ที่ประชุมวุฒิสภาผ่านร่างกฎหมายลูกกทั้ง 3 ฉบับบ โดยมีมติยืนตามร่างของ ส.ส.ให้การเลือกตั้งล่วงหน้าเหลือเพียงแค่ 1 วัน เพราะห่วงการทุจริต
การประชุมวุฒิสภาโดยมี นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิ ทำหน้าที่ประธานการประชุม เพื่อพิจารณา พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งทั้ง 3 ฉบับ ที่คณะกรรมาธิการของวุฒิสภาพิจารณาเสร็จแล้ว เริ่มต้นด้วยร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่งส.ว. โดยส.ว.ที่สงวนคำแปรญัตติ ได้อภิปรายในมาตรา 7 การเลือกตั้งล่วงหน้า ตามที่มีการแก้ไขลดวันเลือกตั้งล่วงหน้าจาก 2 เหลือ 1 วัน ให้ผู้ต้องการใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า เฉพาะการเลือกนอกเขตจังหวัด จะต้องมีการลงทะเบียนก่อนเท่านั้น โดย ส.ว.ที่สงวนคำแปรญัตติเห็นว่าการเลือกตั้งล่วงหน้ามักมีการทุจริต จึงขอให้ตัดมาตรา 7 ออก แต่กรรมาธิการมีความเห็นว่าการเลือกตั้งล่วงหน้าไม่ควรมี แต่ควรยกเว้นเฉพาะข้าราชการ ทหาร ตำรวจที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เลือกตั้งล่วงหน้าได้ โดย นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหาติ งว่า หากจะตัดมาตรา 7 ออกควรให้สมาชิกอภิปรายเพราะเป็นเรื่องใหญ่ ทำให้ประธานเสนอให้พักการประชุม 10 นาที เพื่อหาทางออก
จากนั้นนายจิตติพจน์ วิริยะโรจน์ ประธานกรรมาธิการฯ แจ้งว่า กรรมาธิการเห็นควรคงตามร่างที่กรรมาธิการพิจารณา ประธานจึงให้ที่ประชุมลงมติว่า จะเห็นด้วยตามที่กรรมาธิการหรือไม่ ปรากฏว่าที่ประชุมมีความเห็นให้คงไว้ตาม ร่างที่กรรมาธิการพิจารณาด้วยคะแนนเสียง 74 ต่อ 3 เสียง
ส่วนมาตรา 32 วรรค1 ว่าด้วยเรื่องของการกำหนดให้เฉพาะข้าราชการ ที่สามารถลงคะแนนเสียงเลือกตั้งล่วงหน้าได้เท่านั้น ทางกรรมาธิการแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับกรรมาธิการที่มีการแก้ไข โดยเห็นว่าเป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพมากเกินไป แต่กรรมาธิการยืนยันว่าเป็นสิทธิหน้าที่ของประชาชน ไม่ต้องการให้กระทบสิทธิ์แต่อย่างใด ซึ่งการเลือกตั้งเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องไปเลือกตั้งทั่วประเทศ แต่ตรงนี้เป็นเพียงข้อยกเว้นของบางกลุ่มเท่านั้นที่เขาต้องไปปฏิบัติหน้าที่นอกเขต ยืนยันว่าเคารพในสิทธิของผู้ที่จะเลือกตั้งแต่ที่กำหนดเช่นนี้เพื่อให้บุคคลที่มีคำสั่งราชการไปนอกเขตเลือกตั้งเท่านั้นที่มีสิทธิ์เลือกตั้งนอกเขต ไม่เช่นนั้นก็จะมีคนอ้างสิทธิ์เพื่อขอไปใช้สิทธิ์นอกเขตการเลือกตั้งได้ ทั้งที่วันเลือกตั้งก็มีการกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการอยู่แล้ว
อย่างไรก็ตามในที่สุดที่ประชุมวุฒิสภา ได้มีมติ 82 ต่อ 33 เสียงไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 32/1 ของกรรมาธิการฯและให้คงร่างเดิมของสภาฯ
กกต.แฉขรก.ชั้นผู้ใหญ่วางตัวไม่เป็นกลาง รับหนักใจการทุจริตเลือกตั้งล่วงหน้าP { margin: 0px; }
เมื่อวันที่ 9 พ.ค. ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นายสมชัย จึงประเสริญ กกต.ด้านกิจการสืบสวนสอบสวนและวินิจฉัย กล่าวถึงการตั้งศูนย์ปฏิบัติการการเลือกตั้งขึ้นมา ซึ่งมีทั้งส่วนกลาง และส่วนจังหวัด โดยได้รับรายงานเรื่องการทุจริต ทั้งในส่วนของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านมีการจัดการประชุมช่วยผู้สมัครในการหาเสียง แต่ขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายเลือกตั้ง ก็อาจนำไปสู่ปัญหาการซื้อเสียงล่วงหน้าได้ ซึ่งกกต.รู้สึกหนักใจในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างมาก แต่กกต. ก็ไม่สามารถเข้าไปจัดการได้ แต่ขณะเดียวกันกกต. ด้านสืบสวนสอบสวนก็กำลังพิจารณาหาแนวทางในการแก้ปัญหานี้
“ผู้ใหญ่ที่มีพฤติการณ์วางตัวไม่เป็นกลาง ช่วยเหลือพรรคการเมืองหนึ่ง พรรคการเมืองใด ก็เป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสม ซึ่งข้าราชการควรจะวางตัวเป็นกลาง ก็ได้รับรายงานว่าในหลายจังหวัดที่ผู้ใหญ่ลงไปช่วยหาเสียงให้พรรคการเมืองหนึ่ง พรรคการเมืองใด ผู้สมัครคนหนึ่ง คนใดแล้ว ก็อยากฝากไปยังผู้ใหญ่ในบ้านเมืองว่าเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ควรวางตัวให้ดี เพื่อสร้างวัฒนธรรมของการเมือง การปกครองของประเทศเรา เพราะหากผู้สมัครมีความผิด ข้าราชการเหล่านั้น ก็จะมีความผิดตามไปด้วยทั้งวินัย และอาญา ทั้งนี้ ยืนยันว่า กกต. จะให้ใบเหลืองใบแดงทันที ก่อจะมีการรับรองออกมา เพื่อไม่ให้ผู้สมัครที่กระทำผิด มีโอกาสไปโหวตเลือกผู้บริหารประเทศ” กกต. ด้านสืบสวนสอบสวน กล่าว
เมื่อถามว่าในเบื้องต้นจะจัดการแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้หรือไม่ นายสมชัย กล่าวว่า แม้จะยังไม่มีกฎหมายเลือกตั้ง แต่กกต. สามารถรวบรวมข้อมูลหลักฐานไว้ประกอบการพิจารณา เมื่อมีการร้องเรียนคัดค้านขึ้นมาในขณะที่มี พ.ร.ฎ.ยุบสภา และ พ.ร.ฎ.เลือกตั้ง เพราะอาจเข้าข่ายความผิดตามกฎหมายประกอบพรรคการเมือง ตามมาตรา 94 และ 95 หรือไม่ ทั้งนี้ อาจนำไปสู่การยุบพรรคได้ ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างการศึกษา
เมื่อถามถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทย เรียกร้องให้กกต.ตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจสอบการจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้ง นายสมชัย กล่าวต่อว่า ในส่วนการจัดพิมพ์บัตรเลือกตั้ง กกต. ได้ตั้งกรรมการตรวจสอบอยู่แล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้มีการตั้งบาร์โค๊ต เพื่อเป็นป้องกันการทุจริต ซึ่งไม่สามารถเปิดเผยได้ รวมทั้งมีมาตรการตรวจสอบที่เรียกว่า “ดับเบิ้ลเช็ค” โดยส่วนตัวเชื่อว่าหากมีการร้องเรียนเข้ามาจริง กกต.ก็สามารถตรวจสอบได้ว่าบัตรเลือกตั้งนั้นๆ เป็นบัตรจริงหรือไม่ มีการจัดพิมพ์เพิ่มเติมหรือไม่ นอกจากนี้ การพิมพ์บัตรแต่ละครั้งก็มีคณะกรรมการในการตรวจสอบอยู่แล้ว