โครงสร้างของอักษรคันจิ
โครงสร้างของอักษรคันจิ
ภาษาญี่ปุ่น มาเรียนรู้โครงสร้างของอักษรคันจิในภาษาญี่ปุ่นกัน
ถึงแม้ว่าอักษรคันจิ จะมีบางประเภท ที่เข้าใจง่าย เช่น อักษรรูปภาพ หรือ อักษรสัญญลักษณ์ ดังได้กล่าวข้างต้น แต่อักษร เหล่านี้จัดเป็นพวกชนกลุ่มน้อย ซึ่งมีอยู่ไม่ถึง หนึ่งร้อยตัว ดังนั้น ถ้ามีผู้เรียนภาษาญี่ปุ่น มาบอกท่านว่า อักษรคันจินั้นง่ายมาก ๆ ก็ขอให้รู้ไว้ว่า จริงเป็นบางส่วนเท่านั้น
(อักษรที่ว่าง่ายนั้นจริงๆแล้ว คืออักษร คันจิ ประถมหนึ่ง ซึ่งมีอยู่เพียง 76 ตัวเท่านั้น)
อักษรคันจิที่เหลือ กว่า 95% จะประกอบด้วยสองส่วนขึ้นไป หนึ่งในสองส่วนนี้ มีส่วนที่เป็นองค์ประกอบหลัก หรือ รากของคันจิ เรียกว่า "บุชุ ー部首 bushu"
"บุชุ" หมายถึงส่วนของคันจิ ที่เป็นตัวบ่งชี้ความหมายคร่าว ๆของอักษรนั้น ๆ ซึ่งอาจปรากฎอยู่ ข้างซ้าย ข้างขวา บนหรือ ล่าง ของตัวอักษรก็ได้ทั้งสิ้น อักษรคันจิบางตัว เป็น "ราก" หรือ "บุชุ" ด้วยตัวของมันเอง มีการแบ่งกลุ่ม "บุชุ" ของคันจิ มากว่า 3 ศตวรรษแล้ว
การวางตำแหน่งของ "บุชุ" โดยทั่วไป แบ่งได้เป็น 10 แบบ คือ
1.ทางซ้าย (เรียกว่า เฮน หรือ เบน)
เช่น ตัว イ อยู่ทางซ้ายของ 伊、位、依
2. ทางขวา (เรียกว่า ทสึคุริ หรือ ทซึคุริ)
เช่น ตัว リ อยู่ทางขวาของ 利、 莉、 割
3. ข้างบน (เรียกว่า คัมมุริ)
เช่น ตัว 宀 อยู่บน 家、寡、字
4. ข้างใต้ (เรียกว่า อาชิ หรือ ชิตะ)
เช่น ตัว 貝 อยู่ใต้ 買、貿、資
5. แขวนอยู่ทางซ้าย (เรียกว่า ทาเระ หรือ ดาเระ)
เช่นตัว 广 แขวนอยู่ทางซ้ายของ 店、庄、床
6.ครอบคว่ำ (เรียกว่า คามาเอะ หรือ งามาเอะ)
เช่น ตัว 冂 ครอบอยู่บนตัว 円、同、
7.สอดอยู่ทางซ้าย (เรียกว่า เงียว)
เช่น ตัว 之 สอดอยู่ทางซ้ายของ 進、遠、
8.ครอบทางซ้าย (เรียกว่า คามาเอะ หรือ งามาเอะ)
เช่นตัว 匚 ครอบทางซ้ายของ 区、医
9.ประกบสองข้าง (เรียกว่า คามาเอะ หรือ งามาเอะ)
เช่นตัว 行 ประกบสองข้าง ของ 術、衛
10.ล้อมรอบ (เรียกว่า คามาเอะ หรือ งามาเอะ)
เช่นตัว 口 ล้อมรอบ 回、因
ความหมายของ "บุชุ" 218 ประเภท
ดังได้กล่าวแล้วว่า องค์ประกอบที่สำคัญของอักษรคันจิ หรือ รากของคันจิ คือ "บุชุ" ซึ่งแบ่งออกได้ เป็น 218 ประเภท แต่ละประเภท เรียงลำดับตาม จำนวนเส้นที่ประกอบเป็น "บุชุ" มีตั้งแต่ 1 ขีด ไปจนถึง 14 ขีด ดังนั้น การที่เรารู้ความหมายของ "บุชุ" ก็จะทำให้เรา เรียนรู้ และ จดจำ ความหมาย ของ อักษรคันจิ ได้ง่ายขึ้น เนื่องจาก "บุชุ" หมายถึงส่วนของคันจิ ที่เป็นตัวบ่งชี้ความหมายคร่าว ๆของอักษรนั้น ๆ ดังนั้นการที่เรารู้ความหมายของ "บุชุ" ก็เท่ากับว่า เรารู้ความหมายของ อักษรคันจินั้น ๆ ได้โดยคร่าว ๆแล้ว
วิธีอ่านตาราง "บุชุ" ในที่นี้ ตางรางแต่ละช่อง ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1.อักษรสีฟ้าคือ ตัว "บุชุ" ถัดไปเป็น 2.คำอ่านภาษาญี่ปุ่นแสดงด้วยอักษรฮิราคานะ และท้ายสุดคือ 3.ความหมาย แปลเป็นภาษาไทย
1 ขีด | ||||
、てんจุด | 一いちหนึ่ง | l たてぼうขีดตั้งตรง | 乙おつตะขอ | |
2 ขีด | ||||
二にสอง | 亠なべぶたฝาปิด | 人ひとคน | イにんべんคน | ルひとあしเด็ก |
入いるเข้า | 八はちแปด | 冂どうかまえครอบ | 冖わかんむりหมวก | 冫にすいน้ำแข็ง |
几つくえเก้าอี้ | 凵うけばこกล่อง | 刀かたなมีด | リりっとうมีด | 力ちからกำลัง |
勹つつみがまえกระเป๋า | 匚はこがまえ กล่อง | 匸かくしがまえ ซ่อน | 十じゅう สิบ | 卜うらないทำนาย |
卩わりふแผนก | 厂かんだれโรงงาน | ムむ รวบ | 又また มือขวา | |
3 ขีด | ||||
口くち ปาก | 囗くにがまえเวียนล้อม | 土つちへん ดิน | 士さむらい นักรบ | 夊ふゆがしら ขาไขว้ |
夕ゆうべค่ำ | 大だいใหญ่ | 女おんなผู้หญิง | 子こへんเด็ก | 宀うかんむりหลังคา |
寸すんนิ้ว | 小しょうเล็ก | 尢おうใหญ่ | 尸しかばねซาก | 屮てつรากหญ้า |
山やまภูเขา | 川かわแม่น้ำ | 巛かわลำธาร | 工かくみへんงาน | 己おのれตนเอง |
巾はばへんผ้า | 干かんโล่ห์ | 幺ようเล็ก | 广まだれกว้าง | 廴えんにょうไกล |
廾こまぬきมือ | 弋よくเสา | 弓ゆみคันธนู | 彡さんづくりประดับ | 彳ぎょうにんべんคนคู่ |
廴しんにょうนั่งเรือ | ++くさかんむりหญ้า | 阝おおさとหมู่บ้าน | 氵さんすいน้ำ | 扌てへんมือ |
忄りっしんべんห้วใจ | ||||
4 ขีด | ||||
心こころหัวใจ | 戈ほこหอก | 戸とかんむりบานประตู | 手てมือ | 扌てへんมือ |
支しにょうตี | 攵ほくづくりกระทำ | 文ぶんにょうหนังสือ | 斗とますถังข้าว | 斤おのづくりขวาน |
方かたへんจตุรัส | 日ひへんตะวัน | 曰いわくกระทำ | 月つきへんพระจันทร์ | 木きへんต้นไม้ |
欠かけるค้าง | 止とめへんหยุด | 歹いちたへんเลว | 殳るまたอาวุธ | 母ははのへんแม่ |
比くらべるเปรียบเทียบ | 毛けขน | 氏うじตระกูล | 气きがまえอากาศ | 水みずน้ำ |
火ひへんไฟ | 灬れっかไฟ | 爫つめเล็บ | 父ちちพ่อ | 片かたแผ่น |
牛うしวัว | 牜うしへんวัว | 犬いぬสุนัข | 示しめすแท่น | ネしますへんแท่น |
王おうจ้าว | 爪つめกรงเล็บ | |||
5 ขีด | ||||
玄げんด้าย | 玉たまหยก | 瓦かわらกระเบื้อง | 甘あまいหวาน | 生うまれるเกิด |
用もちいるใช้ | 田たทุ่งนา | 疋ひきขา | 疒やまいだれป่วย | 癶はつかしらสองขา |
白しろขาว | 皮けがわหนัง | 皿さらอ่าง | 目めดวงตา | 矛ほこへんหอก |
矢やへんลูกศร | 石いしへんหิน | 示しめすแท่น | 禾のきへんธัญญาหาร | 穴あなかんむりถ้ำ |
立たつยืน | 罒あみめตาข่าย | 旡むにょうเขี้ยว | 衤ころもへんผ้า | 瓜うりแตง |
疋ひきあしพับผ้า | ||||
6 ขีด | ||||
竹たけไผ่ | 米こめข้าว | 糸いとด้าย | 缶ほときแจกัน | 羊ひつじแกะ |
羽はねปีก | 老おいかんむりชรา | 而してเครา | 耒すきへんคันไถ | 耳みみはんหู |
筆ふでづくりพู่กัน | 肉にくเนื้อ | 自みずからตัวเอง | 至いたるถึง | 臼うすครก |
舌したลิ้น | 舟ふねเรือ | 艮こんづくりเด็ก | 色いろสี | 虎とらเสือ |
虫むしแมลง | 行ぎょうがまえเดิน | 衣ころもผ้า | 羊ひつじแกะ | 西にしตะวันตก |
7 ขีด | ||||
見みるดู | 角かくเขาสัตว์ | 言ごんべんวจี | 谷たにหุบเขา | 豆まめถั่ว |
豕ぶたสุกร | 豸むじなへんสัตว์ | 貝かいเบี้ย | 赤あかแดง | 足あしขา |
身みร่างกาย | 車くるまรถ | 辛からいลำบาก | 辰しんのたつวาระ | 酉とりเหล้า |
釆のごめสีสรร | 里さとへんระยะทางลี้ | 臣しnขุนนาง | 舛まいあしขาเวที | 麦むぎข้าวสาลี |
走はしるวิ่ง | ||||
8 ขีด | ||||
金かねへんทอง | 長ながいยาวนาน | 門もんがまえประตู | 隶れいづくりจับกุม | 隹ふるとりนกเขา |
雨あめฝน | 青あおเขียว | 非あらずไม่ใช่ | 斉せいบริสุทธิ์ | |
9 ขีด | ||||
面めんหน้า | 革かわへんหนังสัตว์ | 音おとเสียง | 頁おおがいหน้าหนังสือ | 風かぜลม |
飛とぶบิน | 食しょくกิน | 首くびคอ | 香かおりหอม | 韋そむくหนังฟอก |
10 ขีด | ||||
馬うまม้า | 骨ほねกระดูก | 高たかいสูง | 髟かみがしらขนยาว | 鬼おにผี |
竜りゅうมังกร | ||||
11 ขีด | ||||
魚うおへんปลา | 鳥とりนก | 鹿しかกวาง | 麻あさปอ | 黄きเหลือง |
黒くろดำ | ||||
12 ขีด | ||||
歯はฟัน | ||||
13 ขีด | ||||
鼓つづみกลอง | ||||
14 ขีด | ||||
鼻はなจมูก |
ความหมายขององค์ประกอบคันจิอื่น ๆ ที่ควรรู้
นอกเหนือจาก "บุชุ" แล้วอักษรคันจิ ยังมีองค์ประกอบ อื่น ที่เราจะพบซ้ำๆ แต่องค์ประกอบเหล่านี้ ไม่ได้จัดเข้าเป็น ประเภท "บุชุ" จึง ไม่มีชื่อเรียก และ ไม่มีการจัดหมวดหมู่ไว้อย่างเป็นทางการ แต่ก็มีความหมาย และ มีนัย ควรค่าแก่การจดจำ
※ องค์ประกอบอื่น ไม่ใช่ "บุชุ" นี้ บางครั้ง อาจมีหน้าตา วิธีการเขียนเหมือน "บุชุ" ทุกประการ แต่ในกรณีนั้น ๆ มีความหมายต่างกัน และในกรณีนั้น ๆ
ไม่จัดเป็นรากของคันจิที่ใช้แสดงความหมาย จึงไม่เรียกว่า เป็น "บุชุ"
ลักษณะการผสมผสานของอักษรคันจิ
ถ้าเราแบ่งสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นสองประเภท คือ 1. รูปธรรม หมายถึงสิ่งที่จับต้องได้ เห็นได้ด้วยตาเปล่า คือวัตถุต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ ต้นไม้ ภูเขา อีกประเภทหนึ่ง คือ 2.นามธรรม หมายถึง สิ่งที่จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า คือ ความรู้สึก นึกคิด อารมณ์ เป็นต้น แล้ว เราจะพบว่า อักษรคันจิ มีวิธีผสมผสาน ของ ตัว "บุชุ" และส่วนอื่นๆ แบ่งเป็น 5 ประเภท คือ
- รูปธรรม + รูปธรรม = รูปธรรม เช่น คน イ+ภูเขา 山 = ผู้วิเศษ หรือ เซียน 仙
- รูปธรรม + รูปธรรม = นามธรรม เช่น คน イ+ต้นไม้木 = การพักผ่อน 休
- นามธรรม + รูปธรรม = นามธรรม เช่น กำลัง 力+ ปาก 口 = บวก หรือ เพิ่ม加
- รูปธรรม + นามธรรม = รูปธรรม เช่น พระอาทิตย์ 日+การเกิด 生 = ดวงดาว 星
- นามธรรม + นามธรรม = นามธรรม เช่น งาน 工+กำลัง 力 = ผลงาน 功
Note: นามธรรม +นามธรรม แล้วกลายเป็น รูปธรรม ยังไม่พบว่ามี
เคล็ดลับการจดจำอักษรคันจิ
1. ต้องจำความหมายของ "บุชุ" ให้ได้เสียก่อนความหมายของ "บุชุ" 218 ประเภท
2. ต้องรู้ว่า คันจิตัวนั้น ประกอบด้วย อะไรบ้างมีที่มาอย่างไร
3. ต้องจำให้ได้ว่า เมื่อประกอบกันแล้ว หมายความว่าอะไร
ภาษาญี่ปุ่น โครงสร้างของอักษรคันจิ , โครงสร้างของอักษรคันจิ , โครงสร้างตัวอักษรคันจิ , อักษรคันจิ โครงสร้าง , เคล็ดลับการจำตัวอักษรคันจิ , องค์ประกอบ อักษรคันจิ
ที่มา www.kanjithai.com