อาการหูอื้อข้างเดียวเกิดจาก อะไร บอก วิธีแก้หูอื้อข้างเดียว ด้วยนะ MUSLIMTHAIPOST

 

อาการหูอื้อข้างเดียวเกิดจาก อะไร บอก วิธีแก้หูอื้อข้างเดียว ด้วยนะ


24,743 ผู้ชม




หูอื้อ และ การดูแลสุขภาพอนามัยของหู
ผศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน ผู้เชี่ยวชาญด้านโสต ศอ นาสิก ลาริงซ์วิทย

    
     หู...ใครว่าไม่ สำคัญ หู...นอกจากเป็นอวัยวะที่ใช้ในการได้ยินแล้ว ยังเป็นอวัยวะที่ช่วยในการทรงตัวด้วย โรคของหูมีหลายชนิดตั้งแต่โรคของหูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน ซึ่งความผิดปกติของหูที่พบได้บ่อยอย่างหนึ่ง คือ อาการหูอื้อ
     อาการหูอื้อหรือหูตึง คือ ภาวะที่ผู้ป่วยมีความสามารถในการรับเสียงแย่ลง โดยจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งความผิดปกติที่ว่านี้นอกจากจะเป็นปัญหาของผู้ป่วยแล้วยังอาจถือเป็น ปัญหาของคนรอบข้างด้วยเช่นกัน เพราะคนรอบข้างผู้ป่วยอาจมีปัญหาจากการที่ต้องตะโกนสื่อสารกันเป็นเวลานาน ได้ เช่น เสียงแหบ เป็นต้น
  
กลไกการรับเสียง
     การที่คนเราสามารถรับเสียงได้ ต้องอาศัยกลไก 2 ส่วน คือ
     1. ส่วนนำเสียงและขยายเสียง ได้แก่ หูชั้นนอกและหูชั้นกลาง อาการหูอื้อข้างเดียวเกิดจาก อะไร บอก วิธีแก้หูอื้อข้างเดียว ด้วยนะคลื่น เสียงจากภายนอกผ่านเข้าไปในช่องหูจะไปกระทบแก้วหูและมีการส่งต่อและขยาย เสียงไปยังส่วนของหูชั้นในต่อไป ถ้ามีความผิดปกติเกิดขึ้น ทำให้เกิดภาวะหูตึงได้ โดยมีสาเหตุจากความผิดปกติดังนี้
      - หูชั้นนอก เช่น ขี้หูอุดตัน เยื่อแก้วหูทะลุ หูชั้นนอกอักเสบ เนื้องอกของหูชั้นนอก
      - หูชั้นกลาง เช่น หูชั้นกลางอักเสบ น้ำขังอยู่ในหูชั้นกลาง (otitis media with effusion) ท่อยูสเตเชียน (ท่อที่เชื่อมต่อระหว่างหูชั้นกลางและโพรงหลังจมูก) ทำงานผิดปกติ โรคหินปูนในหูชั้นกลาง (otosclerosis)
     2. ส่วนประสาทรับเสียง ได้แก่ ส่วนของหูชั้นในไปจนถึงสมอง ซึ่งเป็นส่วนที่เรารับรู้และเข้าใจเสียงต่างๆ ความผิดปกติบริเวณนี้ ส่วนใหญ่ทำให้เกิดภาวะหูตึง หูหนวกถาวร และบางโรคทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ โดยมีสาเหตุจากความผิดปกติต่างๆ ได้แก่
       - หูชั้นใน สาเหตุที่พบได้บ่อยสุด คือ ประสาทหูเสื่อมจากอายุ นอกจากนั้นการเสื่อมของเส้นประสาทหูอาจเกิดจากการได้รับเสียงที่ดังมากๆ ในระยะเวลาสั้นๆ ทำให้เส้นประสาทหูเสื่อมเฉียบพลัน (acoustic trauma) เช่น ได้ยินเสียงปืน เสียงระเบิด หรือเสียงประทัด การได้รับเสียงที่ดังปานกลางในระยะเวลานานๆ ทำให้ประสาทหูเสื่อมแบบค่อยเป็นค่อยไป (noise-induced hearing loss) เช่น อยู่ในโรงงาน หรืออยู่ในคอนเสิร์ตที่มีเสียงดังมากๆ การใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู (ototoxic drug) เป็นระยะเวลานาน เช่น salicylate, aminoglycoside, quinine, aspirin, การบาดเจ็บของกะโหลกศีรษะ แล้วมีผลกระทบกระเทือนต่อหูชั้นใน (labyrinthine concussion), การติดเชื้อของหูชั้นใน (labyrinthitis) เช่น จากซิฟิลิสหรือไวรัสเอดส์ การผ่าตัดหูแล้วมีการกระทบกระเทือนต่อหูชั้นใน มีรูรั่วติดต่อระหว่างหูชั้นกลางและหูชั้นใน (perilymphatic fistula), โรคมีเนีย (Meniere’s syndrome) หรือน้ำในหูไม่เท่ากัน
      - สมอง โรคของเส้นเลือด เช่น เส้นเลือดในสมองตีบ เลือดออกในสมอง จากไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เนื้องอกในสมอง เช่น เนื้องอกของเส้นประสาทหู และ/หรือ ประสาทการทรงตัว (acoustic neuroma)
      - สาเหตุอื่นๆ เช่น โรคโลหิตจาง โรคแพ้ภูมิตัวเอง (autoimmune disease) โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว โรคเกล็ดเลือดสูงผิดปกติ โรคที่มีระดับยูริกในเลือดสูง โรคไต โรคเบาหวาน ความดันโลหิตต่ำหรือสูง ไขมันในเลือดสูง โรคเหล่านี้สามารถทำให้หูอื้อได้

การวินิจฉัย
     อาศัยการซักประวัติ สาเหตุต่างๆ ที่เป็นไปได้ที่ทำให้เกิดหูอื้อ การตรวจหูชั้นนอก ช่องหู แก้วหู หูชั้นกลาง และบริเวณรอบหู การตรวจเลือดเพื่อหาความผิดปกติของเคมีในเลือด การตรวจปัสสาวะ การตรวจการได้ยินเพื่อยืนยันและประเมินระดับความรุนแรงของการเสียการได้ยิน การตรวจคลื่นสมองระดับก้านสมอง และการถ่ายภาพรังสี เช่น เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง หรือกระดูกหลังหู หรือตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และการฉีดสารรังสีเข้าหลอดเลือด

การรักษาอาการหูอื้อ
      ต้องรักษาตามสาเหตุ ซึ่งแบ่งเป็นการรักษาด้วยยาและการผ่าตัด อย่างไรก็ตาม หูอื้อที่เกิดจากพยาธิสภาพของหูชั้นใน เส้นประสาทหูและระบบประสาทส่วนกลาง โดยเฉพาะประสาทหูเสื่อม มักจะรักษาไม่หายขาด ยกเว้นสาเหตุดังกล่าวเป็นสาเหตุที่รักษาได้ นอกจากนั้นถ้าเกิดจากประสาทหูเสื่อมควรหาสาเหตุหรือปัจจัยที่จะทำให้หู เสื่อมเร็วกว่าปกติเพื่อหาทางชะลอความเสื่อมนั้นด้วย ส่วนประสาทหูเสื่อมบางรายไม่ทราบสาเหตุหรือทราบสาเหตุแต่เป็นสาเหตุที่รักษา ไม่ได้ อาจหายเองหรือจะเป็นอยู่ตลอดชีวิตก็ได้ ทั้งนี้แพทย์จะเป็นผู้อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าสาเหตุของหูอื้อเกิดจากอะไร และเป็นอันตรายหรือไม่ และจะหายหรือไม่
* ถ้าหูอื้อไม่มาก ยังพอได้ยินเสียง ไม่รบกวนคุณภาพชีวิตประจำวันมากนัก คือยังพอสื่อสารกับผู้อื่นได้ หรือเป็นเพียงหูข้างเดียว อีกข้างยังดีอยู่ ไม่จำเป็นต้องรักษา เพียงแต่ทำใจยอมรับ
      * ถ้าหูอื้อมาก ไม่ค่อยได้ยินเสียง โดยเฉพาะถ้าเป็น 2 ข้าง และรบกวนคุณภาพชีวิตประจำวันมาก คือไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ และเกิดจากสาเหตุที่ไม่สามารถแก้ไขได้แล้ว ควรฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินด้วยการใช้เครื่องช่วยฟัง หรืออาจใช้ยา ซึ่งยาที่อาจทำให้การได้ยินดีขึ้นบ้าง คือ ยาขยายหลอดเลือด เพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงหูชั้นในมากขึ้น และยาบำรุงประสาทหู
       * ถ้าหูอื้อเกิดจากประสาทหูเสื่อม ควรป้องกันไม่ให้ประสาทหูเสื่อมมากขึ้น โดย
      - หลีกเลี่ยงเสียงดัง
      - ถ้าเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง โรคไต โรคกรดยูริกในเลือดสูง โรคซีด โรคเลือด ควบคุมโรคให้ดี
      - หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทหู เช่น aspirin, aminoglycoside, quinine
      - หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุหรือการกระทบกระเทือนบริเวณหู
      - หลีกเลี่ยงการติดเชื้อของหูหรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน
      - ลดอาหารเค็มหรือเครื่องดื่มบางประเภทที่มีสารกระตุ้นประสาท เช่น กาแฟ ชา เครื่องดื่มน้ำอัดลม (มีสารคาเฟอีน) งดสูบบุหรี่ (มีสารนิโคติน)
      - พยายามออกกำลังกายสม่ำเสมอ ลดความเครียด วิตกกังวล
      - นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

       ดังนั้นหูอื้ออาจมีสาเหตุจากประสาทหูเสื่อมจากอายุ ซึ่งไม่มีอันตรายร้ายแรงใดๆ หรือมีสาเหตุจากโรคที่อันตราย เช่น เนื้องอกของสมองหรือเส้นประสาทก็ได้ หูอื้ออาจหายได้หรืออยู่กับผู้ป่วยตลอดชีวิตก็ได้ ดังนั้นอย่านิ่งนอนใจดีกว่าครับ เมื่อมีอาการหูอื้อ ควรปรึกษาแพทย์ หู คอ จมูกเพื่อหาสาเหตุแต่เนิ่นๆ

การดูแลรักษาสุขอนามัยของหู
     การปฏิบัติเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความผิดปกติของหู เช่น หูอื้อหรือหูตึง มีเสียงดังในหู มีอาการเวียนศีรษะหรือบ้านหมุน ปวดหู มีน้ำหรือหนองไหลออกจากรูหู คันหู เป็นต้น สามารถทำได้ดังนี้
1. หลีกเลี่ยงการปั่น แคะ ล้าง (ด้วยสบู่หรือน้ำยาฆ่าเชื้อชนิดต่างๆ) เพราะการกระทำดังกล่าวอาจกระตุ้นทำให้มีขี้หูในช่องหูชั้นนอกเพิ่มมากขึ้น (จากการระคายเคืองที่ทำให้ต่อมสร้างขี้หูทำงานมากขึ้น) และจะยิ่งดันขี้หูในช่องหูที่มีอยู่แล้วให้อัดแน่นยิ่งขึ้น ทำให้ขี้หูอุดตันช่องหูชั้นนอกมากขึ้น เกิดอาการหูอื้อ หรือรู้สึกปวดหรือแน่นในช่องหู นอกจากนั้นอาจเกิดอันตรายหรือรอยถลอกของช่องหูชั้นนอก (เกิดแผลทำให้มีเลือดออกหรือหูชั้นนอกอักเสบได้) หรืออาจทำให้เยื่อบุแก้วหูฉีกขาดได้
2. ควรระวังไม่ให้น้ำเข้าหู โดยเอาสำลีชุบวาสลีนอุดหูหรือใช้หมวกพลาสติกคลุมผมโดยให้ปิดถึงหู หรือใช้วัสดุอุดรูหู (ear plug) (ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านกีฬาทั่วไปเป็นที่อุดหูสำหรับการว่ายน้ำหรือดำน้ำ) เวลาอาบน้ำ เมื่อน้ำเข้าหู ควรเอียงศีรษะเอาหูข้างนั้นลงต่ำ ดึงใบหูให้กางออกและเฉียงไปทางด้านหลัง (ปกติช่องหูจะโค้งเป็นรูปตัว “S”) ซึ่งจะทำให้ช่องหูอยู่ในแนวตรงที่น้ำจะไหลออกมาได้ง่าย วิธีนี้จะทำให้ปัญหาน้ำเข้าหูหายไปทันที ไม่ควรปั่นหรือแคะหู
3. รีบรักษาเมื่อมีการติดเชื้อในโพรงจมูก เช่น เป็นหวัด จมูกอักเสบ โพรงหลังจมูก โพรงไซนัส (ไซนัสอักเสบ) หรือมีอาการกำเริบของโรคภูมิแพ้ เพราะอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางหู เช่น หูชั้นกลางอักเสบ น้ำขังในหูชั้นกลาง หรือท่อยูสเตเชียนทำงานผิดปกติ หรือแม้แต่ทำให้ประสาทหูอักเสบ เกิดภาวะประสาทหูเสื่อมเฉียบพลันได้
4. ไม่ควรสั่งน้ำมูกแรง โดยเฉพาะเอามือบีบจมูก แล้วสั่งน้ำมูก เพราะจะทำให้เชื้อโรคในช่องจมูกและไซนัสเข้าสู่หูชั้นกลางได้ง่าย
5. ไม่ควรว่ายน้ำ ดำน้ำ เดินทางโดยเครื่องบิน เดินทางขึ้นที่สูงหรือต่ำอย่างรวดเร็ว (เช่น ใช้ลิฟต์) เพราะ ท่อยูสเตเชียนซึ่งทำหน้าที่ปรับความดันของหูชั้นกลางกับบรรยากาศภายนอกไม่ สามารถทำงานได้เป็นปกติ อาจทำให้มีอาการปวดหู หูอื้อ เสียงดังในหู หรือเวียนศีรษะ บ้านหมุนได้ ถ้าจำเป็นควรปรึกษาแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเพื่อให้เกิดอาการผิดปกติดังกล่าว น้อยที่สุด
6. ระมัดระวังไม่ให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุกับหู หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนบริเวณหูและบริเวณใกล้เคียง เช่น การถูกตบหู เพราะอาจทำให้เยื่อบุแก้วหูทะลุและฉีกขาดได้ การที่ศีรษะกระแทกกับพื้นหรือของแข็งอาจทำให้กระดูกรอบหูแตก เกิดช่องหูชั้นนอกฉีกขาด มีเลือดออกในหูชั้นกลางหรือชั้นใน มีน้ำไขสันหลังรั่วออกมาทางช่องหู หรือทำให้กระดูกหูเคลื่อน ทำให้การนำเสียงผิดปกติไป
7. ดูแลรักษาโรคบางชนิด โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงหู เช่น โรคหวัด โรคหัด คางทูม เบาหวาน โรคไต โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคกรดยูริกในเลือดสูง โรคโลหิตจาง โรคเลือด เพราะโรคเหล่านี้อาจทำให้ประสาทหูเสื่อม เกิดหูหนวกหรือหูตึงได้ นอกจากนี้ควรระวังปัจจัยบางชนิดที่อาจทำให้ประสาทหูเสื่อมเร็วกว่าปกติ เช่น เครียด วิตกกังวล นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ การสูบบุหรี่ (มีสารนิโคติน) กินอาหารเค็มหรือดื่มเครื่องดื่มบางประเภทที่มีสารกระตุ้นประสาท เช่น กาแฟ ชา เครื่องดื่มน้ำอัดลม (มีสารคาเฟอีน) พยายามออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงประสาทหู
8. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเสียงดังเป็นระยะเวลานานๆ เช่น เสียงในสถานเริงรมย์ โรงงานอุตสาหกรรม หรือเสียงดังมากๆ ในระยะเวลาสั้นๆ (เช่น เสียงปืน เสียงประทัด) เพราะจะทำให้ประสาทหูค่อยๆ เสื่อมลงทีละน้อย หรือเสื่อมแบบเฉียบพลันได้ ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ควรใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงดัง เช่น ที่อุดหู (ear plug) หรือที่ครอบหู (ear muff)
9. ปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนใช้ยาทุกชนิดเสมอ ไม่ว่าจะเป็นยาฉีด ยากิน หรือยาหยอดหู เพราะยาบางชนิด เช่น ยาต้านจุลชีพ (เช่น aminoglycoside) ยาแก้ปวด (เช่น aspirin) หรือยาขับปัสสาวะบางชนิด อาจมีพิษต่อประสาทหูและประสาททรงตัว ทำให้ประสาทหูเสื่อมหรือเสียการทรงตัวได้
10. ปรึกษาแพทย์หู คอ จมูก หากมีขี้หูอุดตันมาก โดยธรรมชาติขี้หูจะถูกขับออกมาเองจากช่องหู ไม่จำเป็นต้องแคะหู ในคนที่มีปัญหาขี้หูเปียกและออกมาจากช่องหูมาก แพทย์อาจสั่งยาละลายขี้หูหยอดในหู เพื่อทำการล้างขี้หู (อาจใช้เพียงอาทิตย์ละครั้ง ถ้าไม่มีปัญหา อาจห่างออกไปเป็น 2 หรือ 3 หรือ 4 อาทิตย์ หยอด 1 ครั้ง) ซึ่งจะช่วยลดการอุดตันของขี้หูในช่องหูชั้นนอกได้ หรืออาจทำความสะอาดช่องหูโดยใช้ไม้พันสำลีชุบน้ำสะอาดให้ชุ่ม และเช็ดบริเวณปากรูหูออกมา ไม่ควรแหย่ไปลึกกว่านั้น

11. รีบปรึกษาแพทย์หู คอ จมูก เมื่อมีอาการผิดปกติทางห
ู เช่น หูอื้อ มีเสียงดังในหู มีอาการเวียนศีรษะหรือบ้านหมุน ปวดหู มีน้ำหรือหนองไหลออกจากรูหู คันหู หน้าเบี้ยว หรือใบหน้าครึ่งซีกเป็นอัมพาต

ที่มา  www.healthtoday.net

อัพเดทล่าสุด