โรคอุจจาระร่วงติด เชื้ออีโคไล เรื่องน่ารู้ ที่ควรจะรู้ ก่อนเกิดปัญหา


895 ผู้ชม


โรคอุจจาระร่วงติดเชื้ออีโคไล O157:H7 เป็นอย่างไร

 

โรคอุจจาระร่วงติด เชื้ออีโคไล เรื่องน่ารู้ ที่ควรจะรู้ ก่อนเกิดปัญหาการวินิจฉัยโรคติดเชื้ออีโคไล O157:H7 ใช้วิธีตรวจอุจจาระเป็นสำคัญ การตรวจอุจจาระต้องส่งเพาะเชื้อโดยใช้อาหารวุ้นสำหรับเพาะเชื้อแบคทีเรียชนิดพิเศษ เรียกว่า ซอร์บิทอลแมคคองกีอะการ์ ดังนั้นในกรณีที่สงสัยว่าสาเหตุของอาการอุจจาระร่วงเกิดจากเชื้ออีโคไล O157:H7 ต้องระบุให้ทางห้องปฏิบัติการทราบด้วยทุกครั้ง ในทางปฎิบัติจะสงสัยโรคดังกล่าวเมื่อพบว่าผู้ป่วยมีอาการท้องเสียอุจจาระร่วงอย่างรุนแรงและอุจจาระมีลักษณะเลือดปน ร่วมกับมีหลักฐานทางระบาดวิทยาว่าเกิดการระบาดของเชื้ออีโคไล O157:H7 ในท้องถิ่นนั้น

ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ติดเชื้ออีโคไล O157:H7 และมีอาการอุจจาระร่วงเพียงอย่างเดียว มักจะหายได้เองภายใน 5-10 วัน แม้ว่าจะได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะหรือไม่ก็ตาม มีรายงานการศึกษาวิจัยพบว่าการให้ยาปฏิชีวนะไม่ได้ทำให้ระยะเวลาการเป็นโรคติดเชื้ออีโคไล O157:H7 สั้นลง บางครั้งอาจเป็นสาเหตุกระตุ้นให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตด้วยซ้ำ สำหรับการใช้ยาแก้ท้องเสีย เช่น อิโมเดียมหรือโลโมติล ในกรณีนี้ถือว่าห้ามใช้เด็ดขาด จะทำให้การติดเชื้อทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น และเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้อีกหลายประการ

สำหรับปัญหาแทรกซ้อนทางไตที่เรียกว่า กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกและไตวาย (hemolytic uremic syndrome) ถือว่าเป็นภาวะที่อันตรายอย่างยิ่ง และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญ
หากเกิดขึ้นส่วนใหญ่ผู้ป่วยต้องได้รับการดูแลรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยหนักไอซียู ต้องได้รับการให้เลือดจำนวนมาก และต้องได้รับการรักษาภาวะไตวายด้วยการล้างไต หากผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาอย่างดีในไอซียู อัตราการตายจะลดลงได้มากเหลือเพียงร้อยละ 3-5

โรคอุจจาระร่วงติด เชื้ออีโคไล เรื่องน่ารู้ ที่ควรจะรู้ ก่อนเกิดปัญหา

ผู้ป่วยอุจจาระร่วงจากการติดเชื้ออีโคไล O157:H7 ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนทางไตมักจะหายเป็นปกติได้ ส่วนผู้ที่เกิดภาวะกลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงและไตวายจะมีปัญหาการทำหน้าที่ของไตเสื่อมเป็นเวลาหลายปีหลังจากการติดเชื้อ บางรายอาจต้องได้รับการล้างไตไปอีกสักระยะหนึ่งกว่าอาการต่างๆ จะทุเลา ร้อยละ 8 ของผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนทางไตจะมีปัญหาความดันโลหิตสูง ชัก ตาบอด หรืออัมพาต ตามมาในภายหลังได้

เชื้ออีโคไล O157:H7 คืออะไร

 

การป้องกันโรคระบาดจากการติดเชื้ออีโคไล O157:H7 ที่สำคัญที่สุดคือ เรื่องของสุขอนามัยในการประกอบอาหารและรับประทานอาหาร เน้นการบริโภคเนื้อสุกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อบด
นอกจากนี้การล้างมือบ่อยๆ ยังช่วยป้องกันการติดเชื้อได้มาก และประการสุดท้ายควรระมัดระวังการติดเชื้อจากการบริโภคผลิตภัณฑ์นมวัวที่อาจปนเปื้อนเชื้อได้

โรคอุจจาระร่วงติด เชื้ออีโคไล เรื่องน่ารู้ ที่ควรจะรู้ ก่อนเกิดปัญหาเชื้ออีโคไล O157:H7 เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ้งที่ก่อโรคระบบทางเดินอาหารที่รุนแรง การระบาดของเชื้อนี้แต่ละปีมีผู้ติดเชื้อนับแสนคน อัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 1 อาการสำคัญคือ ท้องเสียชนิดอุจจาระมีเลือดปน บางรายมีอาการอุจจาระเป็นมูกเลือด และที่สำคัญคือ โรคนี้ทำให้เกิดภาวะไตวายร่วมด้วยได้บ่อยมาก โดยทั่วไปคนติดเชื้อโรคนี้จากการรับระทานอาหารที่ไม่สุก ส่วนใหญ่เป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อวัว พบมีรายงานการระบาดของเชื้อ เชื้ออีโคไล O157:H7 จากการดื่มนมวัวที่ดิบ การเล่นน้ำหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคชนิดนี้ และพบว่าเชื้ออีโคไล O157:H7 สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ รวมทั้งการระบาดในครอบครัวและสถานเลี้ยงเด็กอ่อน

เชื้ออีโคไลเป็นเชื้อแบคทีเรียมีหลายร้อยสายพันธุ์ ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ที่ไม่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงเท่าใดนัก และเป็นจุลชีพท้องถิ่นอาศัยอยู่ในทางเดินอาหารส่วนลำไส้ โดยไม่ทำให้เกิดโรคแต่อย่างใด ส่วนเชื้ออีโคไล O157:H7 มีความสามารถในการสร้างโปรตีนที่เป็นพิษ ทำให้เกิดโรคที่รุนแรงและเป็นอันตรายถึงกับเสียชีวิตได้ การระบาดของเชื้ออีโคไล O157:H7 ครั้งแรกในปี 1982 จากการสืบสวนโรคด้วยวิธีการทางระบาดวิทยา พบว่าเกิดจากเนื้อที่นำมาทำแฮมเบอเกอร์ติดเชื้ออีโคไล O157:H7 หลังจากนั้นพบการระบาดใหญ่อีกหลายครั้งและพบการระบาดในท้องถิ่นแทบทุกปี ในการศึกษาการระบาดของโรคนี้จำเป็นต้องระบุสายพันธุ์ให้ชัดเจน เนื่องจากเชื้ออีโคไลชนิดอื่นไม่ก่อให้เกิดโรครุนแรงในลักษณะนี้

การแพร่กระจายของเชื้ออีโคไล O157:H7 พบได้ทั่วไปในฟาร์มปศุสัตว์ และสามารถตรวจพบเชื้อในลำไส้ของวัวควายที่มีสุขภาพดี ไม่เป็นสัตว์ป่วยแต่อย่างใด เนื้อสัตว์โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อบดมีโอกาสปนเปื้อนเชื้ออีโคไล O157:H7 ได้มาก ไม่ว่าจะเป็นการปนเปื้อนในฟาร์ม การปนเปื้อนจากกระบวนการผลิต แม้กระทั่งการปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์นม เมื่อคนกินเนื้อที่ปนเปื้อนเชื้อและไม่ได้ปรุงอาหารให้สุกจึงได้รับเชื้อได้ง่าย เนื้อที่ไม่สุกและปนเปื้อนเชื้อมักจะดูไม่ออกจากลักษณะภายนอกและไม่มีกลิ่นเหม็นแต่อย่างใด จากการศึกษาวิจัยทางจุลชีววิทยาพบว่าการที่ร่างกายได้รับเชื้ออีโคไล O157:H7 เพียงเล็กน้อยก็สามารถก่อให้เกิดโรคได้

โรคอุจจาระร่วงติด เชื้ออีโคไล เรื่องน่ารู้ ที่ควรจะรู้ ก่อนเกิดปัญหา

เชื้ออีโคไล O157:H7 ยังอาจพบได้ในผลิตภัณฑ์นม น้ำผลไม้ ผักสดบางชนิด ซาลามี่ และพบว่าเกิดการะบาดจากแหล่งน้ำที่มีเชื้อโรคนี้อยู่อีกด้วย เชื้อแบคทีเรียที่อยู่ในอุจจาระของผู้ป่วยยังสามารถแพร่เชื้อต่อไปอีกได้ ดังนั้นการรักษาสุขอนามัยที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันการระบาดของโรคนี้ สิ่งสำคัญที่ควรเน้นเสมอคือ เรื่องของการล้างมือ หลักฐานทางวิชาการระบุไว้อย่างชัดเจนว่าเพียงการล้างมือเท่านั้น ก็สามารถลดการกระจายของเชื้ออีโคไล O157:H7 ได้ สำหรับบ้านที่มีเด็กอ่อนต้องให้การดูแลเกี่ยวกับการขับถ่ายของเด็กด้วย เนื่องจากพบว่าเป็นสาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งของการระบาด เด็กเล็กสามารถแพร่เชื้อได้นานถึงสองสัปดาห์ และในเด็กโตพบว่าหากได้รับเชื้อแล้วมักจะเกิดอาการเจ็บป่วยเป็นโรคแทบทุกราย

เชื้ออีโคไล O157:H7 ก่อให้เกิดโรคท้องเสียหรืออุจจาระร่วง ในบางรายอาการอาจไม่รุนแรงมากและหายได้ภายในเจ็ดวันสิบวัน อย่างไรก็ตามผู้ป่วยน้อยรายที่จะถ่ายอุจจาระปกติ โรคอุจจาระร่วงที่เกิดจากการติดเชื้อนี้มักจะไม่มีไข้ แต่ผู้ป่วยจะปวดท้องมาก ถึงขั้นปวดบิดได้ ในเด็กอ่อนอายุน้อย 5 ปีและในผู้สูงอายุ มักจะเกิดโรคแทรกซ้อน เม็ดเลือดแดงถูกทำลายและทำให้ไตวาย เรียกชื่อว่า กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกและไตวาย (hemolytic uremic syndrome) ในประเทศสหรัฐอเมริกาพบได้ร้อยละ 2-7 ของผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคนี้ และเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันในเด็ก การติดเชื้ออีโคไล O157:H7 จึงมีความสำคัญและเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่ควรให้ความสนใจอย่างหนึ่ง

ที่มา:www.bangkokhealth.com

อัพเดทล่าสุด