ความดันสูงdischarge planning - ความดันสูง คือ จาก วิทยานิพนธ์ ไทย - อังกฤษ


1,499 ผู้ชม


รายละเอียดวิทยานิพนธ์
ชื่อวิทยานิพนธ์ การศึกษาแผนการพยาบาลเพื่อจำหน่ายผู้ป่วยต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของ ผู้ป่วย โรคความดันโลหิตสูง : โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน
A STUDY OF DISCHARGE PLANNING ON HEALTH-PROMOTING BEHAVIORS OF HYPERTENSIVE PATIENTS: SRISUNGWAL HOSPITAL, MAEHONGSON PROVINCE
ชื่อนิสิต นฤมล สมานิตย์
Naruemol Samanit
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา เพ็ญจันทร์ เสรีวิวัฒนา วท ม กรองได อุณหสูต Ed D นันทวัน สุวรรณรูป Ph D
Penchun Sereewiwatthana M Sc Krongdai Unhasuta Ed D Nantawon Suwonnaroop Ph D
ชื่อสถาบัน มหาวิทยาลัยมหิดล. บัณฑิตวิทยาลัย
Mahidol University. Bangkok (Thailand). Graduate School.
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชา วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. พยาบาลศาสตร์ (การพยาบาลผู้ใหญ่)
Master. Nursing Science (Adult Nursing)
ปีที่จบการศึกษา 2543
บทคัดย่อ(ไทย) ปัญหาสำคัญที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงคือปัญหาทางด้านพฤติกรรม สุขภาพ ซึ่งผู้ป่วยมักจะไม่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้และเกิดภาวะแทรกซ้อน รุนแรงตามมา ผู้วิจัยจึงจัดทำแผนการพยาบาลเพื่อจำหน่ายผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยได้ เกิดพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพอันเป็สเป้าหมายตามกรอบแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพ ของแพนเดอร์ กิจกรรมการพยาบาลในกระบวนการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยนี้ จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้เกิด การรับรู้สมรรถนะของตนเองและประโยชน์ของการกระทำพฤติกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพ โดยศึกษา ตั้งแต่วันที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจนกระทั่งได้รับการจำหน่าย จากโรงพยาบาล และกลับมาตรวจตามนัดอีกครั้งที่คลินิคโรคความดันโลหิตสูง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแผนการพยาบาลเพื่อจำหน่ายผู้ ป่วยต่อ พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคความดัน โลหิตสูงที่ถูกคัดเลือกจากเกณฑ์ที่กำหนดไว้ จำนวน 30 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่แพทย์รับไว้รักษา ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมชายและอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลศรีสังวาลย์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2543 เก็บข้อมูลก่อนและหลังการเข้าร่วม แผนการพยาบาลเพื่อจำหน่ายผู้ป่วยโดยใช้แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ ข้อมูลเหล่านั้น ได้ผ่านการวิเคราะห์ด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ เปรียบเทียบคะแนนก่อน/หลังการวิจัยด้วยค่าที (Paired t-test) จากผลการศึกษาพบว่า หลังจากที่กลุ่มตัวอย่างได้เข้าร่วมแผนการพยาบาลเพื่อจำหน่าย ผู้ป่วยแล้ว กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพสูงกว่าก่อนได้เข้าร่วมอย่างมีนัย สำคัญ ทางสถิติ ดังนั้นพยาบาลและบุคลากรทางด้านสาธารณสุข จึงควรจัดให้การวางแผนจำหน่าย ผู้ป่วยเข้าไปเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของการดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคความ ดันโลหิตสูง ทุกรายที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้เกิดพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ อย่างต่อเนื่อง เพื่อที่ผู้ป่วยจะสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้และป้องกันการเกิดภาวะ แทรกซ้อนรุนแรงต่อไป
บทคัดย่อ(English) A significant problem of hypertensive patients is health behavior. Poor health behavior influences uncontrolled blood pressure and target organ damage. Hence, discharge planning for hypertensive patients was designed by the researcher to achieve healthpromoting behaviors which are the end point of the action outcome in the Health Promotion Model of Pender. Nursing activities in discharge planning were applied perceived self efficacy and perceived benefits of action as the major motivational significance to enhance health-promoting behaviors. The subjects participated in the discharge planning process from admission until the follow-up at the hypertension clinic. The purpose of this descriptive research was to study discharge planning on healthpromoting behaviors of hypertensive patients. Thirty hypertensive subjects who were hospitalized in both male and female medical wards at Srisungwal hospital in Maehongson province from April to July 2000, were recruited by the purposive sampling technique. The health-promoting behaviors questionnaire was used to evaluate both pre and post test health-promoting behavior scores. The data was analyzed by using frequency distribution, percent, mean, standard deviation and paired t-test. The results found that after the subjects participated in discharge planning, their healthpromoting behaviors scores at post test were higher than pre test with a statistically significant difference. Therefore, nurses and health care professionals should integrate discharge planning into the care plan and enhance continuous health-promoting behaviors in hypertensive patients in order to control blood pressure, prevent severe complications, and target organ damage.
ภาษาที่ใช้เขียนวิทยานิพนธ์ 974-04-0235-6
จำนวนหน้าของวิทยานิพนธ์
ISBN 151 P.
สถานที่จัดเก็บวิทยานิพนธ์
คำสำคัญ DISCHARGE PLANNING, HEALTH-PROMOTING BEHAVIOR, HYPERTENSIVE PATIENTS
วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวข้อง
ที่มา  www.thaithesis.org

อัพเดทล่าสุด