โรคหัวใจโตในสุนัข หมาเปนโรคหัวใจโต มีอาการดังนี้


2,209 ผู้ชม


โรคหัวใจในสุนัข
โรคหัวใจในสุนัขคืออะไร
โรคหัวที่พบใน สุนัขสามารถพบได้เช่นเดียวกับในคน คือสามารถพบได้ตั้งแต่เกิด หรือหลังเกิด แต่โดยทั่วไปมัพบว่าโรคหัวใจในสุนัขมีการพัฒนาขึ้นในช่วงกลางๆชีวิตโรคหัวใจ ของสุนัขที่เกิดขึ้นภายหลัง (acquired heart disease) เป็นลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุด, สุนัขที่พบว่าเป็นโรคหัวใจมักเป็นสุนัขที่มีอายุมาก
โรคหัวใจในสุนัขที่พบได้เสมอมี 2 ชนิด
ชนิดแรก เป็นชนิดที่เกี่ยวกับลิ้นหัวใจ โดยที่ลิ้นหัวใจมีการปิดไม่ดี ทำให้มีการรั่ว ยังผลทำให้การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ
โรคหัวใจอีกชนิดหนึ่งคือ โรคหัวใจที่เกี่ยวข้องกับกล้ามเนื้อหัวใจ โดยมักพบว่าผนังห้องหัวใจบางและมีความอ่อนแอ บีบตัวไม่ดี
โรค หัวใจทั้งสองชนิดจะค่อยพัฒนาขึ้น โดยใช้ระยะเวลา แต่ผลในที่สุดก่อให้เกิดภาวะที่มีความรุนแรงต่อการทำงานของหัวใจที่เรียกว่า หัวใจล้มเหลว(heart failure)
อาการของโรคหัวใจในสุนัขเป็นอย่างไร
อาการ ของโรคหัวใจในสุนัขค่อนข้างผันแปร หรือไม่แน่นอน อาจจะพบได้ตั้งแต่ประเภทที่ไม่สามารถสังเกตอาการได้จนถึงสามารถสังเกตพบ อาการได้ แต่อาการจะมีความเด่นชัด หรือมีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อการพัฒนาของโรคหัวใจมีมากขึ้น
อาการโรคหัวใจในสุนัขที่พบได้ส่วนใหญ่ได้แก่
อ่อนเพลียง่าย หรือขาดพลังงาน (lack of energy)
หายใจลำบาก
ไม่กินอาหารและน้ำหนักตัวลดลง
มีการไอบ่อยๆ
อ่อนแอ
เป็นลม(fainting)
ท้องขยายใหญ่(abdominal swelling)
ทราบได้อย่างไรว่าสุนัขเป็นโรคหัวใจ
ผู้ ที่จะให้คำตอบที่ดีที่สุดว่าสุนัขเป็นโรคหัวใจคือ สัตวแพทย์ประจำตัวสุนัขของท่าน การนำสุนัขของท่านไปตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อตรวจร่างกาย เป็นสิ่งที่สำคัญในการที่จะทำให้ตรวจพบปัญหาทางสุขภาพ หรือโรคหัวใจในระยะเริ่มต้นได้
เมือนำสุนัขไปพบสัตวแพทย์ สัตวแพทย์อาจจะถามเจ้าของถึงอาการ หรือข้อมูลที่จำเพาะเกี่ยวกับสุนัขของท่าน (การซักประวัติสัตว์ป่วย) ก่อนที่จะทำการตรวจร่างกายสุนัข ถ้าสัตวแพทย์สงสัยว่ามีปัญหาทางสุขภาพ หรือโรคหัวใจ อาจจะต้องมีการตรวจพิเศษเพื่อการวินิจฉัยโรคที่จำเพาะมากขึ้น เช่น การตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ เอ๊กเรย์ ตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) หรือตรวจวิธีการอื่นๆที่จำเป็น การตรวจร่างกายเป็นประจำ(ทุกปี)จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นที่จะทำให้สามารถตรวจพบ โรคหัวใจในสุนัขในระยะเริ่มต้นได้
โรคหัวใจของสุนัขสามารถรักษาได้หรือไม่
โรค หัวใจของสุนัขสามารถรักษาได้ แม้ว่าไม่มีการรักษาแบบใดๆ ที่สามารถรักษาโรคหัวใจของสุนัขได้ทุกชนิด การรักษาด้วยวิธีการต่างๆ หรือสมัยใหม่สามารถทำได้ ความสำเร็จของการรักษาโรคหัวใจสุนัขขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ ประการ แต่การตรวจพบปัญหาโรคหัวใจในระยะแรกๆจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุด เพราะจะเป็นการช่วยรักษาชีวิตสุนัขของท่านให้ยืนยาวต่อไปและมีความเป็นอยู่ ที่ดีขึ้น
ขอขอบคุณ โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล
ที่มา  www.bloggang.com

อัพเดทล่าสุด