สมุนไพรไทยว่านหางจระเข้ และ รากว่านหางจระเข้ ประโยชน์ล้นเหลือ !!


1,330 ผู้ชม


ว่านหางจระเข้

ลูกสาวคนดีไม่ค่อยสบายเป็นโรคเกี่ยวกับระบบกระเพาะอาหารและลำไส้มา ตั้งแต่เล็กๆ  หลวงพ่อวีระนนท์  ท่านเมตตาแนะนำให้เอาวุ้นของว่านหางจระเข้ที่ล้างสะอาด มาบดละเอียดผสมกับน้ำแดงให้ทานรักษาโรค  ในฉบับนี้เรามาทำความรู้จักพืชมหัศจรรย์ที่รักษาโรคได้หลายชนิดกันนะคะ

ว่านหางจระเข้เป็นพืชจัดอยู่ในกลุ่มตะบองเพชรเขตร้อน เป็นพืชที่ชาวบ้านได้นำมารักษา เกี่ยวกับบาดแผลต่าง ๆ มาเป็นเวลานานเป็นพันปี เช่น แผลจากไฟไหม้, น้ำร้อนลวก, แผลจากกัมมันตภาพรังสี, แผลเรื้อรังต่าง ๆ บาดแผลจากความเย็นของหิมะ ปรากฏว่าใช้ได้ผลดีมาก สามารถลบรอยแผลเป็นลงได้ด้วยค่ะ

ว่านหางจระเข้ เป็นพืชอัศจรรย์ที่มีสรรพคุณในการรักษาบาดแผล โรคกระเพาะอาหาร และล้างพิษ  เป็นต้นพืชที่มีเนื้ออิ่มอวบ จัดอยู่ในตระกูลลิเลี่ยม ( Lilium ) แหล่งกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและ บริเวณตอนใต้ของทวีปอาฟริกา พันธุ์ของว่านหางจระเข้มีมากมายกว่า 300 ชนิด ซึ่งมีทั้งพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่มากจนไปถึงพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่า 10 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของว่านหางจระเข้ก็คือ มีใบแหลมคล้ายกับเข็ม เนื้อหนา และเนื้อในมีน้ำเมือกเหนียว ว่านหางจระเข้ผลิดอกในช่วงฤดูหนาว ดอกจะมีสีต่างๆกัน เช่น เหลือง ขาว และแดง เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมัน

คำว่า " อะโล" ( Aloe ) เป็นภาษากรีซโบราณ หมายถึง ว่านหางจระเข้ ซึ่งแผลงมาจากคำว่า "Allal" มีความหมายว่า ฝาดหรือขม ในภาษายิว ฉะนั้นเมื่อผู้คนได้ยินชื่อนี้ ก็จะทำให้นึกถึงว่านหางจระเข้ ว่านหางจระเข้เดิมเป็นพืชที่ขึ้นในเขตร้อน  ต่อมาได้ถูกนำไปแพร่พันธุ์ในยุโรปและเอเชีย กลายเป็นพืชที่ปลูกกันทั่วโลกและทุกวันนี้กำลังเกิดกระแสนิยมว่านหางจระเข้เป็นจำนวนมาก

เหตุที่ได้รับความนิยมเพราะอุดมด้วยสารอาหารมากมาย ได้แก่ วิตามินเอ บี1 บี2 บี6 บี12 ซี และอี ขณะที่แร่ธาตุที่พบได้แก่ โซเดียม แมกนีเซียม และเซเลเนียม น้ำตาลที่มีสรรพคุณในการบำบัด โปรตีน และกรดอะมิโน และว่านหางจระเข้พันธุ์ที่นิยมใช้ในซีกโลกตะวันตกเรียกว่า aloe barbadensis miller

วุ้นและเมือกจากใบ มีสารพวกไกลโคโปรตีน (glycoprotein) ชื่อ อะลอคทินเอ (aloctin A) และ อะลอคทินบี (aloctin B) ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิ์ลดอาการอักเสบและช่วยสมานแผลโดยไปส่งเสริมการจับตัว และการเจริญเติบโตของเซลส์ที่บาดแผล ทำให้แผลหายเร็วขึ้น

ยางสีเหลืองในส่วนของเปลือกใบ มีสารจำพวกแอนทราควินดนน ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาระบายหลายชนิด เช่น อะโลอีโมดิน (aloe-emodin), อะโลซิน (aloesin), อะโลอิน (aloin) เป็นต้น

ว่านหางจระเข้เป็นเสมือนโรงงานอุตสาหกรรมจากธรรมชาติที่เต็มไปด้วยสาร เคมีที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย โดยเฉพาะจากวุ้นใสๆ ที่อยู่ภายในใบอันยาวหนา ปลายแหลม ซึ่งเต็มไปด้วยสารอล็อคติน อโลอิโมดิน อโลซิน อโลอิน ไกลโคโปรตีน และโพลีซัคคาไรด์ ที่มีฤทธิ์เร่งการจับตัวของเลือดและเร่งการเจริญเติบโตของเซลล์ร่างกาย ใช้ทาเพื่อสมานบาดแผลไฟไหม้ แผลที่เกิดจากความร้อน รังสีเอกซ์ รังสีจากสารกัมมันตรังสี น้ำร้อนลวก แมลงสัตว์กัดต่อย ฟกช้ำ หรือผิวหนังไหม้ที่เกิดจากถูกแดดเผา และยังมีสารบราดิไคนิเนส (Bradykininase) ที่ช่วยดูดพิษเพื่อลดการอักเสบของบาดแผลได้ดียิ่ง

สารอโลอัลซิน ช่วยยับยั้งการสังเคราะห์ฮิสตามีน และส่วนรากมีฤทธิ์บรรเทา อาการทางเดินปัสสาวะอักเสบ ยางสีเหลืองจากเปลือก มีสารแอนทราควิโนน ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้เป็นปกติ นอจากนั้น วุ้นจากว่านหางจระเข้ ยังช่วยบำรุงร่างกาย บรรเทาความอ่อนเพลีย เนื่องจากพักผ่อนน้อย รวมไปถึงการบำบัดแผลเรื้อรัง และแผลในกระเพาะอาหารได้เป็นอย่างดีค่ะ

จากเอกสารทางประวัติศาสตร์ของอียิปต์ โรมัน กรีก แอลจีเรีย ตูนีเซีย อาหรับ อินเดียและจีน มีการรายงานใช้พืชนี้เป็นเครื่องสำอางและ ทั้งยา ในการรักษาแผลไฟลวก รักษาแผลทั่วไปและระงับความเจ็บปวด รวมทั้งรักษาโรคเรื้อนกวาง โรคนอนไม่หลับ กระเพาะอาหารทำงานไม่ปกติ ท้องผูก ริดสีดวงทวาร อาการคันที่ผิวหนัง ปวดหัว ผมร่วง โรคเหงือกและฟัน โรคไต ผิวหนังพอง ผิวถูกแดดเผา ผิวด่างดำ แผลมีดบาด ผื่นคัน สิว ผิวหนังเป็นด่างดำ ช่วยบำรุงผิวหนังในกรณีของโรคเรื้อน หรือแม้แต่พระนางคลีโอพัตราก็รักษาความงามและความมีเสน่ห์ของพระองค์ด้วย วุ้นของว่านหางจระเข้ด้วยค่ะ

ต้นว่านหางจระเข้ที่จะนำมาใช้รักษาโรค ควรเป็นต้นที่ปลูกนานหนึ่งปีขึ้นไปค่ะ ต้นเล็กๆ ก็มีสรรพคุณในการรักษาเหมือนกัน แต่ต้นที่มีอายุมากสรรพคุณในการรักษาโรคก็จะมีมากขึ้นด้วยค่ะ ปกติควรใช้ใบล่างสุด เพราะเป็นใบที่แก่และใหญ่กว่าใบอื่น ซึ่งจึงมีเมือกมากและมีคุณค่าทางยามากกว่า เมื่อเราปอกเปลือกว่านหางจระเข้จนหมด จะเหลือส่วนที่เป็นเนื้อใสๆ ที่เรียกว่าวุ้น และเมื่อขูดวุ้นนี้ออกจะมีน้ำไหลออกมาเรียกว่า เมือก

ก่อนนำใบว่านหางจระเข้มาใช้ ต้องล้างให้สะอาดเสียก่อนนะคะ ใบว่านที่นำมาใช้ ยิ่งสดจากต้นเท่าไหร่ยิ่งดี ทั้งนี้เพราะใบที่ถูกตัดจากต้นแล้วสรรพคุณจะลดลงเรื่อยๆค่ะ

วิธีประหยัดต้นว่านหางจระเข้และทำให้มีสรรพคุณดีที่สุด คือ ตัดใบเอามาใช้เท่าที่จำเป็นและพอใช้ในหนึ่งวันเท่านั้นค่ะ วันรุ่งขึ้นหากต้องการใช้ ก็ไปตัดจากต้นมาใหม่ดีกว่าค่ะ

หากต้องการใช้เพียงเล็กน้อย แล้วตัดเอาออกมาทั้งใบ โดยเก็บส่วนที่เหลือไว้  วิธีนี้จะทำให้สิ้นเปลืองและใบว่านหางจระเข้จะมีสรรพคุณในการรักษาโรคลดลง ดังนั้น  ควรตัดใบออกมาเพียงเท่าที่จะใช้ เพราะวุ้นจากว่านหางจระเข้ที่นำไปแช่ตู้เย็น ก็เสื่อมสรรพคุณเร็วเช่นกันค่ะ

ลองรับประทานว่านหางจระเข้รักษาโรคและอาการต่อไปนี้ค่ะ

โรคกระเพาะ ลำไส้อักเสบ         โดยเอาใบมาปอกเปลือกออก เหลือแต่วุ้น แล้วใช้รับประทาน วันละ 2 เวลา ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ

 

โรคลำไส้แปรปรวน       ดื่มน้ำว่านหางจระเข้ช่วยบรรเทาอาการตะคริวที่ท้องและท้องอืด นอกจากนี้ยังมีสรรพคุณลดการอักเสบด้วย

แก้อาการปวดตามข้อ   โดยการดื่มว่านหางจระเข้ทั้งน้ำ วุ้น หรืออาจจะใช้วิธีปอกส่วนนอกของใบออก เหลือแต่วุ้น นำไปแช่ตู้เย็นให้เย็นๆ จะช่วยให้รับประทานได้ง่าย รับประทานวันละ 2-3 ครั้งๆ ละ 1-2 ช้อนโต๊ะ เท่ากับ 2 ช้อนแกง บางคนบอกว่า เมื่อรับประทานว่านหางจระเข้ อาการปวดตามข้อจะทุเลาทันที แต่หลายๆ

ไขข้ออักเสบ     ใช้เจลว่านหางจระเข้ทาบริเวณที่อักเสบ เนื้อเจลจะแทรกซึมเข้าสู่ผิว ช่วยบรรเทาอาการปวด แจน เดอ รีส์ ผู้เชี่ยวชาญด้าน Naturopathy ของ Health Plus กล่าว

โรคที่เกี่ยวกับผิวหนัง    บรรเทาอาการผิวหนังอักเสบ ลมพิษ และอื่นๆ ทาเจลว่านหางจระเข้เป็นประจำ นอกจากนี้ยังใช้นวดหนังศีรษะช่วยกำจัดรังแค

แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก และมีดบาด    ทาเจลว่านหางจระเข้บริเวณที่ถูกยุงกัด ถูกแดดเผา และแผลขีดข่วน เพราะว่านหางจระเข้มีสรรพคุณลดอาการปวด

ท้องผูก             ดื่มน้ำว่านหางจระเข้ทุกวันจะช่วยป้องกันท้องผูก เนื่องจากมีสรรพคุณเป็นยาระบาย

รักษาริดสีดวงทวาร      นอกจากจะช่วยรักษาแล้ว ยังช่วยบรรเทาอาการปวด อาการคันได้ด้วย โดยทำความสะอาดทวารหนักให้สะอาดและแห้ง ควรปฏิบัติหลังจากการอุจจาระ หรือหลังอาบน้ำ หรือก่อนนอน เอาว่านหางจระเข้ปอกส่วนนอกของใบ แล้วเหลาให้ปลายแหลมเล็กน้อย เพื่อใช้เหน็บในช่องทวารหนัก ถ้าจะให้เหน็บง่าน นำไปแช่ตู้เย็น หรือน้ำแข็งให้แข็ง จะทำให้สอดได้ง่าย ต้องหมั่นเหน็บวันละ 1-2 ครั้ง จนกว่าจะหาย

แก้ปวดศีรษะ    ตัดใบสดของว่านหางจระเข้หนาประมาณ ? เซนติเมตร ทาปูนแดงด้านหนึ่ง เอาด้านที่ทาปูนปิดตรงขมับ จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ

ป้องกันการถูกแดดเผา ใช้ ทาก่อนออกแดด อาจใช้ใบสดก็ได้ แต่การใช้ใบสดอาจจะทำให้ผิวหนังแห้ง เนื่องจากใบว่านหางจระเข้มีฤทธิ์ฝาดสมาน ถ้าจะลดการทำให้ผิวหนังแห้ง อาจจะใช้ร่วมกับน้ำมันพืช หรืออาจจะเตรียมเป็นโลชันให้สะดวกในการใช้ขึ้น

รักษาผิวหนังที่ถูกแดดเผา หรือไหม้เกรียมจากการฉายแสง       โดยการทาด้วยวุ้นของว่านหางจระเข้บ่อยๆ จะลดการอักเสบลง แต่ถ้าใช้วุ้นทานานๆ จะทำให้ผิวแห้ง ต้องผสมกับน้ำมันพืช ยกเว้นแต่จะทำให้เปียกชุ่มอยู่เสมอ

เป็นยังไงบ้างค่ะ  ได้รู้จักกับพลังบำบัดโรคของว่านหางจระเข้กันแล้ว  ลองเอาไปใช้ดูนะคะ  แล้วจะประทับใจกับความมหัศจรรย์ของพืชสมุนไพรค่ะ

ที่มา  gotoknow.org/blog

อัพเดทล่าสุด