ต้อหินเกิดจากอะไร รักษาต้อหินที่ไหนดี สาเหตุต้อหิน หลายคนคุ้นเคยกับคำว่าต้อกระจกมากกว่าต้อหิน ต้อกระจกเป็นภาวะที่เลนส์ตาเราขุ่นมัวเหมือนกระจกฝ้าทำให้เห็นไม่ชัด ส่วนต้อหินไม่ได้หมายความว่าเลนส์ตาเราจะแข็งเหมือนหิน แต่หมายถึงการเสื่อมของประสาทตาจากความดันในตาซึ่งสูงขึ้นหรือบางคนความดัน ตาก็ไม่ได้สูง การทำงานของตา การที่จะเข้าใจโรคต้อหินจะต้องเข้าใจถึงโครงสร้างของตา ตาของเรามีลักษณะกลม มีเปลือกตาขาว (sclera ) หุ้ม น้ำตาและน้ำเลี้ยงตาเหมือนกันหรือไม่ น้ำตาเป็นน้ำที่สร้างจากต่อมน้ำตาและหล่อเลี้ยงภายนอก ส่วนน้ำเลี้ยงตาจะอยู่ในลูกตาไม่ออกสู่ภายนอก น้ำเลี้ยงตาจะหล่อเลี้ยง กระจกตา เลนส์และม่านตา | อยู่ภายนอก ส่วนหน้าของลูกตาซึ่งเป็นส่วนที่เรามองเห็น จะมีเยื่อบางๆหุ้มอยู่เรียกเยื่อนี้ว่า conjunctiva ถัดจากนั้นเป็นชั้นที่เรียกว่า กระจกตา (cornea) เป็นทางให้แสงผ่านชั้นนี้หากขุ่นมัวเราสามารถผ่าตัดเปลี่ยนได้ ถัดจากนั้นก็จะเป็นรูม่านตา pupil ซึ่งจะปรับปริมาณแสงที่ผ่านถ้าสว่างมากรูม่านตาก็จะเล็ก หากมือรูม่านตาก็จะกว้างเพื่อให้แสงผ่านเข้าตามากขึ้น แสงจะผ่านไปเลนส์ lens และไปที่จอรับภาพ retina ในตาจะมีน้ำเลี้ยงเรียก aqueous humor ซึ่งเหล่าเลี้ยงเลนส์ กระจกตา และจะถูกดูดซึมตามท่อข้าง iris muscle ทำให้มีความสมดุลของน้ำในตา ต้อหินคืออะไร ต้อหินเป็นภาวะที่เกิดจากความดันในลูกตาสูงขึ้นและมีการเสื่อมของประสาทต าและสูญเสียการมองเห็น ความดันในตาที่สูงจะกดดันเส้นประสาทตา (optic nerve)ให้เสื่อม ความดันสูงเป็นเวลานานประสาทตาก็จะเสื่อมทำให้สูญเสียการมองเห็น การสูญเสียการมองเห็นจะเริ่มที่ขอบนอกของลานสายตา ส่วนตรงกลางภาพยังเห็นชัด หากไม่ได้รักษาการมองเห็นจะจะได้ภาพเล็กลง การเปลี่ยนแปลงจะค่อยๆเป็นโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว โดยมากมักจะเป็นสองข้าง อาจจะเป็นข้างใดข้างหนึ่งก่อน การมองเห็นของคนปกติ | การมองเห็นของคนเป็นต้อหิน | อาการของต้อหิน ผู้ที่มีความเสี่ยง - ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี
- ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหิน
- ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน
- ผู้ที่มีสายตาสั้นมาก
- ผู้ป่วยโรคต่อมธัยรอยด์
- ผู้ที่ใช้ยา steroid
| เนื่องจากโรคต้อหินมีการดำเนินอย่างช้าๆ ความดันในตาค่อยๆเพิ่มดังนั้นผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงไม่มีอาการ นอกจากผู้ป่วยบางรายที่เป็นแบบเฉียบพลันจะมีอาการเห็นไม่ชัด เมื่อมองแสงไฟจะเห็นรุ้งกินน้ำเป็นวงๆ ปวดตา ปวดศีรษะ โรคต้อหินเป็นได้ทุกอายุ คนที่มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้แก่ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นต้อหิน ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน ดังนั้นแพทย์แนะนำให้มีการตรวจตาเป็นประจำ แนะนำว่าผู้ที่อายุ 40 ปีควรได้รับการตรวจคัดกรองโรคต้อหิน หากปกติก็ให้ตรวจทุก 2-4 ปี สำหรับผู้ที่อายุมากกว่า 60 ปีควรได้รับการตรวจคัดกรองทุก 2 ปี สำหรับท่านที่มีความเสี่ยงต่อโรคต้อหินควรได้รับการตรวจคัดกรองตั้งแต่อายุ 35 ปี ชนิดของโรคต้อหิน Open angle glaucoma แนวสีเขียวเป็นแนวทางน้ำเลี้ยงตาไหลเวียนและไหลเข้าท่อระบายน้ำเลี้ยงตา(drainage canals) การอุดจะเกิดที่ที่ทางเดินท่อน้ำตาถูกอุดตัน | เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุดของต้อหิน เกิดจากการไหลเวียนของน้ำหล่อเลี้ยงตาอุดตัน ทำให้ความดันในลูกตาสูง (intraocular pressure IOP) ผู้ป่วยจะไม่มีอาการ ไม่มีสัญญาณเตือนหากไม่พบก็จะมีการเสื่อมของสายตา ต้อหินชนิดนี้ตอบสนองดีต่อการรักษาด้วยยา Angle closure glaucoma จากภาพจะเห็นว่าท่อระบายน้ำตาถูกปิดโดยกล้ามเนื้อม่านตา Iris | พบไม่บ่อย เกิดเมื่อมุมระหว่าง iris และ corneaแคบ ต้อหินชนิดนี้จะเกิดอาการอย่างเฉียบพลันเนื่องจากมีการอุดของระบบท่อระบายทำ ให้ความดันในลูกตาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ยาบางชนิดหรือการที่อยู่ในที่มืดจะทำให้รูม่านตาขยายก็จะทำให้เกิดต้อหิน ชนิดนี้ได้ อาการที่สำคัญคือปวดศีรษะ ปวดตา คลื่นไส้อาเจียน เห็นแสงเป็นสายรุ้งรอบดวงไฟและตามัวลง หากมีอาการนี้ต้องรีบพบแพทย์เพราะหากช้าจะทำให้เกิดการทำลายประสาทตา การรักษามักจะต้องผ่าตัด ต้อหินที่เกิดจากสาเหตุอื่น เช่นการอักเสบของตา การได้รับอุบัติเหตุ โรคเบาหวานหรือการใช้ยาเช่น steroid ต้อหินชนิดนี้จะมีอาการไม่รุนแรง การรักษาก็ขึ้นกับความรุนแรงและชนิดของต้อหิน Normal tension glaucoma NTG ต้อหินชนิดนี้จะมีความดันลูกในตาปกติแต่ประสาทตาก็ถูกทำลาย การรักษายังเป็นที่ถกเถียงกัน Pigmentary glaucoma เกิดเม็ดสีของตาหลุดไปอุดท่อระบาย การรักษาใช้ยาหรือ laser การวินิจฉัย หากแพทย์สงสัยว่าจะเป็นต้อหินแพทย์จะตรวจตาอย่างละเอียด ตรวจความดันลูกตา Tonometry เป็นการวัดความดันลูกตา แพทย์จะหยอดยาชาหลังจากนั้นก็จะวัดความดันลูกตา ค่าความดันของลูกตาปกติ 12-22 มม.ปรอทคนที่เป็นต้อหินมากจะมีความดันในลูกตามากกว่า 20 มม.ปรอท ตรวจประสาทตาและจอรับภาพ Ophthalmoscopy วิธีการตรวจจอรับภาพตาด้วยกล้องส่อง | ภาพที่เห็นจากกล้องเส้นประสาทตาจะมีสีซีดตรงกลางภาพ | เป็นการใช้เครื่องมือส่องเข้าไปในตาเพื่อตรวจดูประสาทตา ผู้ป่วยบางคนอาจจะต้องหยอดยาขยายม่านตาเพื่อจะตรวจได้ง่ายขึ้น ผู้ป่วยที่เป็นต้อหินเรื้อรังเส้นประสาทจะซีดและมีขนาดใหญ่ การตรวจลานสายตา Perimetry วิธีการตรวจลานสายตา | ลานสายตาของคนปกติจะเห็นได้กว้าง จุดดำๆที่เห็นเรียกจุดบอด | ลานสายตาของคนที่เป็นต้อหินจะแคบ ส่วนที่มองไม่เห็นคือส่วนดำๆในภาพ | เป็นการตรวจลานสายตาของผู้ป่วย กล่าวคือเวลาเรามองเราสามารถมองได้เป็นบริเวณกว้าง หากเป็นโรคต้อหินพื้นที่เรามองจะแคบลงดังแสดงในรูปข้างบน วิธีการตรวจผู้ป่วยจะมองตรงแล้วจะมีหลอดไฟหรือแสงวางตำแหน่งต่างๆกันหากเราเห็นก็บอก แพทย์จะจดตำแหน่งที่เห็นเพื่อจะตรวจสอบลานสายตาว่าแคบหรือปกติ การตรวจ Gonioscopy เป็นการตรวจมุมของกล้ามเนื้อ iris กับ cornea เป็นการตรวจเพื่อจะบอกว่าเป็นต้อหินชนิดมุมปิดหรือเปิด โดยแพทย์จะหยอดยาชาและเอาเครื่องมือติดตาซึ่งจะมีกระจกซึ่งแพทย์จะสามารถมองเห็นว่ามุมปิดหรือมุมเปิด โรคต้อหินรักษาหายขาดหรือไม่ โรคต้อหินไม่สามารถรักษาให้หายขาดแต่สามารถควบคุมได้ เมื่อวินิจฉัยว่าเป็นโรคต้อหินแล้วต้องติดตามการรักษาต่อเนื่อง หลักการรักษาคือการลดความดันในลูกตา ป้องกันตาบอดโดยการใช้ยาหยอด ยารับประทาน การรับประทานยา การผ่าตัด วิธีการรักษามีอย่างไรบ้าง การใช้ยาหยอดตา ยาหยอดตาที่ใช้รักษาต้อหินหากใช้ไม่ถูกต้องก็จะเกิดผลข้างเคียงและไม่มีประสิทธิภาพวิธีการใช้ยาที่ถูกต้องมีดังนี้ - ตรวจชื่อยาว่าถูกต้องหรือไม่
- ล้างมือให้สะอาด
- เขย่ายาให้เข้ากัน
- เอนตัวไปข้างหลัง
- เหลือกตามองไปข้างบน
- ดึงหนังตาล่างออกเพื่อเป็นแหล่งหยอดยา
- หยอดยาลงบนหนังตาล่างแล้วปิดตา เอนนอน
- อย่าให้ขวดยาถูกตา
- กดที่หัวตาเบาๆ 2-3 นาที เพื่อมิให้ยาไหลลงในท่อน้ำตา
- ใช้ผ้าเช็ดยาที่อยู่รอบตา
- ล้างมืออีกครั้ง
- หากต้องหยอดยาอีกชนิดหนึ่งให้รอ 5 นาทีค่อยหยอดชนิดใหม่
ชนิดยา | ชื่อยา | การออกฤทธิ์ | ผลข้างเคียง | Beta blocker | Ateoptic,Betaophtiole, Betagan,Betoptic glaucooph,nyolol timolol,Fortil | ลดการสร้างน้ำเลี้ยงตา | ทำให้หัวใจเต้นช้า ความดันโลหิตลดลง หอยหืดมากขึ้นในคนที่เป็นหอบหืด | Carbonic anhydrase inhibitor | Azopt,trusopt | ลดการสร้างน้ำเลี้ยงตา | ตามัว คันตา ตาแห้ง หากแพ้ยา sulfa ไม่ควรใช้Azopt | Miotic | pilogel HS | เพิ่มการไหลเวียนของน้ำเลี้ยงตา | มองไม่ชัดในที่มืดเนื่องจากรูม่านตาเล็ก | Postaglandin | xalatan | เพิ่มการไหลเวียนของน้ำเลี้ยงตา | มีการเปลี่ยนเป็นสีเป็นน้ำตาลของม่านตา | Alpha adrenergic agonist | alphagan | ลดการสร้างน้ำเลี้ยงตา | อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ตามัว ปากแห้ง จมูกแห้ง | Sympathomimetic | | เพิ่มการไหลเวียนของน้ำเลี้ยงตา | ปวดศีรษะ ตามัว | การรักษาโดยการผ่าตัด การผ่าตัดทุกชนิดจะมีความเสี่ยงแพทย์จะเลี่ยงการผ่าตัด แต่การผ่าตัดปัจจุบันก็ประสบผลสำเร็จด้วยดี การผ่าตัดเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นต้อหินชนิดมุมปิดclose angle glaucoma หรือในรายที่ใช้ไม่ได้ผลหรือมีผลข้างเคียงของยา การผ่าตัดมักจะเลือกผ่าข้างใดข้างหนึ่ง การผ่าตัดมีสองชนิดใหญ่ๆคือ Laser surgery การผ่าตัดด้วยวิธี Laser แพทย์จะหยอดยาชาที่ตาหลังจากนั้นจะใช้พลังงานจากแสง laser เพื่อเปิดทางเดินน้ำเลี้ยงตา ขณะทำท่านอาจจะเห็นแสงเหมือนถ่ายรูป และมีอาการระคายเคืองตา การรักษาโดยวิธี laser จะลดความดันลูกตาเป็นการชะลอการผ่าตัด วิธีการผ่าตัก laser มีดังนี้ - Laser peripheral iridotomy
- Argon Laser Trabeculoplasty
- Laser cyclophotocoagulation
หลังการผ่าตัดด้วย laser ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องใช้ยา บางรายอาจจะต้องผ่าตัดซ้ำ Microsurgery การผ่าตัดวิธีนี้เหมาะสมกับต้อหินทุกชนิดทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง การผ่าตัดอาจจะใช้ยาชาเฉพาะที่หรือดมยาสลบ หลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถเดินและกลับบ้านได้โดยมีผ้าปิดตาและห้ามถูกน้ำ ห้ามออกกำลังกายอย่างหนัก ห้ามก้ม ดำน้ำ หรืออ่านหนังสือเป็นเวลา 1 สัปดาห์ หลังการผ่าตัดลูกตาท่านก็จะเหมือนปกติ จะมีรูเล็กๆที่ตาขาวซึ่งถูกหนังตาบนปิดบังอยู่ คำแนะนำสำหรับผู้ที่เป็นต้อหิน - จะต้องตรวจวัดความดันลูกตาทุกสัปดาห์ ทุกเดือนจนกระทั่งความดันในตากลับสู่ปกติ
- ให้ใช้ยาอย่างสม่ำเสมอแม้ว่าความดันลูกตากลับสู่ปกติ จะหยุดเมื่อแพทย์สั่งให้หยุด
- ให้ใช้ยาเวลาที่สะดวกที่สุด เช่นหลังตื่นนอน หรือก่อนนอน
- หากท่านลืมหยอดยา ให้หยอดยาทันที่ที่นึกขึ้นได้
- หากลืมรับประทานยา ให้รับประทานทันทีที่นึกขึ้นได้
- เตรียมยาสำรองหากต้องเดินทาง
- จดชื่อยาที่ใช้รวมทั้งขนาดที่ใช้ไว้กับตัว
- ปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการหยอดยาที่ถูกต้อง
- จดตารางการหยอดยา และยารับประทานไว้ที่ๆมองเห็นได้ง่าย
- ต้องเฝ้าระวังผลข้างเคียง
- เมื่อไปพบแพทย์ท่านอื่นต้องบอกว่าท่านเป็นต้อหินและกำลังใช้ยาอยู่
- หากมีอาการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับตาต้องรายงานแพทย์
- ไปตามแพทย์นัด และให้แพทย์นัดครั้งต่อไป
- หากไม่ได้ใช้ยาต้องบอกแพทย์ทุกครั้ง
การดูและตา - สำหรับคุณผู้หญิงต้องใช้เครื่องสำอางที่ไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้
- ห้ามขยี้ตาแม้ว่าจะเคืองตา
- หากท่านมีการผ่าตัดตา ให้สวมแว่นกันฝุ่นหรือกันน้ำเวลาทำงานหรือว่ายน้ำ
- ดูแลสุขภาพทั่วไปให้แข็งแรง
- รับประทานอาหารคุณภาพ ออกกำลังกาย งดบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา ลดปริมาณกาแฟ ควบคุมน้ำหนัก
- ลดความเครียด
- เมื่อดื่มน้ำให้ดื่มครั้งละไม่มากแต่บ่อยๆได้
|