แผนงานที่จัดทำขึ้นอย่างมีระบบ ประกอบด้วยกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรม ที่ต้องใช้ทรัพยากรในการดำเนินงาน และคาดหวังว่า จะได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า
การเขียนโครงการ
การเขียนโครงการ ลักษณะการเขียนโครงการฝึกอบรม พร้อม ตัวอย่างการเขียนโครงการฝึกอบรม
-
โครงการ (Project) หมายถึง แผนงานที่จัดทำขึ้นอย่างมีระบบ ประกอบด้วยกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรม ที่ต้องใช้ทรัพยากรในการดำเนินงาน และคาดหวังว่า จะได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่า มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดในการดำเนินงาน และมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแน่นอน
-
ลักษณะของโครงการที่ดี ควรมีลักษณะดังนี้
- สามารถช่วยแก้ปัญหาขององค์กรได้
- มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ชัดเจน สามารถดำเนินการได้จริง
- รายละเอียดของโครงการต้องเข้าใจได้ง่าย และมีความสัมพันธ์กัน เช่น วัตถุประสงค์ต้องสัมพันธ์กับปัญหา, วิธีดำเนินการก็ต้องสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ เป็นต้น
- สามารถติดตามและประเมินผลได้
- เกิดจากข้อมูลที่ได้รับการวิเคราะห์มาอย่างรอบคอบแล้ว จากข้อเท็จจริง
- ได้รับการสนับสนุนทางด้านทรัพยากรและการบริหารอย่างเหมาะสม
- มีระยะเวลาในการดำเนินการที่แน่ชัด
ลักษณะการเขียนโครงการ
-
มีรูปแบบการเขียนที่พอจะจำแนกได้ เป็น 2 ลักษณะ คือ การเขียนโครงการแบบประเพณีนิยม (Conventional Method) และการเขียนโครงการแบบตารางเหตุผลสัมพันธ์ (Logical Framework Method) ซึ่งในที่นี้ จะขอกล่าวถึงวิธีการเขียนโครงการแบบประเพณีนิยมเพียงอย่างเดียวก่อน ส่วนแบบตารางเหตุผลสัมพันธ์นั้น จะได้กล่าวถึงในโอกาสต่อไป
การเขียนโครงการแบบประเพณีนิยม (Conventional Method)
-
โครงการทุกโครงการที่กำหนดขึ้น จะต้องมีบุคคล หรือกลุ่มบุคคลเป็นผู้ดำเนินงาน บุคคลหรือกลุ่มบุคคลบางกลุ่ม อาจได้รับการแต่งตั้ง เพื่อให้เป็นผู้เขียนโครงการขึ้น จากข้อมูลที่ได้รับการจัดเตรียมหรือวิเคราะห์โดยบุคคลอีกกลุ่มหนึ่ง ครั้นเมื่อได้เขียนโครงการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็อาจต้องมอบให้กับบุคคลอีกกลุ่มหนึ่ง เพื่อนำไปใช้ หรือนำไปดำเนินงาน โดยกลุ่มที่เขียนอาจไม่ต้องเกี่ยวข้องอีกเลยก็ได้
-
บุคคลกลุ่มที่กล่าวถึงนี้ อาจได้รับมอบหมายให้ดำเนินการโครงการ ทั้งเป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูล เป็นผู้เขียนโครงการ และเป็นผู้นำโครงการไปใช้ หรือไปปฏิบัติก็ได้ ทั้งนี้อาจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ขนาดและชนิดของโครงการ, ลักษณะของโครงการ เป็นต้น อย่างไร ก็ตามไม่ว่าโครงการจะมีขนาดเช่นใด ชนิดและประเภทใด ย่อมมีรูปแบบ (From) หรือโครงสร้าง (Structure) ในการเขียนดังนี้
- ชื่อโครงการ
- หลักการและเหตุผล
- วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
- วิธีดำเนินการ
- ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ
- งบประมาณและทรัพยากรที่ต้องใช้
- ผู้รับผิดชอบโครงการ
- การบริหารโครงการ หรือการประเมินผลโครงการ
- ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
-
รายละเอียดของรูปแบบ หรือโครงสร้าง อาจแตกต่างกันไปบ้าง ตามลักษณะ หรือประเภทของโครงการ โครงการบางโครงการ มีรายละเอียดมาก บางโครงการมีรายละเอียดน้อย ทั้งนี้แล้วแต่ผู้เขียนโครงการ จะพยายามจัดทำขึ้นหรือยึดถือ โดยมุ่งหวังให้ผู้อ่านโครงการ หรือผู้ปฏิบัติตามโครงการ มีความเข้าใจได้โดยง่ายที่สุด
-
นอกจากส่วนประกอบทั้ง 9 รายการที่ได้กล่าวแล้ว การเขียนโครงการแบบประเพณีนิยม ยังอาจมีส่วนประกอบอื่นๆ อีกเช่น
- หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน หมายถึง หน่วยงานที่ให้ความร่วมมือประสานงาน เพื่อให้โครงการบรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
- ผู้เสนอร่างโครงการ หมายถึงบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เขียน และนำโครงการขึ้นเสนอให้ผู้มีอำนาจในการอนุมัติโครงการเป็นผู้พิจารณา
- ข้อเสนอแนะ หมายถึง คำแนะนำของผู้รับผิดชอบ ที่อาจเห็น และทราบปัญหาการดำเนินโครงการ ต่อหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง ให้สนับสนุนการดำเนินงานให้เป็นไปด้วยดี หรือข้อเสนอแนะ อาจเป็นการแจงให้เห็นถึงปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการแก้ไข เพื่อการดำเนินโครงการต่อไป หรือในโครงการอื่นที่จะมีขึ้นในภายหลัง
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
ตัวอย่างการเขียนโครงการฝึกอบรม
ชื่อองค์การ บริษัทอเมรัน-เจแปนคอนซูเมอร์ จำกัด
แผนงาน การตลาด
ชื่อโครงการ โครงการฝึกอบรมพนักงานขาย
หน่วยงานที่รับผิดชอบ ฝ่ายบุคคล
-
- หลักการและเหตุผล
- วัตถุประสงค์
- เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถและทักษะด้านการขายให้แก่พนักงานขาย
- เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงานให้แก่พนักงานขาย
- เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างพนักงานด้วยกันเองและบริษัท
- เพื่อเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดให้สูงขึ้น
- เป้าหมาย
- หลักสูตรในการฝึกอบรม 30 ชั่วโมง แยกเป็นหัวข้อดังนี้
- นโยบายการตลาดของบริษัท 3 ชั่วโมง
- ผลิตภัณฑ์ของบริษัท 3 ชั่วโมง
- กลยุทธ์การขาย 3 ชั่วโมง
- จิตวิทยาการขาย 3 ชั่วโมง
- ความต้องการของมนุษย์ 3 ชั่วโมง
- เทคนิคการจูงใจลูกค้า 3 ชั่วโมง
- การบริการหลังการขาย 2 ชั่วโมง
- การฝึกภาคสนาม 10 ชั่วโมง (2 วันทำการ)
- วิธีการฝึกอบรม ใช้วิธีการฝึกอบรมหลายแบบ ดังนี้
- การบรรยาย
- การประชุมกลุ่มอภิปราย
- กรณีศึกษา และเกม
- ฝึกปฏิบัติจริง
- วิทยากร เชิญวิทยากรทั้งภายในและภายนอกบริษัท ดังนี้
- ผู้จัดการฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ผู้ชำนาญการจากสมาคมการตลาด
- อาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษา
- คุณสมบัติของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
การขายเป็นหัวใจของบริษัทในการที่จะจำหน่ายสินค้าออกไป บริษัทจะดำรงอยู่ได้และเจริญเติบโตมีกำไรจะต้องมีทีมขายที่มีประสิทธิภาพ ปัจจุบันการแข่งขันทางธุรกิจโดยเฉพาะการแข่งขันด้านการตลาดเพื่อครองส่วน แบ่งทางการตลาดให้ได้มากที่สุดมีความเข้มแข็งสูงมาก พนักงานขายจะสามารถขายสินค้าได้มาก มีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้น จำเป็นจะต้องเป็นพนักงานขายที่มีความรู้ความสามารถ ขยันขันแข็ง มีขวัญและกำลังใจดี มีความรู้เรื่องคุณภาพของผลิตภัณฑ์ของบริษัทเป็นอย่างดี มีทักษะในการเสนอขายสินค้า ดังนั้นการฝึกอบรมพนักงานขายจึงมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง
ฝึกอบรมพนักงานขาย 2 รุ่น รุ่นละ 40 คน รวม 80 คน
ใช้ระยะเวลาอบรมรุ่นละ 5 วัน
-
- รุ่นที่ 1 พนักงานขายที่เข้าใหม่
- รุ่นที่ 2 พนักงานขายเก่าของบริษัท
-
- วุฒิบัตร
- ผู้รับผิดชอบโครงการ
- ระยะเวลาโครงการ
- สถานที่ฝึกอบรม
- ใช้ห้องประชุมของบริษัท
- ตลาด
- ขั้นตอนการดำเนินการ มีดังนี้
- รวบรวมข้อมูลและหาความจำเป็นในการฝึกอบรม
- สร้างหลักสูตรการฝึกอบรม
- เสนอโครงการขออนุมัติจัดดำเนินการฝึกอบรม
- ประชุมกรรมการโครงการและผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนดำเนินการฝึกอบรม
- จัดเตรียมกาในการฝึกอบรม ติดต่อวิทยากร สถานที่ เตรียมเอกสาร และอุปกรณ์ต่าง ๆ
- ดำเนินการฝึกอบรม
- ประเมินผลการฝึกอบรม
- ปฏิทินการดำเนินการฝึกอบรม
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้รับวุฒิบัตรต่อเมื่อมีเวลาเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาฝึกอบรมทั้งหมด
นายนิคม ชำนาญค้า ผู้จัดการฝ่ายบุคคล (หัวหน้าโครงการ)
นายอนุวัฒน์ ทองดี ผู้จัดการขาย
นางชไมพร กาญจนาวรรณ์ ฝ่ายบุคคล
นายกรวิทย์ อัศดรพันธ์ ฝ่ายบุคคล
1 ต.ค. 2537 – 30 มิ.ย.2538
อบรมรุ่นที่ 1 6 –10 มีนาคม 2538
อบรมรุ่นที่ 2 20 –24 มีนาคม 2538
พ.ศ.2537
พ.ศ.2538
ขั้นตอนดำเนินงาน
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
หมายเหตุ
-
- รวบรวมข้อมูล
- สร้างหลักสูตรฝึกอบรม
- เสนอโครงการขออนุมัติ
- ประชุมคณะกรรมการ
- จัดเตรียมการฝึกอบรม
- ดำเนินการฝึกอบรม
- ประเมินผล
xxxxxxx
Sxxxxxxx
Sxxxxxxx
Sxxxxxxx
Sxxxxxxx
Sxxxxxxx
xxxxxxxx
Xxxxxxxx
Sxxxxxxx
Sxxxxxxx
xxxxxxxx
-
- งบประมาณที่ใช้ในการฝึกอบรม
- การประเมินโครงการ
- ประเมินผลระหว่างการฝึกอบรม
ค่าตอบแทน 5,000 บาท
ค่าวัสดุ 1,000 บาท
ค่าใช้สอย 20,000 บาท
รวม 26,000 บาท
- สังเกตความกระตือรือร้น ความสนใจ และการมีส่วนร่วมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- ใช้แบบสอบถามผู้เข้ารับการฝึกอบรมเมื่อเสร็จสิ้นการฝึกอบรม
-
- ประเมินเมื่อกลับไปปฏิบัติงานแล้ว 2 เดือน
- ใช้แบบสอบถามถามพนักงานขายและหัวหน้าฝ่ายขาย
- ศึกษาส่วนแบ่งการตลาด
- ดูยอดขายผลิตภัณฑ์ของบริษัท
ตัวอย่างการเขียนโครงการฝึกอบรม , การเขียนโครงการฝึกอบรม , การเขียนโครงการฝึกอบรมพร้อมตัวอย่าง , ตัวอย่างการเขียนโครงการ , การเขียนโครงการ , ตัวอย่างการเขียนโครงการอบรม , แบบฟอร์มการเขียนโครงการฝึกอบรม
ที่มา freehomepage.com