ภาษาญี่ปุ่น มาดูปัญหาในการอ่านอักษรคันจิ และ เคล็ดลับการอ่านอักษรคันจิ มีอะไรบ้าง


938 ผู้ชม

ปัญหาในการอ่านอักษรคันจิ และ เคล็ดลับการอ่านอักษรคันจิ


ปัญหาในการอ่านอักษรคันจิ และ เคล็ดลับการอ่านอักษรคันจิ

ภาษาญี่ปุ่น มาดูปัญหาในการอ่านอักษรคันจิ และ เคล็ดลับการอ่านอักษรคันจิ มีอะไรบ้าง


ปัญหาในการอ่านอักษรคันจิ

    ดังได้กล่าวไว้แล้วในตอนต้นว่า คำว่า "คันจิ" แปลว่า "อักษรของชาวฮั่น (ซึ่งก็คือชาวจีนนั่นเอง)" เป็นตัวอักษรที่ญี่ปุ่นยืมมาจากจีน  ที่ว่ายืมนั้น เป็นการยืมมาทั้ง 1 รูปแบบตัวอักษร,  2 ความหมาย และ  3 เสียงอ่าน

·          ในส่วนของ 1 และ 2 คือการยืม รูปแบบตัวอักษร และความหมาย มาใช้นั้น ยังคงเหมือนภาษาดังเดิม คือ ภาษาจีน ดังนั้น ถ้าเรานำตัวอักษรคันจิให้คนจีน หรือ คนไต้หวันดู เขาจะรู้ความหมายเข้าใจตรงกับ คนญี่ปุ่น ได้โดยไม่ยาก
·          ที่พิสดารน่าปวดหัวคือข้อที่  3  เสียงอ่าน... ส่วนของเสียงอ่านที่ญี่ปุ่นยืมมานั้น เป็นเสียงอ่านแบบ ภาษาจีนกลาง หรือก็คือ ภาษาแมนดาริน ซึ่งถ้ายืมมาใช้ตรงๆ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร..  แต่ที่ทำให้ปวดหัวมีอยู่สองถึงสามประเด็นคือ
o     ญี่ปุ่นออกเสียงภาษาจีนกลาง ที่ยืมมานั้น ตรงๆ ไม่ได้...จึงได้ทำการดัดแปลงเสียงอ่านภาษาจีนกลางนั้นให้เข้ากันได้กับลิ้นของตนเอง ในทางภาษาศาสตร์ เรียกเสียงอ่านแบบนี่ว่า "เสียงอ่านแบบจีน  (On-yomi 音読み)"  ซึ่งถ้าพูดอย่างเคร่งครัดก็ต้องเรียกว่า "เสียงอ่านแบบจีน-สำเนียงเป็นญี่ปุ่น" ซึ่งพจนานุกรมจะแสดงด้วยอักษรคาตาคานะ  อาจกล่าวได้ว่า อักษรคันจิทั้งหมดเข้ามาในญี่ปุ่นพร้อมกับเสียงอ่านตามภาษาจีนกลาง ที่ผิดเพื้ยนไปจาก เสียงอ่านเดิม เนื่องจากถูกปรับให้เข้ากับระบบเสียงภาษาญี่ปุ่น
  • อักษรคันจิหลาย ๆตัวมี   "เสียงอ่านแบบจีน  (On-yomi 音読み)" มากกว่า 1 เสียง คือเขียนเหมือนกันแต่อ่านได้ 2 หรือ 3 อย่าง ทั้งนี้เป็นเพราะเสียงอ่านแต่ละเสียง เข้ามาในญี่ปุ่นต่างยุคสมัย ต่างวิธีการ และมาจากต่างภูมิภาคของจีน นอกจากนี้ บางคำยังแตกความหมายออกไป ทำให้เกิดเสียงใหม่ด้วย
  • ญี่ปุ่นมีการออกเสียงดั้งเดิมของตนเองอยู่ก่อนแล้ว... ก่อนที่จะยืมเสียงอ่านของจีนมาดัดแปลงใช้ ซึ่งเสียงดั้งเดิมนั้นทิ้งไปก็ไม่ได้ เสียงใหม่ก็รับเข้ามา จึงเกิดมีความซับซ้อนขึ้นมา  เสียงอ่านแบบดั้งเดิมนั้นในทางภาษาศาสตร์ เรียกว่า "เสียงอ่านแบบญี่ปุ่น (Kun yomi 訓読み) ซึ่งพจนานุกรมจะแสดงด้วยอักษรฮิราคานะ

เคล็ดลับการอ่านอักษรคันจิ

    จาการสำรวจพบว่า ส่วนที่พ้องเสียงของ อักษรคันจิ ประเภท ที่ 4  คือ อักษรกึ่งพ้องเสียง-กึ่งความหมาย (Phonetic-Ideograph or Semasio-Phonetic 形声文字 เคเซโมจิ) นั้น แบ่งได้ 3 ประเภทคือ

    a) อักษรคันจิ ที่มี ส่วนที่พ้องเสียง เหมือนกัน และมีเสียงอ่าน แบบ 音読み องโยมิ เหมือนกัน เช่น

    時、持、寺 อ่านว่า "จิ" เหมือนกันหมด อักษรประเภทนี้ มีอยู่ประมาณ 58%

    b) อักษรคันจิ ที่มี ส่วนที่พ้องเสียง เหมือนกัน  แต่มีเสียงอ่าน แบบ 音読み องโยมิ คล้ายกัน เช่น

     อักษร 古 อ่านว่า "โคะ"  ส่วนอักษร 苦 อ่านว่า "คึ" อักษรประเภทนี้ มีอยู่ประมาณ 33%

    c) อักษรคันจิ ที่มี ส่วนที่พ้องเสียง เหมือนกับ จะมีเสียงอ่าน แบบ 音読み องโยมิ ต่างกัน เช่น

    อักษร 十 อ่านว่า "จู" แต่ อักษร 針 อ่านว่า "ชิน" อักษรประเภทนี้ มีอยู่ประมาณ 9%

เคล็ดลับการอ่านคันจิ , เคล็ดลับการอ่านอักษรคันจิ , เคล็ดลับอ่านตัวคันจิ , เคล็ดลับอ่านอักษรญี่ปุ่นคันจิ , ปัญหาอ่านอักษรคันจิ , ปัญหาในการอ่านอักษรคันจิ , ปัญหาการอ่านอักษรญี่ปุ่นคันจิ , ปัญหาการอ่านตัวคันจิ

ที่มา www.kanjithai.com

อัพเดทล่าสุด