วิธีการรักษาโรคโลหิตจาง ด้วย สมุนไพรโรคโลหิตจาง แบบไทยๆ


1,004 ผู้ชม


เม่าหลวง  ผลโตสรรพคุณเยอะ
     เม่าหลวง
   วิธีการรักษาโรคโลหิตจาง ด้วย สมุนไพรโรคโลหิตจาง แบบไทยๆ

   เม่า  มีหลายสายพันธุ์  พบขึ้นตามป่าทุกภาคของประเทศไทย  ส่วนใหญ่ที่ขึ้นตาหัวไร่ปลายนา  เรียกกันว่า  เม่าไขีปลา  เม่าทุ่ง (ชุมพร - สงขลา)  มะเม่าข้าวเบ่, เท่าจัง (จันทบุรี)  และขะเม่าผา (ชลบุรี) พันธุ์นี้มีผลขนาดเล็ก  รสเปรี้ยวปนฝาด  เก็บจิ้มเกลือรับประทานอร่อยดี  ใบอ่อนและดอก  นำไปแกงรวมกับเห็ดถอบ  เห็ดไข่ห่านสีขาว และเห็ดไข่ห่านสีเหลือง  เพื่อช่วยให้มีรสเปรี้ยว  รับประทานอร่อยมาก  คนกลัวอ้วนกินดีนัก  สรรพคุณเฉพาะของเม่าไข่ปลา  ใบและผลสดต้มอาบแก้อาการโลหิตจาง  ซึด  เลือดไหลเวียนไม่ดี  ลำต้น  ราก  ขับปัสสาวะ  แก้กษัย  แก้ซางเด็ก  บำรุงไต   แก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย และแก้มดลูกพิการ  แพทย์ตำบลใช้ต้น  ราก  ต้มรับประทานเป็นยาขับปัสสาวะ  บำรุงไตดีมาก  ซึ่งเม่าไข่ปลา  มีชื่อวิทยาศาสตร์  คือ  ANTIDESMA  GHAESEMBILLA  GAERTN. อยู่ในวงศ์ STILAGINACEAE
         ส่วน  "เม่าหลวง"  หรือบางพื้นที่เรียกว่า  "เม่าควาย"  มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ANTIDESMA THWAITESEANUM อยู่ในวงศ์เดียวกับเม่าไข่ปลา เป็นไม้ในสายพันธุ์  "เบอร์รี่"  พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  มีลักษณะเด่นคือผลโตกว่ามะเม่าทุกพันธุ์  ซึ่งปัจจุบัน  "เม่าหลวง"  นิยมปลูกเก็บผลแปรรูปเป็นน้ำผลไม้เข้มข้น  เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพหลายอย่าง  "เม่าหลวง" มีสารอาหารเช่น วิตามิน  แร่ธาตุ และอื่น ๆ อีกมาก ล้วนมีประโยชน์ต่อร่างกาย  รวมทั้งเอาผลทำเป็นไวน์  ได้รับความนิยมจากผู้ดื่มมาก
ต้นเม่าหลวง
         ในส่วนของงานวิจัย  "เม่าหลวง"  หรือ  "เม่าควาย"  มีประโยชน์เยอะเช่น  เปลือต้น  หรือใบ  นำไปโขลกรวมกับพริกสด  น้ำปลาร้า  เรียกว่า  "ตำเมี่ยง"  กินในฤดูร้อน  อร่อยและช่วยลดอาการท้องเสียได้  ยาพื้นบ้าน  เอาเปลือกต้นเม่า  เป็นส่วนประกอบการทำ  ลูกประคบกับสมุนไพรหลายชนิด  คือ  นอกจากเปลือเม่าแล้ว  ได้แก่  เปลือกต้นกระบก, ใบหนาด, ใบเปล้าใหญ่, ใบมะขาม หัวกระเจียวแดง  หัวว่านหอม (ตูบมูบ)  หัวไพล  หัวขมิ้นย้อย  ขมิ้นชัน  กระเทียม พิมเสน  และการบูร  ทุกอย่างชั่งอัตราเท่ากัน  โขลกรวมกันหยาบ ๆ  ห่อผ้าทำลูกประคบ  ผ่อนคลาย  รักษาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเด็ดขาดนัก
         นอกจากนั้น  ในการศึกษา  ฤทธิ์ต้านเชื้อ  "เอชไอวี"  เชื้อแบคทีเรียของสมุนไพร  5  ชนิด  คือ มะเม่า, ฟ้าทะลายโจร, หญ้าแห้วหมู, ผักเป็ดแดง  และ  สายน้ำผึ้ง  พบว่า มะเม่า  กับ  สายน้ำผึ้ง  มีศักยภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันและมีฤทธิ์ต้านเชื้อ  "เอชไอวี"  ได้ดีมาก  ปัจจุบัน  "เม่าหลวง" หรือ "เม่าควาย" มีต้นขายที่ตลาดนัดไม้ดอกไม้ประดับ สวนจตุจักร  ทุกวันพุธ-พฤหัสบดี  บริเวณโครงการ 2  แผง "คุณพร้อมพันธุ์" ราคาสอบถามกันเอง ปลูกได้ในดินทั่วไป  เหมาะจะปลูกกินผลและใช้ประโยชน์ทางสมุนไพรตามสรรพคุณที่กล่าวข้างต้น
เม่าหลวง
ที่มา  :  คอมลัมน์เกษตรกรบนแผ่นกระดาษ  โดย "นายเกษตร"  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ

ที่มา  allknowledges.tripod.com

อัพเดทล่าสุด