สาเหตุต้อกระจก โรคต้อกระจก คือ อะไร มีสาเหตุมาบอกกัน !!


1,453 ผู้ชม


ต้อกระจก
โดย แพทย์หญิง อรทัย ชาญสันติ จักษุแพทย์ประจำศูนย์แว่นตาไอซอพติก
ต้อกระจก เป็นภาวะที่ทำให้สูญเสียการมองเห็นเป็นอันดับแรกๆ ในโลก เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของเลนส์ตาเมื่ออายุมากขึ้น ต้อกระจกพบได้ในผู้สูงวัยทุกคน หากแต่ละคนไม่จำเป็นต้องมีความรุนแรงที่เป็นเท่ากันที่อายุเดียวกัน แม้ว่าต้อกระจกจะทำให้การมองเห็นแย่ลงจนในบางคนจนอาจเป็นสาเหตุให้ตาบอดได้ แต่หากได้รับการรักษาในระยะแรกๆ ก็สามารถทำให้การมองเห็นกลับมาเหมือนเดิมได้ต้อกระจกพบเพิ่มขึ้นโดยประมาณ 5-10 ล้านคนต่อปี และประมาณ 100,000 – 200,000 คนที่จะตาบอดจากภาวะต้อกระจกที่ไม่ได้รับการรักษาได้ พบได้ถึง 50% ของผู้ที่มีอายุระหว่าง 65-74 ปี และเพิ่มถึง 70% ในผู้ที่อายุมากกว่า 75 ปี โดยปรกติเลนส์ตาจะมีการเปลี่ยนแปลงตามอายุที่มากขึ้น คือเลนส์ตามีความหนา แข็งขึ้น การที่เลนส์ตามีการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เป็นเหตุให้กำลังเลนส์ในการมองใกล้ เปลี่ยนไป เมื่ออายุมากจึงมองที่ใกล้ไม่ชัด ต่อมาเมื่อเนื้อเลนส์หนามากขึ้นๆ ก็จะมีความขุ่นมากขึ้นได้ นอกจากนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงที่ชั้นนอกของเนื้อเลนส์ ทำให้เกิดภาวะที่เลนส์ตาขุ่นเรียกว่าต้อกระจกต้อกระจกมีหลายชนิดแล้วแต่ ลักษณะที่ตรวจพบว่ามีการขุ่นของเลนส์ตาในชั้นใด โดยทั่วไปแบ่งได้ 3 ชนิดคือnuclear cataract: เกิดจากการขุ่นของเลนส์ที่เนื้อเลนส์ตรงกลาง เห็นเลนส์ตามีสีเหลืองมากขึ้นจนอาจเป็นสีน้ำตาลเข้ม (ต้องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์)
รูปแสดง nuclear cataract: ซ้ายมีการขุ่นน้อยเห็นเนื้อเลนส์เป็นสีเหลืองอ่อน กลางมีการขุ่นมากขึ้น และรูปขวามีการขุ่นมากเห็นเลนส์เป็นสีน้ำตาลเข้ม
    * cortical cataract: เกิดการขุ่นของเนื้อเลนส์ชั้นนอก มักเห็นเป็นสีขาวขุ่นที่เลนส์ ถ้าเป็นมากๆ ก็จะเห็นเลนส์ตาเป็นสีขาวขุ่นทั้งอัน หรือที่เรียกว่า “ต้อกระจกสุก”นั่นเอง
Cortical Cataract
รูปแสดง cortical cataract: รูปซ้ายเห็นบางส่วนของเลนส์ตาเป็นสีขาวขุ่นในชั้นนอกของเนื้อเลนส์ รูปขวาเป็นลักษณะที่เป็นมากๆ เรียกว่า “ต้อกระจกสุก”
    * posterior subcapsular cataract: เป็นการขุ่นของชั้นเลนส์ที่อยู่รอบนอกสุดใต้เยื่อหุ้มเลนส์
รูปแสดง posterior subcapsular cataract
อาการของภาวะต้อกระจก: อาการที่พบส่วนใหญ่คือตามัวลง โดยทั่วไปมักจะมัวลงแบบช้าๆ  ลักษณะการมัวลงก็จะขึ้นกับชนิดของต้อกระจก
    * ต้อกระจกแต่ละชนิดดังกล่าวข้างต้นอาจทำให้อาการตามัวแตกต่างกัน ถ้าเป็น nuclear cataract เมื่อเป็นน้อยๆ มักไม่ค่อยมีอาการ กรณีเป็นมากขึ้นมักทำให้มัวเวลามองไกล แต่การมองใกล้มักจะค่อนข้างดี หากเป็นชนิด posterior subcapsular cataract แม้เป็นเล็กน้อยก็ทำให้ตามัวมากได้ โดยเฉพาะเวลาที่มีแสงสว่าง เนื่องจากตำแหน่งที่เป็นมักจะเป็นตรงกลาง ตรงกับรูม่านตา
    * อาการอื่นๆ ที่พบ เช่น เห็นดวงไฟเป็นแสงกระจาย มักเห็นชัดเวลาขับรถกลางคืน หรือสู้แสงไม่ได้ หรือเห็นภาพเหมือนภาพซ้อนหรือมีเงา  การแยกความแตกต่างของความมืด-สว่างเมื่ออยู่ในที่แสงจ้าแย่ลง
Clear View of Virginia Biotechnology Center in Richmond Virginia         Nuclear Sclerotic Cataract
ภาพเปรียบเทียบการมองเห็นที่ปรกติ และผู้ที่เป็นต้อกระจกเห็นภาพมัวลงเหมือนที่ฝ้ามาบัง
Normal view of decorated house.            Severe glare with cataract.
เปรียบเทียบการมองเห็นที่ปรกติ และผู้ที่เป็นต้อกระจกอาจเห็นดวงไฟเป็นแสงกระจายรอบดวงไฟได้
การรักษา
    * การรักษาโดยการใช้ยา ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่ายาหยอด หรือยากินใดๆ ที่จะช่วยลดการเกิดภาวะต้อกระจกได้
    * การ รักษาที่ทำให้ภาวะต้อกระจกหายขาดได้คือการผ่าตัดเอาเลนส์ออก และใส่เลนส์เทียมเข้าไปทดแทน วิธีการผ่าตัดมีหลายแบบ ขึ้นกับลักษณะและความรุนแรงของต้อกระจกที่เป็น
    * ปัจจุบัน วิธีการผ่าตัดต้อกระจกได้รับการพัฒนาจนมีความก้าวหน้ามาก โดยทั่วไปวิธีที่นิยมมากที่สุดคือการสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงอัลตราซาวน์ และดูดเอาส่วนของต้อกระจกที่สลายเป็นชิ้นเล็กๆ ออก แล้วใส่เลนส์เทียมเข้าไปทดแทน วิธีนี้ทำให้แผลผ่าตัดเล็กมากขนาด 2.2-3.0 มิลลิเมตร แผลหายเร็ว อาการเคืองหรือเจ็บตาจากการผ่าตัดน้อย
รูปแสดงการผ่าตัดต้อกระจกแผลเล็ก ซ้ายเป็นเครื่องมือที่ใช้คลื่นอัลตราซาวน์ไปสลายต้อกระจก และดูดชิ้นส่วนของเลนส์ออกมา เหลือเพียงเยื่อหุ้มเลนส์บางๆ ไว้สำหรับวางเลนส์ตาเทียม
รูปขวาเป็นภาพที่สลายต้อกระจกออกหมดแล้วและใส่เลนส์ตาเทียมเข้าไปทดแทน
    * วิธี การผ่าตัดรูปแบบอื่น ซึ่งเป็นการผ่าตัดแผลใหญ่ อาจจำเป็นในกรณีที่ต้อกระจกมีความแข็งมากๆ หรือต้อสุกมาก หรือมีเลนส์ตาเคลื่อนจากตำแหน่งปรกติ จะเป็นการผ่าตัดโดยเอาเลนส์ตาออกทั้งชิ้น แผลจะมีขนาดใหญ่กว่าวิธีใช้คลื่นเสียง อาจมีแผลที่หายช้ากว่า หรือเคืองตามากกว่า แต่โดยรวมแล้วการมองเห็นหลังผ่าตัดก็มักจะดี เพียงแต่อาจต้องใช้เวลาปรับตัวมากกว่าวิธีแรก
 
รูปแสดงการผ่าตัดเอาเลนส์ตาออกแบบเปิดแผลใหญ่ รูปกลางหลังผ่าตัดและใส่เลนส์เทียมแล้ว รูปขวาเป็นต้อกระจกที่ผ่าตัดออกจากลูกตาเห็นว่าเลนส์ตามีความขุ่นมากจะเป็น สีน้ำตาลเข้ม
ข้อแนะนำ
    * เนื่องจากต้อกระจกเป็นภาวะที่เกิดเมื่ออายุมากขึ้น แนะนำว่าผู้สูงอายุ โดยเฉพาะมากกว่า 60 ปีขึ้นไปควรได้รับการตรวจว่ามีต้อกระจกหรือไม่
    * ผู้ที่มีปัญหาเรื่องการมองเห็น ตามัวลง หรือเห็นแสงกระจายรอบดวงไฟ ควรได้รับการตรวจตาทุกราย ไม่จำเป็นต้องอายุมาก
    * โดยทั่วไปแพทย์มักพิจารณาผ่าต้อกระจกโดยขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น
    * แม้ต้อกระจกจะเป็นน้อย แต่หากมีผลกระทบต่อผู้ป่วยมาก เช่นมีปัญหาต่อการทำงาน แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัด
    * บาง กรณีแม้การมองเห็นแย่ลงไม่มาก แต่หากต้อกระจกมีความหนาตัวหรือแข็ง แพทย์อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัด เนื่องจากการผ่าตัดต้อกระจกแผลเล็กในเลนส์ตาที่มีความหนามากหรือแข็งมากๆ การผ่าตัดจะยุ่งยากมากขึ้น และอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้มาก
    * ภาวะ แทรกซ้อนที่อันตรายคือ ต้อหิน โดยต้อกระจกที่มีความหนามาก หรือต้อกระจกที่สุกมากในผู้ป่วยบางรายอาจนำไปสู่ภาวะต้อหินได้ ซึ่งทำให้มีความดันตาที่สูงและปวดตามากได้ ภาวะนี้ควรพบแพทย์ทันทีเนื่องจากความดันตาที่สูงอยู่นานจะทำให้ประสาทตา เสื่อม และสูญเสียการมองเห็นอย่างถาวรได้ กรณีนี้แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดต้อกระจกออก
กล่าวโดย สรุปต้อกระจกเป็นภาวะที่พบในคนสูงอายุแทบทุกคน การรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดในปัจจุบันมีความก้าวหน้ามาก การรักษาในระยะแรกมักทำได้ง่ายกว่าและภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า จึงควรพบแพทย์เมื่อมีอาการหรือแม้ไม่มีอาการแต่ในผู้สูงอายุก็ควรได้รับการ ตรวจตาอย่างสม่ำเสมอ
ที่มา   www.electron.rmutphysics.com

อัพเดทล่าสุด