อาการเจ็บนมเกิดจากอะไร และ เจ็บนมเกิดจากสาเหตุไร กันแน่


1,037 ผู้ชม


อาการเจ็บหน้าอกจึงเป็นเหตุผลที่พบบ่อยที่สุดอาการหนึ่ง ในการนำผู้มีอาการไปห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล อย่างที่สหรัฐอเมริกานั้น มีชาวอเมริกันเรียก รถพยาบาลให้มารับไปส่งห้องฉุกเฉิน เพราะอาการเจ็บหน้าอกปีละ 5 ล้านราย
คิด ๆ ดูก็น่าตกใจถ้าหากท่านต้องตื่นขึ้นมากลางดึก ด้วยอาการเจ็บหน้าอกและข่มตาหลับต่อไปไม่ไหว บางคนจะเกิดความตื่นตระหนกด้วยเกรงว่า จะเป็นอาการของโรคหัวใจขาดเลือดที่รู้จักในภาษาอังกฤษว่า HEART ATTACK แต่จริง ๆ แล้วอาการเจ็บหน้าอกไม่ได้หมายความถึง โรคหัวใจขาดเลือดเสมอไป จึงขอแบ่งสาเหตุการเจ็บหน้าอกออกเป็น
   1. เจ็บหน้าอกเพราะโรคหัวใจ และ
   2. เจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากหัวใจ
อาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจ เกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ
   1. หัวใจได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
   2. เป็นโรคหัวใจแต่ไม่เกี่ยวกับการขาดออกซิเจน
เมื่อหัวใจขาดออกซิเจนมาหล่อเลี้ยง
    สาเหตุพื้นฐานมักจะเป็นเพราะเลือดที่อุดมด้วยออกซิเจนไปไม่ถึงหัวใจ อันสืบเนื่องจากเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจตีบแคบลง มีผลทำให้เกิดความผิดปกติที่หัวใจได้ 2 ประการคือ
   1. ถ้าเลือดและออกซิเจนที่มาหล่อเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอเกิดขึ้นเพียงชั่ว คราว จะเกิดอาการเจ็บหน้าอกที่เรียกว่า แองไจนา เป็คตอริส (ANGINA PECTORIS) ซึ่งมักมีสาเหตุจากเส้นโลหิตแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ มีไขมันมาพอกผนังจนตีบแคบลง
      บางรายอาจเกิดจากลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบแคบลง (AORTIC STENOSIS) หรือเส้นโลหิตที่นำเลือดจากหัวใจสู่ปอดเกิดความดันสูงขึ้น (PULMONARY HYPERTENSION) อาการแองไจนาน ี้ คนไข้บอกเล่าว่า เหมือนมีแรงมากดบนหน้าอก หรือรู้สึกแน่นหน้าอกเวลาเกิดอารมณ์เครียด หรือออกกำลังทำกิจกรรมสักอย่างหนึ่ง พอหยุดพักหรือคลายเครียดได้ อาการเจ็บหน้าอกก็จะหายไปภายในไม่กี่นาที
   2. ถ้าเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจเกิดตีบตันทั้งเส้น หรือหลาย ๆ เส้น เนื่องจากมีก้อนเลือดมาอุดกล้ามเนื้อหัวใจอันทรงพลัง ก็จะขาดเลือดมาหล่อเลี้ยงฉับพลัน จนเซลล์กล้ามเนื้อตาย เกิดภาวะที่เรียกว่า ไมโอคาร์เดียล อินฟาร์กชั่น (MYOCARDIAL INFARCTION) หรือพวกหมอชอบเรียกสั้น ๆ ว่า เอ็มไอ (MI) อาการเจ็บหน้าอกในกรณีนี้จะรุนแรง เหมือนมีมือยักษ์มาบีบหน้าอก อยู่เป็นเวลานานกว่าที่เกิดในภาวะแองไจนา
ส่วนอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหัวใจ ที่ไม่เกี่ยวกับการขาดออกซิเจน
    ก็มีสาเหตุอาทิเช่น การอักเสบของถุงหุ้มหัวใจ (PERICARDITIS) หรือกล้ามเนื้อหัวใจโตเกินไป (HYPERTROPHY) เป็นต้น
ความที่ชาวอเมริกันเป็นโรคหัวใจขาดเลือดกันมาก โรงพยาบาลเกือบทุกแห่งจึงต้องจัดเตรียมห้องฉุกเฉินไว้ให้พร้อม ในการรักษาผู้ป่วยที่มาด้วยเรื่องเจ็บหน้าอก บางแห่งจะจัดบริเวณพิเศษภายในห้องฉุกเฉินเพื่อตรวจรักษาอาการนี้โดยเฉพาะ
เมื่อมาถึงห้องฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่จะรีบวัดแรงดันโลหิต จับชีพจรและวัดไข้ทันที หมอสั่งการตรวจอื่น ๆ ถ้าพิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นอาการเจ็บหน้าอกที่บ่งบอกความฉุกเฉินของปัญหา
ถ้าหมอตรวจแล้วค่อนข้างแน่ใจว่า เป็นภาวะหัวใจขาดเลือด ก็จะเริ่มมีการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด หรือทำการขยายหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ หรือผ่าตัดต่อเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ
การขยายหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจเรียกว่า แองจิโอพลาสตี้ (ANGIOPLASTY) คือ หัตถการที่หมอหัวใจ สอดสายสวน ที่ปลายเป็นลูกโป่งยุบพองได้เพื่อไปขยายเส้นเลือดบริเวณที่ตีบให้กว้างออก จนเลือดไหลเวียนดีขึ้น
การตรวจอื่น ๆ ในห้องฉุกเฉินมีอาทิเช่น
   1. ตรวจคลื่นไฟฟ้าของหัวใจ หรืออีเคจี (ECG หรือ EKG ย่อจาก คำว่า ELECTROCARDIOGRAM) เพื่อช่วยให้คุณหมอเห็นคลื่นไฟฟ้า จากการเต้นของหัวใจ ถ้าหัวใจขาดเลือดจนกล้ามเนื้อเสียหาย ก็จะทำให้คลื่นไฟฟ้าของหัวใจผิดปกติ ไปจนหมอวินิจฉัยโรคได้
   2. การเจาะเลือด ดูว่ามีกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือเสียหายมากจน ปล่อยสารเอนไซม์บางอย่างออกมามากเกินไปหรือเปล่า ถ้ามีก็แสดงว่าหัวใจขาดเลือดจริง ๆ
   3. ตรวจความฟิตของหัวใจในการเผชิญหน้าความเครียด (STRESS TEST) ซึ่งจะวัดดูว่า หัวใจตอบสนองต่อการออกกำลังอย่างไร และช่วยหมอวินิจฉัยภาวะหัวใจขาดเลือดได้ วิธีตรวจนี้ หมออาจให้ท่านขึ้นเดินบนเครื่องที่มีสายพาน (TREADMILL) หรือถีบจักรยานอยู่กับที่ ขณะที่ต่อสายไปบันทึกคลื่นไฟฟ้าของหัวใจตลอดเวลา หมอหัวใจจะต้องอยู่กำกับดูแลการตรวจนี้ เพราะถ้าหัวใจขาดเลือดมากอยู่แล้ว การออกกำลังกายเพิ่มอีกเล็กน้อย อาจทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายเลยได้
   4. การใช้รังสีนิวเคลียร์ถ่ายภาพหัวใจ (NUCLEAR SCAN TEST) หมอจะฉีดสารรังสีปริมาณเล็กน้อย เช่น ทาเลียม (THALLIUM) เข้าไปในร่างกาย แล้วใช้กล้องถ่ายภาพพิเศษถ่ายสารรังสีที่ผ่านหัวใจ และหลอดเลือดเพื่อดูว่า มีการไหลเวียนผิดปกติที่ใด การตรวจนี้มักจะทำร่วมกับการตรวจในข้อ 3
   5. การฉีดสีทึบแสงเข้าเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ ( CORONARY CATHETERIZATION หรือ CORONATY ANGIOGRAM) หมอจะฉีดสารทึบแสงเข้าไปในเส้นเลือดเลี้ยงหัวใจ แล้วถ่ายภาพเอกซเรย์ต่อเนื่องเหมือนถ่ายภาพเพื่อดูการเต้นของหัวใจ ดูเส้นเลือดว่าตีบตรงไหนบ้าง
   6. ถ่ายภาพรังสีของทรวงอก เพื่อดูสภาพของปอด ตลอดจนขนาดและรูปร่างของหัวใจ รวมทั้งเส้นเลือดขนาดใหญ่ ๆ
   7. ใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ตรวจดูการเต้นของหัวใจ เรียกว่า เอ็คโค่คาร์ดิโอแกรม (ECHOCARDIOGRAM) คลื่นเสียงความถี่สูงนี้จะสร้างภาพให้เห็นการเต้นของหัวใจได้
      จากประวัติการเจ็บป่วยร่วมกับการตรวจร่างกาย และนำผลการ ตรวจต่าง ๆ มาประมวลกันเข้า หมอก็จะให้การวินิจฉัยได้ว่า อาการเจ็บหน้าอกที่เป็นอยู่นั้นมาจากโรคหัวใจหรือเปล่า
ข้อควรระวัง
    เนื่อง จากสารเอนไซม์ที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือขาดเลือดรุนแรงบ่อยครั้ง จะปรากฏในกระแสเลือดช้ากว่าอาการเจ็บหน้าอก ตั้งแต่ 4-6 ชั่วโมง ตามกระบวนการเกิดโรค ดังนั้น ตอนแรกที่ไปถึงห้องฉุกเฉิน หมออาจจะยังบอกไม่ได้ว่าท่านเป็นโรคหัวใจขาดเลือดหรือเปล่า แต่เพื่อความปลอดภัย จะขอให้ท่านนอนพักอยู่ในโรงพยาบาล เพื่อสังเกตอาการใกล้ชิดอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง
    ระหว่างนี้นึกอะไรเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของสุขภาพได้ ก็ขอให้เล่าให้หมอหรือเจ้าหน้าที่ได้รับทราบ ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้ว่าหมอจะลืมถามก็ตาม
อาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากหัวใจ
    เนื่องจากหน้าอกของคนเรา มีอวัยวะหลายอย่าง จึงทำให้เจ็บหน้าอกได้เช่นกัน หลังจากหมอตรวจท่านไปพักหนึ่ง แล้วบอกว่า ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจแล้ว หลายท่านจะโล่งใจไปมาก แต่ก็ยังสงสัยว่า แล้วอาการเจ็บหน้าอกมาจากไหนกันล่ะ ?
    จะเป็นจากอะไรก็คงไม่ร้ายแรงเท่าโรคหัวใจ
    ภาวะที่อาจทำให้เจ็บหน้าอกที่พบบ่อย ๆ รองลงมา คือ
       1. ความผิดปกติของทางเดินอาหาร เช่น
             1. การไหลย้อนกลับของน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ซึ่งมีกรดเป็นสารหลัก ทำให้หลอดอาหารที่อยู่ในทรวงอกได้รับความระคายเคือง เกิดอาการแสบร้อนขึ้นมา เรียกว่าภาวะ GERD (ย่อจากคำเต็มว่า GASTROESOPHAGEAL REFLUX DISEASE) อาการแสบร้อนที่ว่านี้ ฝรั่งบัญญัติศัพท์ไว้เหมาะสมมากว่า HEARTBURN หรือหัวใจไหม้ ซึ่งนอกจากทำให้เจ็บหน้าอก แสบที่หน้าอกแล้ว บางท่านอาจรู้สึกมีรสเปรี้ยวในปาก หรือรู้สึกว่ามีอาหารขย้อนกลับขึ้นมา โดยมากจะเกิดหลังอาหาร และเป็นอยู่หลายชั่วโมง ยิ่งถ้านอนราบหรือก้มต่ำก็จะยิ่งเป็นมาก แต่จะบรรเทาได้ ถ้าเราออกมาหรือรับประทานยาลดกรด
                ในกรณีนี้ หมอจะจ่ายยาลดกรดให้กลับไปรับประทานต่อที่บ้าน การไหลย้อนกลับของกรดในกระเพาะอาหารขึ้นสู่หลอดอาหาร ถ้าทิ้งไว้จะทำให้หลอดอาหารเป็นแผล ตามมาด้วยการเกิดแผลเป็น และหลอดอาหารตีบแคบลง
                หมอจะตรวจวินิจฉัยได้โดยการ ให้ท่านกลืนแป้งแบเรียม แล้วถ่ายภาพเอกซเรย์ หรือใช้กล้องส่องลงไปตรวจดูผนังหลอดอาหาร และโพรงกระเพาะอาหาร
             2. ความผิดปกติของการเคลื่อนไหวของหลอดอาหาร (ESOPHAGEAL MOTILITY DISORDER) เกิดจากความผิดปกติในการบีบตัวของกล้ามเนื้อรอบหลอดอาหาร จนกลืนลำบาก และอาจเจ็บหน้าอก
                ข้อสังเกตคือ ภาวะนี้บรรเทาได้ด้วยยา เช่น ไนโตรกลีเซอรีน ซึ่งบรรเทาอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือดได้ด้วยบางครั้ง จึงวินิจฉัยแยกโรคยากและหมออาจคิดว่า เป็นโรคหัวใจในตอนแรกได้
       2. ความผิดปกติทางอารมณ์ (ANXIETY DISORDER)
          มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไปห้องฉุกเฉิน วนไม่น้อยที่ไปห้องฉุกเฉิน เพราะอาการเจ็บหน้าอก เนื่องจากความวิตกกังวลอันเป็นผลจากความเครียด เช่น
             1. ความวิตกกังวลทั่ว ๆ ไป อย่างคนที่เคยเป็นโรคหัวใจขาดเลือด หรือมีญาติพี่น้องที่มีประวัติหัวใจขาดเลือด จะมีความกังวลเกี่ยวกับอาการเจ็บหน้าอก พอนึกไปนึกมาเลยเจ็บหน้าอกเข้าจริง ๆ แต่ถ้ารู้ว่าไม่ใช่โรคหัวใจแล้ว อาการจะหายไปเลย
             2. ความตื่นตระหนก (PANIC ATTACKS) เป็นความเครียดที่ทำให้เจ็บหน้าอกได้ เนื่องจากความกลัวสุดขีด จนเหงื่อไหลชุ่ม หายใจไม่สะดวกและเจ็บหน้าอก
       3. เป็นภาวะที่พบบ่อยเช่นกัน อาทิเช่น
             1. กระดูกอ่อนของซี่โครงอักเสบ (COSTOCHONDRITIS) อาจเจ็บหน้าอกอย่างเฉียบพลันและเจ็บได้มาก ๆ จนนึกว่าหัวใจขาดเลือด ข้อแตกต่างคือ บริเวณที่อักเสบเวลาจับต้องแล้วจะปวด ในขณะที่หัวใจขาดเลือดจะเจ็บกินบริเวณกว้างกว่าและกดไม่เจ็บ รักษาโดยพัก ใช้ยาบรรเทาปวด ใช้ความร้อนประคบ
             2. เจ็บกล้ามเนื้อหน้าอกจากการไอมาก ๆ การบาดเจ็บของซี่โครงหรือกล้ามเนื้อหน้าอกช้ำ
       4. โรคปอด อาการเจ็บหน้าอก จากโรคปอด พบไม่มากนัก แต่ก็มีความสำคัญเช่น เป็นผลจาก
             1. ลิ่มเลือดคั่งในเส้นเลือดของปอด จนเลือดไหลสู่เนื้อปอดบางส่วนไม่ได้ นับเป็นภาวะอันตรายถึงชีวิตได้เช่นกัน แต่คนไทย จะเป็นกันน้อย อาการเจ็บหน้าอกจะมีลักษณะเหมือน ถูกของมีคม เลวลงเวลาไอหรือหายใจลึก ๆ
             2. เยื่อหุ้มปอดอักเสบจะเจ็บเวลาหายใจหรือไอ สาเหตุอาจเกิดจากติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย (ปอดบวม) หรือ โรคภูมิแพ้ตัวเอง (LUPUS)
             3. ปอดแฟบ (PNEUMOTHORAX)
       5. โรคอื่น ๆ ที่ทำให้เจ็บหน้าอกได้มีอาทิเช่น งูสวัด นิ่วในถุงน้ำดีหรือตับอ่อนอักเสบ มะเร็งปอด
 

อัพเดทล่าสุด