ความดันสูงและการรักษา และวิธีการวัด ค่าความดันสูง ที่ถูกวิธี!!


1,010 ผู้ชม


การวัดความดันโลหิต
เมื่อ 10 ปีที่แล้วมาสมาคมโรคหัวใจและหลอดเลือดประเทศอเมริกาได้มีคำแนะนำวิธีการวัดความดันโลหิต การวัดความดันโลหิตสมัยก่อนจะใช้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการอบรบเป็นคนวัด และใช้เครื่องวัดความดันที่ทำจากสารปรอท จากการวิจัยพบว่าการวัดความดันโลหิตแบบเก่ายังมีข้อผิดพลาดดังนี้
    วิธีการวัดไม่ถูกต้อง
    เนื่องจากความดันโลหิตของคนไม่คงที่ตลอดเวลา บางครั้งสูงบางครั้งต่ำ
    ความดันมักจะสูงเมื่อผู้ป่วยไปพบแพทย์
ผลจากความไม่แน่นอนของการวัดความดันโลหิตที่โรงพยาบาลจึงมีแนวความคิดขึ้นสองแนวคือ
    ใหมีการวัดความดันที่อื่น นอกเหนือจากโรงพยาบาล และมีการวัดหลายๆครั้งเพื่อจะได้ค่าแท้จริงของความดันโลหิต
    ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดอัตโนมัติ
ชนิดของความดันโลหิต
Isolated Systolic Hypertension (ISH)
เมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น ความยืดหยุ่นของผนั้งหลอดเลือดจะลดลง ทำให้ความดันตัวบน systolic มีค่าสูงขึ้นขณะที่ความดันตัวล่าง diastolic มีค่าปกติ(ค่าบนมากกว่า 140 มม.ปรอท ส่วนค่าตัวล่างน้อยกว่า 90 มม.ปรอท) ช่องว่าระหว่างตัวบนและล่างกว้างขึ้น( systolic- diastolic) การรักษาขึ้นกับค่า systolic
ISH of the Young
เนื่องจากเด็กหรือวัยรุ่นมีการเจริญอย่างรวดเร็ว หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นยมากไม่เท่ากันระหว่างหลอดเลือดแดงใหญ่ และหลอดเลือดที่แขน ทำให้ความดัน systolic ที่แขนสูง ขณะที่ความดัน diastolic และค่าเฉลี่ยของความดันโลหิตปกติ(mean pressure)
Isolated Diastolic Hypertension (IDH)
เป็นภาวะที่ความดัน diastolic มากกว่า 90 มม.ปรอทในขณะที่ความดัน systolic ปกติ โดยปกติหากค่า diastolic สูงต้องให้การรักษาเพราะเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดโรคหลอดเลือด
White Coat Hypertension (WCH) or Isolated Office Hypertension
เป็นภาวะที่วัดความดันโลหิตที่บ้านมักจะต่ำกว่า 135/85 มม.ปรอท แต่เมื่อวัดความดันที่โรงพยาบาลมักจะมากกว่า 140/90 มม.ปรอท ภาวะนี้มักจะเป็นในคนที่เริ่มเป็นความดันโลหิตสูง(ร้อยละ 15-25 )คนกลุ่มนี้อาจจะกลายเป็นความดันโลหิตสูงดังนั้นจึงต้องมั่นวัดความดันโลหิต
Masked Hypertension or Isolated Ambulatory Hypertension
ภาวะนี้วัดความดันที่บ้านจะสูง แต่เมื่อวัดความดันที่โรงพยาบาลจะปกติ พบว่าภาวะนี้มักจะมีปัญหาเรื่องโรคหลอดเลือด
Orthostatic or Postural Hypotension
เป็นภาวะที่ความดัน systolic ลดลง 20 มม.ปรอท ความดัน diastolic ลดลง 10 มม.ปรอทในขณะที่เปลี่ยนจากนอนเป็นยืน 3 นาที ปัญหาที่เกิดคือกลุ่นคนเหล่านี้อาจจะมีความดันโลหิตที่สูงมากในขณะที่นอน แต่วัดความดันท่านั่งหรือยืนปกต
ิวิธีการวัดความดันโลหิต
การวัดความดันโลหิตโดยวิธีการฟังเป็นที่นิยมมา 100 ปี แต่กำลังถูกทดแทนด้วเครื่องมือใหม่ๆที่มีความแม่นยำยำสูงกว่า
การวัดความดันโลหิตโดยการฟังวิธี
การวัดทำได้โดยการใช้ผ้าพันรอบแขน สูบลมจะกระทั่งความดันสูงพอที่กดเส้นเลือดให้แฟมเลือดไม่ไหลผ่าน เมื่อค่อยๆปล่อยลมออกที่ละน้อยจนกระทั่งได้ยินเสียงเลือดผ่านหลอดเลือดเรียก phase I of the Korotkoff sounds ค่าที่วัดได้เป็นค่าความดัน systolic ซึ่งมีค่าต่ำกว่าค่าที่วัดจากภายในหลอดเลือด ส่วนค่า diastolic ค่าที่วัดได้สูงกว่าค่าที่วัดจากภายในหลอดเลือดเครื่องวัดความดันโลหิตที่ทำจากปรอท
Mercury Sphygmomanometers
ตลอดระยะเวลา 50 ปีไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงนอกจากจะมีการพัฒนาไม่ให้มีปรอทค้างในหลอดเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดขดลวด
Aneroid Sphygmomanometers
เครื่องชนิดนี้เมื่อใช้ไปนานๆค่าที่วัดได้จะไม่แน่นอนเพราะความเสื่อมของขดลวด ต้องนำมาเทียบกับค่าที่วัดได้จากเครื่องที่ทำจากปรอท
Hybrid Sphygmomanometers เป็นเครื่องวัดความดันโลหิตที่ใช้การได้ยินและเครื่อง electronic pressure gauge แทนปรอท เครื่องแบบนี้น่าจะทดแทนเครื่องที่ทำจากปรอท The Oscillometric Technique เป็นการวัดความดันโลหิตโดยการวัดแรงที่กระทำต่อผ้าที่พันแขน วิธีการวัดความดันโลหิตนี้ใช้วัดความดันโลหิตสำหรับผู้ป่วยในตึกผู้ป่วยหนัก
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นความดันโลหิตสูงและความดันโลหิตวัดได้อย่างไร
 ผู้ป่วยที่เป็นความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่ไม่มีอาการอะไรวิธีการที่จะทราบว่าเป็นความดันโลหิตสูงคือต้องวัดความดันโลหิต การวัดความดันสูงเพียงครั้งเดียวมิได้หมายความว่าคุณเป็นความดัน แต่เป็นการเตือนว่าคุณต้องเฝ้าระวังว่าความดันโลหิตสูงคุกคามคุณเข้าแล้ว  แพทย์จะวัดความดันโลหิตด้วยเครื่องมือที่เรียกว่า sphygmomanometer ร่วมกับหูฟัง ค่าที่วัดได้มีสองค่าคือ systolic/diastolic เช่น 140/80 มม.ปรอท โดยตัวแรกคือค่า systolic เป็นค่าความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัว ค่าหลังคือ diastolic เป็นค่าความดันโลหิตขณะที่หัวใจคลายตัว
เครื่องที่ใช้วัดความดันโลหิต
ยังแนะนำให้ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่ทำจากปรอท ส่วนเครื่องชนิดอื่นหากจะใช้ต้องเทียบกับค่าที่วัดได้จากปรอทก่อน
วิธีการวัดวิธีการวัดมีดังนี้ข้อควรปฏิบัติก่อนการวัดความดันโลหิต
    การจัดสิ่งแวดล้อม
สถานที่ใช้ตรวจต้องเงียบและเป็นส่วนตัว และต้องไม่มีปัจจัยที่จะทำให้ความดันโลหิตผันแปร
    เครื่องวัดต้องอยู่ในแนวสายตาหากสูงหรือต่ำไปจะทำให้การวัดคลาดเคลื่อน
    ความสูงของโต๊ะ เมื่อผู้ป่วยนั่งบนเก้าอี้และวางมือบนโต๊ะ แขนควรอยู่ในระดับหัวใจ ควรปรับความสูงของโต๊ะเพื่อให้ได้ตำแหน่งดังกล่าว
    ผู้ป่วยนั่งบนเก้าอี้ แขนที่จะวัดอยู่ในระดับหัวใจ
    การเตรียมการวัดและการพัก
เพื่อจัดการกับสิ่งที่จะทำให้การวัดความดันโลหิตผิดพลาดควรจะแนะนำผู้ป่วยดังนี้
    อุณหภูมิห้องต้องไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป
    ไม่ควรใส่เสื้อแขนยาวขณะวัดความดันโลหิต
    ขณะวัดไม่ควรมีความเครียด อาการเจ็บปวด ไม่ปวดปัสสาวะ
    ไม่ควรวัดความดันหลังอาหาร
    ต้องงดบุหรี่และกาแฟก่อนวัดความดันโลหิต 30 นาที
    ให้นั่งพัก 5 นาทีห้ามนั่งไข่วห้าง หลังพิงพนัก เท้าอยู่บนพื้น
    การเลือกขนาดของผ้าพันรัดแขน
ขนาดของผ้าพันรอบแขนจะมีผลต่อความดันขนาดที่เหมาะสมคือความกว้างต้องประมาณ40% ของเส้นรอบวงแขน ความยาวต้องอย่างน้อย 80% หากขนาดผ้าเล็กไปจะทำให้ค่าความดันโลหิตสูงเกินไป ปกติจะให้วัดแขนขวาเสมอ
    รอบแขน 22–26 cm,ใช้ผ้าขนาด "small adult" ขนาด—12 - 22 cm.
    รอบแขน 27–34 cm, ใช้ผ้าขนาด"adult" ขนาด—16 - 30 cm.
    รอบแขน 35–44 cm, ใช้ผ้าขนาด"large adult" ขนาด—16 - 36 cm.
    รอบแขน 45–52 cm,ใช้ผ้าขนาด"adult thigh" ขนาด—16 - 42 cm.
    การพันผ้ารัดแขน
    ควรจะแนะนำให้ผู้ป่วยใส่เสื้อแขนสั่นเมื่อมาวัดความดัน
    หากจะใส่เสื้อแขนยาวให้เป็นเสื้อคลุมที่สามารถถอดออกได้ง่าย
    ไม่ควรใช้วิธีรูดแขนเสื้อขึ้นไปเพราะจะทำให้ค่าความดันโลหิตที่วัดได้ไม่ถูกต้อง
    ให้คลำหลอดเลือดแดงที่แขนแล้วพันผ้าโดยให้ศูนย์กลางของผ้ากดทับเส้นเลือด
    ขณะพันต้องพันอย่างสม่ำเสมอไม่พันแน่นหรือหลวมเกินไป ปลายผ้าจะอยู่เหนือข้อศอก 2.5 ซม
    ระหว่างการใช้หูฟังระวังสัมผัสกับผ้าจะทำให้เกิดเสียงหลอก
    การเพิ่มความดันเข้าในผ้า
ก่อนที่จะวัดความดันโลหิตเรายังไม่ทราบว่าผู้ป่วยมีความดันโลหิตสูงหรือต่ำ
    เราจะใช้วิธีคลำหลอดเลือดแดงที่แขน
    พันผ้าให้ตรงกลางของผ้าตรงกับแนวทางของหลอดเลือดแดง
    แล้วบีบจนกระทั่งความดันไปอยู่ที่60 มิลิเมตรปรอท แล้วบีบลมเข้าไปทีละ 10 มิลิเมตรปรอทจนกระทั่งคลำชีพขจรไม่ได้
    แล้วจึงปล่อยลมออกด้วยอัตรา 2 มิลิเมตรปรอท
    จดค่าความดันที่เริ่มคลำได้ชีพขจร
    หลังจากนั้นจึงใช้หูฟังวางบนเส้นเลือดและบีบลมจนความดันสูงกว่าค่าที่จดไว้ 30 มิลิเมตรปรอทแล้วจึงปล่อยลมด้วยอัตราเร็ว 2 มิลิเมตรปรอท/วินาที
    เสียงแรกที่ได้ยินคือค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว(systolic) อีกค่าหนึ่งให้จดค่าความดันที่เสียงการเต้นหายไปเรียก (diastolic)
    ให้วัดความดันโลหิตค่า systolic/diastolic
    อีก 2 นาทีให้วัดความดันโลหิตซ้ำ ถ้าครั้งแรกและครั้งที่สองห่างกันเกิน 5 มม.ปรอทให้วัดครั้งที่ สาม
    ระหว่างการวัดความดันโลหิตไม่ควรจะมีการพูดคุย
ท่าที่ใช้วัดความดันโลหิต
ท่าที่ใช้วัดความดันโลหิตมีผลต่อค่าที่วัดได้ดังนี้
    เมื่อวัดความดันท่านั่ง ความดัน diastolic จะสูงกว่าท่านอน 5 มม.ปรอท
    เมื่อวัดความดันท่านั่ง ความดัน systolic จะสูงกว่าท่านอน 8 มม.ปรอท
    ความดันท่านั่งโดยที่ไม่ได้พิงพนักความดัน diastolic จะสูงขึ้น 6 มม.ปรอท
    การวัดความดันโลหิตเมื่อนั่งไขว้เท้า ความดัน systolic จะสูงขึ้น6-8 มม.ปรอท
    แขนต่ำกว่าหัวใจ(ระดับกลางหน้าอก) เช่นการห้อยแขน ความดันที่วัดได้จะสูงกว่าปกติ
    แขนสุงกว่าหัวใจ ค่าความดันโลหิตที่วัดได้จะต่ำกว่าปกติ
ควรจะวัดความดันกี่ครั้งดี
การวัดความดันหลายครั้งจะมีความแม่นยำมากกว่าการวัดความดันเพียงครั้งเดียว ค่าที่วัดได้ครั้งแรกจะสูงสุด ให้วัดซ้ำ อีกหนึ่งนาทีต่อมา หากทั้งสองค่าห่างกันมากกว่า 5 มม.ปรอทก็ให้วัดครั้งที่ 3 แล้วหาค่าเฉลี่ย
การวัดความดันที่บ้านด้วยตัวเอง
การวัดความดันด้วยตัวเองที่บ้านได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เนื่องจากเครื่องวัดความดันโลหิตได้มาตราฐานเพิ่มขึ้น ราคาไม่แพงมาก การวัดก็สามารถทำได้ง่าย ปัจจุบันเครื่องเหล่านี้เป็นแบบ oscillometric device การวัดให้วัด 3 ค่าแล้วหาค่าเฉลี่ย เครื่องที่ดีควรจะมีหน่วยความจำและสามารถพิมพ์รายงานเพื่อป้องกันคนไข้ที่จะบอกเฉพาะค่าความดันที่ดี ค่าความดันโลหิตที่วัดที่บ้านจะต่ำกว่าค่าที่วัดจากโรงพยาบาล จาการศึกษาพบว่าค่าความดันโลหิตที่วัดจากบ้านมีความสัมพันธ์โรคแทรกซ้อน ประโยชน์ที่ได้รับจากการวัดความดันโลหิตที่บ้าน
    เพื่อดูว่าฤทธิ์ของยาลดความดันโลหิตครอบคลุมถึงความดันดลหิตที่บ้านหรือไม่
    ทำให้ผู้ป่วยร่วมมือในการควบคุมความดันโลหิตสูง
    หากท่านเป็นคนวิตกกังวลมากไม่ควรจะวัดเอง
    ไม่แนะนำให้ท่านปรับยาลดความดันโลหิตเอง
Ambulatory BP (ABP) Measurement
คืการวัดความดันโลหิตที่มีเครื่องมือติดกับคนไข้วัดตลอด 24 ชั่วโมง การวัดความดันจะวัดทุก 15-30 นาทีทั้งเวลานอนและตื่น ค่าความดันจะเก็บไว้ในหน่วยความจำ ปกติความดันที่วัดที่บ้านจะต่ำกว่าที่วัดจากโรงพยาบาลประมาณ 5 มมปรอท
ประโยชน์ของการวัดความดันโลหิตที่บ้าน
    การวัดความดันชนิดนี้เหมาะสำหรับบุคคลที่ความดันสูงที่โรงพยาบาล แต่วัดที่บ้านพบว่าปกติ เพื่อตรวจว่าความดันโลหิตสูงหรือไม่
    ผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตแตกต่างกันระหว่างที่บ้านและที่โรงพยาบาล
    เพื่อค้นพบความดันโลหิตชนิด "non-dipping" pattern
ค่าความดันปกติสำหรับการวัดความดันชนิดนี้
ค่าปกติของการวัดความดันชนิด ABP
      ค่าที่ดี optimal     ค่าปกติ normal     ค่าผิดปกติabnormal
กลางวัน     <130/85     <135/85     >140/90
กลางคืน     <115/65     <127/70     >125/75
24 ชั่วโมง     <125/75     <130/80     >135/85
 
ผู้ที่มีความดันชนิด White Coat Hypertension (WCH) มักจะไม่ค่อยมีเรื่องอวัยวะเสียหาย คนปกติความดันโลหิตตอนกลางคืนจะต่ำกว่าเวลากลางวันประมาณร้อยละ 10 ผู้ที่เวลากลางคืนความดันลดลงน้อยกว่า 10 %เวลากลางวันจัดเป็น "non-dippers", ซึ่งจะสัมพันธ์กับโรคแทรกซ้อน
การวัดความดันโลหิตในกลุ่มคนต่างๆ
ผู้ที่สูงอายุ
ผู้สูงอายุมักจะมีความดันโลหิตชนิด White Coat Hypertension (WCH) ดังนั้นจึงต้องวัด 2 ครั้งในท่านั่งและหาค่าเฉลี่ย และควรจะวัดในท่ายืน เพราะว่าความดันในท่ายืนมักจะต่ำกว่าค่านั่ง
คนอ้วน
มักจะมีปัญหาเรื่องขนาดของผ้ามักจะมีขนาดเล็กเกินไป ทำให้ค่าความดันโลหิตที่วัดได้สูงเกินค่าเป็นจริง
เด็ก
ต้องเลือดของผ้าให้พอเหมาะกับแขนของเด็ก หากวัดความดันโลหิตแล้วพบว่าสูงไม่มาก และไม่มีอาการอาจจะต้องนัดมาวัดซ้ำ
ที่มา  www.siamhealth.net

อัพเดทล่าสุด