คำกิริยาในภาษาญี่ปุ่น
คำกิริยาในภาษาญี่ปุ่น
ภาษาญี่ปุ่น มาเรียนภาษาญี่ปุ่นกันดีกว่า : คำกิริยาในภาษาญี่ปุ่น
คำกิริยาในภาษาญี่ปุ่น |
กริยาเป็นคือ 1). บุรุษสรรพนาม บุรุษสรรพนามในภาษาญี่ปุ่นมีอยู่มากมาย เช่นเดียวกับบุรุษสรรพนาม ดังที่ปรากฏในตารางข้างล่างนี้ ตารางแสดงบุรุษสรรพนาม บุรุษที่ 1 | เอกพจน์ | *watashi ผม,ดิฉัน boku ผม (ใช้พูดกับเพื่อนฝูงหรือผู้น้อย) atashiดิฉัน(ใช้พูดกับเพื่อนฝูงหรือผู้น้อย) | พหูพจน์ | *watashi-tachi เรา boku-tachi พวกผม ware-ware พวกเรา | บุรุษที่ 2 | เอกพจน์ | *anata คุณ kimi คุณ (ใช้พูดกับเพื่อนฝูงหรือผู้น้อย) | พหูพจน์ | Anata-tachi พวกคุณ *anata-gata พวกคุณ(เป็นคำสุภาพ) *minna ทุกคน* mina san ทุกท่าน kimi-tachi พวกคุณ | บุรุษที่ 3 | เอกพจน์ | *kare เขา *kanojo เธอ *kono hito คนนี้ (ใช้ได้ทั้งชายและหญิง) *sono hito คนนั้น(ใช้ได้ทั้งชายและหญิง) *ano hito คนโน้น(ใช้ได้ทั้งชายและหญิง) *kono kataท่านผู้นี้(เป็นคำยกย่องใช้เมื่อกล่าวถึงผู้ใหญ่) *sono kata ท่านผู้นั้น(เป็นคำยกย่องใช้เมื่อกล่าวถึงผู้ใหญ่) *ano kata ท่านผู้โน้น(เป็นคำยกย่องใช้เมื่อกล่าวถึงผู้ใหญ่) | พหูพจน์ | Karera พวกเขา Sono hito-tachi คนเหล่านั้น Ano kata-gata ท่านเหล่านั้น | ปุจฉาสรรพนาม | *dare ใคร *donata ท่านผู้ใด(สุภาพกว่า dare) | *เป็นบุรุษสรรพนามและปุจฉาสรรพนามที่นิยมใช้กันมาก จึงควรจดจำเป็นพิเศษ | 2)….wa…desu. (...เป็น/คือ....ครับ/ค่ะ) …wa…dewa arimasen. (...ไม่ใช่...ครับ/ค่ะ) 1)waภาษาญี่ปุ่นมีกลุ่มคำซึ่งไม่มีในภาษาไทยเรียกว่า joshi หรือคำช่วย ซึ่งมีความสำคัญมากขอให้ระวังในการใช้คำช่วยนี้จะอยู่ ข้างหลังคำต่างๆเพื่อแสดงหน้าที่ของคำนั้นๆ ว่าเป็นประธาน หรือกรรม ฯลฯ ของประโยคWa เป็นคำช่วยที่ชี้ว่า คำที่อยู่ข้างหน้าเป็น หัวข้อเรื่องของประโยค แต่ในรูปประโยค...wa …desu ซึ่งจะเรียนในตอนต้นนี้ จะทำหน้าที่ชี้ประธานของประโยค สำหรับการใช้ wa เพื่อชี้หัวข้อของเรื่องนั้น จะอธิบายโดยละเอียดในตอนต่อไป อนึ่ง การออกเสียงคำช่วยนั้น ให้ออกเสียง เบาๆ ติดกับ คำที่อยู่ข้างหน้า 2)desu และdewa arimasenทั้งสองคำนี้ใช้จบประโยคโดยวางไว้หลังคำนามหรือคำคุณศัพท์ในภาคแสดงของประโยค desu คล้ายคลึงกับ Verb to beในภาษาอังกฤษ แต่จะมีความหมายว่า เป็น/คือ เท่านั้นส่วน dewa arimasen เป็นรูปปฏิเสธของ desu ในภาษาพูดอาจใช้ว่าjaa (หรือ ja ) arimasen ก็ได้ Watashi wa Tai-jin desu. ผม/ดิฉันเป็นคนไทย Kare wa nihon-jin desu. เขาเป็นคนญี่ปุ่น Watashi wa nihon-jin dewa arimasen. ผม/ดิฉันไม่ใช่คนญี่ปุ่น Kare wa tai-jin jaa arimasen. เขาไม่ใช่คนไทย 3)…..desu ka.(...หรือครับ/คะ) ,…..dewa arimasen ka. (...ไม่ใช่หรือครับ/คะ) kaเป็นคำช่วยที่ใช้เติมข้างหลังประโยคบอกเล่าหรือประโยคปฏิเสธเพื่อทำ ให้ประโยคนั้นเป็นประโยคคำถามและให้ออกเสียงสูงที่ท้ายประโยค 4)Hai(ครับ/ค่ะ) และ Iie(เปล่าครับ/ค่ะ) ในการตอบคำถามหากจะตอบรับให้ใช้ Hai และหากจะตอบปฏิเสธให้ใช้ Iie กล่าวขึ้นต้นประโยคโดยทั้งคำว่าHaiและ Iieสามารถใช้ได้กับทั้งประโยคบอกเล่า และปฏิเสธ Hai ตรงกับคำว่า ครับ/ค่ะ ส่วน Iie ตรงกับคำว่า เปล่าครับ/ค่ะ หรือ ไม่ใช่ครับ/ค่ะ -Anata wa nihon-jin desu ka? - คุณเป็นคนญี่ปุ่นหรือ -Hai,watashi wa nihon-jin desu. -ครับ/ค่ะ ผม/ดิฉัน เป็นคนญี่ปุ่น -Iie,watashi wa nihon-jin dewa arimasen. -เปล่าครับ/ค่ะ ผม/ดิฉันไม่ใช่คนญี่ปุ่น 5)การ ละประธานในการสนทนา หากเป็นที่เข้าใจกันในระหว่างผู้พูดและผู้ฟังแล้วว่าประธานของประโยคคืออะไร ก็มักจะละประธานไว้โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในกรณีที่ประธานเป็น watashi หรือ anata -Anata wa sensei desu ka? คุณเป็นครูหรือครับ/ค่ะ -Hai,sensei desu. -ครับ/ค่ะเป็นครู 6)soo desu. Soo dewa arimasen.และ Chigaimasu.Sooเดิมมีความหมายว่าเช่นนั้นอย่างนั้นใช้กล่าวแทนเนื้อหาในประโยคที่ค ู่สนทนา ได้กล่าวไปแล้วsoo desu แปลว่า เป็นอย่างนั้น เป็นเช่นนั้น ตรงกับการใช้คำว่า ใช่ครับ/ค่ะ ในภาษาไทยส่วน soo dewa arimasen เป็นรูปปฏิเสธ ของ soo desu.ตรงกับคำว่า ไม่ใช่ครับ/ค่ะ อาจใช้คำว่า chigaimasu.แทนก็ได้โดยมีความหมายว่า เรื่องที่คู่สนทนาพูดนั้นไม่ถูกต้อง อนึ่งในกรณีที่ตอบโดยใช้ soo desu. Soo dewa arimasen.หรือChigaimasu.อาจจะละคำว่า Hai หรือ Iie ไว้ได้ -Anata wa sensei desu ka? คุณเป็นครูหรือ -[hai] soo desu. –ใช่ครับ/ค่ะ -[iie,] soo dewa arimasen. –ไม่ใช่ครับ/ค่ะ -[iie,] chigaimasu. –ไม่ใช่ครับ/ค่ะ 7).....mo(...ก็)moเป็นคำช่วยที่ใช้เมื่อหยิบยกเรื่องราวเดียวกันกับที่เคยกล่าวถึงแล้วมาพูดอีกครั้งหนึ่ง มีความหมายว่า ...ก็/...ด้วยขอให้สังเกตการใช้ และวิธีตอบประโยคคำถามดังตัวอย่างต่อไปนี้ Watashi wa gakusei desu. ผม/ ดิฉันเป็นนักเรียน Ano hito mo gakusei desu. เขาก็เป็นนักเรียน 8)-san (คุณ.....) เป็นคำต่อท้ายชื่อบุคคลอื่น ตรงกับคำว่าคุณ...ใช้ได้กับทั้งชายและหญิง โดยไม่คำนึงว่าแต่งงานแล้วหรือยัง ชื่อคนญี่ปุ่นจะขึ้นต้นด้วย ชื่อสกุล แล้วจึงตามด้วยชื่อตัว เช่น Tanaka Hiroshi โดยปกติจะเรียกกันด้วยชื่อสกุลและเติมคำว่า –san เข้าข้างท้าย เช่น Tanaka-san นอกจากในกรณีที่เป็นคนในครอบครัว คนสนิทสนม หรือผู้น้อยก็จะเรียกชื่อตัวโดยไม่ต้องเติมคำว่า-sanนอกจากนั้นมีคำว่า –kun ใช้กับผู้ชาย ที่อายุเท่าๆกัน หรือต่ำกว่า บางกรณีถ้าผู้เรียกมีอายุมากกว่า อาจใช้เรียกผูหญิงที่มีอายุต่ำกว่าก็ได้ สำหรับคำว่า –chan ใช้ต่อท้ายชื่อเด็ก ส่วนครูบาอาจารย์ ผู้หลักผู้ใหญ่หรือแพทย์ ทนายหรือนักการเมืองจะใช้คำว่า –sensei และหากเป็นผู้ที่มีตำแหน่งหน้าที่การงานจะเติมข้างท้ายชื่อด้วยคำเรียก ตำแหน่งนั้นๆเช่นYamada-shachoo[shachoo แปลว่า ผู้จัดการ ] 9)…desu ka,….desu ka. (.....หรือ.....ครับ/คะ) กรณีเป็นคำถามที่ให้เลือกเอาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ให้ละประธานของประโยคหลังโดยพูดว่า …..desu ka,….desu ka.ติดต่อกันไปเวลาตอบให้เลือก เอาฝ่ายที่ต้องการ โดยไม่ต้องใช้ hai หรือ iie แต่ถ้าไม่ใช่ทั้งคู่ให้พูดว่า Iie แล้วตามด้วยเนื้อหาที่ต้องการตอบ -Anata wa nihon-jin desu ka,tai-jin desu ka? คุณเป็นคนญี่ปุ่นหรือคนไทยครับ/ค่ะ -[watashi wa] Tai-jin desu. –(ผม/ดิฉัน) เป็นคนไทยครับ/ค่ะ -Iie,[watashi wa] chuugoku-jin desu. –ไม่ใช่ครับ/ค่ะ(ผม/ดิฉัน) เป็นคนจีน 10)nan-sai / o-ikutsu (อายุเท่าไหร่) คำทั้งสองเป็นปุจฉาสรรพนามที่ใช้ถามอายุ –sai แปลว่า –ปีหรือ-ขวบ nan-sai จึงแปลว่ากี่ปี/กี่ขวบ ส่วน ikutsu แปลว่าเท่าไหร่ ซึ่งใช้ในการถามจำนวน เมื่อเติม o เข้าข้างหน้าจะสุภาพยิ่งขึ้น สำหรับการตอบ หากอายุตั้งแต่ 11ปีขึ้นไป อาจพูดเฉพาะตัวเลขที่แสดงอายุ และละคำว่า –sai ไว้ก็ได้ ขอให้ระวังว่าตัวเลขบางตัว เมื่อใช้กับคำว่า –sai จะต้องเปลี่ยนหางเสียงเล็กน้อย และอายุ 20 ปีใช้คำว่า Hatachi is-sai อายุ 1 ปี/ขวบ ni-sai อายุ 2 ปี/ขวบ san-sai อายุ 3 ปี/ขวบ yon-sai อายุ 4 ปี/ขวบ go-sai อายุ 5 ปี/ขวบ roku-sai อายุ 6 ปี/ขวบ nana-sai อายุ 7 ปี/ขวบ has-sai อายุ 8 ปี/ขวบ kyuu-sai อายุ 9 ปี/ขวบ jus-sai,jis-sai อายุ 10 ปี/ขวบ [Anata wa] O-ikutsu desu ka. คุณอายุเท่าไหร่ครับ/ค่ะ [watashi wa] ni-juu-is-sai desu. (ผม/ดิฉัน) อายุ 21 ปีครับ/ค่ะ [watashi wa] ni-juu-ichi desu. (ผม/ดิฉัน) อายุ 21ครับ/ค่ะ |
|
ภาษาญี่ปุ่น , เรียนภาษาญี่ปุ่น , ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น , ภาษาญี่ปุ่น คำกิริยา , คำกิริยาในภาษาญี่ปุ่น , ภาษาญี่ปุ่น คำสรรพนาม , ภาษาญี่ปุ่น บุรุษสรรพนาม , ภาษาญี่ปุ่น ปุจฉาสรรพนาม , ภาษาญี่ปุ่น ตัวอย่างคำสรรพนาม
ที่มา www.arukithai.com/th