อาการเท้าบวมขณะตั้งครรภ์ คน ท้อง 8 เดือน เท้าบวม เกิดขึ้นได้ไง


2,093 ผู้ชม



อาการยอดฮิต ระหว่างตั้งครรภ์

ช่วงตั้งครรภ์จะเรียกว่าเป็นเรื่องปกติ เรื่องธรรมชาติ ของผู้หญิงก็ใช่ แต่อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ ไม่ใช่อาการที่เกิดขึ้นในชีวิตประจําวันกันบ่อยๆ ดังนั้น เมื่อเกิดอาการเหล่านี้ขึ้นคุณแม่หลายท่านจะเกิดอาการวิตกตามมา อาการยอดฮิตของช่วงตั้งครรภ์ มีอะไรกันบ้าง

ตั้งครรภ์, ท้อง

ตะคริว คนเราสามารถเป็นตะคริวกันได้ทั้งนั้น และส่วนมากไม่ได้มาจากสาเหตุที่ร้ายแรงอะไร ขณะเป็นตะคริวจะมีอาการกล้ามเนื้อแข็งเกร็ง ปวด มักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ถ้าพยายามจะขยับขาที่เป็นตะคริวก็จะยิ่งปวดมากขึ้น ส่วนใหญ่คุณแม่ตั้งครรภ์จะเกิดอาการตะคริวเมื่ออายุครรภ์ 6 เดือนขึ้นไป และเป็นมากในช่วง 2 เดือนสุดท้ายก่อนคลอด และเกิดขึ้นเมื่อ... กําลังนอนหลับ เดิน นอนหรือนั่งในท่าที่ไม่สะดวกนานๆ สาเหตุก็เป็นได้ 2 อย่างคือ มีภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ หรือการไหลเวียนของเลือดไม่สะดวก และจะเกิดตะคริวช่วงน่อง และปลายเท้าได้มากที่สุด แก้ตะคริว ยืดกล้ามเนื้อส่วนที่ปวดให้ตึง เช่น ถ้าเป็นตะคริวที่น่อง ใช้ผ้ายาวๆ คล้องไว้ที่ปลายเท้า แล้วดึงผ้าเข้าหาตัวให้ตึง เพื่อให้ปลายเท้ากระดกเข้าหาตัว หรือให้คุณพ่อช่วยจับปลายเท้าให้กระดกขึ้น ถ้าเป็นตะคริวที่ต้นขา เหยียดหัวเข่าให้ตรง ยกเท้าขึ้นจากพื้นเล็กน้อย และกระดกปลายเท้าลงด้านล่าง ให้กินอาหารที่มีแคลเซียมให้เพียงพอทุกวัน นม ปลาตัวเล็กๆ ผักใบเขียว และถ้าเป็นช่วงกลางคืนบ่อยๆ ให้ดื่มนมมากขึ้นในช่วงก่อนนอน และใช้หมอนรองขาจากที่นอนประมาณ 4 นิ้ว ไม่ควรนวดแรงๆ บริเวณที่เป็น อาจจะทําให้เจ็บมากขึ้ถ้าเป็นมากเกือบทุกคืน ควรปรึกษาแพทย์ มือเท้าบวม คุณแม่ที่ตั้งครรภ์มาถึง 6 เดือนต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ อย่างเรื่องของอาการบวมตามมือและเท้า จะเรียกว่าเป็นเรื่องปกติของคุณแม่ตั้งครรภ์ก็ได้ เพราะเกิดจากการบวมน้ำ ยิ่งอากาศร้องก็ยิ่งบวมได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะบริเวณข้อมือ ข้อเท้า แต่ก็ควรระมัดระวังและหมั่นสังเกตอาการตนเองอย่างอื่นด้วย เพราะอาการบวมอาจเป็นสาเหตุของครรภ์เป็นพิษได้เช่นกัน บวมจากครรภ์เป็นพิษ มักจะเกิดร่วมกับอาการ ปวดศีรษะ ตามัว มือเท้าบวม และใบหน้า คลื่นไส้อาเจียน ความดันโลหิตสูง ถ้าครรภ์เป็นพิษชนิดรุนแรง อาจจะมีอาการชักก่อนคลอด หรือขณะคลอด และอาจมีภาวะหัวใจวายได้ด้วย ด้วยเหตุนี้เมื่อคุณแม่ไปพบคุณหมอทุกครั้ง คุณหมอจะต้องตรวจปัสสาวะ วัดความดันโลหิต จับชีพจร ฟังเสียงหัวใจของลูกในท้อง สังเกตอาการคุณแม่ว่าบวมมากน้อยเพียงไร แก้อาการบวม ไม่เดิน ยืน หรือนั่ง ท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป ควรพักเท้าบ่อยๆ โดยการยกเท้าขึ้นมาพักไว้ หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม เพราะเกลือที่มีรสเค็มจะดูดน้ำมาไว้ที่ผิวหนังทําให้มีอาการบวมมากขึ้น เลือกใส่รองเท้าที่สบาย อย่าไปเสียดายถ้าต้องซื้อรองเท้าใหม่ และควรเลือกที่พื้นรองเท้านิ่ม เดินได้สะดวก ริดสีดวงทวาร ฟังชื่ออาจจะน่ากลัว และไม่อยากให้เกิดขึ้น แต่ก็สามารถเกิดได้บ่อยกับคุณแม่ตั้งครรภ์ ซึ่งริดสีดวงก็คือหลอดเลือดดําที่อยู่บริเวณทวารหนัก โดยปกติหลอดเลือดดําบริเวณนี้จะมีลักษณะเป็นกระจุก เวลาคุณแม่ตั้งครรภ์มดลูกขยายตัวขึ้นไปกดทับหลอดเลือดดําใหญ่ในช่อง ทําให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก แล้วมาคั่งอยู่บริเวณหลอดเลือดดําบริเวณทวารหนัก กระจุกหลอดเลือดดํานี้ก็ปูดออกมาเป็นก้อน เมื่อปวดท้องถ่าย และอุจจาระที่เป็นก้อนไปโดนก็ทําให้เจ็บ บางท่านมีอาการท้องผูกอุจจาระแข็งมาก ก็ยิ่งทําให้เจ็บ นั่งเบ่งถ่ายเป็นเวลานานขึ้น อุจจาระไปครูดกับริดสีดวง ทําให้หลอดเลือดฉีกขาด จึงมีเลือดปนออกมาพร้อมกับอุจจาระ แก้ริดสีดวง ดื่มน้ำสะอาดมากๆ อย่างน้อย 8-10 แก้วต่อวัน รับประทานผัก ผลไม้ อาหารที่มีกากใยให้มากขึ้น ออกกําลังกายบ้าง ไม่เครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ห้ามซื้อยาถ่าย หรือยาสมุนไพรต่างๆ มารับประทานเอง เพราะถ้าเป็นริดสีดวงที่เกิดจากการตั้งครรภ์ หลังคลอดก็จะหายไปเอง อาการดังกล่าวที่ได้เอ่ยมา คุณแม่ตั้งครรภ์บางท่านอาจจะไม่พบกับปัญหาเหล่านี้เลย บางท่านอาจจะบางปัญหา หรือบางท่านมีทั้ง 3 ปัญหา และมากกว่านี้ ซึ่งการหาความรู้ในเรื่องอาการของผู้หญิงตั้งครรภ์ไว้ จะทําให้คุณแม่สามารถรับมือกับเรื่องที่จะเกิดขึ้นได้ และรู้จักการสังเกตอาการตนเองล่วงหน้า หรือถ้าไม่แน่ใจ คุณหมอที่คุณแม่ฝากท้องจะเป็นผู้แนะนํา และแก้ไขให้คุณแม่ได้ดีที่สุดค่ะ

ที่มา   women.sanook.com

อัพเดทล่าสุด