เมื่อ สัปดาห์ก่อนได้กล่าวถึงอาการของต่อมลูกหมากโตกันไปแล้ว แม้จะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่หากเกิดอาการที่รบกวนคุณภาพชีวิต ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยนะคะ วันนี้มาติดตามวิธีรักษาต่อมลูกหมากโตที่ถูกต้องเหมาะสมสำหรับแต่ละคนค่ะ วิธีการรักษาต่อมลูกหมากโต 1.หากอาการไม่มากนัก แพทย์จะรอดูอาการและแนะนำวิธีการปฏิบัติตัว ดังนี้ - หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะเพราะจะทำให้มีอาการมากขึ้น - ก่อนนอนอย่าดื่มน้ำมากและให้ปัสสาวะก่อนเข้านอน เพื่อจะได้ไม่ต้องตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืนบ่อยๆ - งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพราะจะทำให้ปัสสาวะมาก - ไม่ควรนั่งจักรยานหรือทำอะไรที่สะเทือนต่อมลูกหมาก อาจทำให้ปัสสาวะไม่ออก - ถ้าเป็นไปได้ควรมีการร่วมเพศบ้าง น้ำเชื้อที่ออกมาจะทำให้ต่อมลูกหมากไม่บวม - แพทย์มักแนะนำไม่ให้รับประทานยาลดน้ำมูก เพราะผลข้างเคียงของยาจะทำให้ปัสสาวะไม่ออก นอก จากนี้ ควรไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอเพื่อประเมินว่าต่อมลูกหมากโตเกิดปัญหาต่อ สุขภาพหรือยัง ผู้ป่วยที่ต่อมลูกหมากโตไม่มากประมาณ 1 ใน 3 อาการจะดีขึ้นเองได้ หากมีอาการผิดปกติมากขึ้น จึงจะเริ่มให้การรักษาด้วยยา 2.การรักษาด้วยยา บาง ชนิดเป็นยาที่ทำให้กล้ามเนื้อบริเวณต่อมลูกหมากคลายตัว ลดอาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อที่บีบรัดท่อปัสสาวะ ขยายหลอดเลือดทำให้ความดันโลหิตลดลงและทำให้ปัสสาวะคล่องขึ้น บางชนิดเป็นยาที่ทำให้ขนาดของต่อมลูกหมากเล็กลง มีผลข้างเคียงคือความต้องการทางเพศลดลงด้วย แต่เมื่อหยุดยา ความต้องการทางเพศก็จะกลับมาเป็นปกติ 3.การรักษาด้วยการผ่าตัด - การใช้พลังงานความร้อนจากเลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ หรือคลื่นวิทยุ ทำให้เนื้อต่อมลูกหมากฝ่อลง โดยใส่เครื่องมือผ่านทางท่อปัสสาวะ การรักษานี้จะทำให้ปัสสาวะไหลดีขึ้น และไม่ทำให้เกิดปัสสาวะเล็ดหรือความรู้สึกทางเพศลดลง แต่อาจไม่ได้ผลหากต่อมลูกหมากโตมาก - Transurethral Resection of the Prostate (TURP) คือการใส่เครื่องมือเข้าทางท่อปัสสาวะ และใช้เครื่องมือตัดเนื้อต่อมลูกหมากออกเป็นชิ้นเล็กๆ วิธีการนี้ยังคงเป็นการรักษาที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง - Transurethral Incision of the Prostate (TUIP) ใช้ในกรณีที่ต่อมลูกหมากไม่โตมาก โดยใส่เครื่องมือเข้าทางท่อปัสสาวะ แล้วกรีดต่อมลูกหมาก 2-3 รอย ไม่มีการตัดชิ้นเนื้อต่อมลูกหมาก วิธีนี้จะช่วยลดความดันในต่อมลูกหมาก ทำให้ปัสสาวะออกง่ายขึ้น - การผ่าตัดผ่านทางหน้าท้องเอาต่อมลูกหมากออก ใช้ในกรณีที่ต่อมลูกหมากโตมาก - การขยายท่อปัสสาวะส่วนที่ต่อมลูกหมากอยู่โดยการใช้บัลลูน วิธีนี้จะทำให้ปัสสาวะไหลดีขึ้น แต่มีข้อเสียคืออาจจะมีเลือดออกและเกิดการติดเชื้อได้ หลัง การผ่าตัดจะมีเลือดออกได้หลายวัน ต้องนอนโรงพยาบาลประมาณ 3-10 วันโดยมีการคาสายสวนปัสสาวะไว้เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะได้หยุดพัก รอให้แผลภายในหายดีขึ้น หลังจากนำสายสวนปัสสาวะออก จะสามารถปัสสาวะได้คล่องกว่าเดิม และอาการดีขึ้นเรื่อยๆ ภายใน 2-4 สัปดาห์ ระหว่างที่แผลผ่าตัดยังไม่หายดี มีข้อควรปฏิบัติดังนี้ - ดื่มน้ำมากกว่าวันละ 8 แก้ว - รับประทานผักและผลไม้ให้มากเพื่อป้องกันท้องผูก - อย่าเบ่งถ่ายอุจจาระแรงๆ - อย่ายกของหนัก - หลีกเลี่ยงการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร อาการแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด - หลังจากนำสายสวนปัสสาวะออก จะรู้สึกว่าปัสสาวะแรงขึ้นและอาจมีอาการปวดขัดในช่วงแรก - ช่วงแรกหลังการผ่าตัดจะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ - อาจจะมีเลือดออกได้ หากปัสสาวะมีเลือดออกไม่หยุดให้ปรึกษาแพทย์ - เมื่อร่วมเพศและถึงจุดสุดยอด จะไม่มีการหลั่งน้ำออก เนื่องจากน้ำเชื้อจะไหลกลับเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งไม่อันตราย การผ่าตัดไม่ทำให้ความรู้สึกทางเพศลดลงและไม่มีผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศ หลังการรักษา ต่อมลูกหมากอาจโตขึ้นอีกได้ และยังไม่มีวิธีป้องกัน เพราะยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดที่ทำให้ต่อมลูกหมากโตขึ้น ชาย ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจสุขภาพประจำปี รวมถึงการตรวจต่อมลูกหมาก ซึ่งจะตรวจได้ทั้งต่อมลูกหมากโตและมะเร็งต่อมลูกหมาก ซึ่งพบได้ในผู้ชายสูงอายุเช่นกัน เมื่อใดควรผ่าตัดต่อมลูกหมากโต - ปัสสาวะไม่ออก - ปัสสาวะล้นไปที่ไต ทำให้ไตเสื่อม - มีการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะบ่อย - มีเลือดออกในทางเดินปัสสาวะ - มีนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ การปฏิบัติตัวหลังการผ่าตัด ขอบคุณข้อมูลจาก : www.manager.co.th |