ความแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ (สำหรับทำรายงาน) พร้อมรูปภาพประกอบ


4,521 ผู้ชม


ข้อมูลและสารสนเทศมีความแตกต่างกันอย่างไร

ข้อมูลหมายถึงอะไร

ข้อมูล (Data)   หมายถึง   ข้อเท็จจริงหรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของสถานที่       ฯลฯ โดยอยู่ในรูปแบบที่ เหมาะสมต่อการสื่อสาร การแปลความหมายและการประมวลผล    ซึ่งข้อมูลอาจจะ      ได้มาจากการสังเกต การรวบรวม การวัด ข้อมูลเป็นได้ทั้งข้อมูลตัวเลขหรือสัญญลักษณ์ใด ๆ ที่สำคัญจะ
      ต้องมีความเป็นจริงและต่อเนื่องตัวอย่างของข้อมูล เช่น คะแนนสอบ ชือนักเรียน  เพศ  อายุ เป็นต้น          

    สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านกระบวนการประมวลผลแล้ว อาจใช้วิธีง่าย ๆ       เช่น หาค่าเฉลี่ยหรือใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การวิจัยดำเนินงาน  เป็นต้น  เพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพข้อมูลทั่วไป     ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์หรือมีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจหตือตอบ
     ปัญหาต่าง ๆ ได้ สารสนเทศประกอบด้วยข้อมูลเอกสาร เสียง หรือรูปภาพต่าง ๆ แต่จัดเนื้อเรื่องให้อยู่ใน รูปที่มีความหมาย  สารสนเทศไม่ใช่จำกัดเฉพาะเพียงตัวเลขเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

      คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี
     1. ความถูกต้อง หากมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วข้อมูลเหล่านั้นเชื่อถือไม่ได้จะทำให้เกิดผลเสีย  อย่างมาก ผู้ใช้ไม่กล้าอ้างอิงหรือนำเอาไปใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นเหตุให้การตัดสินใจของผู้บริหารขาดความแม่นยำ และอาจมีโอกาสผิดพลาดได้ โครงสร้างข้อมูล ที่ออก แบบต้องคำนึงถึงกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ได้ความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด   โดยปกติความผิดพลาดของสารสนเทศส่วนใหญ่มาจากข้อมูลที่ไม่มีความถูกต้องซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากคนหรือเครื่องจักร การออกแบบ
            ระบบจึงต้องคำนึงถึงในเรื่องนี้
     2. ความรวดเร็ว  และเป็นปัจจุบัน การได้มาของข้อมูลจำเป็นต้องให้ทันต่อความต้องการของผู้ใช้
            มีการตอบสนองต่อผู้ใช้ได้ตีความหมายสารสนเทศได้ทันต่อเหตุการณ์หรือความต้องการ
            มีการออกแบบระบบการเรียนค้น และรายงานตามผู้ใช้

    3. ความสมบูรณ์  ความสมบูรณ์ของสารสนเทศขึ้นกับการรวบรวมข้อมูลและวิธีการทางปฏิบัติด้วย
           ในการดำเนินการจัดทำสารสนเทศต้องสำรวจและสอบถามความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อให้ได้
           ข้อมูลที่สมบูรณ์ในระดับหนึ่งที่เหมาะสม
    4. ความชัดเจนและกะทัดรัด  การจัดเก็บข้อมูลจำนวนมากจะต้องใช้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลมาก
           จึงจำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างข้อมูลให้กะทัดรัดสื่อความหมายได้  มีการใช้รกัสหรือย่นย่อข้อมูล
           ให้เหมาะสมเพื่อที่จะจัดเก็บเข้าไว้ในระบบคอมพิวเตอร์
     5. ความสอดคล้อง ความต้องการเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการสำรวจเพื่อหาความต้องการ
          ของหน่วยงานและองค์การดูสภาพการใช้ข้อมูลความลึกหรือความกว้างของขอบเขตของข้อมูล
          ที่สอดคล้องกับความต้องการ  

1. การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล ควรประกอบด้วย
            1.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นเรื่องของการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งมีจำนวนมาก และต้องเก็บให้
                  ได้อย่างทันเวลา เช่น ข้อมูลการลงทะเบียนเรียนของนักเรียน ข้อมูลประวัติบุคลากร ปัจจุบัน
                  มีเทคโนโลยีช่วยในการจัดเก็บอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น การป้อนข้อมูลเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
                  การอ่านข้อมูลจากรหัสแท่ง การตรวจใบลงทะเบียนที่มีการฝนดินสอดำในตำแหน่งต่าง ๆ
                  เป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเช่นกัน
           1.2 การตรวจสอบข้อมูล เมื่อมีการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วจำเป็นต้องมีการตรวจสอบข้อมูล  
                  เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง ข้อมูลที่เก็บเข้าในระบบจะต้องมีความเชื่อถือได้ หากพบ
                 ที่ผิดพลาดต้องแก้ไข การตรวจสอบข้อมูลมีหลายวิธี   เช่น  การใช้ผู้ป้อนข้อมูลสองคน
                 ป้อนข้อมูลชุดเดียวกันเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วเปรียบเทียบกัน
     2. การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ  อาจประกอบด้วยกิจกรรม
            ดังต่อไปนี้
           2.1 การจัดแบ่งข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สำหรับ
                    การใช้งาน การแบ่งแยกกลุ่มมีวิธีการที่ชัดเจน เช่น ข้อมูลในโรงเรียนมีการแบ่งเป็นแฟ้ม
                    ประวัตินักเรียน และแฟ้มลงทะเบียน สมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองมีกรแบ่งหมวดหมู่
                    สินค้า และบริการ เพื่อความสะดวกในการค้นหา
           2.2 การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มแล้ว ควรมีการจัดเรียงข้อมูลตามลำดับ
                   ตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา  ตัวอย่าง
                   การจัดเรียงข้อมูล เช่น การจัดเรียงบัตรข้อมูลผู้แต่งหนังสือในตู้บัตรรายการของ
                   ห้องสมุดตามลำดับตัวอักษร การจัดเรียงชื่อคนในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์
                   ทำให้ค้นหาได้ง่าย
           2.3 การสรุปผล บางครั้งข้อมูลที่จัดเก็บมีเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือ
                   สร้างรายงานย่อ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์   ข้อมูลที่สรุปได้นี้อาจสื่อความหมายได้ดีกว่า
                   เช่นสถิติจำนวนนักเรียนแยกตามชั้นเรียนแต่ละชั้น
           2.4 การคำนวณ ข้อมูลที่เก็บมีเป็นจำนวนมาก ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถ
                   นำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ ดังนั้นการสร้างสารสนเทศจากข้อมูล
                   จึงอาศัยการคำนวณข้อมูลที่เก็บไว้ด้วย

3. การดูแลรักษาสารสนเทศเพื่อการใช้งาน ประกอบด้วย
            3.1 การเก็บรักษาข้อมูล การเก็บรักษาข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาบันทึกเก็บไว้ในสื่อบันทึก
                  ต่างๆ เช่น แผ่นบันทึกข้อมูล  นอกจากนี้ยังรวมถึงการดูแล และทำสำเนาข้อมูล
                  เพื่อให้ใช้งานต่อไปในอนาคตได้
            3.2 การค้นหาข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บไว้มีจุดประสงค์ที่จะเรียกใช้งานได้ต่อไปการค้นหา
                  ข้อมูลจะต้องค้นได้ถูกต้องแม่นยำ รวดเร็ว จึงมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามามีส่วนช่วย
                  ในการทำงาน ทำให้การเรียกค้นกระทำได้ทันเวลา
            3.3 การทำสำเนาข้อมูล การทำสำเนาเพื่อที่จะนำข้อมูลเก็บรักษาไว้ หรือนำไปแจกจ่าย
                 ในภายหลัง จึงควรจัดเก็บข้อมูลให้ง่ายต่อการทำสำเนา หรือนำไปใช้อีกครั้งได้โดยง่าย
            3.4 การสื่อสาร ข้อมูลต้องกระจายหรือส่งต่อไปยังผู้ใช้งานที่ห่างไกลได้ง่าย การสื่อสาร
                   ข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญ และมีบทบาทที่สำคัญยิ่งท่จะทำให้การส่งข่าวสาร
                  ไปยังผู้ใช้ทำได้รวดเร็วและทันเวลา

ความแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ (สำหรับทำรายงาน) พร้อมรูปภาพประกอบ

https://4.bp.blogspot.com/_EBeQ_RBqm08/SM5yfBLbqcI

ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
          1) ข้อมูลที่เป็นตัวเลข (Numeric Data) หมายถึง ข้อมูลที่ใช้แทนจำนวนที่
                   สามารถนำไปคำนวณได้ข้อมูลแบบนี้เขียนได้หลายรูปแบบ คือ
                    - เลขจำนวนเต็ม  หมายถึง ตัวเลขที่ไม่มีจุดทศนิยม เช่น 12, 9, 137 , 8319 , -46
               - เลขทศนิยม หมายถึง ตัวเลขที่มีจุดทศนิยม ซึ่งอาจมีค่าเป็นจำนวนเต็ม เช่น 12                     
                       หรือเป็นจำนวนที่มีเศษทศนิยมก็ได้  เช่น 12.763      เลขทศนิยมแบบนี้สามารถเขียนได้
                        2 รูปแบบคือ
               - แบบที่ใช้การทั่วไป    เช่น 12., 9.0 ,17.63, 119.3267 , -17.34    
               - แบบที่ใช้งานทางวิทยาศาสตร์  เช่น

 123. x 104            หมายถึง 1230000.0
                             13.76 x 10-3        หมายถึง 0.01376
                              - 1764.0 x 102    หมายถึง -176400.0
                              - 1764.10-2         หมายถึง -17.64
           2) ข้อมูลที่เป็นตัวอักขระ (Character Data) หมายถึง ข้อมูลที่ ไม่สามารถนำ
                ไปคำนวณได้ แต่อาจนำไปเรียงลำดับได้ เช่น การเรียงลำดับตัวอักษร ข้อมูลอาจ
                 เป็นตัวหนังสือ ตัวเลข หรือเครื่องหมายใด ๆ เช่น   COMPUTER, ON-LINE,
                1711101,&76

        ประเภทของข้อมูล
            ถ้าจำแนกข้อมูลออกเป็นประเภท จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
          1. ข้อมูลปฐมภฺมิ (Primary Data) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวม หรือบันทึก
                จากแหล่งข้อมูลโดยตรงซึ่งอาจจะได้จากการสอบถาม การสัมภาษณ์ การสำรวจและ
                การจดบันทึก ตลอดจนการจัดหามาด้วย เครื่องจักรอัตโนมัติ เช่น เครื่องอ่านรหัสแท่ง
                เครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก
         2. ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) หมายถึง ข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้ว
              บางครั้งอาจมีการประมวลผลเพื่อเป็นสารสนเทศ   เช่น    สถิติจำนวนประชากร
              แต่ละจังหวัด สถิติการนำสินค้าเข้า และการส่งสินค้าออก เป็นต้น

สารสานเทศหมายถึง

เทคโนโลยีสารสนเทศคือ
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศหมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่ข้อมูลและสารสนเทศโดยรวมทั้งฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร โทรคมนาคม

 ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
                ระบบสารสนเทศสร้างขึ้นมาเพื่อจุดมุ่งหมายหลายประการจุดมุ่งหมายพื้นฐานประการหนึ่ง คือ การประมวลข้อมูล (Data) ให้เป็นสารสนเทศ  (Information) และนำไปสู่ความรู้ (Knowledge) ที่ช่วยแก้ปัญหาในการดำเนินงาน

ความหมายของข้อมูล
                ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ หรือข้อมูลดิบที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ยังไม่มีความหมายในการนำไปใช้งาน ข้อมูลอาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร สัญลักษณ์ รูปภาพ เสียง หรือภาพเคลื่อนไหว

ความหมายของสารสนเทศ
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลหรือจัดระบบแล้ว เพื่อให้มีความหมายและคุณค่าสำหรับผู้ใช้

ลักษณะสารสนเทศที่ดี
เนื้อหา (Content)
    - ความสมบูรณ์ครอบคลุม (completeness)
    - ความสัมพันธ์กับเรื่อง (relevance)
    - ความถูกต้อง (accuracy)
    - ความเชื่อถือได้ (reliability)
    - การตรวจสอบได้ (verifiability)

รูปแบบ (Format)
    - ชัดเจน (clarity)
    - ระดับรายละเอียด (level of detail)
    - รูปแบบการนำเสนอ (presentation)
    - สื่อการนำเสนอ (media)
    - ความยืดหยุ่น (flexibility)
    - ประหยัด (economy)

เวลา (Time)
    - ความรวดเร็วและทันใช้ (timely)
    - การปรับปรุงให้ทันสมัย (up-to-date)
    - มีระยะเวลา (time period)

กระบวนการ (Process)
    - ความสามารถในการเข้าถึง (accessibility)
    - การมีส่วนร่วม (participation)
    - การเชื่อมโยง (connectivity)

ความหมายของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information System)
ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ คือ ระบบที่รวบรวม ประมวล เก็บรักษา และเผยแพร่สารสนเทศ เพื่อใช้ในหารวางแผน การพัฒนาตัดสินใจ ประสานงาน และควบคุมการดำเนินงาน

ความแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ (สำหรับทำรายงาน) พร้อมรูปภาพประกอบ

https://elearning.msu.ac.th/ge/ge51/0012003/gif/gif_page02/it.jpg

องค์ประกอบระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์
                ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการที่ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer-based information systems CBIS) มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ส่วนคือ ฮาร์ดแวร์ (hardware) ซอฟต์แวร์ (software) ฐานข้อมูล (database) เครือข่าย (network) กระบวนการ (procedure) และคน (people)
- ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ได้แก่ อุปกรณ์ที่ช่วยในการป้อนข้อมูล ประมวลจัดเก็บ และผลิต      เอาท์พุทออกมาในระบบสารสนเทศ
- ซอฟต์แวร์ (Software) ได้แก่ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ช่วยให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน
- ฐานข้อมูล (Database) คือ การจัดระบบของแฟ้มข้อมูล ซึ่งเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน
- เครือข่าย (Network) คือ การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเพื่อช่วยให้มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน และช่วยการติดต่อสื่อสาร
- กระบวนการ (Procedure) ได้แก่ นโยบาย กลยุทธ์ วิธีการ และกฎระเบียบต่างๆ ในการใช้ระบบสารสนเทศ
- คน (People)  เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในระบบสารสนเทศ ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบสารสนเทศ เช่น ผู้ออกแบบ ผู้พัฒนาระบบ ผู้ดูแลระบบ และผู้ใช้ระบบ

ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
ประสิทธิภาพ (Efficiency)
     - ระบบสารสนเทศทำให้การปฏิบัติงานมีความรวดเร็วมากขึ้น โดยใช้กระบวนการประมวลผลข้อมูลซึ่งจะทำให้สามารถเก็บรวบรวม ประมวลผลและปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้อย่างรวดเร็วระบบสารสนเทศช่วยในการจัดเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือมีปริมาณมากและช่วยทำให้การเข้าถึงข้อมูล (access) เหล่านั้นมีความรวดเร็วด้วย

    - ช่วยลดต้นทุน การที่ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง กับข้อมูลซึ่งมีปริมาณมากมีความสลับซับซ้อนให้ดำเนินการได้โดยเร็ว หรือการช่วยให้เกิดการติดต่อสื่อสารได้อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนการดำเนินการอย่างมาก

    - ช่วยให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้เครือข่ายทางคอมพิวเตอร์ทำให้มีการติดต่อได้ทั่วโลกภายในเวลาที่รวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยกัน (machine to machine) หรือคนกับคน (human to human) หรือคนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ (human to machine) และการติดต่อสื่อสารดังกล่าวจะทำให้ข้อมูลที่เป็นทั้งข้อความ เสียง ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวสามารถส่งได้ทันที

    - ระบบสารสนเทศช่วยทำให้การประสานงานระหว่างฝ่ายต่างๆ เป็นไปได้ด้วยดีโดยเฉพาะหาระบบสารสนเทศนั้นออกแบบเพื่อเอื้ออำนวยให้หน่วยงาน ทั้งภายในและภายนอกที่อยู่ในระบบของซัพพลายทั้งหมด จะทำให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมดสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และทำให้การประสานงาน หรือการทำความเข้าใจเป็นไปได้ด้วยดียิ่งขึ้น               

ประสิทธิผล (Effectiveness)
      - ระบบสารสนเทศช่วยในการตัดสินใจ ระบบสารสนเทศที่ออกแบบสำหรับผู้บริหาร เช่น ระบบสารสนเทศที่ช่วยในการสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision support systems) หรือระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive support systems) จะเอื้ออำนวยให้ผู้บริหารมีข้อมูลในการประกอบการตัดสินใจได้ดีขึ้น อันจะส่งผลให้การดำเนินงานสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ไว้ได้

      - ระบบสารสนเทศช่วยในการเลือกผลิตสินค้า/ บริการที่เหมาะสมระบบสารสนเทศจะช่วยทำให้องค์การทราบถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับต้นทุน ราคาในตลาดรูปแบบของสินค้า/บริการที่มีอยู่ หรือช่วยทำให้หน่วยงานสามารถเลือกผลิตสินค้า/บริการที่มีความเหมาะสมกับความเชี่ยวชาญ หรือทรัพยากรที่มีอยู่

      - ระบบสารสนเทศช่วยปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/ บริการให้ดีขึ้นระบบสารสนเทศทำให้การติดต่อระหว่างหน่วยงานและลูกค้า สามารถทำได้โดยถูกต้องและรวดเร็วขึ้น ดังนั้นจึงช่วยให้หน่วยงานสามารถปรับปรุงคุณภาพของสินค้า/ บริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้นและรวดเร็วขึ้นด้วย   
          
      - ความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)

      - คุณภาพชีวิตการทำงาน (Quality o f Working Life)

ข้อมูลและสารสนเทศต่างกันอย่างไร


ข้อมูล  หมายถึง  ข้อมูลที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล  ข้อเท็จจริงเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินงานที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วและเก็บข้อมูล  ข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง  แม่นยำ  และรวดเร็วและเป็นปัจจุบัน  มีความสมบูรณ์ในระดับที่เหมาะสม  อาจมีทั้งประเภทตัวเลข ข้อความ วันที่ รูปภาพ เช่น ที่อยู่  เบอร์โทรศัพท์  คะแนนของนักเรียน เป็นต้น
 
สารสนเทศ  หมายถึง  ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลให้เหมาะสมกับการใช้งาน  เช่น ผลเกรดของนักเรียน อัตราส่วนของนักเรียนกับอาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ (สำหรับทำรายงาน) พร้อมรูปภาพประกอบ

www.google.com

ข้อมูล เป็นส่วนของข้อเท็จจริง ยังไม่ได้ผ่านการตัดสินใจ ส่วนสารสนเทศ จะนำข้อมูลมาผ่านการตัดสินใจ นำไปใช้ทันที

แหล่งข้อมูลและข้อมูลแบ่งได้ 3ประเภท

แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ    
1. ข้อมูลจากภายนอกธุรกิจ ได้แก่ ผลการวิจัยของนักวิชาการต่าง ๆ การคาดคะเนทิศทาง
และการเจริญเติบโตของธุรกิจและสังคมแห่งชาติ ตลอดจนสถาบันการเงินอื่น ๆ
    2. ข้อมูลภายในธุรกิจ เป็นข้อมูลที่สามารถเรียกใช้ได้อย่างรวดเร็วและมีต้นทุนต่ำเพราะ
สามารถเก็บรวบรวมได้จากฝ่ายต่าง ๆ เช่น ฝ่ายบัญชี ฝ่ายการผลิต ฝ่ายการตลาด เป็นต้น
    3. ผลการวิจัยตลาด

ข้อมูลอ้างอิง

https://4.bp.blogspot.com/_EBeQ_RBqm08/SM5yfBLbqcI

 https://jantima-ssp.exteen.com/20080212/entry-7

https://www.bcoms.net/

https://forum.datatan.net/index.php?topic=94.0

 https://gotoknow.org/blog/athicha/30622

https://www.oknation.net/blog/print.php?id=112363

https://guru.google.co.th/guru/thread?tid=47404451817c7e76

Source: https://www.thaigoodview.com

อัพเดทล่าสุด