สาเหตุของสงครามครูเสด ประวัติสงครามครูเสด สาเหตุสงครามครูเสด


1,748 ผู้ชม


สาเหตุของสงครามครูเสด  ประวัติสงครามครูเสด สาเหตุสงครามครูเสด

   ประวัติศาสตร์ของอิสลามหลังจากสมัยคุละฟาอุร.รอชิดีน (หมายถึงเคาะลีฟะฮ 4 ท่านแรก คือ อบูบักร. อุมัร. อุมาน และอะลี) เต็มไปด้วยปัญหาความยุ่งยาก มีเจ้าปกครองกันหลายแคว้น ประกอบไปด้วยชนต่างชาติต่างภาษาตลอดทั่วดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาล บุคคลเหล่านี้ได้มารวมกันภายใต้แนวความคิดคือ "ละอิลาฮะ อิลลัลลอฮ มุหัมมะดุร-รสูลุลลอฮ ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ และมุฮำมัดเป็นรสูลของพระองค์" ศาสนาอิสลามได้แทรกซึมเข้าไปในวิถีชีวิตของชนหลายประเทศหลายชาติ แต่ในบางครั้งก็เผยแพร่เข้ามาผิดที่ ผิดเวลา การมาถูกหรือมาผิดนี้ไม่ใช่เพราะศาสนาอิสลาม แต่เพราะคนหรือผู้ที่นำเข้ามาเผยแพร่นั้นบางคนเป็นเจ้าครองแคว้น เป็นนักรบที่เก่งกล้า ทารุณ โหดร้าย ซึ่งคนเช่นนี้ไม่ว่าจะนับถือศาสนาอะไร ก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือมีอิทธิพลกับการรบของพวกเขา แต่บังเอิญถ้าบุคคลประเภทนี้เป็นมุสลิม ศาสนิกชนอื่นก็ว่าให้ร้ายหาว่าศาสนาอิสลามเผยแพร่ด้วยคมดาบ

        แต่ความจริงแล้วอิสลามไม่ได้มีหลักการให้เผยแพร่ศาสนาด้วยการทำสงคราม อย่างเช่นสงครามครูเสดของพวกคริสเตียน อย่างกรณี เมื่อ 50 ปีก่อน พวกมุสลิมีนที่ไปทำพิธีหัจญ์ยังถูกพวกโจรมุสลิมีน(ชาวมุสลิมด้วยกันเอง) ในคาบสมุทรอาหรับ ปล้นสะดม ซึ่งจะเห็นได้ว่ากรณีเช่นนี้เป็นเรื่องการรบพุ่ง การต่อสู้ของบุคคล ดังนั้นจึงเป็นธรรมดาที่พวกคริสเตียนที่เดินทางมาปาเลสไตน์ในเวลานั้น อาจจะไม่ได้รับความปลอดภัยหรือความสะดวกต่าง ๆ แต่เรื่องราวเช่นนี้กลับถูกต่อเติมจนเป็นจนกลายเป็นเรื่องร้ายแรง ก่อให้เกิดสงครามครูเสดขึ้น

        คำว่า "ครูเสด" หมายถึง สงครามศาสนาที่พวกคริสเตียนได้กระทำต่อมุสลิมีน ('มุสลิมีน' เป็นคำพหูพจน์ของ 'มุสลิม' หมายถึง ผู้นับถือศาสนาอิสลาม) เป็นเวลานานกว่า 150 ปี เพื่อทำลายศาสนสถานต่างๆ ของคริสตจักร โดยเฉพาะที่ในเมืองเบธเลแฮม (บัยตุลละหัม) และเยรูซาเล็ม โดยที่พวกนี้มีเครื่องหมายกางเขนติดไว้ ครูเสดแปลว่า ติดด้วยเครื่องหมายกางเขน ซึ่งต่อมาคำว่าครูเสดนี้ ใช้หมายถึงสงครามทั่ว ๆ ไป ที่พวกคริสต์ต่อต้านพวกนอกศาสนาตามแต่สังฆนายก (Bishop) ของโรมจะบัญชา


        อย่างไรก็ตามเมืองเหล่านี้บางเมืองก็เป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาของชาวมุสลิมด้วย มุสลิมเชื่อว่า นบีมุฮัมมัดได้เดินทางจากมัสยิดอัลอักซอเมืองเยรูซาเล็ม ขึ้นสู่ชั้นฟ้า มัสยิดโดมหินก็ตั้งอยู่ที่นั่น และ เมืองเยรูซาเล็ม ก็มีความสำคัญเป็นอันดับสามของโลกมุสลิมแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์อยู่ภายใต้การปกครองของพวกคริสเตียน เมื่อนบีมุฮัมมัดยังมีชีวิตอยู่ หลังจากที่ท่านได้เสียชีวิตไปแล้ว ดินแดนแถบนี้เป็นดินแดนส่วนแรกๆ ที่ถูกมุสลิมยึดครอง แต่เคาะลีฟะฮ. ของมุสลิมก็ยอมให้ชาวคริสเตียนเดินทางมาแสวงบุญยังแผ่นดินเหล่านี้

        แต่ใน ค.ศ. 1055 เมื่อพวกเซลจูคเติร์กเข้ามายึดครองเมืองแบกแดด พวกสุลต่านไม่ได้ปฏิบัติต่อชาว คริสเตียนเหมือนเช่นเคย พวกคริสเตียนในยุโรปจึงโกรธมาก ดังนั้น ในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ. 1905 โป๊ปเออร์บานที่ 2 (Pope Urban II)ได้เรียกประชุมคณะสงฆ์ที่ปลาเซ็นติอา แต่การประชุมไม่ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายในทันที จึงได้เรียกประชุมขึ้นใหม่อีกที่เคลอร์มองต์ ในวันที่ 26 พฤศจิกายน ค.ศ.1095 โป๊ปได้ประกาศให้ทำสงครามครูเสดต่อ "พวกนอกศาสนา" (ซึ่งพวกคริสเตียนในเวลานั้นหมายถึงบรรดามุสลิมีนโดยเฉพาะ) โป๊ปได้ใช้กลอุบายวิธีต่าง ๆ เพื่อปลุกระดมให้พวกคริสเตียนเข้าร่วมในสงครามครูเสด โดยประกาศว่า "ผู้ใดถือไม้กางเขนหรือประดับไม้กางเขนเพื่อไปในสงครามครูเสด ย่อมถูกยกเว้นจากการถูกฟ้องร้องเรื่องหนี้สิน ไม่ต้องเสียภาษี และบุคคลภาพผู้นั้นอยู่ในพิทักษ์ของศาสนจักร ถูกไถ่บาปทั้งหมดและจะได้เข้าสวนสวรรค์อันสถาพร" การเริ่มรณรงค์ดังกล่าวนี้เองเป็นที่มาของสงครามศาสนาหรือ "สงครามครูเสด"สงครามครูเสดเพื่อยึดครองแผ่นดินศักดิ์สิทธิ์ครั้งแรก

        ปี ค.ศ. 1097 พวกครูเสดได้จัดกองทัพใหม่ โดยมีพวกเจ้าครองนครต่าง ๆ ในทวีปยุโรปเข้าร่วมด้วย และมีกอดเฟรย์แห่งบุยยอง (Godfrey of Buillon) เป็นแม่ทัพเดินทางมาทางคอนสแตนติโนเปิ้ล กษัตริย์อเล็กซิสได้จัดให้พวกนี้ข้ามช่องแคบโฟรัสไปยังดินแดนเอเชียน้อย เพราะเกรงว่าถ้าปล่อยให้เข้าเมือง บ้านเมืองจะถูกทำลาย

        เดือนพฤษภาคม 1097 กองทัพครูเสดยกทัพมาเมืองนิซีอา สุลฏอนผู้ปกครองเมืองยอมเปิดประตูเมืองให้ จึงรอดพ้นจากการถูกทำลาย หลังจากนั้นพวกครูเสดจึงยกทัพไปเมืองอันติออก Antioch(อันตากิยะฮ) ซึ่งต้องเดินทางเป็นระยะทางที่ไกล พวกไพร่พลจึงล้มตายกลางทางเสียเป็นส่วนใหญ่ ล้อมเมืองอันติออกได้ 9 เดือน จนเสบียงเริ่มร่อยหรอลง ต้องกินเนื้อพวกเดียวกัน (คือเนื้อศพ) พวกครูเสดทำการทารุณกรรมต่อชาวเมืองอันติออกอย่างมาก ในที่สุดแม่ทัพพวกสัลยูก ที่ชื่อ กัรบุฆา ต้องยอมแพ้ เพราะว่ามีการทรยศจากพวกเดียวกันด้วย คือมุสลิมชาวอาร์มิเนียน ชื่อ ฟิรูซ(อาหรับเรียกว่าบิหรูซ) ได้หย่อนเชือกลงรับพวกครูเสดขึ้นมายึดป้อม แล้วเปิดประตูเมืองให้พวกครูเสดเข้ามาตะโกนว่า "Dier le veut" ฆ่าฟันผู้คนทั้งหญิงแก่ แม่หม้าย เด็ก หญิงสาว รวมทั้งทำลายมัสญิด อาคาร บ้านเรือนเสียหาย

        หลังจากยึดเมืองอันติออกแล้ว พวกครูเสดได้เดินทัพไปยังมะอัรร็อต อัน-นุอมาน (Marra tun Numan) ซึ่งเป็นเมืองที่รุ่งเรืองเมืองหนึ่งของซีเรีย ชาวเมืองถูกฆ่าไม่ต่ำกว่า 100,000 คน โดยวิธีสับเป็นท่อน ๆ ซึ่งในกองทัพของพวกนี้มีเนื้อคนขายด้วย ส่วนคนที่แข็งแรงและหน้าตาดี จะถูกนำไปขายเป็นทาส

        วันที่ 15 กรกฏาคม 1099 (ชะอบาน ฮ.ศ. 492) พวกนี้ก็ยกทัพเข้ากรุงเยรูซาเล็ม ให้ชาวเมืองคุกเข่าสวดอ้อนวอนพระเจ้าในความสำเร็จที่พวกครูเสดเข้ายึดเมืองได้ แล้วก็ฆ่าชาวเมืองอย่างทารุณ แม้แต่สถานที่ที่พระเยซูเคยอภัยศัตรูของพระองค์ ก็ไม่สามารถทำให้ครูเสดพวกนี้ลดความโหดเหี้ยมลงได้ เพราะพวกนี้ถือว่าการรบและฆ่าพวกนอกศาสนานั้นจะได้บุญและได้ขึ้นสวรรค์

        พวกยิวในปาเลสไตน์ก็เผชิญชะตากรรมเช่นเดียวกัน โบสถ์และวิหารก็ถูกเผาทำลาย กอดเฟรย์แห่งบุยยอง ได้ถูกสถาปนาเป็นกษัตริย์แห่งเยรูซาเล็ม หลังจากนั้นอีกหนึ่งปีก็เสียชีวิตลง น้องชายชื่อบอลด์วินได้รับตำแหน่งแทน และได้ยกทัพไปตีเมืองซีสะรีอา (Caesarea) ตริโปลี ซีดอน บัยรุต และยึดเมืองท่าต่าง ๆ ที่พวกโฟนิเซียนเคยเป็นเจ้าของมาก่อน

        พวกครูเสดได้ครองส่วนใหญ่ของอาณาจักรของพวกสัลยูก (แต่ไม่ขยายตัวไปในอาณาจักรมุสลิมีนวงศ์อื่น ๆ ) พวกนี้จึงได้นำลัทธิเจ้าครองนคร(ฟิวดัลลิส์ม) มาใช้ มุสลิมีนที่มีฐานะเป็นทาสจะถูกจำตรวนเดินตามถนน อาณาจักรของสัลยูกช่วงนี้อยู่ภายใต้การปกครองของพวกครูเสด จนถึง ปี ค.ศ. 1147 รวมเวลาประมาณ 50 กว่าปี

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

อัพเดทล่าสุด