กระแสความงามที่หนุ่มสาวสมัยใหม่ในสังคมต่างเรียกร้องโหยหาความงามของตนเอง ภายใต้หน้ากากที่ห่อหุ้มจากมลภาวะในสังคม จุดนี้เองจึงเกิดกระแสสร้างความงามด้วยเคมีขึ้น เมื่อวิเคราะห์ถึงความคุ้มค่าทางด้านราคาและความปลอดภัยแล้วทางเคมีแล้ว กลับมีผลเสียมากกว่าผลดีที่ได้ จึงทำให้หลายฝ่ายต่างหวนหาและย้อนกลับมาใช้ความคุ้มค่าจากสมุนไพรมากกว่าสาร เคมีจอมปลอม ด้วยความคุ้มค่าของสมุนไพรอย่างว่านหางจระเข้ จากภูมิปัญญาชาวบ้าน “ยาทา” บาดแผล เช่น แผลไฟไหม้หรือรอยขีดข่วน ตัดว่านหางจระเข้จะมีเมือกเหนียวๆ มีคุณสมบัติโปรงแสง เมื่อนำว่านหางจระเข้ปิดไว้ที่บาดแผล จะป้องกันเชื้อโรคไม่ให้เข้าไป และไม่ให้อาการรุนแรงมากขึ้น ลดการติดเชื้อ สลายพิษของเชื้อโรค มีส่วนช่วยบำรุงผิว บำรุงเส้นผมได้ดีอีกด้วย เหตุนี้ทางเมดิแคร์คลินิกเล็งเห็นความสำคัญของการใช้ สมุนไพรอย่าง “ว่านหางจระเข้” จึงได้คิดค้นเวชสำอางหลายชนิดที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติ โดย ส่วนที่นำมาใช้มี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 2. ส่วนที่เป็นวุ้น สารที่มีประโยชน์: สารอะโลอิน (aloin) และสารอื่นๆ มีฤทธิ์ยับยั้งเอ็นไซม์ ไทโรซิเนส (tyrosinase) ซึ่งอยู่ใต้ผิวหนัง สรรพคุณทางยา ส่วนที่เป็นวุ้น 1.ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อ ช่วยสมานห้ามเลือด ระงับปวด 2.รักษาโรคผิวหนัง,แผลเรื้อรัง,เริม,งูสวัด 3.ลบรอยแผลเป็น, แก้ผื่นคันจากการแพ้สารต่างๆ 4. แก้ขี้เรื้อนกวาง,ผื่นปวดแสบปวดร้อน,แก้พิษแมลง,แมงกะพรุน,ใบตำแย 5.รักษาโรคกระเพาะอักเสบ,ท้องผูก,บำรุงร่างกาย,ขับพิษ จากเอกสารทางประวัติ ศาสตร์ของอียิปต์ โรมัน กรีก แอลจีเรีย ตูนีเซีย อาหรับ อินเดียและจีน มีการรายงานใช้พืชนี้เป็นเครื่องสำอางและ ทั้งยา ในการรักษาแผลไฟลวก รักษาแผลทั่วไปและระงับความเจ็บปวด รวมทั้งรักษาโรคเรื้อนกวาง โรคนอนไม่หลับ กระเพาะอาหารทำงานไม่ปกติ ท้องผูก ริดสีดวงทวาร อาการคันที่ผิวหนัง ปวดหัว ผมร่วง โรคเหงือกและฟัน โรคไต ผิวหนังพอง ผิวถูกแดดเผา ผิวด่างดำ แผลมีดบาด ผื่นคัน สิว ผิวหนังเป็นด่างดำ ช่วยบำรุงผิวหนังในกรณีของโรคเรื้อน หรือแม้แต่พระนางคลีโอพัตราก็รักษาความงามและความมีเสน่ห์ของพระองค์ด้วย วุ้นของว่านหางจระเข้ |
ที่มา women.kapook.com |