การติดต่อโรคงูสวัดเป็นโรคติดต่อหรือไม่


8,638 ผู้ชม


Herpes zoster งูสวัด


การติดต่อโรคงูสวัดเป็นโรคติดต่อหรือไม่ การติดต่อโรคงูสวัดเป็นโรคติดต่อหรือไม่

โรคงูสวัด

  1. สาเหตุ เป็นโรคผิหนังที่เกิดจากเชื้อไวรัสที่ เรียกว่า Hepes Varicella Zoster เป็นชนิดเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคไข้สุกใส ผู้ที่เป็นโรคไข้สุกใสมาก่อนจะยังคงมีเชื้อไวรัสนี้ที่ปมประสาทสันหลัง ซึ่งเมื่อร่างกายอ่อนแปเชื้อสามารถสร้างเพิ่มจำนวน ทำให้เกิดโรคงูสวัดได้ แต่จะเกิดเฉพาะแนวประสาท ไม่ลุกลามกระจายออกไปเพราะร่างกายมีภูมิต้านทานต่อเชื้ออยู่แล้ว แนวเส้นประสาทที่พบบ่อยได้แก่ บริเวณเอว ก้นกบ ตา ใบหน้า ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เช่นผู้สูงอายุ หรือจากโรคเช่น เอดส์ การรับประทานยา steroid จะมีโอกาสที่จะเกิดโรคงูสวัดสูง
  2. ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคจากการสำรวจพบว่า ผู้ใหญ่ร้อยละ 90 จะมีภูมิต่อเชื้องูสวัด ดังนั้นกลุมคนเหล่านี้จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นงูสวัดประมาณ 1.5-3 ต่อประชากร 1000 คน ผู้ที่อายุมาก มะเร็ง หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิ ผู้ที่เปลี่ยนถ่ายอวัยวะ ผู้ป่วยเหล่านี้จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคงูสวัด

  3. อาการปวดตามตัวมักจะไม่มีไข้ ต่อมาจะมีอาการทางผิวหนังอาจจะแค่คันผิวหนัง บางคนปวดแสบปวดร้อน บางคนเสียวที่ผิวหนัง สำหรับคนที่เป็นเส้นประสาทที่หน้าจะมีปวดศีรษะ เห็นแสงจ้าไม่ได้ อีก1-5วันจะมีผื่นแดงอยู่กันเป็นกลุ่ม ต่อมาเกิดเป็นตุ่มน้ำใสขึ้นอยู่ซีกหนึ่งของร่างกายไปตามเส้นประสาทต่มน้ำใส จะคงอยู่ประมาณ 5 วันต่อมาผื่นตกสะเก็ดและหายใน 2-3 สัปดาห์และอาจจะทิ้งรอยแผลเป็น ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแรงเช่น

    การติดต่อโรคงูสวัดเป็นโรคติดต่อหรือไม่

    ภาพแสดงผื่นที่เริ่มหายตกสะเก็ด

    การติดต่อโรคงูสวัดเป็นโรคติดต่อหรือไม่
    การติดต่อโรคงูสวัดเป็นโรคติดต่อหรือไม่
    โรคมะเร็ง,เอดส์,หรือได้ยากดภูมิเช่น prednisolone ผู้ป่วยกลุ่มนี้พบโรคงูสวัดได้บ่อยและเป็นมาก
  4. การวินิจฉัย การวินิจฉัยทำได้จากประวัติและลักษณะ ของผื่น แต่ผื่นของผู้ป่วยบางคนตำแหน่งที่เกิดและลักษณะผื่นไม่เหมือนงูสวัดจึงจำ เป็นต้องตรวจวินิจฉัยเพิ่ม ได้แก่การเพาะเชื้อไวรัสการย้อมด้วยวิธี Direct immunofluorescence assay
  5. โรคนี้จะติดต่อหรือไม่ เชื้อไวรัสที่อยู่ในผื่นสามารถติดต่อโดยการสัมผัส สำหรับผู้ที่ไม่เคยเป็นไขสุกใสมาก่อนก็อาจจะกลายเป็นไข้สุกใส สำหรับคนที่เป็นไข้สุกใสแล้วก็จะมีโอกาสเป็นงูสวัสเพิ่มมากขึ้น
  6. การรักษา
  • ช่วงตุ่มใสใช้น้ำยา burow หรือ boric acid วางบนผื่นจะช่วยลดอาการ
  • ผื่นเริมแห้งใช้ ครีมที่มีส่วนผสมของยาปฏิชีวนะทา
  • ยาแก้ปวด เช่น aspirin
  • ยารับประทานควรจะให้ภายใน 72 ชม.หลังจากผื่นขึ้นซึ่งจะทำให้ผื่นหายเร็ว ลดอาการเจ็บปวด และจำนวนเชื้อในตุ่ม ยาชนิดอื่นได้แก่ famcicovir,Valyclovir
  • Acyclovir 800 mg วันละ 5 ครั้งเป็นเวลา 7-10 วัน
  • Famciclovir 500 mg วันละ 3 ครั้ง 7 วัน
  • Valacyclovir 1000 mg วันละ 3 ครั้ง 7 วัน
  • ยาFamcicovir,Valyclovir จะให้ผลการรักษาดีกว่า acyclovir การให้ยารับประทานจะทำให้ผื่นหายเร็ว ลดอาการเจ็บปวด ยังไม่มีข้อห้ามในการใช้ยา ยังไม่แนะนำให้ใช้ในคนท้อง
  • การใช้ยาทายังไม่ได้รับการยอมรับ
  • การใช้ยา steroid มีรายงานว่าการใช้ยา steroid ร่วมกับยาต้านไวรัสจะทำให้แผลหายเร็ว และลดอาการเจ็บปวด แต่ไม่แนะนำให้ steroid เพียงอย่างเดียว
  • มีวัคคซีนที่ใช้ฉีดเพื่อป้องกันงูสวัส โดยจะฉีดในคนที่เคยเป็นไข้สุกใสแล้ว อายุมากกว่า 60 ปีพบว่าสามารถลดการเกิดงุสวัสได้ร้อยละ 50 และลดอาการปวด
  1. การรักษา Postherpetic neuralgia หากมีอาการปวดมากอาจจะต้องให้ยาแก้ปวดหลายขนานเช่น nortriptyline 10-25 mgก่อนนอน,gabapentin 300 mg วันละครั้ง
  2. โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ
  • อาการปวดแผลหลังจาผื่นหายไปแล้ว ที่เรียกว่า Post herpetic neuralgia มักจะเกิดอาการหลังจากเกิดผื่น 30 วันโดยมากพบภาวะนี้ในคนที่ภูมิคุ้มกันบกพร่องอาการปวดมักเกิดบริเวณผื่นเมื่อสัมผัสกับร้อนหรือเย็นจะทำให้ปวดเพิ่ม อาการปวดอาจจะอยู่ได้เป็นปีการป้องกันภาวะนี้ต้องรีบรักษาโรคงูสวัดให้เร็ว ถ้าปวดมากให้กินยาแก้ปวด
  • Herpes Zoster Opthamoticus เป็นงูสวัดของเส้นประสาทคู่ที่5 trigeminal nerve ผู้ป่วยจะมีอาการปวดใบหน้าซีกหนึ่ง มีผื่นขึ้นที่ศีรษะ รอบตา หากไม่รักษาด้วยยาต้านไวรัสอาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนที่ตา เช่นกระจกตาอักเสบ
  • ภาวะแทรกซ้อนอื่นที่พบได้คือโดยเฉพาะในคนที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องได้แก่ สมองอักเสบไขสันหลังอักเสบผื่นที่ผิวหนังกระจายปอดบวม
  • งูสวัดในผู้ป่วยโรคเอดส์ ผื่นมักจะไม่เหมือนคนปกติ มีการเป็นงูสวัดบ่อย การรักษาให้ใช้ Acyclovir รักษาจนผื่นหาย

การปฏิบัติตน

  1. งูสวัด เป็นโรคที่เชื่อว่าไม่ติดต่อ เป็นแล้วหายไปเองได้ เพียงแต่รักษาแผลให้สะอาด ในระยะเป็นตุ่มน้ำใสที่มีอาการปวดแสบปวดร้อนให้ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเกลืออุ่นๆ หรือ กรดบอริก 3% ปิดประคบไว้ เมื่อผ้าแห้งก็ชุบเปลี่ยนใหม่ ทำเช่นนี้วันละ 3-4 ครั้งๆ ละประมาณ 15 นาที ในระยะตุ่มน้ำแตกมีน้ำเหลืองไหลต้องระมัดระวังการติดเชื้อแบคทีเรียที่จะเข้าสู่แผลได้ ควรใช้น้ำเกลือสะอาดชะแผลแล้วปิดด้วยผ้าก๊อสที่สะอาด ถ้า ปวดแผลมากรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล
  2. ในรายเป็นมากหรือรุนแรงจะต้องเข้ารับการตรวจรักษากับแพทย์ทันที เช่น ผู้ป่วยสูงอายุที่มีอาการปวดและอับเสบรุนแรง ในคนที่มีภูมิต้านทานต่ำจากการได้ยากดภูมิต้านทานไว้ ได้แก่ ยาฆ่าเซลล์มะเร็ง หรือจากการได้รับการฉายรังสี หรือในผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งของตอมน้ำเหลือง เป็นต้น
  3. ในรายที่เป็นบริเวณในหน้า จมูก อาจมีโอกาสลุกลามเข้าไปในแก้วตาได้ จะต้องปรึกษาจักษุแพทย์ เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง
  4. ถ้าสงสัยหรือไม่แน่ใจว่าใช่โรคงูสวัดหรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อได้ รับการวินิจฉัย และคำแนะนำในการปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง


ที่มา  www.siamhealth.net

อัพเดทล่าสุด