อาการของโลหิตจาง - ภาวะโลหิตจางจากการขาดวิตามินบี12 ที่ควรทราบ!!


995 ผู้ชม


โลหิตจาง ( Anemia)

                                                            

                ถ้าหากคุณหน้าซีด ตัวซีด คุณอาจสงสัยว่าคุณเป็นโรคโลหิตจางหรือไม่   ภาวะโลหิตจางหมายถึง ภาวะความผิดปกติของเม็ดเลือดแดงหรือฮีโมโกลบินซึ่งเป็นส่วนประกอบของเม็ดเลือดแดงและมีหน้าที่นำพาออกซิเจนไปสู่เซลล์ต่างๆ  ตลอดจนแลกเปลี่ยนก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์   ทำให้เนื้อเยื่อในส่วนต่างๆของร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอและเกิดภาวะการคั่งของคาร์บอนไดออกไซด์  ดังนั้นคุณจึงรู้สึกเหนื่อยง่าย

                สาเหตุของภาวะโลหิตจาง นั้นได้แก่

1. เสียเลือดปริมาณมาก : ถ้าคุณเสียเลือดมากกว่า 1ใน 3 ของปริมาณเลือดทั้งหมดของร่างกาย จะทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้  ซึ่งสาเหตุของการเสียเลือดในปริมาณมากนั้นได้แก่ อุบัติเหตุ  แผลเรื้อรังในกระเพาะอาหาร  ประจำเดือน

2. มีการทำลายเม็ดเลือดแดงในปริมาณมากผิดปกติ : เมื่อใดก็ตามที่ม้ามทำลายเม็ดเลือดแดงมากกว่าปริมาณที่ถูกสร้างขึ้นใหม่เพื่อทดแทนของเก่า  ร่างกายจะมีจำนวนเม็ดเลือดแดงลดลง  ซึ่งสาเหตุหลักของภาวะดังกล่าวมักเกิดจากรูปร่างเม็ดเลือดแดงผิดปกติ (sickle cell anemia)

3. ความผิดปกติในการสร้างเม็ดเลือดแดง : สาเหตุหลักคือ ขาดสารอาหาร อันได้แก่ ธาตุเหล็ก ,  วิตามินบี 12   และ กรดโฟลิก 

                      ถ้าเราแบ่งประเภทของภาวะโลหิตจางตามภาวะการขาดสารอาหารนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ด้วยกัน  ได้แก่

                    1. ภาวะโลหิตจางเนื่องจากการขาดธาตุเหล็ก

          2. ภาวะโลหิตจางเนื่องจากขาดวิตามินบี 12

                    3. ภาวะโลหิตจางเนื่องจากขาดกรดโฟลิก

ภาวะโลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็ก เป็นภาวะโลหิตจางประเภทที่พบได้บ่อยที่สุด  (การตรวจทางห้องปฏิบัติการ จะเจาะเลือดวัดปริมาณเฟอร์ริทินในซีรัม)  ซึ่งมีสาเหตุเกิดจาก

Ø    ร่างกายต้องการธาตุเหล็กในปริมาณเพิ่มขึ้น  ซึ่งจะขึ้นในช่วงที่มีดารเจริญเติบโตสูงสุดของทารกและวัยรุ่น   ในหญิงตั้งครรภ์  ในสตรีที่ให้นมบุตร

Ø    การบริโภคอาหารที่ขาดธาตุเหล็กอยู่เป็นประจำ

Ø    การดูดซึมธาตุเหล็กลดลง (ซึ่งพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ) เนื่องจากมีการหลั่งของกรดเกลือ( กรดไฮโดรคลอริก)ในกระเพาะอาหารลดลง , ภาวะท้องเสียเรื้อรัง , การกินยาลดกรดในกระเพาะ เช่น ยาantacid

Ø    ภาวะที่มีการสูญเสียเลือด  ได้แก่ช่วงมีประจำเดือน   แผลในกระเพาะอาหาร

ผลกระทบต่อร่างกายสำหรับภาวะโลหิตจางประเภทนี้ คือ เนื้อเยื่อในส่วนต่างๆของร่าง  กายจะได้รับออกซิเจนลดลง  และเอนไซม์ที่มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบทำงานได้ไม่เต็มที่  ซึ่งมีผลต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน  การเรียนรู้ และระดับพลังงานลดลง

ภาวะโลหิตจางเนื่องจากขาดวิตามินบี 12

                สาเหตุ ได้แก่

Ø   ความผิดปกติในการดูดซึมวิตามินบี 12 (เป็นสาเหตุหลักที่พบได้บ่อยกว่าการบริโภคอาหารที่ขาดวิตามินบี 12 )  ทั้งนี้วิตามินบี 12 จะสามารถดูดซึมได้ดีต้องประกอบด้วย กรดเกลือในกระเพาะอาหาร , intrinsic factorที่ผลิตจากกระเพาะอาหาร , เอนไซม์ทริปซินซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ผลิตจากตับอ่อน , ลำไส้เล็กต้องแข็งแรง เนื่องจากการดูดซึมวิตามินบี 12 จะเกิดขึ้นที่บริเวณลำไส้เล็กตอนปลายโดยอาศัยintrinsic factor

หมายเหตุ  ภาวะโลหิตจางเนื่องจากขาดintrinsic factorซึ่งจำเป็นต่อการดูดซึมวิตามินบี 12  เรียกว่า  pernicious anemia

Ø   การบริโภคอาหารที่ขาดวิตามินบี 12  ซึ่งจะพบในผู้ที่รับประทานมังสวิรัติที่ไม่กินแม้แต่นมหรือไข่เลย  ซึ่งภาวะอาการเนื่องจากการขาดวิตามินบี 12 จะไม่ปรากฏในทันทีเนื่องจากร่างกายจะสะสมวิตามินบี 12 ไว้ที่ตับและไต ดังนั้นอาการต่างๆจะปรากฏขึ้นหลังจากนั้นประมาณ 5ปี )

อาการที่พบในผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้แก่  ซีด เหนื่อยง่าย  หายใจสั้นๆ  ลิ้นบวมเป็นแผลเจ็บ   ท้องเสีย มีผลกระทบต่อหัวใจและระบบประสาท คือจะมีอาการชา หรือเจ็บแป๊บที่แขนและขา   สับสน มีภาวะอัลไซเมอร์  มีผลต่อประสาทสัมผัสที่รับรู้ต่อการสั่นสะเทือน 

ภาวะโลหิตจางเนื่องจากขาดกรดโฟลิก

                สาเหตุ  ได้แก่

Ø   การดื่มสุรา เนื่องจากแอลกอฮอล์จะขัดขวางการดูดซึมกรดโฟลิก ตลอดจนขบวนการเมตาบอลิซึมของกรดโฟลิก

Ø   ขณะตั้งครรภ์ เนื่องจากร่างกายต้องการโฟลิกปริมาณที่มากขึ้นเพื่อใช้สร้างอวัยวะของเด็ก

Ø   ยา เช่น ยารักษามะเร็ง  ยารักษาลมชัก  ยาคุมกำเนิดชนิดกิน

Ø   ภาวะท้องเสียเรื้อรัง ทำให้เกิดความผิดปกติต่อการดูดซึมสารอาหาร

หมายเหตุ ภาวะโลหิตจางที่เกิดจากการขาดวิตามินบี 12 และกรดโฟลิก เรียกว่า macrocytic anemia

อาการของผู้ป่วยกลุ่มนี้ นอกจากจะมีอาการเหมือนผู้ป่วยโลหิตจางชนิดอื่นแล้ว ยังมีอาการท้องเสีย  หดหู่และซึมเศร้าร่วมด้วย

การบำบัดโลหิตจางด้วยอาหาร

                อาหารที่ดีที่สุดสำหรับผู้มีภาวะโลหิตจางคือ ตับลูกวัว เนื่องจากประกอบด้วยธาตุเหล็กและวิตามินบีในปริมาณสูง ซึ่งสามารถใช้ได้กับผู้มีภาวะโลหิตจางทุกประเภท  ปัจจุบันมีการสกัดตับลูกวัวให้อยู่ในรูปของเหลวซึ่งจะดูดซึมได้ง่ายขึ้น และปราศจากไขมัน คลอเลสเตอรอลและวิตามินที่ละลายในไขมัน (จากความเข้าใจเดิมที่ตับเป็นแหล่งสะสมสารพิษ ดังนั้นจึงไม่เหมาะแก่การบริโภค นั้นเป็นเรื่องที่ผิด เนื่องจากที่จริงแล้ว ตับสามารถขับสารพิษออกจากตัวมันได้อย่างรวดเร็ว  และถ้าในกรณีที่ตับไม่สามารถขับสารพิษได้ทัน  สารพิษเหล่านี้จะถูกส่งไปเก็บที่เซลล์ไขมัน ไม่ถูกเก็บที่ตับอย่างที่เข้าใจกัน)

                นอกจากตับลูกวัวแล้ว ผักสีเขียวเข้ม จัดเป็นอาหารที่เหมาะสำหรับผู้มีภาวะโลหิตจางเช่นกัน เนื่องจากเป็นแหล่งของธาตุเหล็ก กรดโฟลิก และคลอโรฟิลล์ (คลอโรฟิลล์เป็นสารที่มีโมเลกุลคล้ายกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง)

ภาวะโลหิตจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็ก

                ควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ตับ ผักสีเขียวเข้ม  ถั่วแห้ง  เนื้อไม่ม่มัน เครื่องใน ผลไม้แห้ง อัลมอนด์ สัตว์น้ำมีเปลือก(กุ้ง ปู หอย)

                หลีกเลี่ยงอาหารที่ยับยั้งการดูดซึมธาตุเหล็ก ได้แก่ ชา กาแฟ ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร  การบริโภคแคลเซียมเสริมในปริมาณที่มากเกินไป

ภาวะโลหิตจางเนื่องจากขาดวิตามินบี 12

                แหล่งของวิตามินบี 12 ส่วนใหญ่จะมาจากสัตว์ ซึ่งอาหารที่มีวิตามินบี 12 เยอะที่สุด คือ ตับและไต รองลงมาคือ ไข่ ปลา ชีส เนื้อสัตว์   สำหรับผู้ที่กินมังสวิรัติอย่างเคร่งครัดแล้ว คุณจะได้รับวิตามินบี 12 จากอาหารหมักประเภท tempeh  miso

ภาวะโลหิตจางเนื่องจากขาดกรดโฟลิก

                ควรบริโภคอาหารที่มีโฟลิกสูง ได้แก่ ตับ หน่อไม่ฝรั่ง ถั่วแห้ง ผักเขียวเข้ม เมล็ดธัญญพืชต่างๆ    และสำหรับผัก ผลไม้แล้วคุณควรรับประทานสดโดยยังไม่ผ่านความร้อนหรือการหุงต้ม เนื่องจากความร้อนและแสงแดดจะทำลายกรดโฟลิกที่มีอยู่ในผัก ผลไม้

                อาหารที่มีโฟลิกในปริมาณน้อยมาก คือ เนื้อสัตว์โดยส่วนใหญ่ นม ไข่ ผักกินหัว  ดังนั้นหากคุณรับประทานแต่อาหารเหล่านี้เป็นประจำอาจทำให้คุณขาดกรดโฟลิกได้

ที่มา  www.goodhealth.co.th

อัพเดทล่าสุด