ห้องสมุดประชาชน ระเบียบกรมการศึกษานอกโรงเรียน ว่าด้วยห้องสมุดประชาชน ภาระ หน้าที่ การบริการ


894 ผู้ชม

ระเบียบกรมการศึกษานอกโรงเรียน ว่าด้วยห้องสมุดประชาชน พ.ศ. 2535


ระเบียบกรมการศึกษานอกโรงเรียน
ว่าด้วยห้องสมุดประชาชน พ.ศ. 2535

ห้องสมุดประชาชน ระเบียบกรมการศึกษานอกโรงเรียน ว่าด้วยห้องสมุดประชาชน ภาระ หน้าที่ การบริการ

โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกรมการศึกษานอกโรงเรียนว่าด้วยห้องสมุดประชาชน พ.ศ. 2529 ให้เหมาะสมยิ่งขึ้น กรมการศึกษานอกโรงเรียน จึง วางระเบียบไว้ดังนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบกรมการศึกษานอกโรงเรียน ว่าด้วย ห้องสมุดประชาชน พ.ศ. 2535"
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบกรมการศึกษานอกโรงเรียน ว่าด้วยห้องสมุดประชาชน พ.ศ. 2529 บรรดาระเบียบ คำสั่ง หรือข้อบังคับอื่นใดที่กำหนดไว้แล้วในระเบียบนี้ หรือที่ขัด หรือแย้งกับระเบียบนี้ให้ใช้ระเบียบนี้แทน
ข้อ 4 ให้อธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้ และให้มีอำนาจตีความวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับ การปฎิบัติตาม ระเบียบนี้
หมวด 1
หมวด บททั่วไป
ข้อ 5 ห้องสมุดประชาชนเป็นศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
    (1) เพื่อเป็นศุนย์ข้อมูล ข่าวสารของชุมชน
    (2) เพื่อเป็นศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ของชุมชน
    (3) เพื่อพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ ในชุมชน
ข้อ 6 การจัดตั้ง การยุบเลิก และการย้ายห้องสมุดประชาชนให้จัดทำเป็นประกาศของจังหวัด ทั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการศึกษานอกโรงเรียนก่อน และเมื่อจังหวัดออกประกาศแล้ว ให้แจ้งกรมการศึกษานอกโรงเรียนภายใน 7 วันนับแต่วันประกาศ
ข้อ 7 ห้องสมุดประชาชนจังหวัดในจังหวัดหนึ่ง ๆ อาจมีได้มากกว่าหนึ่งแห่ง ตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยให้ระบุชื่อ จังหวัด อำเภอ ตำบล ถนน หรือสถานที่สำคัญ ๆ ต่อท้าย
ข้อ 8 ห้องสมุดประชาชนอำเภอในอำเภอหนึ่ง ๆ อาจมีได้มากกว่า 1 แห่ง ตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยระบุชื่ออำเภอ ตำบล ถนน หรือสถานที่สำคัญอื่น ๆ ต่อท้าย
ข้อ 9 ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี ให้ประกาศจัดตั้งเป็นห้องสมุดประชาชนจังหวัด หรือห้องสมุดประชาชนอำเภอแล้วแต่กรณี
ข้อ 10 ห้องสมุดประชาชนที่จัดตั้งในลักษณะอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่กรมการศึกษานอกโรงเรียนกำหนด
ข้อ 11 การตั้งชื่อห้องสมุดประชาชน โดยมีข้อความต่อท้ายเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ผู้บริจาค อาจทำได้ ในกรณีที่บุคคล หรือกลุ่มบุคคลบริจาคทรัพย์สินและหรือสิ่งของเพื่อการก่อสร้างอาคารห้องสมุดประชาชน ตั้งแต่กึ่งหนึ่งของราคาก่อสร้าง และต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการศึกษานอกโรงเรียนก่อน
ข้อ 12 ห้องสมุดประชาชนที่มีผู้บริจาค หรือจัดสร้างให้สามารถกระทำได้ แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการศึกษานอกโรงเรียนก่อน
หมวด 2
ลักษณะและกิจกรรม
ข้อ 13 ห้องสมุดประชาชนมีลักษณะ ดังนี้
    (1) เป็นห้องสมุดของประชาชน โดยจัดกิจกรรมด้านส่งเสริมการอ่านและการค้นคว้า ด้านการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านห้องสมุดเคลื่อนที่สู่ชุมชน ด้านส่งเสริมการร่วมกลุ่มประชาชน ตามความรู้และความสนใจด้านครอบครัวสัมพันธ์ และกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้อื่น ๆ ตามความเหมาะสม
    (2) เป็นศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ โดยจัดกิจกรรมด้านแนะแนวการศึกษานอกโรงเรียนและอื่น ๆ ด้านจัดและให้บริการชุดทดลอง ชุดสาธิตต่าง ๆ จัดพื้นที่สำหรับบริการตามหลักสูตร การศึกษานอกโรงเรียนของสถาบันอื่น ๆ ที่ได้รับความเห็นชอบ จากกรมการศึกษานอกโรงเรียน
    (3) เป็นศูนย์ประชาคม โดยจัดให้บริการสถานที่จัดประชุม สัมมนา การแสดงผลิตภัณฑ์ กิจกรรมของเด็กและครอบครัว และกิจกรรมอเนกประสงค์ของชุมชน โดยเน้นด้านการศึกษา ศิลปและวัฒนธรรม ด้านส่งเสริมการดำเนินงานเชิงธุรกิจในห้องสมุด ด้านส่งเสริมการจัดนันทนาการ สวนสุขภาพ สถานที่พักผ่อน สนามเด็กเล่น และกิจกรรมชุมชนอื่น ๆ ที่เหมาะสม
    (4) เป็นเครือข่ายการเรียนรู้ โดยจัดและพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ทั้ง ภาครัฐและเอกกชน ในด้านข้อมูลข่าวสารและสื่อ ในด้านพัฒนาการผลิต เผยแพร่ จัดหา แลกเปลี่ยน หมุนเวียน และฝึกอบรมให้เป็นไปอย่างกว้างขวางและเหมาะสม
หมวด 3
การบริหาร
ข้อ 14 ห้องสมุดประชาชนอยู่ในความควบคุม ดูแลของศูนย์การศึกษนอกโรงเรียนจังหวัด หรือศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ แล้วแต่กรณี
ข้อ 15 ห้องสมุดประชาชนแต่ละแห่ง ให้มีคณะกรรมการห้องสมุดประชาชน 2 คณะ ดังนี้
    (1) คณะกรรมการที่ปรึกษา มีหน้าที่ให้คำปรึกษา เสนอแนะ และส่งเสริมกิจกรรมห้องสมุดประชาชน
    (2) คณะกรรมการดำเนินงาน มีหน้าที่วางแผนการปฎิบัติงาน ช่วยเหลือสนับสนุนกิจการห้องสมุดประชาชน ทั้งนี้ต้องสอดคล้องกับนโยบายของจังหวัด และกรมการศึกษานอกโรงเรียน และสามารถแต่งตั้งอนุกรรมการดำเนินงานได้ตามความจำเป็น
ข้อ 16 ให้จังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา ดังนี้
    (1) ห้องสมุดประชาชนจังหวัด ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ ศึกษาธิการจังหวัดหรือผู้แทน ผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดหรือผู้แทน ผู้อำนวยการสามัญศึกษาจังหวัด หรือผู้แทน และผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่น้อยกว่า 5 คน เป็นกรรมการและให้ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษา นอกโรงเรียนจังหวัด เป็นกรรมการและเลขานุการ หัวหน้าฝ่ายการศึกษามวลชนเป็นผู้ช่วยเลขานุการ
    (2) ห้องสมุดประชาชนอำเภอ ประกอบด้วย นายอำเภอหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัด มอบหมายเป็นประธานกรรมการ ศึกษาธิการอำเภอหรือผู้แทนหัวหน้าการประถมศึกษาธิการอำเภอ หรือผู้แทน และผู้ทรงคุณวุฒิไม่น้อยกว่า 5 คน เป็นกรรมการและให้หัวหน้าศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ หรือผู้ประสานงานอำเภอ หรือผู้ที่จังหวัดมอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด ในห้องสมุดนั้น ๆ ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ช่วยเลขานุการ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระอยู่ในตำแหน่ง คราวละ 4 ปี
ข้อ 17 ให้จังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดประชาชนจังหวัด และ ห้องสมุดประชาชนอำเภอ โดยให้พิจารณาจากผู้ที่เหมาะสมในชุมชนนั้นไม่น้อยกว่า 15 คน เป็นกรรมการและเจ้าหน้าที่ห้องสมุดนั้น ๆ ที่ได้รับมอบหมายเป็นกรรมการและเลขานุการ ให้คณะกรรมการเลือกประธานกรรมการ และรองประธานกรรมการ หรือตำแหน่งอื่น ๆ ตามความเหมาะสม คณะกรรมการดำเนินงานห้องสมุดประชาชน มีวาระอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี
ข้อ 18 ห้องสมุดประชาชนตาม ข้อ 9 และข้อ 10 ให้จังหวัดพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา และคณะกรรมการดำเนินงาน โดยให้นำความในข้อ 15 ข้อ 16 และข้อ17 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด 4
สื่อ
ข้อ 19 ให้ห้องสมุดประชาชนมีสื่อที่พิจารณาเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อชุมชนในท้องถิ่นตามความเหมาะสม กับงบประมาณของห้องสมุดประชาชน ดังต่อไปนี้
    (1) สื่อสิ่งพิมพ์ ได้แก่ หนังสือ หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร ฯลฯ
    (2) สื่อโสตทัศน์ ได้แก่ วิดีทัศน์ (VDO) ภาพนิ่ง ภาพเลื่อน แถบบันทึกเสียง แผ่นเสียง แผ่นดิสก์ (DISKETT) คอมพิวเตอร์ ไมโครฟิลม์ ฯลฯ
    (3) สื่อข้อมูลอิเล็กโทรนิกส์ ไกก้แก่ ข้อมูลดิสก์ ข้อมูลรูปแบบอื่น ๆ
    (4) สื่อทดลอง ได้แก่
        4.1 สื่อทดลองวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและคณิตศาสตร์
        4.2 สื่อเครื่องเล่น และเกมส์ต่าง ๆ
        4.3 สื่อประเภทเครื่อง หรือชุดตรวจสอบ
        4.4 สื่อทดลองเพื่อคุณภาพชีวิจและการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน
    (5) สื่อสาธิต ได้แก่
        5.1 สื่อสาธิตประเภทแผ่นภาพ แผนภูมิ ป้ายนิเทศ หุ่นจำลอง
        5.2 สื่อสาธิตประเภทโสตทัศน์ และคอมพิวเตอร์
        5.3 สื่อสาธิตประเภทสื่อผสม
    (6) สื่ออื่น ๆ ที่คณะกรรมการดำเนินงานเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่น
หมวด 5
สมาชิกและการรับจ่ายเงิน
ข้อ 20 สมาชิกห้องสมุดประชาชน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
    (1) สมาชิกสามัญ ได้แก่ บุคคล นิติบุคคล หน่วยงาน หรือสถาบัน ซึ่ง ชำระเงินค่าบำรุงเป็นรายปี หรือตลอดชีพ
    (2) สมาชิกกิตติมศักดิ์ ได้แก่ ผู้ที่บริจาคทรัพย์สินมีมูลค่าตั้งแต่ 1,000 บาท ขึ้นไป หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิที่จังหวัดเห็นสมควร
ข้อ 21 สมาชิกห้องสมุดประชาชนแต่ละประเภทมมีสิทธิ์ได้รับบริการตามที่ คณะกรรมการดำเนินงาน ห้องสมุดประชาชนกำหนด
ข้อ 22 การเก็บเงินบำรุงจากสมาชิก ให้เก็บตามอัตราที่กรมการศึกษานอกโรงเรียนกำหนด โดยปฎิบัติ ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษา
ข้อ 23 การเก็บเงินค่าบำรุงประจำปีจากสมาชิก ให้เก็บครั้งแรกในวันที่สมัครเข้าเป็นสมาชิก ครั้งต่อไปให้เก็บเมื่อเป็นสมาชิกครบรอบปี การเก็บเงินค่าบำรุงตลอดชีพจากสมาชิก ให้เก็บในวันที่ สมัครเข้าเป็นสมาชิก
ข้อ 24 ให้ห้องสมุดเรียกเก็บเงินค่าปรับจากสมาชิกที่ส่งคืนหนังสือ หรือสื่อต่าง ๆ ที่ล่าช้ากว่ากำหนดตามอัตรา และวิธีการ ที่กรมการศึกษานอกโรงเรียนกำหนด โดยปฎิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษา
ข้อ 25 การรับจ่ายเงินบำรุงสมาชิก เงินค่าปรับหรือเงินรายได้อื่นใดของห้องสมุด ให้ปฎิบัติตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยเงินบำรุงการศึกษา
หมวด 6
สถานที่ และมาตรฐานห้องสมุดประชาชน
ข้อ 26 ห้องสมุดประชาชนต้องมีที่ทำการเป็นเอกเทศ หรือเป็นสัดส่วน ขนาด และ แบบตามเกณฑ์ของ กรมการศึกษานอกโรงเรียน
ข้อ 27 ห้องสมุดประชาชนมี 3 ขนาด ได้แก่ ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ ตามเกณฑ์ที่ กรมการศึกษานอกโรงเรียนกำหนด
ข้อ 28 ห้องสมุดประชาชนแต่ละขนาด สามารถปรับขนาดได้ตามเกณฑ์ที่กรมการศึกษานอกโรงเรียนกำหนด
หมวด 7
เบ็ดเตล็ด
ข้อ 29 ให้ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด หรือศูนย์การศึกษนอกโรเงรียนอำเภอ มีอำนาจออกระเบียบ เกี่ยวกับการใช้ห้องสมุดประชาชนแต่ละประเภท โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการดำเนินงาน ห้องสมุดประชาชน
ข้อ 30 ให้ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด ส่งรายงานผลการดำเนินงานห้องสมุดประชาชนทุกประเภท ให้กรมการศึกษานอกโรงเรียนทราบปีละ 1 ครั้ง หรือตามที่กรมการศึกษานอกโรงเรียนกำหนด ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัด เพื่อรายงานไปยังกรมการศึกษานอกโรงเรียนต่อไป
ข้อ 31 ในระหว่างที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอยังไม่มีบุคลากรปฎิบัติหน้าที่ ให้ห้องสมุดประชาชนอำเภอ อยู่ในความควบคุมดูแลของศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดไปพลางก่อน
ข้อ 32 การดำเนินการใด ๆ ตามระเบียบกรมการศึกษานอกโรงเรียน ว่าด้วย ห้องสมุดประชาชน พ.ศ. 2529 ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ ให้ดำเนินการต่อไปจนแล้วเสร็จ และให้ถือว่าการดำเนินการดังกล่าวชอบด้วยระเบียบนี้
ข้อ 33 การดำเนินการอื่น ๆ นอกเหนือจากระเบียบนี้ภายหลังที่ระเบียบมีผลใช้ บังคับ ให้ขอความเห็นชอบ จากกรมการศึกษานอกโรงเรียนก่อน
ประกาศ ณ วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2535
(นายสุรัฐ ศิลปอนันต์)
อธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน

ห้องสมุดประชาชน , ระเบียบว่าด้วยห้องสมุดประชาชน , หน้าที่ของห้องสมุดประชาชน , การบริการของห้องสมุดประชาชน , ห้องสมุดประชาชน บริการ , ห้องสมุดประชาชน หน้าที่ , ห้องสมุดประชาชน การจัดการ

ที่มา kru.ac.th

อัพเดทล่าสุด