วิธีแก้อาการปวดหลัง - แก้อาการปวดหลัง [อาการปวดหลัง - ปวดหลังเรื้อรัง]


3,174 ผู้ชม

สำหรับ คุณๆสาวออฟฟิตทั้งหลาย ที่ต้องนั่งตรากตรำทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ วันละ7-8ชั่วโมงนั้น อาการที่ถามหากันถ้วนหน้าคงหนีไม่พ้นอาการปวดหลังแน่ๆ


วิธีแก้อาการปวดหลัง - แก้อาการปวดหลัง [อาการปวดหลัง - ปวดหลังเรื้อรัง]

8 วิธีแก้อาการปวดหลัง


      สำหรับ คุณๆสาวออฟฟิตทั้งหลาย ที่ต้องนั่งตรากตรำทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ วันละ7-8ชั่วโมงนั้น อาการที่ถามหากันถ้วนหน้าคงหนีไม่พ้นอาการปวดหลังแน่ๆ บางคนถึงขนาดเดี้ยงคาเก้าอี้ กันมานักต่อนักแล้วค่ะ เราจึงไม่รอช้า หาวิธีมาให้คุณๆสาวๆเรียนรู้วิธีง่ายๆที่จะช่วยบรรเทาอาการให้คุณค่ะ


1. พยายามรักษาสมดุลของร่างกาย ทั้งในระหว่างการเดิน การนั่ง การยืน หรือแม้แต่การนอน อยู่เสมอ


2. รักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม ระวังอย่าให้น้ำหนักตัวมากเกิน เพราะจะก่อให้เกิดปัญหาน้ำหนักตัวกดทับกล้ามเนื้อหลังและข้อต่อ


3. หลีกเลี่ยงการอยู่ในอริยบถหนึ่งนานเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดการตึงของกล้ามเนื้อได้ง่าย


4. เลือกนอนบนฟูกที่นอนที่มีความมั่นคง ไม่ยุบตัว หรือแข็งจนเกินไป และใช้หมอนที่มีส่วนเว้าโค้ง รองรับสรีระช่วงคอได้เป็นอย่างดี


5. หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อมีความหยืดหยุ่น


6. รักษาท่วงท่า ให้อยู่ในจุดสมดุลตลอดเวลา เช่นการงอเข่าลดละดับลำตัวลงเมื่อจะเก็บของลงจากพื้นแทนการงอหลัง


7. เลือกรองเท้าที่สวมสบาย และรองรับน้ำหนักร่างกายได้ดี หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าส้นสูงเป็นเวลานานๆ


8. หลีกเลี่ยงภาวะอารมณ์ที่เคร่งเครียด ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการกล้ามเนื้อตึงตัวและปวดเมื่อย

กระดูกสันหลังเป็นกระดูกแกนกลางของร่างกาย เป็นส่วนที่ต่อเนื่องมาจากศรีษะ เป็นส่วนเชื่อมกับกระดูกไหปลาร้าและสะบัก เพื่อต่อเนื่องไปยังกระดูกแขนทั้งสองข้าง ส่วนล่างของกระดูกสันหลังเชื่อมกับกระดูกเชิงกราน เป็นข้องต่อให้กับสะโพก และกระดูกขาทั้งสองข้าง

เนื่องจากมนุษย์วิวัฒนาการตัวเองจนกลาย เป็นสัตว์ที่ยืนด้วยสองเท้า ดังนั้น กระดูกสันหลังย่อมจะเป็นแกนหลักในการรับน้ำหนัก ตัวส่วนบนของร่างกายผ่านมาสู่ขาทั้งสองข้าง

กายวิภาคของหลัง

แกนกลางประกอบด้วยกระดูกสันหลัง 33 ชิ้น ส่วนคอ 7 ส่วนอก 12 ซึ่งจะเป็นที่ยึดเกาะของกระดูกซี่โครง กระดูกสันหลังส่วนเอว 5 กระดูกกระเบนเหน็บ 5 ชิ้น เชื่อมรวมเป็นชิ้นเดียว กระดูกส่วนก้นกบ 4 ชิ้น มักจะเชื่อมรวมเป็นชิ้นเดียว รูปที่ ๑

รูปที่1(Click เพื่อดูรูปใหญ่)
วิธีแก้อาการปวดหลัง - แก้อาการปวดหลัง [อาการปวดหลัง - ปวดหลังเรื้อรัง]


รูปที่2(Click เพื่อดูรูปใหญ่)

กระดูก สันหลังแต่ละปล้อง เชื่อมต่อกันด้วย หมอนรองกระดูก และข้อต่อของตัวกระดูกสันหลัง ทำให้สามารถขยับเคลื่อนไหวได้ ในแกนกลางของโพรงกระดูกสันหลัง เป็นที่อยู่ของ ไขประสาท สันหลัง ที่ต่อเนื่องมากจากสมองและมีแขนงเป็นรากประสาทสันหลังส่งไปเลี้ยง แขน ลำตัวและขา รูปที่ ๒

นอกจากนี้ยังมีเส้นเอ็น และกล้ามเนื้อ หลายๆมัด และเนื้อเยื่ออ่อนยึดต่อเนื่องเป็นแผ่นหลัง รูปที่ ๓

รูปที่3(Click เพื่อดูรูปใหญ่)

สาเหตุของการปวดหลัง

  • จากความผิดปกติของส่วนประกอบของหลังเอง
  • จากความผิดปกติของอวัยวะภายใน แล้วมีอาการปวดร้าวไปที่หลังจากอาการทางระบบประสาท แล้ว ทำให้มีอาการปวดที่หลัง
  • จากความผิดปกติของส่วนประกอบของหลัง เอง เช่นการได้รับอุบัติเหตุ แล้ว มีการบาดเจ็บ ต่อโครงสร้าง เช่น อุบัติเหตุกระดูกสันหลังหัก และ หรือ ร่วมกับมีการกดทับไขสันหลัง ซึ่งถ้ารักษาไม่ทันท่วงที อาจจะทำให้เกิดอัมพาตได้
  • จากการทำงาน หรือ ใช้งานหลังไม่ถูกวิธี จะทำให้เกิดการล้า หรือ อักเสบต่อเนื้อเยื่ออ่อน เช่น กล้ามเนื้อ และ เส้นเอ็นที่หลัง หรือ ข้อต่อของกระดูกสันหลัง พบได้บ่อยในคนวัยทำงาน
  • จากความผิดปกติของโครงสร้างกระดูก ตั้งแต่ กำเนิด เช่นกระดูกสันหลัง ไม่เชื่อม กระดูกสันหลังคด
  • จากหมอนรองกระดูกเคลื่อนทับรากประสาท เนื่องจากเป็นโครงสร้างที่อยู่ใกล้กัน เมื่อมีการเคลื่อนตัวของหมอนรองกระดูกมักจะมีการกดทับรากประสาท ทำให้มีอาการปวดหลัง และ ปวดร้าวลงไปที่ขาตามแนวรากประสาทนั้นๆ
  • จากความเสื่อมของข้อกระดูกสันหลัง

ทำให้มีการหนาตัวของกระดูกหลัง และเส้นเอ็น ทำให้โพรงกระดูกสันหลังแคบ กดรัด ไขสันหลังมักพบในคนสูงอายุ มักจะมีอาการชาขา เวลาเดิน

  • จากความเสื่อมของข้อต่อกระดูกสันหลัง ทำให้สูญเสียความมั่นคงของข้อต่อกระดูก ทำให้มีอาการปวดหลัง เมื่อมีการเคลื่อนไหว หรืออาจจะมีการเคลื่อนตัว ระหว่างปล้องกระดูกสันหลังนั้นๆด้วย สามารถทำให้มีอาการของการกดทับรากประสาทร่วมด้วยได้
  • จากการอักเสบ เช่น ข้ออักเสบ หรือ ว่ามีการติดเชื้อ เช่น วัณโรคกระดูกสันหลัง
  • จากเนื้องอกของกระดูกสันหลัง หรือ มะเร็ง กระจายมาที่กระดูกสันหลัง รวมทั้ง มะเร็งไขกระดูก
  • จากภาวะกระดูกพรุน มักจะทำให้มีอาการปวดเมื่อยเมื่อมีการใช้งานหลัง เช่น ยืน นั่ง เดิน แต่เมื่อนอนจะไม่ค่อยมีอาการปวด และอาการจะมีการทรุดตัวของกระดูกสันหลัง ทำให้มีลักษณะของหลังค่อม
  • จากความผิดปกติของอวัยวะภายใน แล้วมีอาการปวดร้าวไปที่หลัง
    เช่น อาการของนิ่วในทางเดินปัสสาวะ อาการปวดท้องจากระบบทางเดินอาหาร จะร้าวไปที่หลังได้
  • จากอาการทางระบบประสาท แล้ว ทำให้มีอาการปวดที่หลัง
    โดย ที่ไม่ได้มีความผิดปกติร้ายแรงโดยตรงต่อโครงสร้างนั้น อาจจะเป็นจากความเครียด หรืออาการทางระบบประสาท ทำให้มีอาการปวดหลังที่ไม่มีลักษณะจำเพาะ

การให้การวินิจฉัย

  • จำเป็นจะต้องได้ประวัติอาการที่ชัดเจน และรวมไปถึงการตรวจร่างกายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยละเอียด
  • เมื่อมีข้อบ่งชี้ที่สมควร ก็อาจจะต้องรับการตรวจพิเศษเพิ่มเติมเพื่อได้ข้อมูลช่วยในการวินิจฉัย เช่น การ Xray การXray computer การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ฯลฯ

การรักษา

รักษาตามสาเหตุ เนื่องจากบางโรคมีวิธีรักษาเฉพาะของโรคนั้นๆ เช่น มะเร็ง การติดเชื้อ หรือ นิ่วในทางเดินปัสสาวะ

แต่ในกลุ่มที่มีสาเหตุเกิดจากความผิดปกติ ของกระดูกสันหลังเอง การรักษา มี เป้าหมาย เพื่อ ลดอาการปวด และสามารถ ให้ผู้ป่วยกลับไปทำงาน หรือ ดำรงชีวิตได้ตามปกติได้โดยเร็ว และ สามารถจะ ป้องกัน หรือ ชะลอความเสื่อมของโครงสร้างได้ด้วย

การรักษาจะเริ่มต้นด้วย 

วิธี อนุรักษ์นิยม คือ การรักษาโดยไม่ผ่าตัดก่อนเสมอ ยกเว้นมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน เช่น กระดูกสันหลังหักกดทับไขสันหลัง จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดด่วน เพื่อ ไม่ให้เกิดภาวะอัมพาต

การรักษาแบบอนุรักษ์นิยมก็ได้แก่

การพัก เป็นการนอนพัก โดยที่สามารถลุกนั่ง ทานอาหาร และ เข้าห้องน้ำได้ ในกรณีที่ปวดหลังจากสาเหตุทั่วไป การพักจะทำให้อาการดีขึ้นได้ภายใน 1-2 วัน

การบริหารยา ในรายที่มีอาการปวดเฉียบพลัน ได้แก่ ยาแก้ปวด ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ steroid ยาคลายกล้ามเนื้อ และยากล่อมประสาท ซึ่งจำเป็นจะต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์โดยใกล้ชิด เนื่องจากอาจจะมีภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาได้ เช่น อาการระคายเคืองทางเดินอาหาร หรือ แพ้ยา

การทำกายภาพบำบัด

การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเพื่อดูแลสุขภาพหลัง

การบริหารร่างกาย

การรักษาด้วยการผ่าตัด จะพิจารณาทำเมื่อมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน เนื่องจากเป็นการผ่าตัดใหญ่ ผลการผ่าตัดจะต้องมีอัตราเสี่ยงให้น้อย และ ให้ผลดีจึงจะพิจารณาทำ ตัวอย่างเช่น การผ่าตัดเพื่อเอาหมอนรองกระดูกที่เคลื่อนทับรากประสาทออก การผ่าตัดเพื่อแก้ไขโพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ การผ่าตัดใส่เหล็กดามกระดูกสันหลัง การเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง เป็นต้น

กล่าวโดยสรุปว่า สาเหตุของอาการปวดหลังมีได้มากมาย แต่สาเหตุส่วนใหญ่ไม่ได้มีอันตรายร้ายแรง และยังสามารถป้องกันได้ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และ การฟื้นฟูสมรรถภาพหลัง ย่อมจะเป็นคำตอบที่ดีที่สุด

โดย นพ.มนตรี สิริไพบูลย์กิจ  ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ


ปวดหลังกับเวชศาสตรฟื้นฟู

การรักษาอาการปวดหลังนอกจากการใช้ยา การผ่าตัดแล้ว อีกวิธีหนึ่งที่ใช้กันบ่อยๆก็คือ การทำกายภาพบำบัด หรือการให้การฟื้นฟูสภาพ

การทำกายภาพบำบัดเพื่อรักษาอาการปวดหลังนั้น ก็คือการใช้เครื่องมือเพื่อให้ความร้อน ความเย็น หรือเครื่องมือในการดึงหลัง หรือกระตุ้นกล้ามเนื้อด้วยไฟฟ้า เพื่อบรรเทาอาการปวด อักเสบที่หลัง

 นอกจากนั้นแล้วที่สำคัญที่สุดของการฟื้นฟู สภาพหลังก็คือการให้การบริหารกล้ามเนื้อ และกระดูกที่ถูกต้อง และเหมาะสมในแต่ละราย ซึ่งต้องพิจารณาเป็นรายๆไป การให้ความรู้ ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน การทำกิจวัตรประจำวันหรือลดปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง

นอกจากนี้แล้วในปัจจุบันยังมีการรักษาอื่นๆ อีกซึ่งเราเรียกว่าการแพทย์ทางเลือก เช่น การนวดไทย การฝังเข็ม และการใช้โยคะ ซึ่งแต่ละอย่างก็เหมาะสมกับการปวดหลังซึ่งเกิดในภาวะต่างๆไม่เหมือนกัน ที่สำคัญที่สุดการใช้การรักษาแบบอื่นๆนี้ควรอยู่ภายใต้การดูแลของผืท ี่เชี่ยวชาญจริงๆ และได้รับใบอนุญาตอย่างถูกต้องจากกองประกอบโรคศิลป นอกจากนั้นแล้วก่อนการรักษาด้วยวิธีเหล่านี้น่าจะต้องปรึกษาแพทย์ที่ดูแล อยู่ก่อน

ที่สำคัญที่สุดสำหรับเรื่องปวดหลังก็คือการป้องกันไม่ให้เกิด ซึ่งน่าจะดีกว่าการปล่อยให้ เกิดอาการปวดแล้วจึงค่อยทำการรักษา 

การป้องกันที่สำคัญ ได้แก่ การจัดท่าทาง การทำงานหรือการประกอบกิจวัตรประจำวันให้ถูกต้อง ซึ่งหลักการที่สำคัญก็คือการให้ แนวกระดูกสันหลังอยู่ในแนวตรงเสมอ ไม่เอียง หรือไม่ทำงานติดตด่อกันนานๆ หรือการทำงานที่ต้องอยู่ในท่าทางที่ยากลำบาก หรือมีการบิดตัวก้มตัวและเอี้ยวตัว และควรหลีกเลี่ยงการทำงานที่ต้องใช้กล้ามเนื้อหลังมากๆเช่น การยกของหนัก ซึ่งในต่างประเทศมีกฎหมายกำหนดถึงน้ำหนักสูงสุดที่ยกได้ในผู้ชาย และหญิง แต่ในประเทศไทยยังไม่มีการกำหนดดังกล่าว เพราะฉะนั้นคงต้องระวังให้มาก

นอกจากนั้นแล้วการบริหารกล้ามเนื้อหน้า ท้องกล้ามเนื้อหลังให้แข็งแรงไว้เสมอก็เป็นการป้องกัน ไม่ให้เกิดอาการปวดหลังได้ดีเพราะกล้ามเนื้อหน้าท้องและกล้ามเนือ้หลัง เป็นกล้ามเนื้อที่คอยตรึงแนวกระดูกสันหลังไม่ให้มีการเคลื่อนไหวมากเกินไป ซึ่ง ท่าทางการบริหารมีมากมาย อาจจะต้องปรับให้เหมาะสมในแต่ละคน

และที่สำคัญก็คือการควบคุมปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่นน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไปหรือ ไม่ให้รูปร่างอ้วนเกินไปเพราะการที่มีรูปร่างอ้วนจะ ทำให้แนวกระดูกสันหลังเปลี่ยนไป การใส่รองเท้าที่ส้นสูงเกินไปก็ควรหลีกเลี่ยง

สรุปว่าการดูแลตัวเองหรือการป้องกันไม่ให้มีการปวดหลังเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าการรักษา

โดย นพ.สุธี ศิริเวชฎารักษ์  แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

ปวดหลังเรื้อรัง รักษาและป้องกันได้

วันละร้อยห้าสิบวินาทีเพื่อห่างไกลโรคปวดหลัง
ผู้เขียนมีโรคประจำตัวคือ โรคปวดหลัง ซึ่งมีสาเหตุจากหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท และเป็นต่อเนื่องมานานร่วมยี่สิบปี, ผ่าตัดมาแล้วสองครั้ง, นอนรอคิวผ่าตัดครั้งที่สามมาแล้วสามวันที่โรงพยาบาลเลิดสิน ก่อนคณะแพทย์มีความเห็นว่าไม่ควรผ่าตัดเพราะอาการไม่รุนแรงถึงขั้นดำรงชีวิต อย่างยากลำบาก ทนทุกข์ทรมานมานานหลายปีได้รับการรักษา และคำแนะนำจากแพทย์หลายท่านที่มากไปด้วยประสพการณ์ รวมทั้งที่ชื่อเสียงโด่งดังระดับประเทศ แต่ก็ยังไม่สามารถหยุดยั้งอาการปวดที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวได้ จนวันนี้มีอาการดีขึ้นจึงอยากสรุปความเห็นเผื่อจะเป็นประโยชน์กับผู้ร่วม ชะตากรรมคนอื่นๆ
อาการเริ่มต้นครั้งแรกเกิดจากก้มตัวลงยกของอย่างไม่ถูกท่าทาง มีอาการแปล๊บขึ้นที่กระดูกสันหลังบริเวณบั้นเอว ขณะนั้นขยับขาทั้งสองข้างต่อไม่ได้ รอไม่ถึงห้านาทีเริ่มทุเลาจึงค่อยๆขึ้นรถขับไปหาหมอด้วยตนเอง แต่ยังคงเดินแบบลากขาอย่างช้าๆ หมอที่คลินิคให้ความเห็นว่ากล้ามเนื้อคงอักเสบ จึงฉีดยาแก้ปวดและอักเสบให้ กลับไปบ้านต้องหยุดงานเพราะเดินไม่สะดวกไปสามวัน
หลังจากนั้นอาการแปล๊บๆข้างต้นก็จะเกิดกับตนเองปีละสองสามครั้งอยู่หลายปี ทุกครั้งต้องหยุดพักผ่อนอย่างน้อยสามถึงสี่วันเพราะลุกเดินไม่ไหว จนไปพบแพทย์ออร์โธปีดิคเฉพาะทางซึ่งนับเป็นกระบี่มือหนึ่งของจังหวัด รักษากันอยู่นานเป็นปี โดยเริ่มจากยากิน ยาฉีด และเอ็กซเรย์แบบคอมพิวเตอร์ติดตามดูอาการ จนสุดท้ายหมอสั่งให้ไปทำเอ็กซเรย์ MRI ที่รพ.บำรุงราษฎร์ กทม. ซึ่งขณะนั้นมีอยู่แห่งเดียวในประเทศไทย ภาพจากฟิล์มฟ้องว่าหมอนรองกระดูกสันหลังมันปลิ้นออกมาขวางและดันไขสันหลัง และเส้นประสาทจนเกิดอาการชาไปถึงหลังเท้า หมอตัดสินใจผ่าตัด เพื่อขูดเอาหมอนรองกระดูกที่แตกออก โดยเปิดแผลคืบนึงที่หน้าท้อง พร้อมทั้งตัดกระดูกเชิงกรานมาแว่นนึงขนาดเท่ากับหมอนรองกระดูกที่ขูดออก อัดเข้าไปรับช่องว่างข้อกระดูกสันหลังแทน ซึ่งแน่นอนมันจะส่งผลให้ข้อต่อส่วนนี้ไม่มีการยืดหยุ่นอีกต่อไป เวลาผ่านไประยะนึงมันก็จะเชื่อมข้อบนและข้อล่างให้ต่อเป็นชิ้นเดียวกัน งานนี้ต้องหยุดพักรักษาแผลไปร่วมเดือน
หลังผ่าตัดก็ยังคงพบแพทย์เพื่อติดตามอาการเป็นระยะๆ จากสัปดาห์ เป็นเดือน เป็นปี แต่อาการดูเหมือนมันยังไม่หายขาด แต่ก็ยังถือว่าดีกว่าเก่ามาก สุดท้ายหมอขอแก้ตัวอีกครั้งโดยการผ่าตัดจากด้านหลัง เปิดแผลช่วงกระดูกสันหลังที่มีปัญหา พร้อมยึดโยงข้อกระดูกสันหลังบน และล่างด้วยโลหะ เพื่อเสริมความแข็งแรงไม่ให้เกิดการเสียดสีหรือกดทับเส้นประสาทอีก งานนี้ต้องพักรักษาแผลไปเกือบสามอาทิตย์ แต่ก็พบว่าอาการที่ยังคงชาอยู่ที่หลังเท้าไม่ได้หายขาดไป เลยรู้สึกปลงๆและไม่สนใจอะไรมากมายอีก นานๆเป็นปีถึงจะเจ็บหนักๆสักครั้งนึง เลยถือโอกาสยอมรับว่ามันคงเป็นอย่างนี้แหละจนเวลาล่วงเลยไปไปอีกหลายปี
ประมาณปี 2544 ก็เริ่มเกิดอาการปวดระดับต้องนอนพักถี่ขึ้น ไปพบแพทย์ที่รพ.กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นแพทย์ประจำรพ.เลิดสิน เชี่ยวชาญเรื่องกระดูก เอ็กซเรย์ไปหลายครั้งทั้งธรรมดา และแบบสแกนคอมพิวเตอร์ แต่ก็เห็นไม่ชัดเลยต้องลองทำ MRI อีกครั้ง ปรากฏว่าภาพเกิดแสงสะท้อนมากจนดูไม่รู้เรื่องเพราะมีโลหะอยู่ข้างใน สุดท้ายคุณหมอขอฉีดสีเข้าไขสันหลังเพื่อให้ภาพเอ็กซเรย์ธรรมดาชัดเจนมากขึ้น ช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำ ครั้งนี้พบว่ามีหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทเพิ่มอีกสองตำแหน่ง คือ ข้อบน และข้อล่างของข้อที่เคยมีปัญหามาก่อน ซึ่งคุณหมอบอกว่าเกิดจากข้อที่เสียไปไม่ยืดหยุ่น จึงไปเพิ่มภาระให้กับข้อบนและล่างมากกว่าปกติ...เฮ้อ..เวรกรรม ไม่รู้เพราะตอนเด็กไปตีงูหลังหักไปหลายตัวจนตาย กรรมเลยตามสนองในชาตินี้เลยหรือปล่าว
สุดท้ายหมอนัดให้ไปนอนรอที่รพ.เลิดสินเพื่อผ่าตัด นอนรออยู่สามวันคณะแพทย์ของรพ.เลิดสิน มาแจ้งผลว่ายกเลิกนัดที่จะผ่าตัด เพราะไม่คุ้มค่ากับความเสี่ยงที่จะผ่าตัดจุดเดิมซ้ำซากหลายๆครั้ง เลยจำใจอดทนรับการเจ็บปวดปีละหลายครั้งต่อไป จนกระทั่งปี 46 ต้องโยกย้ายไปช่วยงานที่เมืองจีนสามปี ระหว่างอยู่ที่นั่นก็นับว่าโชคดีที่เกิดการปวดรุนแรงไม่บ่อยมาก ส่วนใหญ่พอเริ่มมีอาการเพียงเล็กน้อยก็จะรีบกินยากันไว้ และระวังท่าทางการเคลื่อนไหวไม่ให้เสี่ยงเจ็บเป็นกรณีพิเศษ ทุกครั้งที่กลับมาเยี่ยมครอบครัวที่เมืองไทย ต้องแวะหาหมอเพื่อตรวจอาการ และขอยาไปสำรองไว้ครั้งละร่วมหมื่น มีอยู่หลายครั้งที่กลับมาเยี่ยมบ้านได้รับคำแนะนำให้ไปหาหมอคนนั้น คนนี้ ซึ่งแต่ละท่านมีชื่อเสียงระดับประเทศ ก็ลองไปขอคำปรึกษามาแล้วทั้งนั้น เพื่อสร้างความมั่นใจว่าช่วงทำงานในจีนจะไม่เกิดปัญหาบาดเจ็บรุนแรงจนเสีย การเสียงาน
มีคุณหมอท่านหนึ่งของโรงพยาบาลจุฬาฯสรุปอย่างตรงประเด็นให้ฟังว่า โรคนี้น่ะมันรักษาไม่หายขาดหรอก หากเจ็บบ่อยหรือชาลงขามากก็ผ่าตัดสถานเดียว และถ้าเจ็บจุดอื่นต่อไปก็ต้องผ่าตัดไปเรื่อยๆ แต่มีทางช่วยป้องกันและลดโอกาสการเจ็บปวดได้โดยต้องบริหารกล้ามเนื้อหลังให้ แข็งแรงเพื่อยึดโยงกระดูกสันหลังให้มั่นคง ซึ่งฟังดูแล้วก็เห็นคล้อยตามที่หมอบอกเลยว่าจริง แต่หมอสอนท่าบริหารกล้ามเนื้อหลังมาให้หลายท่า ซึ่งใช้เวลาต่อครั้งเกินชั่วโมงและไม่เหมาะกับคนขี้เกียจบริหารตัวเอง และคงไม่จำเป็นต้องรู้ว่าบริหารอย่างไร เพราะผมเองทำอยู่ได้ไม่กี่วันก็ยอมแพ้ เอาเป็นว่าตอนนี้เริ่มเก็ทแล้วว่าหัวใจของปัญหาอยู่ที่กล้ามเนื้อหลัง
หลังจากย้ายกลับจากจีนเพราะสุขภาพโดยรวมไม่เอื้ออำนวยให้ลุยงานที่ต้องสมบุก สมบันที่นั่น เมื่อเกิดอาการปวดอีกก็เลยไปพบคุณหมอสมศักดิ์ที่มักจะหาอยู่เป็นประจำที่ รพ.กรุงเทพฯ คุณหมอเองก็พยายามจะบอกว่า ฟังประวัติการรักษาที่ผ่านมา ถ้าท่านเป็นผู้ผ่าตัดตั้งแต่ครั้งแรกๆ ท่านจะต้องบังคับให้ทำกายภาพบำบัดด้วยตนเองหลังแผลหายดีแล้ว ซึ่งหากทำมาตั้งแต่แรกก็คงจะช่วยทำให้ไม่ต้องมาพบหมออีกเหมือนในตอนนี้ เพราะกายภาพบำบัดโดยบริหารกล้ามเนื้อหลังจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ ซากอีกต่อไป เพียงแต่เราต้องไม่หลีกเลี่ยงบริหารเป็นประจำทุกวัน ซึ่งหลังจากคุณหมอได้อธิบายให้ฟังวิธีการบริหารแล้วรู้สึกได้เลยว่าหมูมาก และใช้เวลาน้อยมากๆต่อวัน จึงเริ่มทำต่อเนื่องมาได้สองสามเดือนแล้ว รู้สึกว่าแผ่นหลังแข็งแรงขึ้น พร้อมกับหน้าท้องก็เฟิร์มขึ้น ที่สำคัญอาการเจ็บแปล๊บๆที่เป็นบ่อยแต่ไม่รุนแรงหลายเดือนก่อนหน้าหายขาดไป เลย ทั้งที่ช่วงต้นปีเป็นต้นมาชักเริ่มมีปัญหาถี่มาก จนคุณหมอเองยังออกปากว่าถ้าลองบริหารแล้วไม่ดีขึ้นก็คงต้องผ่าตัดแน่นอน ด้วยก่อนหน้านี้อัดไปทั้งยาฉีด, ยารักษา, ยาบำรุงเต็มพิกัดแล้ว เมื่อผลออกมาว่าอาการปวดหายเหมือนปลิดทิ้งอย่างนี้ เลยต้องยกเครดิตให้การบริหารกล้ามเนื้อหลังเป็นพระเอกตัวจริง อยากรู้แล้วใช่มั้ยครับว่าทำยังไง
เอ้าฟังนะ.....ตื่นเช้าทุกวันให้บริหารกล้ามเนื้อหลังดังนี้
- นอนหงายยืดเท้าตรงแนบชิดกัน
- ยกปลายเท้าลอยสูงขึ้นประมาณหนึ่งฟุต (ไม่ควรยกให้สูงกว่านี้)
- ฝืนค้างไว้พร้อมนับสิบวินาที
- ครบแล้วลดปลายเท้าวางลงพักห้าวินาที...ดังนี้คือหนึ่งเซ็ท
- ทำติดต่อกันรวมสิบเซ็ท นั่นหมายถึงใช้เวลาไปรวมร้อยห้าสิบวินาทีต่อวันเท่านั้น
เห็นแล้วยังครับ ว่ามันง่ายมากจริงๆ
- แต่ละสัปดาห์ให้เพิ่มน้ำหนักห้าร้อยกรัมถ่วงไว้ (อาจใช้ถุงทรายที่มีขายทั่วไป)
- น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจะค่อยๆสร้างความแข็งแกร่งให้กล้ามเนื้อหลังเพื่อแก้ปัญหาที่เหตุ
- น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจะสิ้นสุดที่เท่าใดเหรอครับ คุณหมอบอกว่าจนกว่ายกไม่ไหว...แต่
- น้ำหนักขั้นต่ำที่แต่ละคนต้องยกให้ได้มีวิธีคำนวณดังนี้ครับ
น้ำหนักขั้นต่ำที่ต้องยกได้ = น้ำหนักตัว – น้ำหนักท่อนขาสองข้าง / 10
โดยปรกติน้ำหนักท่อนขาสองข้างประมาณสิบกิโลกรัม ถ้าอ้วนหรือผอมกว่าปกติก็ปรับเพิ่มหรือลดเอาตามความเหมาะสม (อย่าบอกว่าขาสองข้างหนักห้าสิบโลนะ)
หวังว่าวิทยาทานในการบริหารด้วยตนเองวันละร้อยห้าสิบวินาทีจะช่วยให้ผู้เป็น โรคปวดหลังคลายทุกข์ได้ในเร็ววันนี้นะครับ และขอให้ผลบุญที่ช่วยให้ผู้อื่นคลายทุกข์จงอย่าได้มีอาการปวดหลังมากล้ำกลาย ข้าพเจ้าอีกต่อไปเลย
ส่งต่อมากๆก็ได้บุญอีกมากๆนะครับ
 
ที่มา   plantinthecrudefrom.is.in.th

อัพเดทล่าสุด