ทำไมผู้หญิงเจ็บนม และจะ เจ็บนมก่อนเป็นเมนส์กี่วัน หรอ


15,090 ผู้ชม


อาการก่อนการมีประจำเดือน PMS
Easy AdSense by Unreal
อาการก่อนการมีประจำเดือน PMS อาการที่ผู้หญิงควรตระหนักแต่อย่าตระหนก
ประเด็นนี้เป็นเรื่องหนึ่งที่ผู้หญิงจับกลุ่มพูดคุยกันเป็นประจำโดยความ ไม่สบายกาย หงุดหงิด และอารมณ์ไม่แจ่มใสเหล่านี้มักเกิดก่อนการมีประจำเดือนไม่กี่วัน ซึ่งเคยมีการศึกษาพบว่า 70-90% ของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์อายุ 25-45 ปี ประสบกับอาการดังกล่าว ที่มีชื่อเรียกว่า อาการก่อนมีประจำเดือน (Premenstrual Syndrome) หรือเรียกสั้นๆว่า PMS
รู้จักอาการของ PMS (อาการก่อนมีประจำเดือน)
แม้จะไม่มีใครทราบถึงอาการที่แท้จริงของอาการก่อนการมีประจำเดือน แต่คาดว่าสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนและโปรเจสเต อโรนช่วงระหว่างการตกไข่ในแต่ละเดือน ประมาณ 7-10 วันก่อนการมีประจำเดือน ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางกายและจิตใจ ทั้งนี้ผู้หญิงแต่ละคนจะมีอาการมากน้อยแตกต่างกันตามปัจจัยพันธุกรรมวิถีการ ดำเนินชีวิต และสภาพร่างกายในช่วงนั้นๆ
โดยอาการก่อนการมีประจำเดือนที่เกิดขึ้นทั่วไปมักมีอาการคล้ายคลึงกับ หญิงที่กำลังตั้งครรภ์และหญิงก่อนเข้าสู่วัยทอง โดยสามารถจำแนกผลกระทบได้ 2 ประเภทคือ ทางกายและจิตใจดังนี้
ทางกาย
    * คลื่นไส้
    * วิงเวียน ปวดศรีษะ ปวดไมเกรน
    * รู้สึกร้อนวูบวาบ
    * มีสิวขึ้นตามใบหน้า
    * คัดตึงหรือเจ็บหน้าอก
    * ปวดกล้ามเนื้อ ปวดตามข้อกระดูกและปวดหลัง
    * หน้าบวม ตัวบวม หน้าท้องบวมและเท้าบวม
    * มีอาการท้องอืด ท้องผูกหรือท้องเสีย
ทางจิตใจ
    * นอนไม่หลับ
    * อารมณ์เสีย หงุดหงิดง่าย
    * ขี้รำคาญ
    * เครียด และวิตกกังวล
    * ซึมเศร้า อ่อนไหวและร้องไห้ง่าย
    * เจริญอาหาร หรือเบื่ออาหาร
อาการก่อนการมีประจำเดือน PMS ตระหนักได้แต่ไม่ต้องตระหนก
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ ผู้หญิงที่เข้าข่ายมีอาการก่อนการมีประจำเดือน อาจกำลังวิตกกังวลและอยากหาทางรักษาให้หายขาด อย่างไรก็ตามอาการนี้ไม่ถือเป็นโรคหรือความผิดปกติ เพราะเมื่อประจำเดือนมาเป็นปกติ อาการเหล่านี้ก็จะหายไปเองตามธรรมชาติ ระหว่างนี้ถ้ารู้สึกไม่สบายก็สามารถรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการตามที่ปราก ฎได้ เช่น รับประทานยาแก้ปวดศรีษะ
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้คุณผู้หญิงรับมือกับอาการก่อนการมีประจำเดือนได้ดียิ่งขึ้น เรามีคำแนะนำที่ช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้ เริ่มจาก
   1. เลือกรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม นั่นคือรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่ละครั้งควรรับประทานปริมาณน้อยๆ แต่รับประทานบ่อยๆ หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เช่น เค็มจัด หวานจัด มันจัด ไม่ดื่มชา กาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
   2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ขณะออกกำลังกาย ร่างกายจะหลั่งสารความสุขหรือเอนดอร์ฟีนออกมาตามธรรมชาติ ซึ่งช่วยลดความตึงเครียดจากอาการก่อนการมีประจำเดือนได้เป็นอย่างดี
   3. สวมเสื้อผ้าที่ไม่รัดหรืออึดอัดจนเกินไป สวมเสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้าโปร่ง ระบายอากาศได้ดีและไม่มีขนาดเล็กบีบรัดบริเวณท้อง ส่งผลให้ยิ่งไม่สบายตัวและหงุหงิดยิ่งขึ้น
   4. รับประทานยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อบรรเทาอาการ ผู้หญิงบางคนที่ได้รับผลกระทบจากอาการก่อนการมีประจำเดือนมาก เช่น มีภาวะทางอารมณ์แปรปรวนจนคนรอบข้างอึดอัดใจ ในกรณีนี้สูตินรีแพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาปรับระดับให้ฮอร์โมนเป็นปกติ นอกจากนี้ผู้หญิงบางคนที่มีอาการไม่มาก อาจเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทน้ำมันดอกอิฟนิ่งพริมโรส วิตามินบีรวม หรือวิตามินซี ที่เชื่อว่าช่วยลดอาการปวดท้อง อาการบวมน้ำและอารมณ์หงุดหงิดได้
สุดท้ายขอย้ำอีกครั้งว่า อาการก่อนการมีประจำเดือนไม่ใช่โรคหรือความผิดปกติ ดังนั้นหากคุณผู้หญิงมีอาการเพียงเล็กน้อย ก็ไม่จำเป็นต้องไปปรึกษาแพทย์ เพียงแค่ฟิตร่างกายให้แข็งแรงและเตรียมอารมณ์ให้แจ่มใส แต่สำหรับคนที่ได้รับผลกระทบจากอาการก่อนมีประจำเดือนรุนแรง เราขอแนะนำให้จดบันทึกความเปลี่ยนแปลงในร่างกายและจิตใจของตนเองในช่วงนั้น และทำติดต่อกันสัก 2-3 เดือน หากมีการเปลี่ยนแปลงในทางลบและรุนแรงมากขึ้น การนำสมุดที่จดบันทึกไปปรึกษาแพทย์ก็เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยคุณหมอใน การรักษาได้ค่ะ
ที่มา   www.something.in.th

อัพเดทล่าสุด