นิยามสรรพนาม
นิยามสรรพนาม
ภาษาญี่ปุ่น มาเรียนภาษาญี่ปุ่นกันดีกว่า : นิยามสรรพนาม
นิยามสรรพนาม |
ในบทเรียนนี้จะเรียนเกี่ยวกับการพูดว่า สิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นอะไรของใคร การบอกชื่อประเทศ คน ภาษา การบอกหมายเลข และการถามตอบเกี่ยวกับราคา 1. kore(นี่), sore (นั่น), are (โน่น),kore- (-นี้), sono- (-นั้น), ano- (-โน้น) kore,sore,are เป็นนิยมสรรพนามมีวิธีใช้ดังนี้ kore ใช้กล่าวถึงสิ่งของที่อยู่ใกล้ผู้พูด แปลว่า นี่,สิ่งนี้ sore ใช้กล่าวถึงสิ่งของที่อยู่ไกลออกไปกว่า kore หรืออยู่ใกล้ไปทางผู้ฟัง หรือไกลจากทั้งผู้ฟังและผู้พูดเล็กน้อยแปลว่า นั่น,สิ่งนั้น are ใช้กล่าวถึงสิ่งของที่อยู่ไกลทั้งผู้พูดและผู้ฟังมาก แปลว่า โน่น,หรือสิ่งโน้น เช่น A: Kore wa nan desu ka. A: นี่คืออะไร B:-Sore wa hon desu. B:-นั่นคือหนังสือ A:Sore wa tokei desu ka. A: นั่นคือนาฬิกาใช่ไหม B:-Hai,sore wa tokei desu. B:- ใช่ครับ นั่นคือนาฬิกา A:Are wa pen desu ka. A: โน่นคือปากกาหรือ B:-Iie,are wa pen dewa arimasen,enpitsu desu. B:- ไม่ใช่ครับ โน่นไม่ใช่ปากกาเป็นดินสอ สำหรับคำว่า kono,sono,ano เป็นคำนิยมคุณศัพท์ ซึ่งใช้ขยายคำนาม โดยวางไว้ข้างหน้าคำนามที่จะขยาย ตรงกับคำว่า นี้,นั้น,โน้น ตามลำดับ ขอให้ระวังว่าตำแหน่งของคำเหล่านี้เมื่อนำไปขยายคำนามจะตรงกันข้ามกับในภาษาไทย เช่น kono hon (หนังสือเล่มนี้) Sono pen (ปากกาด้ามนั้น),ano enpitsu (ดินสอแท่งโน้น) 2. no no เป็นคำช่วยที่ใช้เชื่อมคำนามกับคำนาม โดยคำนามที่อยู่ข้างหน้า จะทำหน้าที่ขยายคำนามที่อยู่ข้างหลัง ซึ่งตรงกันข้ามกับวิธีใช้ ในภาษาไทย no ใช้ได้ใน 2 ลักษณะคือ (1.) ใช้แสดงความเป็นเจ้าของหรือสังกัด ตรงกับคำว่า “ของ” Watashi no hon หนังสือของผม/ดิฉัน Anata no sensei คุณครู/อาจารย์ของคุณ Wattana-san no tsukue โต๊ะของคุณวัฒนา Koibito no namae ชื่อของแฟน Kaisha no jidoosha รถยนต์ของบริษัท Sensei no nihongo ภาษาญี่ปุ่นของครู (ภาษาญี่ปุ่นที่ครูพูดฯลฯ) Tomodachi no gakkoo โรงเรียนของเพื่อน (2.) ใช้ขยายความหรือบอกเนื้อหารายละเอียดเกี่ยวกับคำนามที่อยู่ข้างหลัง ในกรณีนี้ไม่สามารถแปลว่า “ของ”ได้ Jidoosha no kaisha บริษัท (ผลิต,ขาย ฯลฯ)รถยนต์ Nihon-go no sensei ครู (สอน)ภาษาญี่ปุ่น Gakkoo no tomodachi เพื่อนที่โรงเรียน นอกจากนี้ เราอาจใช้คำช่วย no เชื่อมคำนามซ้อนกันหลายๆชั้นก็ได้ ในกรณีนี้คำนามที่อยู่ข้างหน้า จะทำหน้าที่ขยาย คำนามที่อยู่ถัดไปเรื่อยๆ เพื่อให้ได้เนื้อความที่ละเอียดมากขึ้น ตัวอย่างเช่น Watashi no tomodachi no sensei คุณครูของเพื่อนผม/ดิฉัน Kare no tomodachi no koibito no namae ชื่อคู่รักของเพื่อนเขา 3. dare no …(...ของใคร), nan no ….(....เกี่ยวกับอะไร/สำหรับทำอะไร) dare no….เป็นการใช้ no ในลักษณะที่ (1.) ดังที่ได้กล่าวไปแล้วในข้อ 2. โดย dare no จะใช้ถามถึงเจ้าของ ส่วน nan no …เป็นการใช้ no ในลักษณะที่ (2.) ซึ่งอาจตีความได้หลายความหมาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคำนามที่ตามมา Dare no koibito คู่รักของใคร Dare no pen ปากกาของใคร Nan no hon หนังสือ(เกี่ยวกับ)อะไร Nan no kaisha บริษัท(ขาย/ผลิต/ทำเกี่ยวกับ)อะไร Nan no gakkoo โรงเรียน(สอนวิชา)อะไร Nan no hako กล่อง(สำหรับใส่)อะไร Nan no zasshi วารสาร(เกี่ยวกับ)อะไร 4. watashi no desu. (ของผม/ดิฉัน) ในกรณีที่ใช้คำช่วย no แสดงความเป็นเจ้าของ อาจจะละคำนามที่อยู่ข้างหลัง no ได้ หากผู้พูดและผู้ฟังเข้าใจกันแล้วว่า กำลังพูดถึงสิ่งใด เช่น Kore wa dare no jisho desu ka. นี่เป็นพจนานุกรมของใคร -sore wa watashi no (jisho) desu. –นั่นเป็น (พจนานุกรม) ของผม/ดิฉัน Sore wa dare no desu ka. นั่นเป็นของใคร -Watanabe-san no desu. –เป็นของคุณวาตานาเบะ แต่ขอให้สังเกตว่าเมื่อใช้ no ในความหมายอื่นนอกเหนือจากแสดงความเป็นเจ้าของแล้ว จะละคำนามที่อยู่ข้างหลังไม่ได้ เช่น Are wa nan no koojoo desu ka. โน่นเป็นโรงงานอะไร -Kagaku no koojoo desu. –เป็นโรงงานผลิตสารเคมี 5. kore,sore,are และ kono,sono,ano ประโยคที่แสดงความเป็นเจ้าของอาจเปลี่ยนวิธีพูด โดยที่เนื้อหาของประโยคไม่เปลี่ยนแปลงได้ดังนี้(ดูคำอธิบายในข้อ 1 ประกอบ) Kore wa watashi no kaban desu. นี่คือกระเป๋าของผม/ดิฉัน Kono kaban wa watashi no desu. กระเป๋าใบนี้เป็นของผม/ดิฉัน Sore wa dare no tokei desu ka. นั่นเป็นนาฬิกาของใคร Sono tokei wa dare no desu ka. นาฬิกาเรือนนั้นเป็นของใคร Are wa kaisha no jidoosha desu. โน่นเป็นรถยนต์ของบริษัท Ano jidoosha wa kaisha no desu. รถยนต์คันนั้นเป็นของบริษัท 6. dore (อันไหน), dono…(...ไหน) dore เป็นคำสรรพนาม แปลว่า อันไหน ส่วน dono เป็นคำนิยมคุณศัพท์ ต้องใช้นำหน้าคำนามเสมอแปลว่า....ไหน เช่น dono hon (หนังสือเล่มไหน), dono hito (คนไหน) Anata no kaban wa dore desu ka. กระเป๋าของคุณคือใบไหน -Kore desu. -คือใบนี้ Anata no kaban wa dono kaban desu ka. กระเป๋าของคุณคือกระเป๋าใบไหน -Kono kaban desu. –คือกระเป๋าใบนี้ 7. การบอกชื่อประเทศ บริษัท โรงเรียน ฯลฯ เมื่อถามชื่อประเทศ บริษัท ฯลฯ ในภาษาไทยเรานิยมตอบว่า ประเทศไทย บริษัท ไทยเดนคิ ฯลฯ แต่ในภาษาญี่ปุ่นตอบเพียง Tai desu.,Tai-denki desu.ฯลฯ โดยไม่ต้องมีคำว่า kuni (ประเทศ),kaisha (บริษัท)ฯลฯต่อท้ายชื่อ Watashi no kaisha wa Tai-denki desu. บริษัทของผม/ดิฉันคือ ไทยการไฟฟ้า Watashi no kuni wa Tai desu. ประเทศของผม/ดิฉันคือ(ประเทศ) ไทย 8. nani-go (ภาษาอะไร) และ nani-jin (คนชาติอะไร) -go แปลว่า คำ หรือ ภาษา ไม่ใช้โดดๆ แต่จะใช้เมื่อเป็นคำประสม เช่นNihon-go (ภาษาญี่ปุ่น), Ei-go (ภาษาอังกฤษ)เป็นต้น hito และ –jin ต่างก็แปลว่า คนหรือชาวด้วยกันทั้งคู่ แต่ –jin ใช้เมื่อจะบอกสัญชาติ โดยเติมข้างหลังประเทศนั้นๆ เช่น Tai-jin (คนไทย),Nihon-jin (คนญี่ปุ่น) เป็นต้น 9. nan-ban (เบอร์อะไร) เป็นปุจฉาสรรพนาม ใช้ถามหมายเลข เช่น หมายเลขโทรศัพท์ ฯลฯ Anata no kaisha no denwa-bangoo wa nan-ban desu ka. โทรศัพท์ของบริษัทคุณ หมายเลขอะไรครับ/คะ -Ni-go-hachi-ni-roku-kyuu-zero desu. – 258-2690 ครับ/ค่ะ 10.ikura / o-ikura desu ka.(ราคาเท่าไหร่) เป็นปุจฉาสรรพนามใช้ถามราคา เมื่อเติม o ข้างหน้า ikura จะช่วยให้ดูสุภาพยิ่งขึ้น สำหรับการบอกราคา ให้ใช้ตัวเลขตามด้วยสกุลเงิน เช่น gojuu-baatsu (50 บาท) , sanbyaku-rokujuu-en (360 เยน ) เป็นต้น |
|
ภาษาญี่ปุ่น , เรียนภาษาญี่ปุ่น , ภาษาญี่ปุ่นเบื้องต้น , ภาษาญี่ปุ่น นิยามสรรพนาม , ภาษาญี่ปุ่น ถามราคา , ภาษาญี่ปุ่น ถามเบอร์โทร , ภาษาญี่ปุ่น การถามตอบทั่วไป , ภาษาญี่ปุ่น การตั้งคำถาม
ที่มา www.arukithai.com/th