เจ้าหญิงไดอาน่าเสียชีวิต ประวัติเจ้าหญิงไดอาน่า เจ้าหญิงไดอาน่าแต่งงาน


2,691 ผู้ชม

ความ คลุมเครือของอุบัติเหตุที่คร่าชีวิต "เจ้าหญิงแห่งปวงชน" อย่างเจ้าหญิงไดอาน่าในคืนวันที่ 31 สิงหาคม 1997 ยังคงเป็นที่ระแวงสงสัยของทั้งประชาชนชาวอังกฤษและผู้คนทั่วโลกมาจนทุก วันนี้


เจ้าหญิงไดอาน่าเสียชีวิต ประวัติเจ้าหญิงไดอาน่า เจ้าหญิงไดอาน่าแต่งงาน

เจ้าหญิงไดอาน่าเสียชีวิต ประวัติเจ้าหญิงไดอาน่า เจ้าหญิงไดอาน่าแต่งงาน

 

ความ คลุมเครือของอุบัติเหตุที่คร่าชีวิต "เจ้าหญิงแห่งปวงชน" อย่างเจ้าหญิงไดอาน่าในคืนวันที่ 31 สิงหาคม 1997 ยังคงเป็นที่ระแวงสงสัยของทั้งประชาชนชาวอังกฤษและผู้คนทั่วโลกมาจนทุก วันนี้ แม้ว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจของฝรั่งเศสจะสรุปว่ามันคืออุบัติเหตุ

เวลา ที่ผ่านล่วงเลยมาหลายปี ไม่ได้ทำให้ความเคลือบแคลงที่มีต่อเหตุการณ์ในคืนนั้นจางหายไป เพราะเฮนรี พอล คนขับรถไม่ใช่พวกขี้เมา และรถคันเล็ก ๆ อย่างเฟียต อูโน ไม่น่าจะทำให้รถซึ่งคันใหญ่กว่าอย่างเมอร์เซเดส เอส 280 เสียหลักถึง  กับพุ่งชนเสาในอุโมงค์ Place de L''''Alma ได้ และคำบอกเล่าจากพยานที่อยู่ในเหตุการณ์ซึ่งขัดแย้งจากรายงานของตำรวจอย่าง สิ้นเชิง

 

"เสียงที่ได้ยินนั้นช่างไม่น่าเชื่อ เท่าที่ผมอธิบายได้ก็คือ มันดังเหมือนระเบิด" ทอม ริชาร์ดสัน หนึ่งในพยานผู้อยู่ในเหตุการณ์

นั่นทำให้การสิ้นพระชนม์ครั้งนี้ถูกระบุว่า เป็นการลอบปลงพระ ชนม์ มากกว่าที่จะเป็นอุบัติเหตุธรรมดา ๆ โดยเฉพาะในความคิดของ มหาเศรษฐีชาวอียิปต์ โมฮัมเหม็ด อัล ฟาแยด บิดาของ โดดี้ อัล ฟาแยด ชายคนสุดท้ายในชีวิตของเจ้าหญิงไดอาน่าที่จบชีวิตด้วยอุบัติเหตุเดียวกัน

 

อุบัติเหตุครั้งนี้คือจุดสุดยอดของความรักแบบปุบปับ ซึ่งเพิ่งเริ่มก่อนหน้านั้นไม่นานในฤดูร้อนเดียวกัน เมื่อเจ้าหญิงไดอาน่าได้พบกับโดดี้ ความสัมพันธ์ของทั้งสองสร้างแรงสั่นสะเทือนไปจนถึงราชวงศ์อังกฤษ และขึ้นหน้าหนึ่งหนังสือพิมพ์     แทบลอยด์ สื่อมวลชนตามรบกวนไดอาน่าและโดดี้ไปแทบทุกแห่งที่ทั้งคู่เดินทางไป

และ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้นก็เป็นเช่นเดิม เมื่อเครื่องบินส่วนตัวของทั้งคู่ลงจอดที่สนามบินเลอร์บูร์เกต์ เวลาบ่ายสามโมงสิบห้านาทีวันที่ 30 สิงหาคม 1997 หลังจากนั้นเวลาสามทุ่มสิบห้านาทีกล้องวงจรปิดของโรงแรมริตซ์ บันทึกภาพขณะทั้งสองเข้าไปด้านใน โดยมีช่างภาพปาปารัซซี่เกือบ 30 ชีวิตยืนอออยู่นอกประตูด้านหน้าโรงแรม

 

3 ชั่วโมงต่อมาเพื่อหลบเลี่ยงพวกปาปารัซซี่ โดดี้และเจ้าหญิงไดอาน่าหลบออกทางประตูหลังพร้อมด้วยบอดี้การ์ด เทรเวอร์ รีส-โจนส์ เข้าไปในเมอร์เซเดสคันมรณะ ซึ่งมี เฮนรี พอล เป็นผู้ขับ โดยมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่อพาร์ตเมนต์ของโดดี้ ใกล้กับประตูชัย แต่พวกเขาก็ไปไม่ถึง

เฮ นรีและโดดี้เสียชีวิตทันที ขณะที่เจ้าหญิงไดอาน่าเลือดตกภายในมากซึ่งแพทย์ได้นำตัวส่งโรงพยาบาล และคณะแพทย์ได้ประกาศการสิ้นพระชนม์ของพระองค์เวลาตีสี่ของเช้าวันนั้น และเทรเวอร์คือผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียว

 

เจ้าหน้าที่สืบสวนพบเศษกระจกไฟท้ายซึ่งสรุปว่าเป็นของรถเฟียต อูโน ผลิตระหว่างปี 1983-1989 พร้อมกับรอยขูดสีขาวที่ติดอยู่ด้านข้างของรถเมอร์เซเดส ซึ่งตรงกันกับสีที่ใช้พ่นรถเฟียต อูโน ทางการฝรั่งเศสสรุปสาเหตุของอุบัติเหตุในครั้งนี้ว่า การที่รถเมอร์เซเดสชนกับรถเฟียต อูโน ทำให้รถของเจ้าหญิงไดอาน่าควบคุมไม่ได้จนแฉลบ

แต่ มีน้อยคนที่จะเชื่อว่าเป็นเช่นนั้น และหนึ่งในนั้นคือ จอห์น แมคนามารา อดีตตำรวจสก๊อตแลนด์ยาร์ด และอดีตที่ปรึกษาด้านความปลอดภัยของโมฮัมเหม็ด อัล ฟาแยด อ้างว่าทางการฝรั่งเศสมีส่วนในการปกปิดความจริงเกี่ยวกับอุบัติเหตุครั้งนี้

 

"เรา ถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าไปในศาลเพื่อตรวจสอบพยานต่าง ๆ ไม่ให้ทดสอบหลาย ๆ สิ่งที่เราพบเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้จะหาคำอธิบายยังไง ผมถือว่าตัวเองเป“นนักสืบมืออาชีพ ด้วยประสบการณ์ 26 ปีที่สก๊อตแลนด์ยาร์ด และผมแน่ใจว่านี่ไม่ใช่อุบัติเหตุรถยนต์ธรรมดา และผมสามารถเชื่อได้อย่างสนิทใจว่า ทำไมมิสเตอร์อัล ฟาแยด จึงเชื่อว่าลูกชายของเขาและเจ้าหญิงไดอาน่าถูกฆาตกรรม" จอห์น แมคนามารา ย้อนรำลึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้น

เพื่อ ค้นหาความกระจ่างให้กับอุบัติเหตุครั้งนี้ ทีมงานสารคดีชุด UNSOLVED HISTORY ได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ริชาร์ด เซียร์นิคกี นิติวิศวกร กอร์ดอน เฮล เอ็ดเวิร์ดส์, เกรก เพาเวลล์ และเจฟ มิลเลอร์ ทีมงานผู้เชี่ยวชาญการขับรถหลบหลีก ดร.เดวิด โพซีย์ นักนิติพยาธิวิทยา และแจ๊ค เฟรย์แทก วิศวกรด้านเสียง เพื่อตรวจสอบเหตุผลของอุบัติเหตุครั้งนี้ในแง่มุมต่าง ๆ

 

เริ่ม ตั้งแต่การทดลองลักษณะการชนกับความเร็วแบบที่น่าจะเป็นไปได้ รวมทั้งเสียงที่เกิดจากการชนซึ่งมีพยานหลายคนระบุว่า มันเหมือนเสียงระเบิดมากกว่า

แต่ การทดสอบที่น่าหวาดเสียวที่สุดก็คือ ความเป็นไปได้ของการชนกันระหว่างรถคันเล็ก ๆ อย่างเฟียต อูโน กับเมอร์เซเดส เอส 280 ที่มีผลทำให้รถคันใหญ่เสียหลักจนเป็นที่มาของโศกนาฏกรรมนี้ แต่ทว่ารถคันเล็ก ๆ กลับขับต่อไปได้แบบที่คนขับแทบจะไม่รู้สึกตัวด้วยซ้ำ

 

แม้ ว่าพวกเขาจะสามารถจำลองเหตุการณ์แทบจะเรียกได้ว่าเหมือนอยู่ในอุบัติเหตุ ครั้งนั้น หากแต่เหตุผลที่ว่าทำไมเจ้าของรถเฟียตคันดังกล่าวจึงไม่สนใจเสียงดังของการ ชนที่เกิดขึ้นกับรถเมอร์ เซเดสที่วิ่งอยู่ด้านหลัง ทั้ง ๆ ที่คนอื่น ๆ ที่อยู่ด้านนอกยังได้ยินเสียงอันดังสนั่นนั้น

และ ทางการฝรั่งเศสเองก็ไม่สามารถระบุตัวคนขับรถคันดังกล่าวที่แน่นอนได้ รวมทั้งการตายปริศนาของชายคนหนึ่งที่คาดว่าอาจจะเป็นคนขับในอีก 3 ปีถัดมา - artsmen.net

ไดอาน่า เจ้าหญิงแห่งเวลส์ (Diana, Princess of Wales) หรือชื่อเต็มคือ ไดอาน่า ฟรานเซส เมาต์แบทเทน-วินเซอร์ - สกุลเดิม สเปนเซอร์ (Diana Frances Mountbatten-Windsor, née The Lady Diana Spencer) (ประสูติ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1961 ที่เมืองแซนดริงแฮม ประเทศอังกฤษ — สิ้นพระชนม์ 31 สิงหาคม ค.ศ. 1997 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส) เป็นพระชายาพระองค์แรกของเจ้าฟ้าชายชาลส์ แห่งเวลส์ จากการอภิเษกสมรสเมื่อปี ค.ศ. 1981 และได้ทรงหย่าขาดเมื่อปี ค.ศ. 1996 พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศ เจ้าหญิงแห่งเวลส์ เป็นพระองค์ที่ 9 ของพระราชวงศ์อังกฤษ ซึ่งสื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปได้ถวายเรียกพระองค์ว่า "เจ้าหญิงไดอาน่า" แม้ว่าโดยแท้ที่จริงแล้วพระองค์จะไม่ทรงมีสิทธิ์ใช้พระนามดังกล่าวภายหลัง จากการหย่า

                ถึง แม้ว่าพระองค์จะทรงเป็นที่รู้จักจากพระกรณีย์กิจในหลายด้าน แต่การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ของพระองค์กลับถูกกลบด้วยข่าวลือเกี่ยวกับการ ชีวิตสมรส ทั้งถูกการกล่าวหาว่าพระสวามีนอกใจ และนอกใจพระสวามี ไดอาน่าต้องเผชิญกับปัญหาทางด้านพระหฤทัย และพระอารมณ์อันแปรปรวน เรื่องราวทั้งหมดถูกเปิดเผยต่อสาธารณชนในช่วงปลายปี ค.ศ. 1996 โดยมีการตีพิมพ์ในหนังสือ บทความในหนังสือแทบลอยด์ รวมทั้งละครโทรทัศน์

                นับตั้งแต่ทรงหมั้นกับเจ้าชายแห่งเวลส์ในปี ค.ศ. 1981 จนกระทั่งการสิ้นพระชนม์จากอุบัติเหตุรถยนต์ ในปี ค.ศ. 1997 ไดอานาเป็นผู้หญิงสำคัญคนหนึ่งของโลก ไม่ว่าจะความสนพระทัย การฉลองพระองค์ รวมถึงพระกรณีย์กิจของพระองค์ได้รับความสนใจจากทั่วทุกมุมโลก พระองค์ทรงเป็นผู้นำแฟชั่น เป็นสัญลักษณ์แห่งความงาม ความหวังของผู้ป่วยโรคเอดส์ และทูตสันถวไมตรีที่ เชื่อมทุกความขัดแย้ง แต่เหนือกว่าสิ่งอื่นใดคือพระองค์ทรงเป็นพระราชินีในดวงใจของประชาชนอีกด้วย ตลอดทั้งพระชนม์ชีพพระองค์เป็นผู้ที่ถูกถ่ายรูปมากที่สุดคนหนึ่งในโลกราวกับ นักแสดงที่มีชื่อเสียง สำหรับคนที่ชื่นชมพระองค์แล้ว ทรงเป็นบุคคลต้นแบบของคนเหล่านั้น ภายหลังการสิ้นพระชนม์ ยังมีกระแสยกเรียกร้องให้พระองค์ขึ้นเป็นนักบุญ ในขณะผู้ที่ต่อต้านพระองค์อ้างว่า การสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงไดอานาเป็นกรณีตัวอย่างของการคลั่งไคล้บุคคลของ สื่อมวลชน ทำให้ชีวิตของบุคคลผู้นั้นถูกทำลายอย่างย่อยยับ
 

                วัยเด็ก

                ไดอาน่าประสูติเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 1961 ทรงเป็นธิดาคนสุดท้องของวิสเคานท์และวิสเคานท์เตสอัลทอป (เอ็ดเวิร์ด และ ฟรานเซส สเปนเซอร์) ไดอานาทรงรับศีลล้างบาปที่โบสถเซนต์แมรีแม็กดาแลน พระองค์ทรงมีพี่น้อง 5 คนดังนี้

1.       อลิซาเบธ ซาราห์ ลาวินา สเปนเซอร์ (เลดีซาราห์ แม็กคอเดล ปัจจุบันเป็นประธานมูลนิธิไดอานา ตามพระประสงค์ของเจ้าหญิง)

2.       ซินเธีย เจน สเปนเซอร์ (เลดีเจน เฟเลอว์ ปัจจุบันคือ บารอนเนสเฟเลอว์)

3.       จอห์น สเปนเซอร์ (ถึงแก่กรรมหลังคลอดได้เพียง 10 ชั่วโมง)

4.       ไดอานา ฟรานเซส สเปนเซอร์ (เจ้าหญิงแห่งเวลส์)

5.       ชารลส์ เอ็ดเวิร์ด มัวไรส์ สเปนเซอร์ (เอิร์ลคนที่ 9 แห่งสเปนเซอร์)
 

                หลัง การหย่า ออเนอเรเบิลฟรานเซส พระมารดาของเจ้าหญิงพยายามที่จะขอมีอำนาจในการปกครองบุตร-ธิดาทุกคนโดยการ ร้องขอต่อศาล หากแต่แพ้คดีความ อำนาจในการปกครองบุตรธิดาจึงตกอยู่ที่พระบิดา ซึ่งหลังจากพระอัยกา (ปู่) ของไดอานา เอิร์ลคนที่ 7 แห่งสเปนเซอร์ถึงแก่อนิจกรรม วิสเคานท์อัลทอปในฐานะบุตรชายคนโตจึงได้รับสืบทอดยศของตระกูลต่อมา เป็นเอิร์ล คนที่ 8 แห่งสเปนเซอร์ ธิดาทั้งสามคน (ซาราห์ เจนและไดอานา) ได้รับยศเป็นเลดี ในขณะที่ชาลส์ ในฐานะที่เป็นทายาทผู้จะสืบตำแหน่งเอิร์ลแห่งสเปนเซอร์ต่อไป จึงดำรงยศเป็นวิสเคานท์อัลทอป

                ต่อ มาเอิร์ล คนที่ 8 แห่งสเปนเซอร์ พระบิดาได้สมรสอีกครั้งกับเรนน์ (อดีต) เคานท์เตสแห่งดาร์มอท ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างแม่เลี้ยงและลูกเลี้ยงทั้ง 4 คนนั้นเป็นไปอย่างไม่ราบรื่นนัก

 อภิเษกสมรส
ครอบ ครัวสเปนเซอร์ใกล้ชิดกับพระราชวงศ์มานานแล้ว เลดีฟรอยเมยซึ่งเป็นคุณยายของเจ้าหญิงนั้น เป็นพระสหายและนางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระราชชนนีอลิซาเบธ มาเป็นเวลานาน ประกอบกับการที่เจ้าชายแห่งเวลส์เคยทรงคบหาอยู่กับเลดีเจนและเลดีซาราห์พี่ สาวของไดอานา ทำให้พระองค์ทรงคุ้นเคยกับไดอานาพอสมควร และเมื่อเจ้าฟ้าชายชาลส์พระชนม์ได้ราว 30 พรรษา พระองค์ได้รับการร้องขอให้ทรงเสกสมรส ตามกฎหมายพระองค์จะต้องเสกสมรสกับสตรีที่ไม่ได้นับถือนิกายโรมันคาทอลิค แต่นับถือนิกายเชิรร์ช ออฟ อิงแลนด์ นอกจากนี้ยังมีคำแนะนำให้พระองค์เสกสมรสกับหญิงบริสุทธิ์ด้วย อีกทั้งการที่สมเด็จพระราชชนนี ทรงพระราชประสงค์จะให้พระองค์เองกับเลดีฟรอมเมยได้เป็น "ทองแผ่นเดียวกัน" เจ้าฟ้าชายผู้ทรงรักสมเด็จยายมากจึงทรงยอมตามพระทัย และพยายามทำพระองค์ให้คิดว่าไดอานานี้แหละ คือสุดยอดผู้หญิงที่เหมาะสมกับพระองค์ และเป็นผู้หญิงที่พระองค์รัก

                มีคำร่ำลือว่า นอกจากสมเด็จพระราชชนนีแล้ว คามิลลา คนรักเก่าของเจ้าชาย (และพระชายาพระองค์ปัจจุบัน) ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่สนับสนุนพระองค์ให้เลือกหญิงสาววัย 19 ปี เลดี ไดอาน่า ผู้ช่วยครูที่คินเดอร์การ์เทนมาเป็นพระชายา

                พระราชวังบัคกิงแฮมประกาศเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 1981 ว่าพระราชพิธีอภิเษกสมรสจะจัดขึ้นที่โบสถ์เซนต์ปอล ในลอนดอน ในวันที่ 29 กรกฏาคม 1981 แขกจำนวน 3500 คนถูกเชิญมาในขณะที่ผู้ชมนับพันล้านคนทั่วโลกเฝ้ารอดูพระราชพิธี

                ไดอาน่าเป็นหญิงคนแรกในรอบหลายศตวรรตที่สมรสกับรัชทายาทแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ หลังจากปี 1659 ที่เลดีแอนน์ สมรสกับเจ้าฟ้าดยุคแห่งยอร์คและอัลบานี (ต่อมาคือพระเจ้าเจมส์ที่ 2) หากแต่ความแตกต่างคือชาลส์เป็นรัชทายาทโดยนิตินัย แต่เจมส์เป็นรัชทายาทโดยพฤตินัย หลังการอภิเษกสมรสไดอานาได้รับยศเป็น เจ้าหญิงแห่งเวลส์ และมีลำดับพระอิสริยยศเป็นลำดับที่ 3 แห่งพระราชวงศ์ฝ่ายในของอังกฤษ ต่อจากสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 และสมเด็จพระราชชนนี อลิซาเบธ

                นอกจากนี้ไดอาน่ายังเป็นสตรีสามัญชนคนแรกที่เสกสมรสกับเจ้าชายแห่งเวลส์ และได้ดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงแห่งเวลส์ด้วย
 

                พระโอรส

              
                เจ้าฟ้าชายและเจ้าฟ้าหญิงแห่งเวลส์ มีพระโอรส 2 พระองค์ คือ

                เจ้าชายวิลเลียม แห่งเวลส์ ประสูติ 21 มิถุนายน 2525 รัชทายาทลำดับที่ 2 แห่งอังกฤษ ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะจากมหาวิทยาลัยอีตัน ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 2 ปัจจุบันทรงเข้ารับการฝึกเป็นทหารอยู่ที่ประเทศชิลี

                เจ้าชายแฮร์รี แห่งเวลส์ ประสูติ 15 กันยายน 2527 รัชทายาทลำดับที่ 3 แห่งอังกฤษ ถูกโจมตีมากที่สุดว่าเป็นเจ้าชายเจ้าปัญหา ด้วยพระอารมณ์รุนแรง หรือการฉลองพระองค์ไม่เหมาะสม (เช่นชุดนาซี) อีกทั้งยังมีข่าวลือว่าแท้จริงแล้วพระองค์อาจไม่ใช่พระโอรสของเจ้าชายชาลส์
 

                ลูกเลี้ยง

                ไดอาน่านอกจากจะมีพระโอรส 2 พระองค์แล้ว ยังทรงมีลูกเลี้ยง (godchildren คือเด็กที่พระองค์ทรงเป็นแม่ทูนหัว) อีกเป็นจำนวน 17 คน ซึ่งมีรายชื่อดังต่อไปนี้

1.       เลดีเอ็ดวิน่า กรอสเวนเนอร์ ธิดาของดยุคและดัชเชสแห่งเวสมินสเตอร์ เอ็ดวิน่าเป็นลูกเลี้ยงคนแรกของไดอาน่า

2.       ฮอนเนอเรเบิ้ลอเล็กซานดร้า นัตช์บอลล์ ธิดาของลอร์ดและเลดีโรมเซ่ย์

3.     แคลร์ คาซาแลท ธิดาของอิซาเบล และ วิคเตอร์ คาซาแลท ปู่ของแคลร์เป็นผู้ถวายคำแนะนำแก่สมเด็จพระราชชนนีในเรื่องการทรงม้า

4.     คามิลล่า สไตรเกอร์ ธิดาของเรเบิ้น และฮอนเนอเรเบิ้ลโซเฟีย สไตรเกอร์ โซเฟียเป็นพระสหายที่เคยอยู่แฟลตห้องเดียวกันกับไดอาน่า

5.       เจ้าชายฟิลิปเปส์ พระราชโอรสของอดีตกษัตริย์คอนสแตนตินและสมเด็จพระราชินีแอนน์ มารี

6.       ลีโอนารา ลอนสเดล ธิดาของเจมี่และลอร่า ลอนสเดล ลอร่าเป็นนางสนองพระโอษฐ์ของไดอาน่า

7.     แจ๊กกี้ วอร์แรน บุตรของจอห์นและเลดีแคโรลีน วอร์แรน เลดีแคโรลีนเป็นผู้ถวายคำแนะนำแก่สมเด็จพระราชินีนาถในเรื่องการทรงม้า

8.       เลดีแมรี่ เวลเลสลี่ย์ ธิดาของมาควิสและมาควิสเนสแห่งโดโร

9.       จอร์จ ฟรอสต์ บุตรของเซอร์เดวิดและเลดีคาริน่า ฟรอสต์

10.   แอ นโทนี่ ทวิสตัน-ดาวี่ ธิดาของออดลี่ย์ ทวิสตัน-ดาวี่ และฮอนเนอเรเบิ้ลแคโรลีน ฮาร์บอด-ฮาร์มอนด์ แคโรลีนเป็นพระสหายที่ไดอานาทรงวายพระทัยมาก

11.    แจ๊ค ฟลอคเนอร์ บุตรของซีมอนด์และอิซาเบล ฟอล์คเนอร์

12.    ลอร์ดเอ็ดเวิร์ด ดาวน์แพททริค บุตรของเอิร์ลแค้นท์เตสแห่งเซ้นท์แอนดรูว์

13.   แจ๊ค บาทโลเมล บุตรของวิลเลี่ยมและแคโรลีน บาทโลเมล แคโรลีนเป็นพระสหายตั้งแต่มัธยมและเคยอยู่แฟลตห้องเดียวกับไดอาน่า

14.   เบน จามิน ซามูแอล บุตรของฮอนเนอเรเบิลไมเคิลและจูเลีย ซามูแอล จูเลียเป็นพระสหายสนิทของไดอานา ทั้งสองคนมักรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันเสมอๆ อีกทั้งยังเป็นเพื่อนไม่กี่คนที่ไดอาน่าขอคำปรึกษาเรื่องครอบครัวที่ร้าวฉาน

15.    แอนโทนี่ แฮร์ริงตัน ธิดาของโจนาธาน แฮร์ริงตัน

16.    ดิซซี่ย์ โซแอมซ์ ธิดาของฮอนเนอเรเบิลรูเพิร์ทและคามิลลา โซแอมซ์

17.   โด เมนิก้า ลอว์ซัน ธิดาของดอมินิค ลอว์ซันและฮอนเนอเรเบิลโรซา มอนซ์ตัน โรซาเป็นพระสหายคนที่ไดอานาไปประทับอยู่ด้วย 1 เดือนก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ โดเมนิก้าเป็นลูกเลี้ยงคนสุดท้ายของไดอาน่า
 

                ทรงหย่า

                เหตุการณ์ ไม่เป็นไปอย่างความคาดหมายของทุกคน ในระยะแรกเจ้าหญิงไม่สามารถทรงปรับพระองค์ให้เข้ากับชีวิตของความเป็นเจ้า ฟ้าหญิงได้ และทรงทุกข์ทรมานจากพระโรค bulimia (น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว) หลังจากหายจากพระโรค เจ้าหญิงได้มีพระประสูติกาลเจ้าชายวิลเลียม หลังจากนั้นอีก 3 ปี พระองค์ได้มีพระประสูติกาลอีกครั้ง เจ้าชายแฮร์รี ซึ่งสร้างความผิดหวังให้กับเจ้าฟ้าชายชาลส์มาก เนื่องจากพระองค์ทรงหวังว่าพระองค์น่าจะได้พระธิดาจากการประสูติกาลครั้งที่ 2 นี้ เนื่องจากทรงโปรดลูกสาวของคามิลลามาก อีกทั้งยังมีข่าวลือว่า แท้จริงแล้วเจ้าชายแฮร์รี่อาจไม่ใช่พระโอรสของพระองค์ รายงานข่าวส่วนหนึ่งเชื่อว่าทั้งสองพระองค์เริ่มแยกกันอยู่หลังจากการเสก สมรสเพียง 5 ปี บางคนเชื่อว่าเนื่องจากเจ้าฟ้าชายชาลส์ไม่สามารถทนได้ที่พระชายาได้รับความ ชื่นชมมากกว่าพระองค์ (คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ของเจ้าหญิงมาซาโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่นในปัจจุบัน) ภาระทั้งหมดกลับตกไปที่ไดอานาในฐานะที่ควรจะ "ทรงทนให้ได้" เจ้าหญิงพยายามอย่างยิ่งที่จะพยายามเชื่อความสัมพันธ์ของพระองค์กับชาลส์ไว้ ให้นานที่สุด แต่ไม่เป็นผล สื่อมวลชนประโคมข่าวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเจ้าฟ้าชายชาลส์กับคามิลลา อย่างครึกโครม รวมทั้งประโคมข่าวระหว่างเจ้าหญิงกับผู้ชายอีกหลายคน นั่นทำให้ทั้ง 2 พระองค์คิดว่า เรื่องราวทั้งหมดควรจะจบลงเสียที ความสัมพันธ์ของทั้งสองพระองค์ในขณะนั้น สื่อมวลชนเรียกว่า "สงครามแห่งเวลส์" (War of Wales) ในปี ค.ศ. 1995 เจ้าหญิงแห่งเวลส์ประทานสัมภาษณ์ เกี่ยวกับชีวิตส่วนพระองค์อย่างหมดเปลือก

                I'd like to be a queen of people's hearts, in people's hearts, but I don't see myself being Queen of this country," she said. "I don't think many people will want me to be Queen.

แปลได้ว่า

                ข้าพเจ้า ปรารถนาที่จะเป็นพระราชินีของประชาชน เป็นราชินีภายในหัวใจของพวกเขา แต่ข้าพเจ้ามองไม่เห็นทางเลยที่ข้าพเจ้าเองจะเป็นพระราชินีของประเทศนี้ ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่าจะมีผู้คนมากนักปรารถนาให้ข้าพเจ้าเป็นพระราชินีของพวก เขา

                บทสัมภาษณ์ในระยะเวลาเพียง 1 ชั่วโมง[2] ดังกล่าวมีขึ้นหลังจากการวางขายหนังสือ Diana, Her True Story ของ แอนดรูว์ มอร์ตัน ไม่นาน ทำให้ประชาชนเกิดความสงสารต่อเจ้าหญิงไดอาน่า และเกลียดชังเจ้าฟ้าชายชาลส์ ซึ่งทั้งการประทานสัมภาษณ์และหนังสือนั้น ไดอานาทรงเป็นผู้สนับสนุนอยู่เบื้องหลังโดยที่สำนักพระราชวังไม่ทราบมาก่อน สมเด็จพระราชินีนาถและเจ้าฟ้าชายฟิลิปส์ ทรงหมดความอดทน และได้มีพระราชหัตถเลขารับสั่งให้เจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเวลส์ทรงหย่าขาดจาก กันทันที เจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเวลส์ทรงหย่าขาดจากกันเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 1996 และจากพระราชโองการของสมเด็จพระราชินีนาถ ลงวันที่ 21 สิงหาคม 1996 สั่งว่าหญิงผู้ใดที่หย่าขาดจากเจ้าชายแห่งอังกฤษ จะต้องสูญเสียฐานันดรศักดิ์ โรยัลไฮเนส (Royal Highness) และ อิสริยยศทั้งหมดที่ได้จากการอภิเษกสมรส พระราชโองการฉบับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ทันทีกับไดอานาและซาราห์ อย่างไรก็ตามในฐานะที่ไดอานาทรงเป็นพระมารดาของรัชทายาทลำดับที่ 2 และ 3 และซาราห์ทรงเป็นพระมารดาของรัชทายาทลำดับที่ 5 และ 6 แห่งราชบัลลังก์อังกฤษ ไดอานาและซาราห์ยังคงทรงเป็นสมาชิกแห่งพระบรมราชวงศ์ของอังกฤษ (ทั้ง 2 พระองค์จะทรงพ้นจากความเป็นพระราชวงศ์ในกรณีเดียวเท่านั้นคือทรงเสกสมรสซ้ำ อีกครั้ง) [3]

  พระกรณียกิจ
เจ้าหญิงแห่งเวลส์ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณีย์กิจมากมายหลายประการ ดังนี้

                ด้านโรคเอดส์ ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1987 เจ้าหญิงแห่งเวลส์ทรงเป็นบุคคลสำคัญคนแรกของโลกที่ถูกถ่ายรูปว่าจับต้องตัว ผู้ป่วยโรคเอดส์ ความคิดและทัศนคติต่อคนที่ป่วยเป็นโรคเอดส์เปลี่ยนไปทันที และคนป่วยเองก็มีกำลังใจมากขึ้นอีกด้วย โดยเฉพาะจากคำพูดของ บิล คลินตัน ได้กล่าวถึงไดอานา ในปี ค.ศ. 1987 ว่า การแสดงออกของไดอาน่า ทำให้หลายคนทั่วโลกได้เปลี่ยนความคิดในเรื่องผู้ป่วยโรคเอดส์ และยังมอบความหวังให้กับผู้ป่วยในขณะเดียวกัน

                ต่อต้านกับระเบิด เจ้าหญิงเสด็จไปในการทรงต่อต้านการวางกับระเบิด ในฐานะที่ทรงเป็นสมาชิกวิสามัญของสภากาชาดแห่งอังกฤษ ภาพที่พระองค์ทรงจับมือเด็กหญิงที่ถูกกับระเบิดกำลังจะสิ้นใจตราบกระทั่งลม หายใจสุดท้ายของเธอ นำความเศร้าอย่างยิ่งให้กับโลก

                นอกจากนี้ในด้านอื่น เจ้าหญิงทรงมีความสนพระทัยอย่างยิ่งในศาสนา นอกจากนี้พระองค์ยังเคยทรงเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระสันตปาปาจอห์น ปอล ที่ 2 อีกด้วย และยังทรงโปรดการที่ได้เล่นกับเด็กโดยไม่ถือพระองค์ ว่ากันว่าพระองค์ทรงเป็นแม่ทูนหัวของเด็กทั้งหมด 17 คน (ซึ่งในพระราชพินัยกรรมทรงระบุไว้ว่าลูกเลี้ยงของพระองค์ทั้งหมดนี้จะต้อง ได้รับเงินคนละราว 82,000 ดอลล่าร์หลังพระองค์สิ้นพระชนม์) ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเพราะพระองค์ทรงเคยเป็นครูที่โรงเรียนอนุบาลมาก่อนก็ได้ ในด้านการต่างประเทศทรงเป็นทูตสันถวไมตรีในหลายๆ ประเทศ การเสด็จของพระองค์นำความยินดีให้กับทุกคนที่จะได้เฝ้าฯ เป็นที่น่าเสียดายว่าก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ไม่นานทรงมีหมายกำหนดการที่จะ เสด็จเยือน จังหวัดภูเก็ต แต่แผนการได้ถูกยกเลิกไป
 

                อุบัติเหตุ
เมื่อวันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2540 เวลา 07.30 น. มีผู้พบเห็นไดอาน่าเสด็จลงจากเครื่องบินที่มีต้นทางจากประเทศกรีซ ที่สนามบินในกรุงปารีส ในเวลาประมาณ 08.00น.เจ้าหญิงได้เสด็จขึ้นรถ เมอร์ซีเดส เบนซ์ สีดำรุ่น E600 รุ่นปี 1997 ออกจากสนามบินอย่างรวดเร็ว พร้อมกับทรงนัดพบกับ โดดี อัลฟาเยด์ ที่อพาร์ตเมนต์กลางกรุงปารีส หลังจากนั้น เวลาประมาณ 13.45 น. มีผู้พบเห็นไดอานากับนายโดดี พร้อมองครักษ์ อีกครั้งขณะช็อปปี้งในย่านถนน "ชองเอลีเซ่" ขณะนั้นช่างภาพอิสระรุม ถ่ายพระฉายาลักษณ์พระองค์กับนายโดดี โดยเวลา 16.40 น. เจ้าหญิงจึงเสด็จกลับ มีการดักฟังทางโทรศัพท์ว่า เจ้าหญิงจะทรงพบกับนายโดดีอีก ที่โรงแรมริทซ์เพื่อเลี้ยงพระกระยาหารค่ำในเวลา 20.30 น. และเจ้าหญิงได้เสด็จถึงโรงเเรมเมื่อเวลา 19.55 โดยในระหว่างเวลา 20.30-23.30 น. เจ้าหญิงทรงอยู่ในงานเลี้ยงอันหรูหราของนายโดดี แต่มีรายงานการใช้โทรศัพท์ของเจ้าหญิงว่าทรงโทรศัพท์ไปหาโหรหญิง พระสหายสนิทพระองค์ เพื่อทำนายดวงชะตาและขอคำปรึกษาปัญหาชีวิต

                ก่อน เที่ยงคืนเล็กน้อยเจ้าหญิงเสด็จออกจากโรงแรมเพื่อกลับที่ประทับ ช่างภาพอิสระชุดเก่าที่จึงสะกดรอยตามพระองค์อีกครั้ง จนมาถึงถนนลอดอุโมงค์ Point De Alma ใต้แม่น้ำเซน ที่ชื่อว่า แต่รถพระที่นั่งซึ่งวิ่งมาด้วยความเร็วประมาณ 126 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อหลบหนีการตามล่าของเหล่านักภาพ ก็ได้พุ่งชนกับแผงราวเหล็กกั้นอุโมงค์อย่างจัง เนื่องจากถนนลอดอุโมงค์มีความลาดชันมาก ทำให้รถยนต์พระที่นั่ง หมุนตัวและพุ่งชนแผงเหล็กอีกด้านหนึ่ง ส่งผลให้หม้อน้ำเกิด การระเบิดอย่างรุนแรง โดยเฮนรี พอลล์ คนขับรถและนายโดดี เสียชีวิตทันที ส่วนเจ้าหญิงและนายเทรเวอร์ เรสยอนส์ องครักษ์ได้รับบาดเจ็บสาหัส เจ้าหญิงมีบาดแผลฉกรรจ์ที่พระพักตร์ พระโลหิตออกมากและยังมีพระโลหิตไหลในปัปผาสะ

                เมื่อเวลา 00.15 น. รถพยาบาลคันแรกของโรงพยาบาลเซ็นต์เดอลาปีแอร์ มารับเจ้าหญิงและองครักษ์ หลังจากนั้นอีกชั่วโมงกว่า แต่เจ้าหญิงนั้นทรงเสียพระโลหิตมาก และยังทรงมีพระโลหิตตกค้างที่พระปัปผาสะอยู่เป็นจำนวนมากด้วย พระอาการทรงตัวต่อมาเรื่อยๆ จนเมื่อเวลา 03.35 น. พระหทัยอ่อนพระกำลังลงเรื่อยๆ ซึ่งในขณะนั้นชีพจรอยู่ที่ 23 ครั้งต่อนาที
 

                สิ้นพระชนม์
 หลังจากนั้น อีกประมาณครึ่งชั่วโมง เวลา 04.00 น. ไดอาน่า เจ้าหญิงแห่งเวลส์สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการพระโลหิตไหลในพระปับผาสะและสูญ เสียพระโลหิตมาก ส่วนนายเทรเวอร์ เรสยอนส์ องครักษ์นั้นเป็นคนเดียวในอุบัติเหตุที่รอดชีวิต สำนักพระราชวังบักกิ้งแฮมได้ออกแถลงการณ์ยืนยันในวันรุ่งขึ้น และแจ้งว่าเจ้าฟ้าชายชาลส์ เจ้าชายวิลเลียม และ เจ้าชายแฮร์รี่ ได้ทรงทราบข่าวแล้ว สมเด็จพระราชินีนาถ พระราชทานพระราชานุญาตให้จัดงานพระศพได้ที่เวสมินตัน โดยพระราชวงศ์ทุกพระองค์ได้เสด็จเข้าร่วมพิธีพระศพ เจ้าชายวิลเลียมและเจ้าชายแฮร์รี่ซึ่งยังคงทรงโศกเศร้ามากนั้น มีคุณปีเตอร์ฟิลิปส์ (พระโอรสในเจ้าฟ้าหญิงแอนน์) จับมือและคอยให้กำลังใจตลอดเวลา แขกสำคัญนอกจากพระราชวงศ์ทุกพระองค์แล้วยังมีครอบครัวสเปนเซอร์ทุกคน และมีแขกอื่นอีกกว่า 3,500 คน

                ถวายการไว้อาลัยแด่เจ้าหญิงแห่งเวลส์

                ข่าว การสิ้นพระชนม์ของไดอาน่าสร้างความตกตะลึงและความเศร้าให้แก่ผู้คนทั้งโลก ดอกไม้หลายล้านดอกและจดหมายหลายล้านฉบับถูกส่งถึงหน้าพระราชวังเพื่อไว้ อาลัยแก่เจ้าหญิงไดอานา โดยมีบุคคลสำคัญที่ได้แสดงความไว้อาลัยแก่ไดอานาอีก เช่น สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2, เลดีซาราห์ แม็กคอเดล พระเชษฐภคินีคนโตของเจ้าหญิง, เลดีเจน เฟเลอว์ พระเชษฐภคินีคนรอง, และ เซอร์เอลตัน จอห์น ได้แต่งเพลง Candla in the wind บรรเลงเพื่อไว้อาลัยแก่เจ้าหญิง ในงานพระศพ
 

                สงสัย
 

 การสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงไดอาน่า จากอุบัติเหตุรถคว่ำที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2540 ยัง คงเป็นปริศนาค้างคาใจคนทั้งโลก และยิ่งกลายเป็นประเด็นร้อนแรงขึ้น เมื่อมีข่าวการอภิเษกสมรสใหม่ของ เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ มกุฎราชกุมารอังกฤษ กับ คามิลลา ปาร์กเกอร์ โบว์ลส์

                อะไร คือสาเหตุแท้จริง ที่พรากชีวิตเจ้าหญิงผู้เลอโฉมไปอย่างไม่มีวันกลับมา และอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพียงเรื่องเหนือการควบคุม หรือแผนการร้ายที่ตระเตรียมไว้ก่อนล่วงหน้า...!!

                แม้ เจ้าหญิงไดอาน่าจะลาโลกไปหลายปีแล้ว แต่กระบวนการค้นหาความจริง เพื่อคลี่คลายปริศนาการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ก็ยังคงดำเนินไปอย่างไม่หยุด ยั้ง สื่อมวลชนทุกแขนงต่างเกาะติดความเคลื่อนไหวในการสืบสวนหาสาเหตุ  การสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงผู้เลอโฉมอย่างใกล้ชิด  มี การพาดพิงถึงไดอารีส่วนพระองค์ที่ระบุไว้ชัดเจนว่า ชีวิตของเจ้าหญิงกำลังตกอยู่ในอันตรายร้ายแรง และพระองค์อาจสิ้นพระชนม์ด้วยการถูกปองร้ายโดยอุบัติเหตุทางรถยนต์ เพื่อเปิดทางสะดวกให้พระสวามีได้อภิเษกสมรสใหม่ !!

                ขณะ ที่หนังสือพิมพ์แดนผู้ดีหลายฉบับ ตั้งข้อสังเกตถึงพิรุธความผิดปกติหลายจุด ที่เกิดขึ้นในค่ำคืนเกิดเหตุโศกนาฏกรรมไว้อย่างน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนเส้นทางรถยนต์ไปยังอุโมงค์ Pont de L’Alma อย่างไม่มีเหตุผล ทั้งๆ ที่จุดหมายเดิมของเจ้าหญิงกับสหายผู้รู้ใจ “โดดี้ อัล ฟาเยด” ทายาทมหาเศรษฐี เจ้าของห้างสรรพสินค้าแฮร์รอดส์แห่งอังกฤษ คือการเดินทางไปยังอพาร์ตเมนต์ของฝ่ายชาย

                ทำไม วิทยุสื่อสารของตำรวจในกรุงปารีส ไม่สามารถใช้การได้โดยไม่ทราบสาเหตุ ขณะที่รถยนต์พระที่นั่งของเจ้าหญิงเดินทางเข้าสู่อุโมงค์ จนเกิดเหตุร้ายและไม่สามารถติดต่อสื่อสารเพื่อขอรับการช่วยเหลือเพื่อรักษา พระชนม์ชีพของพระองค์ได้อย่างทันท่วงที

                เป็นความบังเอิญจริงหรือ? ที่อุปกรณ์รักษาความปลอดภัยอย่างกล้องวิดีโอวงจรปิดภายในอุโมงค์เกิดเหตุใช้การไม่ได้ !! จนทำให้ไม่มีภาพหลักฐานยืนยันความชัดเจนของอุบัติเหตุที่น่าเคลือบแคลงนี้

                รวม ทั้งมีพยานผู้ร่วมเหตุการณ์บางราย เอ่ยพาดพิงถึง เสียงดังสนั่นคล้ายเสียงปืนในขณะเกิดเหตุ และเพราะเหตุใดรถพยาบาลจึงต้องใช้เวลาถึง 1 ชม.กับ 10 นาที ในการเดินทางมายังจุดเกิดเหตุ ทั้งๆ ที่อยู่ห่างจากโรงพยาบาลเพียง 3 ไมล์เท่านั้น

                ทั้ง นี้มีข้ออ้างเรื่อง แผนลอบสังหาร ปรากฏในจดหมายของเจ้าหญิงไดอาน่าที่ระบุว่า สมาชิกระดับสูงในราชวงศ์อังกฤษ มีแผนการที่จะสังหารเจ้าหญิงไดอาน่า จดหมายดังกล่าวจึงเป็นหลักฐานชี้นำให้ต้องมีการตั้งกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จ จริง ตามคำร้องของ นายไมเคิล เบอร์กีส เจ้าหน้าที่นิติวิทยาศาสตร์ ที่ระบุว่าตำรวจระดับสูงของอังกฤษ ควรจะดำเนินการสอบสวนข้ออ้างดังกล่าวที่ว่า การสิ้นพระชนม์ของพระองค์ไม่ใช่เป็นอุบัติเหตุ แต่เป็นการวางแผนอย่างแยบยล

                ซึ่งรายละเอียดของจดหมายฉบับดังกล่าวของเจ้าหญิงไดอาน่า ถูกนำมาเปิดเผยเมื่อเดือนมกราคม 2547 ระบุ ว่า มีการวางแผนให้เกิดอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยการตัดสายเบรก ซึ่งจดหมายอันสร้างความสั่นสะเทือนไปทั้งโลกฉบับนี้ นายพอล เบอร์เรลล์ อดีตมหาดเล็กของเจ้าหญิงไดอาน่า ยืนยันว่าเจ้าหญิงเขียนไว้ 10 เดือนก่อนที่พระองค์จะประสบอุบัติเหตุ

                ขณะเดียวกัน ดร.จอห์น เบอร์ตัน อดีตเจ้าหน้าที่ชันสูตรศพเจ้าหญิงไดอาน่า ยังระบุด้วยว่า พระองค์ไม่ได้ทรงตั้งครรภ์ในขณะสิ้นพระชนม์

                ทั้งนี้ในส่วนของการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส มีผลสรุปออกมาหลังใช้เวลาในการสอบสวนนานกว่า 2 ปี ว่า อุบัติเหตุที่คร่าชีวิตเจ้าหญิงไดอาน่า และ โดดี้ อัล ฟาเยด เป็นผลมาจากความผิดพลาดของ นายอองรี ปอล คนขับรถ เนื่องจากอยู่ในสภาพเมาสุราและฤทธิ์ยา รวมทั้งขับรถด้วย ความเร็วสูงเกินกำหนด

                อย่างไรก็ตามล่าสุด สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. ว่า หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ ซันเดย์ ไทมส์ ของอังกฤษรายงานว่า

                เจ้า ฟ้าชายชาร์ลส์ มกุฎราชกุมารแห่งอังกฤษ ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสอบปากคำเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กรณี การเสียชีวิตของเจ้าหญิงไดอาน่า อดีตพระชายาของพระองค์ จากอุบัติเหตุทางรถยนต์ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อปี 2540

                โดย ลอร์ด จอห์น สตีเวนส์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาลลอนดอน ได้เข้าพบเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ที่ พระตำหนักคลาเรนซ์ เป็นเวลานานหลายชั่วโมง หลังจากมีข้อสันนิษฐานว่าเจ้าหญิงไดอาน่าอาจตกเป็นเหยื่อในแผนลอบสังหาร

                ขณะ เดียวกันโฆษกส่วนพระองค์ของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ แถลงยืนยันว่า อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาลลอนดอนได้เข้าพบเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์จริง เพื่อสืบสวนกรณีการเสียชีวิตของเจ้าหญิงไดอาน่า แต่ทางโฆษกไม่ขอแสดงความเห็นใด ๆ เพราะเกรงว่าอาจจะเป็นการชี้นำให้เกิดการเข้าใจผิดได้
 

                รื้อฟื้น

                เมื่อ คดีปริศนาที่พรากชีวิตอดีตเจ้าหญิง ผู้ทรงเสน่ห์ที่สุดในโลกพระองค์นี้ ได้ถูกรื้อฟื้นขึ้นมาและมีการสอบสวนอย่างจริงจังอีกครั้ง ก็เชื่อว่าคนทั้งโลกคงต้องจับตาดูว่า คดีสะท้านโลกนี้จะจบลงเช่นไร.- consult.eduzones.com

อัพเดทล่าสุด