นโยบายการศึกษา บทความนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา


3,827 ผู้ชม

นโยบายการศึกษา บทความนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา


นโยบายการศึกษา

นโยบายการศึกษา บทความนโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

วัตถุประสงค์
เพื่อพัฒนาการศึกษาให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ ให้เป็นกลไกในการสร้างคนให้เป็นบุคคล แห่งการเรียนรู้ สร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ เพื่อให้ปวงชนชาวไทยมี ศักยภาพในการพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถอยู่อย่างไทยในสังคมโลกอย่างเป็นสุข รวมทั้งก่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนและประเทศชาติให้ก้าวหน้า มั่นคง สมดุล และยั่งยืน โดยให้ผู้ผ่าน การศึกษามีความรู้ความสามารถ และคุณลักษณะสำคัญดังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของคนไทยที่ กำหนดไว้
นโยบายข้อที่ ๑ การศึกษาขั้นพื้นฐาน
เร่งรัดจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีคุณภาพให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย ตั้งแต่ระดับก่อน ประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษาอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม
เป้าหมาย
๑. เด็กปฐมวัยทุกคนได้รับการพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมอยางน้อย ๒ ปี ก่อนเข้าเรียน ระดับประถมศึกษา ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ และสติปัญญา โดยกระทรวงศึกษาธิการ จะรับภาระร้อยละ ๙๖ ของนักเรียนในกลุ่มเป้าหมาย
๒. เด็กในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับทุกคน ได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษา ทั้งนี้ให้ นักเรียนระดับก่อนประถมศึกษาและประถมศึกษาได้รับอาหารเสริม (นม) และอาหารกลางวัน อย่างทั่วถึง โดยกระทรวงศึกษาธิการจะรับภาระร้อยละ ๙๓ ของนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
๓. เด็กที่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาในปีนั้นทุกคนได้เรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยกระทรวงศึกษาธิการจะรับภาระ ร้อยละ ๙๘ ของนักเรียนในกลุ่มเป้าหมาย
๔. เด็กที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีความรู้ ความสามารถ และพฤติกรรมที่ พึงประสงค์ โดยผ่านเกณฑ์มาตรฐานการวัดผลตามหลักสูตร
๕. เด็กที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นทุกคนในปีนี้ได้เรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย โดยกระทรวงศึกษาธิการจะรับภาระ ร้อยละ ๙๙ ของกลุ่ม
๖. เด็กที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีความรู้ ความสามารถ และพฤติกรรมที่ พึงประสงค์โดยผ่านเกณฑ์การวัดผลตามหลักสูตร ๗. เด็กพิการอายุ ๗-๑๔ ปีทุกคน ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานให้สูงสุด ตามศักยภาพที่จะ เรียนได้
๘. นักเรียนในสถานศึกษาปลอดจากโรคที่ป้องกันได้ และสารเสพติด
๙. ประชากรในวัยแรงงานทั่วไปได้รับความรู้พื้นฐานถึงมัธยมศึกษาตอนต้นเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะแรงงานไทยในสถานประกอบการร้อยละ ๕๐ มีความรู้พื้นฐานถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
มาตราการ
๑. รณรงค์ให้พ่อแม่ผู้ปกครอง ตระหนักถึงความสำคัญ และสนับสนุนบุตรหลานให้ได้รับ การศึกษาจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๒. จัดทำแผนที่ตั้งสถานศึกษากำหนดขนาดโรงเรียนที่เหมาะสม และจัดทำผังแม่บทโรงเรียน เพื่อให้การบริการทางการศึกษา มีประสิทธิภาพและครอบคลุมทั่วถึง
๓. ประสานงานกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะรับบริการให้เหมาะสม
๔. กำหนดมาตรฐานขั้นพื้นฐานในการจัดการศึกษา ทั้งปัจจัย และกระบวนการและจัดหาวัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์การศึกษาและบุคลากรให้แก่สถานศึกษาอย่างน้อยให้ถึงเกณฑ์มาตรฐานทุกสถานศึกษา โดยให้ความสำคัญแก่สถานศึกษาที่ขาดแคลนเป็นอันดับแรก
๕. พัฒนาสถานศึกษาทุกระดับ ทุกประเภท ให้เป็นปัจจุบัน
๖. ดำเนินการ จัดหาอาหารเสริม (นม) และอาหารกลางวันให้แก่เด็กในระดับก่อนประถมศึกษา และประถมศึกษาอย่างทั่วถึง โดยเน้นกลุ่มผู้ด้อยโอกาสเป็นพิเศษ
๗. ให้ความรู้แก่พ่อแม่ และผู้ปกครอง ในการอบรมเลี้ยงดูเด็กเพื่อเสริมการพัฒนาเด็กอย่าง ถูกต้อง และสามารถสังเกตแววความถนัดของบุตรหลานได้
๘. สนับสนุนองค์กรการกุศล และสถาบันทางศาสนาที่จัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพให้แก่กลุ่ม ผู้ด้อยโอกาส โดยรัฐให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ วัสดุ อุปกรณ์ สื่อการสอน เงินอุดหนุน และอื่นๆ ตามความเหมาะสม
๙. ขยายการศึกษานอกระบบ ให้แก่ผู้ที่ไม่สามารถเข้ารับการศึกษาในระบบได้
๑๐. จัดบริการการศึกษาในรูปแบบที่ยืดหยุ่นหลากหลาย เพื่อให้บริการอย่างทั่วถึง กว้างขวาง รวมทั้งการพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาส และผู้ที่มีความสามารถพิเศษ อาทิ การเรียน ร่วมระหว่างเด็กพิการกับเด็กปกติ การจัดโรงเรียนเฉพาะทางแก่ผู้พิการและผู้มีความสามารถพิเศษ การจัดกิจกรรมเสริมพิเศษในโรงเรียนทั่วไป
๑๑. กำหนดรูปแบบและวิธีการในการช่วยเหลือ เพื่อป้องกันการออกจากโรงเรียนกลางคัน
๑๒. ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายแก่ผู้เรียนทุกคนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ทั้งในสถานศึกษาของ รัฐและเอกชน โดยยกเว้นเงินบำรุงกการศึกษา ค่าธรรมเนียมการเรียน และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ ดำเนินงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา การจัดบัตรอุดหนุนค่าเล่าเรียน และการจัดหาทุน การศึกษาจากแหล่งทุนภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ฯลฯ
๑๓. ให้มีการติดตาม ประเมินผล และการวิจัยการจัดการศึกษาทุกด้านอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะเกี่ยวกับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและผู้เสียเปรียบ เพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มี คุณภาพและประสิทธิภาพ
๑๔. ยกระดับการศึกษาขั้นพื้ฐานของแรงงานไทยให้สูงขึ้น โดยสนับสนุนการจัดบริการทาง การศึกษาในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตลอดจนระบบทวิภาคี และการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เป็นต้น
๑๕. จัดให้มีระบบข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับการศึกษา เพื่อให้สามารถจัดการศึกษาแก่เยาวชน และประชาชนได้อย่างทั่วถึง
๑๖. สนับสนุนให้ศาสนบุคคลให้ความรู้ อบรมจริยธรรม คุณธรรมแก่นักเรียน นักศึกษา เยาวชนและประชาชนอย่างทั่วถึง
๑๗. ประสานงานกับหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสาธารณสุข เพื่อให้เด็กในระดับปฐมวัย ทุกคนได้รับการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคที่ป้องกันได้
๑๘. ร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการจัดกิจกรรมและ รณรงค์ เพื่อขจัดการเสพสารเสพติดในสถานศึกษา
นโยบายข้อที่ ๒ การผลิตและพัฒนากำลังคน
เร่งรัดผลิต และพัฒนากำลังคนให้สามารถประกอบอาชีพ และพัฒนาอาชีพได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และเอื้อต่อความต้องการและการพัฒนาของชุมชน สังคมและประเทศชาติ โดย เฉพาะกำลังคนระดับกลางและระดับสูงในสาขาที่ขาดแคลน
เป้าหมาย
๑. เด็กที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายได้ศึกษาต่อระดับหลังมัธยมศึกษา ไม่ น้อยกว่าร้อยละ ๗๕ โดยเน้นการผลิตกำลังคนด้านสาขาขาดแคลน
๒. มีการผลิตและพัฒนากำลังคนระดับกลาง และระดับสูงให้สอดคล้องกับความต้องการ ของผู้เรียน การประกอบอาชีพอิสระ และตลาดแรงงานทั้งของรัฐและเอกชนให้เพียงพอกับการ ขยายตัวทางเศรษฐกิจ การผลิตในอุตสาหกรรมและบริการสมัยใหม่
๓. มีการผลิตบุคลากรทางด้านศิลปะและวัฒนธรรม โดยเฉพาะสถาปัตยกรรมไทย ช่างสิบหมู่ นาฏศิลป์ ดนตรี ซึ่งกำลังเป็นปัญหาวิกฤติของชาติ ๔. มีการผลิตกำลังคนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้มีสัดส่วนเมื่อเปรียบเทียบ กับสาขาวิชาอื่น ๆ เป็นร้อยละ ๔๐:๖๐
๕. มีการกระจายสถานศึกษาวิชาชีพไปยังภูมิภาคต่างๆ ที่เหมาะสมกับความต้องการของ ผู้เรียน และแนวทางการพัฒนาของชุมชนและภูมิภาคนั้น
๖. มีสถานศึกษาที่เปิดสอนระดับอุดมศึกษาครบทุกจังหวัด
๗. มีการวิจัยและนำผลการวิจัยมาใช้ในการผลิตและพัฒนากำลังคน
มาตรการ
๑. เร่งผลิตกำลังคนในสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลนและวิชาชีพสาขาใหม่ ให้สอดคล้องกับ ความต้องการของตลาดแรงงาน
๒. เร่งผลิตบุคลากรทางศิลปและวัฒนธรรม โดยเฉพาะสาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย ช่างสิบหมู่ นาฏศิลป์ ดนตรี และอื่น ๆ เพื่อเป็นการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
๓. สนับสนุนทุนให้แก่ผู้เรียนในสาขาขาดแคลน รวมทั้งการจัดเตรียมตำแหน่งให้เมื่อ สำเร็จการศึกษา โดยมีค่าวิชาเพิ่มให้
๔. ส่งเสริมการจัดการศึกษา ในลักษณะที่ให้สถาบันการศึกษาร่วมกับสถานประกอบการ สมาคมและองค์กรวิชาชีพในการพัฒนากำลังคนระดับกลางและระดับสูง ทั้งด้านปริมาณ คุณภาพ และคุณธรรม
๕. สนับสนุนให้สถานศึกษา ภาคเอกชนและสถานประกอบการร่วมกันจัดการศึกษา และ ฝึกอบรมแก่แรงงานทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจบริการ เพื่อเพิ่มขีด ความสามารถในการทำงานทั้งในสถานประกอบการและการประกอบอาชีพอิสระ
๖. ให้การสนับสนุนในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือที่ทันสมัย สอดคล้องกับสาขา วิชาชีพที่เปิดสอน และสภาพความเป็นจริงในสถานประกอบการ
๗. ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิต พัฒนากำลังคนร่วมมือกับสถาบันทั้งในและ ต่างประเทศในการพัฒนาบุคลากร โดยนำเทคโนโลยีระดับสูงมาใช้พัฒนาบุคลากรให้สอดคล้อง กับความต้องการกำลังคนและการพัฒนาเศรษฐกิจ
๘. ให้โอกาสแก่บุคลากรในระดับนี้ไปปฏิบัติงานในสถานประกอบการ เพื่อเพิ่มพูน ประสบการณ์ รวมทั้งเพิ่มการฝึกอบรมดูงาน โดยเฉพาะในสาขาที่ขาดแคลนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ
๙. สนับสนุนทุนวิจัยและทุนเพื่อการศึกษาอบรมเพื่อการวิจัย และนำผลการวิจัยมาใช้ รวมทั้งสนับสนุนทุนเพื่อการแปล พิมพ์ และเผยแพร่ผลงานวิชาการของนักวิชาการ
๑๐. ส่งเสริมและจัดตั้งสถานศึกษาด้านวิชาชีพให้กระจายไปสู่ภูมิภาคต่างๆ โดยเฉพาะ ในระดับอำเภอ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และแนวโน้มการพัฒนาของ ภูมิภาคนั้น ๆ โดยเน้นการจัดการศึกษาตามแนวการจัดการศึกษาของวิทยาลัยชุมชนอย่าง กว้างขวาง
๑๑. จัดบริการแนะแนว ตลาดนัดแรงงาน และข้อมูลตลาดแรงงานอย่างกว้างขวาง ในสถานศึกษาระดับหลังมัธยมศึกษาทุกแห่ง
๑๒. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอผ่อนปรนภาษีเงินได้ และยกเว้นภาษี ศุลกากรในการนำเข้าวัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือเพื่อการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้าน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
นโยบายข้อที่ ๓ การปฏิรูปกระบวนการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียน การสอน
ปฏิรูปกระบวนการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนทุกระดับ ทุกประเภท โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถและคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ของคนไทยในอนาคต รวมทั้งให้หลักสูตรมีความคล่องตัวและสอดคล้องกับ ความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สังคมประเทศชาติ และการพัฒนาประชาคมโลก
เป้าหมาย
๑. มีหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ/ประเภท ที่จะนำไปสู่การฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และพัฒนาความสามารถของผู้เรียนที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สังคม และประเทศชาติ โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาหลักสูตร
๒. มีการใช้หลักสูตรท้องถิ่น วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในส่วนที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตการประกอบอาชีพที่กำหนดโดยสถานศึกษา และชุมชนอย่าง จริงจัง และกว้างขวาง
๓. มีกระบวนการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะ ประสบการณ์ และมีความสุขในการเรียน สามารถปลูกฝังนิสัยใฝ่เรียน ใฝ่หาความรู้เพื่อการ พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง และมีเวลาให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติเหมาะสมกับวัย
๔. มีการวัดผลประเมินผลที่สอดคล้องกับคุณลักษณะ และความสามารถที่พึงประสงค์ โดยเน้นการแสดงออกของผู้เรียน และใช้ผลการประเมินมาพัฒนาผู้เรียนและกระบวนการ เรียนการสอนในทุกระดับอย่างถูกต้อง
๕. มีการวิจัยเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนอย่างกว้างขวาง
๖. มีระบบประกันคุณภาพการศึกษา และนำผลมาปรับปรุง พัฒนาสถานศึกษา และยก ระดับคุณภาพการศึกษาให้สูงขึ้น
๗. มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่สร้างความตระหนักในการรักษา ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาทุกแห่ง
มาตรการ
๑. รณรงค์ให้บุคคล ครอบครัว และชุมชนเห็นความสำคัญในการมีส่วนร่วมกำหนด และพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
๒. เพิ่มพูนความรู้ ความสามารถเกี่ยวกับการกำหนดและพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นให้แก่ สถานศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาระดับจังหวัดและระดับเขตการศึกษา เพื่อให้เกิดการ พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นที่เหมาะสมและนำมาใช้อย่างจริงจัง กว้างขวาง
๓. ปรับปรุงโครงสร้างหลักสูตรรายวิชา และขั้นตอนการอนุมัติหลักสูตร ให้มีความ ยืดหยุ่นเพื่อให้เอื้อต่อการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น
๔. เร่งรัดให้ดำเนินการจัดทำระบบการประกันคุณภาพการศึกษาในทุกระดับทุกประเภท
๕. ปรับปรุงโครงสร้างเนื้อหาสาระของหลักสูตรในส่วนของการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มี สัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างวิชาทักษะพื้นฐาน วิชาที่จะพัฒนาผู้เรียนด้านจิตใจ สังคม สุขภาพพลานามัย โดยให้ความสำคัญต่อวิชาชีพพื้นฐานที่จำเป็นให้มากขึ้น เช่น วิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และให้ความสำคัญในการจัดกิจกรรมเสริมในวิชาพลศึกษา ดนตรี ศิลปะ รวมทั้งจัดกิจกรรม ส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อมศึกษา
๖. ปรับปรุง พัฒนาหลักสูตรทุกระดับ ทุกประเภทให้มีความยืดหยุ่น เพื่อให้ผู้เรียน สามารถนำความรู้ประสบการณ์ที่ได้จากครอบครัว ชุมชน และสถานประกอบการมาใช้เป็น ส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนตามหลักสูตร และนำมาเทียบหน่วยการเรียนได้
๗. เร่งพัฒนาจริยธรรม คุณธรรมของผู้เรียนทุกระดับ โดยจัดให้เป็นวิชาเฉพาะที่ ต้อง สอนโดยการปฏิบัติ และสอดแทรกเรื่องจริยธรรม คุณธรรม ในกระบวนการเรียนการสอนวิชา อื่น ๆ รวมทั้งจัดกิจกรรมเสริมทุกประเภท
๘. ให้สถานศึกษาทุกระดับทุกประเภทจัดการเรียนการสอนวิชาอาชีพ เพื่อให้ผู้เรียน สามารถทำงานเป็น มีทักษะในการประกอบอาชีพ มีความสามารถในการจัดการ มีความสามารถ ในการทำงานเป็นหมู่คณะ
๙. พัฒนารูปแบบ เทคโนโลยี นวัตกรรม และสื่อการสอนที่เน้นการช่วยครูสร้าง บรรยากาศให้ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข ฝึกการคิดอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ มีความ สามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ รวมทั้งสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ระหว่างการศึกษา ในระบบและนอกระบบโรงเรียน
๑๐. จัดกิจกรรมเพื่อร่วมสร้างวิถีชีวิตประชาธิปไตย รวมทั้งบูรณาการเข้ากับการเรียน การสอนทุกระดับและทุกประเภท
๑๑. จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อสร้างความตระหนัก ร่วมคิดร่วมทำในการรักษา แก้ไขฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืนและสมดุล
๑๒. พัฒนาการเรียนการสอนเพื่อให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ทักษะการใช้ กระบวนการวิทยาศาสตร์ เพิ่มพูนความสามารถในการใช้และพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีนิสัยรักการแสวงหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเองและปรับตัวให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลง โดย ให้ความสำคัญต่อการเรียนรู้ที่เกิดจากการฝึกปฏิบัติจริงการศึกษา ค้นคว้าจากแหล่งความรู้ เช่น ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการ ศูนย์วิทยาศาสตร์ พิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศาสนสถาน รวมทั้งจากชุมชนและสถานการในชีวิตประจำวัน เป็นต้น
๑๓. ปรับปรุงระบบการวัดผลให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด โดยเน้นพฤติกรรม การแสดงออกจริงของผู้เรียนและใช้ผลการประเมินเพื่อพัฒนาผู้เเรียน และกระบวนการเรียน การสอน
๑๔. ส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอน การวิจัยวัฒนธรรมพื้นบ้าน ในท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง และสนับสนุนให้นำผลการวิจัยดังกล่าวมาพัฒนาการเรียนการสอน
๑๕. นำแนวทางวัฒนธรรม และความเชื่อทางศาสนามาเป็นพื้นฐานในการพัฒนา การเรียนการสอนและการจัดกิจกรรม ให้เหมาะสมกับชุมชนและท้องถิ่น
๑๖. จัดบริการแนะแนวให้เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนการสอน
๑๗. จัดกิจกรรมและการเรียนการสอน เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมอนามัย ส่งเสริมการ ออกกำลังกาย เพื่อสุขภาพและการป้องกันโรค
๑๘. จัดกิจกรรมเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันสารเสพติดและโรคเอดส์ เช่น การแนะแนว การ กีฬาและนันทนาการ เป็นต้น
นโยบายข้อที่ ๔ การปฏิรูประบบการสรรหา การผลิตและการพัฒนาครู และ บุคลากรทางการศึกษา
ปฏิรูประบบการสรรหา การผลิต และการพัฒนาครูรวมทั้งบุคลากรทางการศึกษาให้มี คุณภาพประสิทธิภาพ และจรรยาบรรณในอาชีพ เพื่อให้สามารถจัดการเรียนการสอน และ จัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับการพัฒนาการศึกษาในอนาคต
เป้าหมาย
๑. มีระบบการผลิตครูที่มีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการคัดเลือก และจูงใจให้ผู้ที่มีความ เหมาะสมมาเป็นครู และมีการปรับปรุงหลักสูตรการฝึกหัดครูให้ครูมีความสามารถในการสอน ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง รวมทั้งการปลูกฝังจิตสำนึกในการเป็นครู
๒. มีการผลิตครูที่สอนสาขาวิชาขาดแคลนที่เพียงพอกับความต้องการ
๓. มีการมอบอำนาจให้สถานศึกษาบางประเภทเป็นผู้สรรหาบุคลากร มาบรรจุเป็นครู รวมทั้งการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิจากทั้งภาครัฐและเอกชน ผู้เกษียณอายุมาเป็น ครูเสริมตามความจำเป็น
๔. ครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกคนได้รับการพัฒนา อย่างน้อย ๒ ปีต่อครั้ง เพื่อ พัฒนาความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีจรรยาบรรณในอาชีพ รู้จักใช้เทคโนโลยี สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้หลักสูตรการฝึก อบรมในหลายรูปแบบที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพ
๕. มีระบบการพัมนาครูและบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง หลากหลายและ ครอบคลุม
๖. มีเครือข่ายการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา ที่เชื่อมโยงกับสถาบันและแหล่ง วิทยาการต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ
๗. มีศูนย์พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาขนาดใหญ่ ที่ได้มาตรฐานสากล อย่างน้อยภาคภูมิศาสตร์ละ ๑ แห่ง รวม ๔ แห่ง
๘. มีการสร้างขวัญและกำลังใจให้ครูมีความก้าวหน้าและมีความภาคภูมิใจในอาชีพ
มาตรการ
๑. ปรับปรุงระบบการเลือกสรรบุคคลเข้าเรียนครู รวมทั้งการปรับปรุงวิธีการสอบคัดเลือก และการบรรจุครูประจำการ โดยให้สถานศึกษาเป็นผู้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
๒. พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนในการผลิตครู เพื่อให้ได้ครูที่มี ความรู้ความสามารถในเชิงวิเคราะห์ มีจริยธรรม คุณธรรม รวมทั้งมีพฤติกรรมการสอนที่ยึด ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
๓. เร่งรัดการผลิตครูผู้สอนในสาขาวิชาที่ขาดแคลนให้ได้ปริมาณ และคุณภาพที่ เพียงพอ
๔. ให้ครูที่สังกัดในส่วนราชการต่าง ๆ ในกระทรวงศึกษาธิการ สามารถทำการสอน ในสถานศึกษาทั้งในและนอกสังกัดได้มากกวว่า ๑ แห่ง โดยเฉพาะครูผู้สอนในสาขาวิชาที่ ขาดแคลน ทั้งนี้ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้บังคับบัญชา โดยให้ได้รับค่าตอบแทนพิเศษ และให้นับรวมเป็นส่วนหนึ่งของผลงาน
๕. กำหนดคุณสมบัติและเปิดโอกาสให้ภาครัฐและเอกชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้ทรง คุณวุฒิ รวมทั้งผู้เกษียณอายุราชการ มีส่วนร่วมในการปฏิรูประบบการผลิต การสรรหา และการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
๖. ให้ครู - อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษาได้เพิ่มพูนความรู้ พัฒนาทักษะ จรรยาบรรณในอาชีฑในรูปแบบต่างๆ อาทิ สนับสนุนเพื่อการศึกษา การวิจัย ฝึกอบรม ดูงานทั้งในและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องทั่วถึง และทันต่อ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเทคโนโลยี
๗. เร่งรัดพัฒนานักบริหารการศึกษา เพื่อการเพิ่มพูนแนวความคิดความรู้ ตลอดจน ทักษะในการบริหาร และการจัดการที่สามารถพัฒนาสถานศึกษาได้อย่างมีคุณภาพก้าวทัน ต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต โดยเน้นการฝึกอบรมร่วมกันระหว่างสังกัดและต่างสังกัด
๘. ระดมความร่วมมือกับสถาบันและแหล่งวิทยาการต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยให้มีเครือข่ายที่เชื่อมโยง เพื่อการเแลกปลี่ยน ทางวิทยาการและเทคโนโลยี
๙. จัดตั้งศูนย์พัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาขนาดใหญ่ที่ได้มาตรฐานสากล ในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ โดยระดมความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน
๑๐. กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู โดยให้คุรุสภา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู และสถาบันผลิตครู ดำเนินการปรับปรุงระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และให้มีมาตรการ พัฒนาวิชาชีพ โดยการกำหนดให้มีใบประกอบวิชาชีพครู
๑๑. ส่งเสริมระบบสวัสดิการ และประโยชน์เกื้อกูลของข้าราชการทุกประเภททุกสังกัด เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตครู ส่งเสริมขวัญกำลังใจ และความมั่นคงในอาชีพ ให้กับครู รวมทั้งปรับปรุงโครงสร้างเงินเดือนและสวัสดิการอื่น ๆ ของครู โดยมุ่งส่งเสริม สนับสนุนแก่ครูที่สอนในถิ่นทุรกันดาร พื้นที่เสี่ยงภัย และครูที่สอนหลายชั้นเป็นพิเศษ
๑๒. ส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทารการศึกษาได้ทำงานศึกษาวิจัยที่มีคุณภาพ โดยให้ลา ชั่วคราวเพื่อทำการศึกษาวิจัย ปรับปรุงระเบียบการให้ค่าตอบแทนในการทำงานศึกษาวิจัย และ สนับสนุนทุนเพื่อการแปล พิมพ์ เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
๑๓. สร้างเครือข่ายการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิต พัฒนาครูและ บุคลากรทางการศึกษา
นโยบายที่ ๕ การเรียนรู้ตลอดชีวิต
ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เครือข่ายการเรียนรู้ ระบบข้อมูลและข่าวสาร การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น การวิจัยและพัฒนา ให้นำไปสู่องค์กรและ สังคมแห่งการเรียนรู้ ที่เอื้อต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และสมดุล
เป้าหมาย
๑. มีกระบวนการเรียนรู้ที่นำไปสู่การสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของคนไทย
๒. สถานศึกษาและหน่วยงานทุกระดับ ทุกประเภท มีระบบเครือข่ายข้อมูลและข่าวสาร เพื่อบริการประชาชน ในการแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
๓. สื่อมวลชนทุกประเภททั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ให้บริการการศึกษาแก่เด็กเยาวชน และประชาชน เพิ่มมากขึ้น
๔. มีการศึกษาวิจัย และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อถ่ายทอดความรู้ไปสู่ชุมชน
๕. มีห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์เมือง ศูนย์วัฒนธรรม และสนามกีฬาที่มีคุณภาพ ครบทุกอำเภอ และมีเครือข่ายเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน
๖. สถานศึกษาและหน่วยงานทางการศึกษา มีการให้ความรู้และจัดกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตย ศาสนาและวัฒนธรรม
๗. มีการให้ความรู้และบริการด้านพลศึกษา สุขศึกษา กีฬา และนันทนาการแก่ชุมชนอย่าง ทั่วถึง
๘. มีการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับภัยและการป้องกันจากสารเสพติด และโรคเอดส์
๙. มีการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้ความรู้ และพัฒนาแรงงานไทยทั้งภาค เกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจบริการ
มาตรการ
๑. สนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือแก่สถานศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อจัดระบบ ข้อมูลข่าวสารการให้บริการ การวิจัย และพัฒนา
๒. กระจายการจัดและใช้แหล่งความรู้ อาทิ ห้องสมุด สนามกีฬา โบราณสถาน โบราณวัตถุ พิพิธภัณฑ์ ศาสนสถาน และศูนย์วิทยาศาสตร์ ให้เป็นศูนย์การเรียนชุมชน เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา ประชาชน ได้แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
๓. สนับสนุนทุนการศึกษา การฝึกอบรมดูงาน และทุนการวิจัยให้แก่บุคคลและหน่วยงาน ต่างๆ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้
๔. สร้างเครือข่ายการเรียนรู้เพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และประสบการณ์ ระหว่างสถานศึกษาและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน
๕. สนับสนุน ส่งเสริมด้านวิชาการและงบประมาณที่เหมาะสมให้แก่ครอบครัว ชุมชน องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคเอกชน ในการร่วมจัดการศึกษาและบริการความรู้ที่หลากหลายแก่ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป
๖. พัฒนารูปแบบและแนวทางการจัดการศึกษาทั้งในและนอกระบบโรงเรียน และการศึกษา ตามอัธยาศัย ให้มีรูปแบบหลากหลาย
๗. ขอความร่วมมือจากสื่อมวลชน โดยเฉพาะสถานีวิทยุ และสถานีโทรทัศน์ ภาครัฐ ในการให้การสนับสนุนแก่ผู้ผลิตรายการที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
๘. ให้ความรู้แก่ครอบครัว คู่สมรส พ่อแม่ ผู้ปกครอง และชุมชน เกี่ยวกับครอบครัว ศึกษาและปรับตัวให้สามารถอยู่ในสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งให้รู้จักการใช้เครื่องมือ สื่อสาร อุปกรณ์ที่ทันสมัย โดยเฉพาะในสังคมชนบท
๙. สนับสนุนการเรียนรู้นอกระบบโรงเรียน และการเรียนรู้ตามอัธยาศัยให้กว้างขวางแก่ ผู้พลาดโอกาสและผู้อยู่ในตลาดแรงงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
๑๐. สนับสนุนการจัดกีฬาพื้นฐาน กีฬาพื้นบ้าน และกีฬาเพื่อสุขภาพแก่เด็ก เยาวชน และประชาชน
๑๑. เผยแพร่ความรู้ด้านพลศึกษา สุขศึกษา กีฬาและนันทนาการ แก่เด็ก เยาวชน และ ประชาชน
๑๒. ส่งเสริมการให้ความรู้และจัดกิจกรรม เพื่อปลูกฝังวิถีชีวิตประชาธิปไตย อันมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุข
๑๓. ส่งเสริมให้ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อถ่ายโยงความรู้ไปสู่ชุมชน และกระบวนการเรียน การสอน
๑๔. รณรงค์ให้เด็ก เยาวชน ครอบครัวและชุมชน ตระหนักถึงภัยรวมถึงการป้องกันจาก สารเสพติดและโรคเอดส์ โดยร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ
๑๕. ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความรู้และพัฒนาแรงงานไทย
๑๖. สนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมจัดอบรม เพื่อพัฒนาอาชีพให้ สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นอย่างทั่วถึง
๑๗. รณรงค์และสนับสนุนให้ครอบครัว ชุมชน ท้องถิ่น อนุรักษ์ ฟื้นฟูธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อม และรู้จักใช้ประโยชน์ของธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
๑๘. สนับสนุนให้มีความมือกับต่างประเทศ ในการพัฒนาอาชีพท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ และต่อเนื่อง
นโยบายข้อที่ ๖ การปฏิรูปการบริหารและการจัดการศึกษา
ปฏิรูปการบริหารและการจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ และคุณภาพ โดยมุ่งให้เกิด ความสมานฉันท์ระหว่างบุคลากรและหน่วยงานรวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างองค์กร การกระจาย อำนาจไปสู่ท้องถิ่นและสถานศึกษา ตลอดจนให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กร พัฒนาเอกชน หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนมีส่วนร่วมและรับผิดชอบในการจัดการศึกษา
เป้าหมาย
๑. มีการจัดกิจกรรม และฝึกอบรมร่วมสำหรับบุคลากรในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับงานที่ ปฏิบัติ ทั้งในสังกัดเดียวกันและต่างสังกัดให้มีความรู้ ความสามารถ และสมานฉันท์ในการ ปฏิบัติงานอย่างกว้างขวาง ต่อเนื่อง
๒. มีระบบการบริหารงานบุคคลของกระทรวงศึกษาธิการ อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติ องค์กรการบริหารงานบุคคลเดียวกัน
๓. หน่วยงานสนับสนุนสถานศึกษาทุกระดับ ได้รับการปรับปรุงในด้านระบบข้อมูล ระบบวางแผน การใช้เทคโนโลยี การนิเทศ ติดตามประเมินผล ให้คล่องตัว สามารถให้บริการ ได้อย่างรวดเร็ว บรรลุภารกิจหลักขององค์กร
๔. สถานศึกษาทุกแห่งได้รับการกระจายอำนาจให้มีความคล่องตัว สามารถจัดการศึกษา ที่หลากหลาย สอดคล้องตามความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น ภายใต้แนวทางที่กระทรวง ศึกษาธิการกำหนด
๕. ประชาชน ครอบครัว ชุมชน สถาบันทางศาสนา องค์กรของรัฐและเอกชนมีส่วนร่วม รับผิดชอบในการจัดการศึกษา และตรวจสอบคุณภาพการจัดดารศึกษาในสถานศึกษาทุกแห่ง
๖. เอกชนรับผิดชอบในการจัดการศึกษาเพื่อแบ่งเบาภาระของรัฐ ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๐
๗. หน่วยงานมีการวิจัยองค์การและนำผลการวิจัยมาใช้ในการจัดการศึกษา
๘. มีการประสานการจัดทำแผนและติดตามประเมินผลร่วมกัน ระหว่างหน่วยงาน ทั้งใน และนอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
มาตรการ
๑. พัฒนาโครงสร้างระบบการบริหารและการจัดการศึกษา โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน
๒. ปรับปรุง แก้ไข ระเบียบ กฎหมาย และระบบการบริหารงานบุคคลให้อยู่ภายใต้ กฎหมายเดียวกัน
๓. กระจายอำนาจจากส่วนกลางไปสู่ภูมิภาคและสถานศึกษา โดยให้องค์คณะบุคคล ระดับจังหวัด สามารถกำหนดนโยบายการศึกษา สนับสนุนความก้าวหน้าของบุคลากรและ จัดสรรงบประมาณที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น รวมทั้งให้สถานศึกษาและ หน่วยงานทางการศึกษา สามารถบริหารงานได้อย่างคล่องตัวสอดคล้องตามความต้องการ ของชุมชนและท้องถิ่น
๔. จัดให้มีกิจกรรม การประชุม สัมมนา และฝึกอบรมผู้บริหารและบุคลากรระดับ ต่างๆ ในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับงานที่ปฏิบัติ ร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายในสังกัดและ ต่างสังกัดอย่างกว้างขวางต่อเนื่อง
๕. ส่งเสริมให้ครอบครัว ชุมชน เอกชน และสถาบันทางศาสนา มีความเข้าใจ ตระหนักในความสำคัญของการศึกษา และมีส่วนร่วมในการบริหาร จัดการ กำหนดนโยบาย การจัดการศึกษา การกำหนดและพัฒนาหลักสูตรและตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
๖. สนับสนุนให้เอกชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา โดยการให้กู้เงินทุนหมุนเวียน ดอกเบี้ยต่ำ ผ่อนปรนกฎระเบียบให้มีความคล่องตัวและให้ความช่วยเหลือทางวิชาการรวมทั้ง กำหนดสัดส่วนการรับนักเรียน และนักศึกษาระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชนให้ชัดเจน
๗. ส่งเสริม สนับสนุนการวิจัยและนำผลการวิจัยมาใช้เพื่อพัฒนาการบริหารและการ จัดการศึกษาอย่างกว้างขวาง
๘. ให้มีการประสานการจัดทำแผนระหว่างหน่วยงานที่จัดการศึกษาในระดับประเภท เดียวกัน ทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
๙. ส่งเสริมให้มีความร่วมมือกับต่างประเทศในด้านวิชาการ และด้านเทคโนโลยี โดย ให้มีการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญระหว่างกัน สนับสนุนทุนเพื่อการศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน แก่บุคลากรโดยเฉพาะในระดับปฏิบัติ และสนับสนุนด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย
๑๐. พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการวริหาร การวางแผน และติดตามประเมินผลให้ เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกันทุกระดับ และสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นโยบายของรัฐบาลที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา , นโยบายการศึกษา , นโยบายการศึกษาของรัฐบาล , นโยบายการศึกษาของรัฐบาลปัจจุบัน , นโยบายการศึกษาของรัฐบาลอภิสิทธิ์ , นโยบายการศึกษาแห่งชาติ
ที่มา moe.go.th

อัพเดทล่าสุด