โรคคางทูมเป็นโรคติดต่อเกิดจากการติดเชื้อไวรัสมีลักษณะคือ ไข้ ต่อมน้ำลายอักเสบ และบางครั้งอาจจะมีตับอ่อนอักเสบ สำหรับผู้ชายอาจจะมีอัณฑะอักเสบ ผู้หญิงอาจจะมีรังไข่อักเสบ นอกจากนั้นอาจจะมีเยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ เชื้อที่เป็นสาเหตุ เป็นเชื้อ RNA ไวรัสในกลุ่ม paramyxovirus การติดต่อ ติดต่อกันได้โดย น้ำลาย และเสมหะ มักพบในเด็ก อายุ 5-10 ปีโรคนี้อาจไม่แสดงอาการ เชื้อไวรัสออกทางน้ำลายของผู้ป่วยประมาณ 6 วันก่อนมีคางทูม และออกอยู่ได้นาน 2 สัปดาห์หลังจากนั้น ในผู้ป่วยที่เป็นอัณฑะอักเสบ หรือสมองอักเสบ ก็สามารถพบเชื้อในน้ำลายได้ เมื่อเป็นแล้วจะมีภูมิคุ้มกันตลอดไป อาการ ผู้ป่วยจะมีอาการหลังจากได้รับเชื้อ 7-23 วัน -
ต่อมน้ำลายอักเสบ มักมีไข้นำมาก่อน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร วันต่อมาจึงมีการอักเสบของต่อมน้ำลาย ที่พบบ่อยที่สุดคือต่อม parotid ซึ่งจะบวมโต ผิวหนังเหนือต่อมมักแดง และร้อน เมื่อกดดูมีลักษณะคล้ายเยลลี่ อาการบวมจะเริ่มจากหน้าใบหนู บวมมาหลังใบหนู และลงมาคลุมขากรรไกร บางรายบวมมากจนมีอาการบวมลงมาถึงส่วนหน้าอก ส่วนใหญ่มักเป็นสองข้าง ข้างที่สองมักเป็นหลังข้างแรก 4-5 วัน การบวมมักไม่เกิน 7 วันผู้ป่วยจะมีอาการปวดเวลาพูด กลืน หรือเคี้ยว โดยเฉพาะอาหารรสเปรี้ยวจะทำให้ปวดมาก -
อัณฑะอักเสบ Orchitis มักเกิดหลังต่อมน้ำลาย 4-10 วันหรือบางรายอาจไม่มีการอักเสบของต่อมน้ำลาย และมักเป็นข้างเดียว ผู้ป่วยจะมีอาการปวดอัณฑะ บวม กดเจ็บ -
ตับอ่อนอักเสบ pancreatitis เป็นภาวะที่รุนแรง ผุ้ป่วยจะปวดท้องส่วนบน อาเจียน กดเจ็บบริเวณลิ้มปี่ -
คางทูมกับสมอง อาจจะทำให้เกิด สมองอัเสบ encephalitis ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดศีรษะ และซึมลง บางรายเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ meningitis ผู้ป่วยอาจมีไข้ ปวดศีรษะ คอแข็ง หลังแข็ง มักเป็นหลังต่อมน้ำลายอักเสบ 3-7 วัน การรักษา -
ต่อมน้ำลายอักเสบ ให้รักษาความสะอาดในช่องปาก ถ้าปวดมากให้ยาแก้ปวด -
อัณฑะอักเสบ ให้นอนพัก และยาแก้ปวด -
เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และสมองอักเสบ ไม่มีการรักษาเฉพาะ การป้องกัน โดยการฉีดวัคซีน MMR ควรไปพบแพทย์เมื่อไร -
วัดไข้ได้มากกว่า 38.5ํ C
-
ปวดอัณฑะ และอัณฑะบวม -
ปวดท้อง -
ปวดศีรษะ และซึมลง |