ลงทะเบียน เลือกตั้งล่วงหน้า 54 วันเลือกตั้งล่วงหน้า ขั้นตอนการเลือกตั้งล่วงหน้านอกเขตจังหวัด


883 ผู้ชม


วันที่ 26 มิถุนายน กกต.กำหนดให้เป็นวันไปใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า การเลือกตั้งครั้งนี้ กำหนดการใช้สิทธิ เลือกตั้งล่วงหน้าเพียงวันเดียว ซึ่งผู้ที่ไม่สามารถไปเลือกในวันที่ 3 ก.ค. ได้ ต้องไปยื่นคำร้อง ลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า ระหว่างวันที่ 13-17 มิ.ย. ที่สำนักงานเขต หรือ สำนักทะเบียนที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ต้องมีเอกสารหลักฐานที่สามารถแสดงได้ว่าไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิในวันเลือกตั้งจริงได้

ส่วนผู้ที่จะใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกประเทศต้องแจ้งความประสงค์ที่สถานทูต หรือสถานกงสุลประจำประเทศนั้น ๆ โดยปัจจุบัน มีคนไทยในต่างประเทศอาศัยอยู่ทั่วโลกประมาณ 1 ล้านคน และขณะนี้มีคนไทยไปลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งนอกราชอาณาจักรเพิ่มเป็น 120,000 คนแล้ว

ไทยพีบีเอส ทำการสำรวจความเห็นประชาชน ในเขตบางกะปิ ซึ่งเป็นเขตที่มีประชาชน มีภูมิลำเนาต่างจังหวัดจำนวนมาก เพราะมีสถานประกอบการและสถาบันการศึกษาใหญ่หลายแห่ง สำนักงานเขตจึงรณรงค์เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลเรื่องการเลือกตั้งให้กับประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบ

ด้าน น.ส.กนกวรรณ ศรีสุวรรณ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เปิดเผยว่า เคยใช้สิทธิเลือกตั้งมาแล้ว แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่สะดวกไปเลือกตั้งในวันที่ 3 กรกฎาคม เพราะไม่สามารถหยุดทำงานได้ ทำให้ต้องยื่นลงทะเบียนขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า ที่ทางมหาวิทยาลัย อำนวยความสะดวกเรื่องสถานที่ไว้ให้

ขณะที่นายเทียนศักดิ์ ปัญญาศานติ นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง อายุ 18 ปี ซึ่งตามที่เป็นการใช้สิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรก ขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า เพราะไม่สามารถไปเลือกตั้งในวันจริงได้ ซึ่งขั้นตอนการลงทะเบียนอาจทำให้ยุ่งยาก แต่เมื่อได้รับฟังคำชี้แจงจากเจ้าหน้าที่เขตบางกะปิ ทำให้เข้าใจขั้นตอนได้มากขึ้น

ส่วน น.ส.จิตราภรณ์ อ้อยงาม พนักงานบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง กล่าวว่า เบื่อเรื่องการเมือง โดยการเลือกตั้งครั้งนี้ได้ ยื่นขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า และหวังว่าการเลือกตั้งครั้งนี้นักการเมือง จะเข้ามาแก้ปัญหาปากท้อง

ทั้งนี้ เขตบางกะปิ เป็นพื้นที่ชุมชน และเป็นที่ตั้งของสถาบันการศึกษาขนาดใหญ่ และสถานประกอบการหลายแห่ง ประชากรมีความหลากหลายทั้งอายุ และอาชีพ แต่สถิติผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า อยู่ในอันดับแรก โดยการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ.2550 มีผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า 90,000 คน เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความตื่นตัวและเห็นความสำคัญของสิทธิและหน้าที่ของพลเมืองไทย 

นายประพันธ์ นัยโกวิท กกต.ด้านกิจการบริหารการเลือกตั้ง แถลงถึงการขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าว่า กกต.กำหนดวันเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 26 มิ.ย. ซึ่งผู้ที่มีเหตุไม่สามารถไปเลือกในวันที่ 3 ก.ค.ได้นั้น สามารถยื่นคำร้องได้ 3 ช่องทาง คือ สามารถยื่นด้วยตนเอง มอบอำนาจให้ผู้อื่นยื่นแทน และการส่งทางไปรษณีย์แบบลงทะเบียน
นายประพันธ์ระบุว่าการลงคะแนนล่าวหน้าจะแบ่งเป็นสามกลุ่ม ประกอบด้วย
1. ผู้ที่จะลงคะแนนเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตที่จะต้องลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้า ระหว่างวันที่ 13-17 มิ.ย. ที่สำนักงานเขต หรือสำนักทะเบียนที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งของตนเอง โดยจะต้องมีเอกสาร หลักฐานที่สามารถแสดงได้ว่าไม่สามารถเดินทางไปใช้สิทธิในวันเลือกตั้งจริงได้ แต่หากยื่นลงทะเบียนเลือกตั้งล่วงหน้าแล้ว แต่มีเหตุให้เลือกตั้งในวันเลือกตั้งล่วงหน้าไม่ได้ ยังสามารถเลือกตั้งในวันที่ 3 ก.ค.ได้ ส่วนในกลุ่มที่
2. ผู้ที่จะใช้สิทธิเลือกตั้งนอกเขตจังหวัดสำหรับผู้ที่อยู่นอกภูมิลำเนาหรือย้ายจากภูมิลำเนาเดิมไม่ถึง 90 วัน ก่อนวันเลือกตั้ง สามารถยื่นคำขอลงทะเบียนได้ ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 2 มิ.ย. ที่สำนักงานทะเบียนอำเภอ หรือสำนักงานท้องถิ่น ที่ตนอาศัยอยู่ หากไม่ลงทะเบียนในวันดังกล่าว ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งในภูมิลำเนาเดิม ส่วนผู้ที่เคยลงทะเบียนเลือกตั้งนอกเขตไว้เมื่อการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2550 แล้วไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนใหม่ แต่หากมีการย้ายสถานที่ทำงาน หรือย้ายกลับภูมิลำเนา จะต้องแจ้งการใช้สิทธิใหม่ที่สำนักงานเขต หรือสำนักงานทะเบียนท้องถิ่นที่ตนทำงานอยู่
3. การใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้านอกราชอาณาจักร โดยผู้ที่ประสงค์จะใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้า จะต้องแจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าที่สถานทูต หรือสถานกงสุลประจำประเทศนั้นๆ โดยสถานทูต หรือสถานกงศุลก็จะพิจาณาวันเลือกตั้งล่วงหน้า ตั้งแต่วันที่ 12 มิ.ย. เป็นต้นไป แล้วแต่สถานทูตจะพิจารณา ทั้งนี้ ในการเลือกตั้งเป็นหมู่คณะ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งจะต้องมอบอำนาจให้ทางสำนักงานเป็นผู้ดำเนินการเพื่อส่งชื่อไปตามสำนักทะเบียนในท้องที่นั้นๆ

อัพเดทล่าสุด