ์ร้อน เช่น ของทอด ฯลฯ มากจนเกินไป หรือเกิดจากการการใช้ชีวิต โดยเฉพาะในเมืองใหญ่ ที่ต้องเผชิญหน้ากับภาวะความกดดัน และสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ ก็มีส่วนให้ร่างกายเสียสมดุลได้

ใบย่านาง สมุนไพร ไทยฤทธิ์เย็น ช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากภาวะไม่สมดุลแบบนี้ได้ ด้วยการคั้นน้ำ โดยใช้ใบย่านางสดประมาณ 10-20 ใบ โขลกให้ละเอียดแล้วเติมน้ำ 1-3 แก้ว แล้วกรองผ่านกระชอนเอาแต่น้ำ แล้วดื่มตอนท้องว่างวันละ 2-3 ครั้ง หรือผสมให้เจือจาง ดื่มแทนน้ำเปล่า

 

นอกจากนี้ มีงานวิจัยพบว่า “เสลดพังพอนตัวเมีย หรือพญายอ” ก็ มีสรรพคุณในการรักษาโรคทางผิวหนังอย่างโรคงูสวัดได้ดี สามารถลดการอักเสบได้ ช่วยให้แผลตกสะเก็ดและแผลหายเร็วขึ้น เพราะสามารถทำลายเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคงูสวัดได้ ใช้ได้ทั้งแบบสดและในรูปของครีม เจล คาลามายด์และโลชัน

การ รักษาด้วยแนวการแพทย์แบบนี้ มีข้อห้ามเรื่องอาหารการกินอยู่บ้าง โดยห้ามกินของร้อน เช่น ทุเรียน สับปะรด ฯลฯ ใช้กินอาหารแนวชีวจิต และเพิ่มความผ่อนคลายให้กับร่างกาย อาจใช้การนั่งสมาธิก็ช่วยให้คลายเครียดได้เช่นเดียวกัน

 

รู้ และเข้าใจโรคงูสวัดกันมากขึ้นแล้ว คงลดความสับสน และทำให้คลายกังวลเกี่ยวกับโรคนี้ไปบ้างนะคะ สำคัญที่การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เท่านี้ก็ห่างไกลโรคแล้วค่ะ

 

ความต่างระหว่างงูสวัดกับเริม

งู สวัดเป็นโรคคนละชนิดกับโรคเริม แม้จะเกิดจากไวรัสที่มีสายพันธุ์ใกล้เคียงกันก็ตาม โรคเริมจะเกิดที่บริเวณริมฝีปาก หรือใบหน้า อาจเกิดที่บริเวณอวัยวะเพศและทวารหนักก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของเชื้อที่ก่อโรค เชื้อจะลุกลามตามเส้นประสาทส่วนปลายไปแอบแฝงอยู่ที่ปมประสาท ทำให้เกิดการเป็นซ้ำได้

 

โรค เริมนั้น ส่วนใหญ่จะมีลักษณะของผื่นที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ไม่เรียงตามแนวเส้นประสาท มักไม่เกิดตามลำตัวเหมือนโรคงูสวัด แต่อาจจะแยกความแตกต่างระหว่าง 2 โรคนี้ออกจากกันยากสักหน่อย จุดสังเกต คือ ถ้าเกิดโรคที่ตา และมีประวัติการเกิดโรคสุกใสในอดีต ก็สามารถใช้ประกอบการวินิจฉัยโรคของแพทย์ได้ชัดเจน ถูกต้องยิ่งขึ้น

ที่มา  www.108health.com

อัพเดทล่าสุด