ประเภทของอักษรคันจิ
ประเภทของอักษรคันจิ
ภาษาญี่ปุ่น ประเภทของอักษรคันจิ แบ่งไว้มีอะไรบ้าง
เมื่อเริ่มแรกที่มีการผลิตพจนานุกรม ภาษาจีนขึ้นเมื่อ คริสตศตวรรษที่ 2 อักษรคันจิแบ่งออกได้เป็น 6 แบบ คือ
1. อักษรรูปภาพ (Pictograph 象形文字 โชเคโมจิ) เป็นอักษรที่แสดง สถาพทางกายภาพของวัตถุอย่าง ง่ายๆ เช่น อักษร ต้นไม้ 木
,แม่น้ำ 川 ,ภูเขา 山 , ปาก 口
2. อักษรแสดงสัญญลักษณ์ (Symbolic 指示文字 ชิจิโมจิ) เป็นอักษรที่ใช้แทนการบรรยาย สภาพสิ่งที่เป็นนามธรรมอย่างง่าย เช่น อักษร
ขี้น 上 , ลง 下 ,การหมุน 回
3. อักษรความหมาย (Ideographs 会意文字 ไคอิโมจิ )เป็นอักษรที่ใช้ในการแทนความหมาย มักเกิดขึ้นจากการนำเอาอักษรภาพสองตัวขึ้นไปมาผสมกัน แล้วเกิดเป็นอักษรใหม่ เช่น
ต้นไม้ 木+ต้นไม้木 =林 ป่าโปร่ง
ดวงอาทิตย์日+ ดวงจันทร์月 = 明 สว่าง
คน イ+ ต้นไม้木 = 休 การพักผ่อน
ภูเขา山 + ขึ้น上 +ลง下 =峠 ช่องเขา
4.อักษรกึ่งพ้องเสียง-กึ่งความหมาย (Phonetic-Ideograph or Semasio-Phonetic 形声文字 เคเซโมจิ) เป็นอักษรที่ประกอบด้วยสองส่วน คือ ส่วนที่สื่อความหมาย ส่วนหนึ่ง และ ส่วนที่แสดงเสียง อีกส่วนหนึ่ง ประกอบกันขึ้นเป็นอักษรใหม่ เป็นอักษรประเภทที่มีจำนวนมากที่สุด กว่า 85% ของอักษรคันจิ จัดเป็นอักษรประเภทนี้ ซึ่งยุ่งยาก น่าปวดหัวมากที่สุด
ตัวอย่างเช่น
- อักษร การริน 注 (อ่านว่า "จู") เกิดจากการผสม ระหว่าง ส่วนที่สื่อความหมาย น้ำหรือของเหลว 氵 กับ ส่วนที่พ้องเสียง 主 (อ่านว่า "จู" เหมือนกัน)
จะเห็นได้ว่า ส่วนแรกคือน้ำ 氵 ใช้สื่อความหมาย ของสิ่งที่เป็นของเหลว เพราะคำว่าริน เราใช้กับของเหลวเท่านั้น ส่วนที่สอง คือ 主 "จู" เป็นส่วนที่ใช้แทนเสียง
- อักษร ยุง 蚊 (อ่านว่า "บุง") เกิดจากการผสมระหว่าง ส่วนที่สื่อความหมาย แมลง 虫 กับ ส่วนที่พ้องเสียง 文 (อ่านว่า "บุง" เหมือนกัน)
จะเห็นได้ว่า ส่วนแรกคือแมลง 虫 ใช้สื่อความหมาย ของคำว่ายุง เพราะว่ายุงจัดเป็นแมลงประเภทหนึ่ง ส่วนที่สอง คือ 文 "บุง" เป็นส่วนที่ใช้แทนเสียง
5.อักษรที่ยืมความหมายมาใช้ (Characters of borrowed meaning and pronunciation 転注文字 เทนจูโมจิ) เป็นอักษรที่ความหมาย หรือการออกเสียง ถูกยืมมาใช้ เช่น อักษร การถือครอง 占 ในความหมายเดิมหมายถึงการทำนายทายทัก
6.อักษรยืมเสียง (Phonetically borrowed characters 仮借文字 คะชาคึโมจิ) เป็นอักษร ที่เสียงถูกยืมมาใช้เพื่อประกอบเป็นความหมายใหม่ โดยไม่เกี่ยวข้องกับความหมายดั้งเดิมแต่อย่างใด เช่น อเมริกา 亜米利加 ( อะ เมะ ริ คะ A-me-ri-ka)
ภาษาญี่ปุ่น ประเภทของอักษรคันจิ , ประเภทของอักษรคันจิ , ภาษาญี่ปุ่น ประเภทคันจิ , ภาษาญี่ปุ่น ประเภทตัวอักษรคันจิ , ประเภทตัวอักษรคันจิ , ภาษาญี่ปุ่น ประเภทตัวคันจิ
ที่มา www.kanjithai.com