10 อันดับกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก
10 อันดับกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก
สุดยอด 10 อันดับกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ปี 2554 โดยนิตยสารฟอร์บ
นิตยสารฟอร์บ เสนอบทความกษัตริย์ที่รวยที่สุดในโลก
ฟอร์บระบุว่า การประเมินทรัพย์สินของราชวงศ์นั้น
ต้องใช้ทั้ง ศาสตร์และศิลป์ประกอบกันไป
เนื่องด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างความมั่งคั่งของบุคคล
กับรัฐนั้นมีลักษณะเฉพาะของแตกต่างกันไป
จากรายงาน ของฟอร์บส์นั้น พบว่าพระมหากษัตริย์หลายพระองค์
มีพระราชทรัพย์ลดลง เนื่องจากผลกระทบที่ต่างๆ กันไป
ฟอร์บระบุว่า ได้ติดตามสถานะของราชวงศ์ระดับแนวหน้า
จำนวนหนึ่งมาหลายปี แต่การนำเสนอผ่าน
บทความดังกล่าวเป็นเพียงครั้งที่ 2
ที่เผยแพร่ทำเนียบกษัตริย์ที่ร่ำรวยที่สุดอย่างละเอียด
แต่สถาบัน กษัตริย์ของประเทศอย่างสเปน
และญี่ปุ่นกลับพลาดที่จะเข้าร่วมการจัดอันดับไปอย่างน่าเสียดาย
ลำดับที่ 10. Sultan Qaboos bin said of Oman
มีพระราชทรัพย์สุทธิ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
สุลต่านกาบุส ทรงขึ้นครองราชเมื่อปี1970
หลังสิ้นสุดอำนาจของผู้เป็นพ่อ
สุลต่านกาบุสได้ ทรัพย์สินจากการส่งออกน้ำมัน
ปัจจุบันพระองค์ได้หันมาทำธุรกิจการท่องเที่ยวของประเทศ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ลำดับที่ 9. Princes Albert II of Monaco
เจ้าชายอัลเบิร์ตที่ 2 แห่งโมนาโก เป็นกษัตริย์พระองค์เดียว
ที่ยังไม่อภิเษกสมรส และถูกร่ำลือว่าทรงส่งแฟนสาว
ของพระองค์เข้าเรียน คอร์สติวเข้มภาษาฝรั่งเศส
พระองค์มีพระราชทรัพย์ประมาณ 1.4 พันล้านเหรียญฯ
ประกอบไปด้วยอสังหาริมทรัพย์
และหุ้นส่วนกิจการ คาสิโนในโมนาโก
พร้อมทั้งทรงวางแผนที่จะขยายพื้นที่ของประเทศ
(ซึ่งมีขนาดเท่ากับ Central Park ในนิวยอร์ก)
โดยการสร้างเขต ปกครองใหม่ในทะเล
ซึ่งจะตั้งอยู่บนเสาขนาดมหึมา โครงการดังกล่าวนี้
สร้างความวิตกกังวลแก่นักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่พอสมควร
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ลำดับที่ 8. King Mohammed VI of Morocco
กษัตริย์โมฮัมหมัดที่ 6 แห่งประเทศโมร็อกโก
ขณะนี้มีทรัพย์สินรวม 1.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
ลดลงจากปีที่แล้วซึ่งอยู่ที่ 2 พันล้านเหรียญฯ
เนื่องจากภัยแล้งที่รุนแรงส่งผลให้อัตราการเติบโต
ทางเศรษฐกิจของประเทศชะลออยู่ที่ระดับ 2 เปอร์เซ็นต์
ซึ่งได้มาจากการทำเหมืองแร่ฟอสเฟต, เกษตรกรรม
และทรงร่วมหุ้นกับบริษัท
Morocco's largest public company, ONA.
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ลำดับที่ 7. Sheikh Hamad bin Khalifa Al Thani of Qatar
ชีค ฮาหมัด บิน คาลิฟา อัล ธานี่
มีทรัพย์สินโดยประมาณรวม 3พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ลำดับที่ 6. Prince Hans-Adam II von und zu Liechtenstein of Liechtenstein
เจ้าชายฮันส์ อาดัมที่ 2 แห่งลิกเตนสไตน์
มีพระราชทรัพย์ทรัพย์ประมาณการ 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
โดยที่ LGT Bank ซึ่งเป็นแหล่งทุนหลักของพระองค์
(บริหารโดยราชวงศ์มากว่า 70 ปี)
ตกเป็นเป้าในคดีหลีกเลี่ยงภาษีอันอื้อฉาว
ซึ่งบริษัทของพระองค์ถูกกล่าวหาว่า
ช่วยเหลือลูกค้าฐานะดีหลายรายในการ “ซุกซ่อน” ทรัพย์สิน
จากการสืบสวนของวุฒิสมาชิกสหรัฐฯ พบว่า
พระอนุชาของพระองค์ (เจ้าชายฟิลิป) มีส่วนเกี่ยวข้อง
ในการนี้ในฐานะที่ดำรงตำแหน่งประธานของ LGT
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ลำดับที่ 5. Sheikh Mohammed bin Rashid Al Maktoum of Dubai
ชีค โมฮัมหมัด บิน ราชิด อัล มาคทูม แห่งดูไบ
ทรงมีพระราชทรัพย์สุทธิ 18 พันล้านเหรียญฯ
เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Dubai Holding
ซึ่งมีการลงทุนใหญ่ๆ ในหลายบริษัท เช่น โซนี่
และบริษัทผลิตอาวุธ EADS และเมื่อเร็วๆ นี้
กองทุนรวมเพื่อการลงทุนของชีคพระองค์นี้
ได้ใช้เงิน 5 พันล้านเหรียญฯ เพื่อถือหุ้น
ในบริษัท MGM Mirage และ 825 ล้านเหรียญฯ
เพื่อซื้อกิจการค้าปลีก Barneys New York
และทรง เข้ามาซื้อหุ้นใหญ่สุดของสโมสรในอังกฤษอีกด้วย
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ลำดับที่ 4. Sultan Haji Hassanal Bolkiah of Brunei
สุลต่านแห่งบรูไน ซึ่งเป็นกษัตริย์จากเอเชียจากสองประเทศ
ที่เข้าทำเนียบราชวงศ์ที่รำรวยของฟอร์บ
ราชทรัพย์ของสุลต่านแห่งบรูไน (ทรัพย์สิน 20 พันล้านเหรียญฯ)
ลดลงจากปีที่ผ่านมาเนื่องจากต้องลดอัตราการผลิตน้ำมัน
เนื่องจากปริมาณสำรองน้ำมันในประเทศบรูไนลดลง
โดยฟอร์บระบุว่า กิจการน้ำมันนั้นเป็นมรดกตกทอด
ของราชวงศ์บรูไนซึ่งเป็นราชวงศ์มุสลิมซึ่งมีอายุกว่า 600 ปี
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ลำดับที่ 3. King Abdullah bin Abdul Aziz of Saudi Arabia
กษัตริย์อับดุลลาห์ บิน อับดุล อาซิซ แห่งซาอุฯ
ทรงมีทรัพย์สินประมาณการที่ 21.5 พันล้านเหรียญฯ
รายได้มหาศาลของพระองค์ได้มาจากอุตสาหกรรมน้ำมัน
ที่ซาอุดีอาระเบีย มี*ส่วนการผลิตถึง 25 % ของแหล่งน้ำมัน
ทั่วโลก และธุรกิจการบินของสายการบินซาอุดี อาระเบียนส์
แอร์ไลน์ แต่อย่างไรก็ตามมีการคาดการณ์กันว่า
แหล่งน้ำมันของซาอุดีอาระเบีย จะหมดลงในปีค.ศ.2040
หรืออีกใน 32 ปี ข้างหน้านี้
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ลำดับที่ 2. Sheikh Khalifa bin Zayed Al Nahyan of the United Arab Emirates
ชีค คาลิฟา บิน ซาเ ยด อัล นาห์ยาน แห่งอาบูดาบี
(สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) มีพระราชทรัพย์ประมาณ
23 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ ความมั่งคั่งของพระองค์
เกิดจากการที่เมืองอาบูดาบี เป็นเมืองที่มีแหล่งน้ำมัน
สำรองคิดเป็น 95 เปอร์เซ็นต์ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
นอกจากนั้น อาบูดาบียังมีชื่อเสียง เนื่องมาจากการลงทุน
ระดับแนวหน้าโดยบรรษัทที่รัฐเป็นเจ้าของนั่นคือ
เงินลงทุน 7.5 พันล้านเหรียญฯ ในบริษัท Citibank
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ลำดับที่ 1. King Bhumibol Adulyadej of Thailand
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
แห่งราชอาณาจักรไทย ทรงอยู่ในลำดับสูงสุด
ของทำเนียบราชวงศ์ที่รวยที่สุดในโลกในปีนี้
โดยมีพระราชทรัพย์ประมาณการได้ล่าสุดกว่า 35 พันล้าน
เหรียญฯ (1.19 ล้านล้านบาท ตามอัตราแลกเปลี่ยน
1 บาท: 34 ดอลลาร์)
โดย พระราชทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นนี้สืบเนื่องจากความโปร่งใส
ที่เพิ่มขึ้นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นั่นเอง
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ราชวงศ์ที่รวยที่สุดในโลก 2011 , กษัตริย์ที่รวยที่สุดในโลก , กษัตริย์ที่รวยที่สุดในโลก 2011 , กษัตริย์ที่รวยที่สุดในโลก 2554 , กษัตริย์ที่รวยที่สุดในโลก ปี 54
ที่มา www.have.in.th