คำว่า "การวิจัย" ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Research" ถ้าจะแปลตามตัวหมายถึง การค้นหาซ้ำแล้วซำอีก
การวิจัยทางการศึกษา คือ อะไร
การวิจัยทางการศึกษา ความหมายและความสำคัญ (เนื้อหาเหมาะสำหรับทำรายงาน)
คำว่า "การวิจัย" ตรงกับภาษาอังกฤษว่า "Research" ถ้าจะแปลตามตัวหมายถึง การค้นหาซ้ำแล้วซำอีก ความหมายของคำว่าการวิจัยทางด้านวิชาการนั้น หมายถึง กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ หรือกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อตอบปัญหาที่มีอยู่อย่างมีระบบและมี วัตถุประสงค์ที่แน่นอน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
ในการทำการวิจัยทางการศึกษานั้นผู้วิจัยส่วนใหญ่จะพบปัญหาหลายประการ เช่น ความคลาดเคลื่อนหรือการแทรกซ้อนของตัวแปรต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำวิจัย และเนื่องจากการวิจัยการศึกษานั้นมักเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ซับซ้อนและลำบากในการควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ที่อาจจะมีผลต่อข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ อาจจะมีผู้สงสัยว่าทำไมยังมีการวิจัยการศึกษากันอยู่ทั้ง ๆ ที่ในการทำการวิจัยทางการศึกษานั้นจะต้องประสบปัญหาต่าง ๆ มากมาย เหตุผล คือ
๑.ผลที่ได้รับจากการวิจัยทางการศึกษานั้นสามารถนำมาปรับปรุงคุณภาพทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๒.จากการได้ศึกษาค้นพบสิ่งใหม่ ๆ นั้นเป็นความตื่นเต้นและเป็นความสุขอย่างหนึ่งของนักวิจัย สิ่งที่นักวิจัยการศึกษาพยายามศึกษาค้นคว้าก็คือเทคนิควิธีสอนแปลก ๆ ใหม่ ๆ หรือการพัฒนาหลักสูตร การสร้างสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอน
๓.ปัจจุบันในวงการศึกษานั้นได้ให้คุณค่าการวิจัยไว้มากดังจะเห็นได้จากการ พิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ผลการวิจัยเป็นส่วนหนึ่งที่นำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจในการเลื่อน ตำแหน่ง
งานวิจัยแต่ละชิ้นกว่าจะออกมาเป็นรูปเล่มนั้น ลงทุนทั้งทุนทรัพย์และเวลาค่อนข้างสูง แต่ประโยชน์ใช้สอยจะคุ้มค่าหรือไม่นั้นน่าคิด เพราะเราต้องย้อนถามก่อนว่า วัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้นเพื่ออะไรกันแน่ เพื่อการศึกษาค้นคว้าสื่อการสอนใหม่ เพื่อศึกษาปัญหา เพื่อเลื่อนตำแหน่ง หรือเพื่อให้ผู้บริการได้ใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ดัง กล่าว และหากงานวิจัยนั้นทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะมีผู้ได้รับประโยชน์จากงานวิจัยมากน้อยเพียงใด โดยที่มีผู้บริโภคงานวิจัยซึ่งมีเพียงแต่นักวิจัยเพียงไม่กี่คน โดยที่คนอื่น ๆ ไม่มีสิทธิอ่านหรืออ่านแต่ไม่เข้าใจ ก็จะเป็นที่น่าเสียดาย ประเด็นที่กล่าวถึงต่อไปนี้ คือ จะเขียนงานวิจัยอย่างไรให้คนอ่านได้ทั้งอรรถรสและเพลิดเพลินในตัว การเขียนงานวิจัยให้ชวนอ่านนั้น จ้องพยายามเกลาภาษาให้ง่ายต่อการเข้าใจ มีความชัดเจนน่าเชื่อถือและรัดกุม นักอ่านหนังสือจีนกำลังภายในคงยอมรับว่า เหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้เราต้องติดตามอ่านเรื่องตั้งแต่ต้นจนจบแทบไม่วาง เลย เพราะเขาใช้ภาษาเข้าใจง่าย แม้ชื่อตัวละครจะจำยาก ใช้คำสั้น ๆ แต่กินความหมายลึกซึ้ง เช่น
"บุญคุณต้องทดแทน แค้นต้องชำระ"
"ลูกผู้ชายฆ่าได้ แต่หยามไม่ได้"
ฯลฯ
ข้อเขียนในรายงานวิจัยเท่าที่เคยพบมา บางครั้งเขียนสั้นจนไม่สื่อความ มีตารางแสดงตัวเลขเกือบเต็มหน้า พอถึงภาคบรรยายเขียนเพียงแค่ ๓ บรรทัด คนอ่านยังไม่เห็นภาพชัดเจน โดยเฉพาะผู้อ่านที่มีพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับสถิติหรืองานวิจัยน้อยหรือ ไม่มีเลย จะทำให้เกิดความท้อแท้ที่จะอ่านงานวิจัยจนจบ ดังนั้นควรนำแผนภาพ กราฟ มาช่วยแสดงเนื้อหาสาระที่ยุ่งยากซับซ้อน เป็นรูปธรรมง่ายต่อการเข้าใจและเร้าใจผู้อ่านตลอดเวลา
การวิจัยทางการศึกษา , การวิจัยทางการศึกษา คือ , รายงานการวิจัยทางการศึกษา , ความหมายการวิจัยทางการศึกษา , ประเภทของการวิจัยทางการศึกษา , การวิจัยทางการศึกษามีกี่ประเภท , สถิติเพื่อการวิจัยทางการศึกษา
ที่มา .kru-itth.com