พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พืชมงคล ภาษาอังกฤษพร้อมแปลภาษาไทย
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พืชมงคล ภาษาอังกฤษพร้อมแปลภาษาไทย
The Royal Ploughing Ceremony
The annual Ploughing Ceremony usually takes place in May every year at Sanam Luang near the Grand Palace in Bangkok. The ceremony has been performed since ancient times and designed to give an auspicious beginning to the new planting season.
In fact, the Ploughing Ceremony is of Brahman origin and it was practised even before the birth of Lord Buddha who, then a Prince, used to take part in the ceremony. The auspicious day and time are to set by the Royal Brahman astrologers. Nowadays, although Their Majesties are present at the ceremony, the King no longer takes the leading role, His Majesty the King appoints the Ploughing Lord as his representative to carry out the rites.
During this colourful ceremony, the amount of rainfall to be expected in the coming season is forecast. The Ploughing Lord is offered a choice of three lengths of cloth, all looking identical, if his choice is the longest one there will be little rain during the coming year; if it is the shortest one, rain will be plentiful while the one of medium length indicates average rain.
After donning the piece of cloth, called “Panung”, the Ploughing Lord then ploughs furrows in Sanam Luang with a sacred plough of red and gold drawn by sacred white bulls and followed by four consecrated ladies who carry gold and silver baskets filled with rice seed. Walking alongside the plough are Brahmans who are chanting and blowing conch shells.
When the ploughing is finished the bulls are presented with seven different foods and drink, i.e. rice seed, beans, maize, hays, sesame seed, water and alcoholic liquor. Whatever the bulls choose to eat or drink, it is forecast that this will be plentiful during the year.
After the ceremony has ended, the crowds scramble for the seeds sown by the Ploughing Lord as the seeds are regarded as things that twill bring the owners wealth and good luck. The farmers will mix the seeds with their own rice to ensure a good crop in the coming year.
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ
พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรก นาขวัญนี้ จะมีขึ้นในเดือนพฤษภาคมของทุก ๆ ปีที่ท้องสนามหลวงใกล้พระบรมมหาราชวังในกรุงเทพมหานคร ประเพณีนี้ถือปฏิบัติมาตั้งแต่อดีตกาล โดยมุ่งหวังที่จะให้เป็นสิริมงคลแก่ฤดูกาลเพาะปลูกใหม่
ความจริงแล้ว พิธีแรกนาขวัญนี้มีแหล่งกำเนิดมาจากศาสนาพราหมณ์และถือปฏิบัติกันมาก่อนสมัย พุทธกาลเสียด้วยซ้ำไป ดังจะเห็นได้จากครั้งที่พระองค์ยังทรงเป็นเจ้าชายก็ยังเคยเข้าร่วมพิธีนี้ ส่วนวันและเวลา อันเป็นมงคลสำหรับการประกอบพิธีนั้นก็จะถูกกำหนดขึ้นโดยโหรหลวง ทุกวันนี้แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรม ราชินีนาถ จะทรงเสด็จมาเป็นประธานในพิธีแต่พระมหากษัตริย์ก็ไม่ได้ทรงนำขบวนด้วย พระองค์เอง หากแต่ทรงแต่งตั้งพระยาแรกนาขวัญให้เป็นผู้นำในพิธีแทน
ในระหว่างพิธีอันสวย งามนี้ ก็จะมีการทำนายปริมาณน้ำฝนในช่วงฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง และแล้วพระยาแรกนาก็จะทำการเลือกผ้า 3 ผืน ที่มีความยาวต่างขนาดกัน ตามชอบใน ผ้าทั้ง 3 ผืน นี้จะดูคล้ายกัน ถ้าพระยาแรกนาเลือกผืนที่ยาวที่สุดก็ทายว่าปริมาณน้ำฝนจะมีน้อย ถ้าเลือกผืนที่สั้นที่สุดก็ทายว่าปีนี้ปริมาณน้ำฝนจะมากและถ้าเลือกผืนที่มี ความยาวขนาดปานกลางทายว่าจะมีปริมาณน้ำฝนพอประมาณ
หลังจากสวมเสื้อผ้า เรียกว่า “ผ้านุ่ง” เรียบร้อยแล้ว พระยาแรกนาก็จะไถลงไปบนพื้นที่ท้องสนามหลวงด้วยพระนังคัลสีแดงและสีทองซึ่ง ลากโดยพระโคผู้สีขาว ตามขบวนด้วยเทพีทั้ง 4 ผู้ซึ่งหาบกระเช้าทองและกระเช้าเงินที่บรรจุด้วยเมล็ดข้าวเปลือก นอกจากนี้ก็ยังมีคณะพราหมณ์เดินคู่ไปกับขบวนพร้อมทั้งสวดและเป่าสังข์ไป พร้อมๆ กัน
เมื่อเสร็จจากการไถ แล้ว พระโคก็จะได้รับการป้อนพระกระยาหารและเครื่องดื่ม 7 ชนิด คือ เมล็ดข้าว ถั่ว ข้าวโพด หญ้า เมล็ดงา น้ำ และเหล้า ไม่ว่าพระโคจะเลือกกินหรือดื่มสิ่งใด ก็ทายว่าปีนั้นจะอุดมสมบูรณ์ด้วยสิ่งที่พระโคเลือกนั้น
หลังจากพิธีจบลง ฝูงชนก็จะกรูเข้าไปแย่งเมล็ดข้าวที่หว่านโดยพระยาแรกนา เพราะว่าเมล็ดข้าวนี้ถือว่า เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์อันจะนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์และความเป็นสิริมงคลแก่ ผู้ที่มีไว้ในครอบครองชาวนาก็จะใช้เมล็ดข้าวนี้ผสมกับเมล็ดข้าวของตนเพื่อ ให้พืชผลในปีที่จะมาถึงนี้อุดมสมบูรณ์
วันพืชมงคล ภาษาอังกฤษ , พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ภาษาอังกฤษ , ประวัติวันพืชมงคล ภาษาอังกฤษ , วันพืชมงคลเป็นภาษาอังกฤษ , พระราชพิธีแรกนาขวัญ ภาษาอังกฤษ , พิธีแรกนาขวัญ ภาษาอังกฤษ
ที่มา www.guidescenter.com