สงครามในลิเบีย คลิปสงครามในลิเบีย คริปสงครามในลิเบียร ข่าวล่าสุดสงครามในลิเบีย


1,300 ผู้ชม


สงครามในลิเบีย คลิปสงครามในลิเบีย คริปสงครามในลิเบียร  ข่าวล่าสุดสงครามในลิเบีย

จุดเริ่มต้น ปฎิวัติในลิเบีย  

การเริ่มต้นต่อกระแสปฎิวัติในแถบแอฟริกาเหนือ ที่เริ่มต้นในประเทศตูนิเซีย โดยประชาชนชาวตูนิเซีย ลุกฮือ ประท้วงการทำหน้าที่ไม่มีความชอบธรรมและการทุจริต คอรัปชั่นของผู้นำตูนิเซีย และวงศาคณาญาติ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการประท้วงในตุนิเซีย และเป็นการจุดกระแส ปลุกเชื้อไฟ ในการปฎิวัติประเทศของประเทศโดยรอบ นับแต่ในช่วงเวลานั้น

เช่นเดียวกัน ชาวลิเบีย ก็ได้รับกระแสการปฎิวัติเช่นกัน โดยการลุกฮือ ประท้วงถึงจุดขีดสุด เมื่อกลุ่มต่อต้าน ผู้นำลิเบีย “กัดดาฟี” ตัดสินใจเดินหน้า ท้าชน หวังล้มกัดดาฟี เปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศ และสร้างรูปแบบการเมืองที่เป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน

ทว่า หลายสิ่งหลายอย่าง ไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เนื่องจาก “กัดดาฟี” ตัดสินใจ พร้อมรบ ท้าชน โดดยมีกลุ่มผู้สนับสนุน เป็นแนวร่วมชั้นดี เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ผ่านมา ถือเป็นจุดเริ่มต้น ของหนังม้วนยาว เพียงในหนึ่งสัปดาห์ การประท้วงแพร่ขยายเป็นวงกว้างไปในพื้นที่โดยรอบ ในขณะที่ กัดดาฟี ยืนหยัด จะต่อสู้กับกลุ่มต่อต้าน ชนิด ตายเป็นตาย เจ๊งเป็นเจ๊ง !

กัดดาฟี เริ่มปฎิบัติการ ด้วยการใช้กำลังทหาร และมาตราการปิดกัน บดบัง ในทุกรูปแบบ รวมไปถึง การปิดกั้นสื่อ ใช้แห่อวนตาถี่ปิดบังภารกิจ ปิดประตูตีแมว

กัดดาฟี ใช้มาตราการโอนอ่อนผ่อนตาม ด้วยการส่งผู้แทนระดับสูง เพื่อไปขอเจรจากับผู้ต่อต้าน แต่กลุ่มผู้ต่อต้าน ปฎิเสธการเจรจาอย่างสิ้นเชิง มากไปกว่านั้น กลุ่มผู้ต่อต้านยืนกราน กัดดาฟี ต้องลาออกเท่านั้น ซึ่งหลังจากการไม่รับข้อเสนอกัดดาฟีนี้ วันรุ่งขึ้น กัดดาฟี เลือกมาตราการรุนแรง สั่งฆ่าและสังหารประชาชน เป็นผักปลา

การตัดสินใจเล่นบทบู๊ของกัดดาฟี ส่งผลให้หลายองค์กร เกิดความไม่พอใจ และประณามการดำเนินการปราบปรามประชาชนของกัดดาฟี รวมไปถึง องค์กรด้านมนุษยชน ออกมาประณามกันเลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม กัดดาฟี กลับไม่สนใจการท้วงติง หรือการประณามของใครๆ ใด ๆ ทั้งสิ้น เข้าตำราไม่ฟังอีร้าคาอีรม หนำซ้ำ ประกาศยืนหยัดต่อสู้เพื้อเกาะเก้าอี้ การเป็นผู้นำในลิเบีย

กัดดาฟี สั่งการเดินหน้าทำลายล้าง กลุ่มผู้ต่อต้าน โดยใช้กองกำลังปราบปรามและผลักดัน ทำลานย ฐานที่มั่นของกลุ่มผู้ต่อต้าน ซึ่งมีฐานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ตลอดชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะ เมืองเบรก้า (Brega) เมือง รา ลานุฟ (Ra’s Lanuf) และ บิน จาร์วาด (Bin Jawad)

เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2554 ที่ผ่านมา กัดดาฟี ชักเหิมเกริม สั่งเดินหน้าแบเต็มพิกัด ไม่สนใจความกดดันแบบรอบมิติจากเวทีโลก เดินหน้าสาดกระสุนใส่ผู้ต่อต้าน

จนมาถึง จุดแตกหัก เมื่อที่ประชุม ยูเอ็น เริ่มมีท่าทีต่อปฎิบัติการของกัดดาฟี แล้วทางที่ประชุมจึงมีมติ สั่งพื้นที่ภาคอากาศของลิเบีย เป็นพื้นที่ห้ามบิน (no-fly zones)

ท่ามกลาง การดำเนินการของยูเอ็น ส่งผลให้หลายๆ ประเทศ แทรกแซงกิจการภายในของลิเบียไปแบบเบร็ดเสร็จ ตามมาด้วย กระบวนการยุติปัญหาด้วยการเสนอให้ เมืองทริปโปลี (Tripoli) เป็นสถานที่ในการไตร่สวน ของศาลอาญาระหว่างประเทศ

ฝรั่งเศษ กลายเป็นประเทศแรกที่ตอบสนองการดำเนินการของยูเอ็น ด้วยการเสอน สภาการโอนย้ายระดับชาติ (National Transitional Council) อันทำหน้าที่ในการเคลื่อนย้ายประชาชนผู้บริสุทธิ์ ออกจากลิเบีย

แต่หลายๆ มาตราการ ก็ไม่ได้ทำให้เรื่องสงบ หรือเป็นไปในทิศทางที่ดีแต่ประการใด กลับกัน กัดดาฟี ยังคงเดินหน้าปราบปรามผู้ประท้วงอย่างต่อเนื่อง

จนเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2554 ที่ประชุมยูเอ็น ประกาศใช้มาตราการเด็ดขาด ด้วยการใช้กำลังเป็นทางออกของปัญหา ภารกิจครั้งนี้ ยูเอ็นแจงว่าเป็นการพิทักษ์ประชาชนผู้บริสุทธิ์ หยุดความเหิม เกริมของกัดดาฟี โดยมีพันธมิตร 6 ประเทศให้การสนับสนุนต่อภารกิจดังกล่าว โดยมีชื่อภารกิจที่แตกต่างออกกันไป

Operation Ellamy by the UK; ของสหราชอาณาจักร

Opération Harmattan by France; ของฝรั่งเศษ

Operation Mobile by Canada and Operation ของแคนาดา

Odyssey Dawn by the USA. ของสหรัฐฯ

ในวันเดียวกัน หลายๆ ภารกิจเริ่มต้นด้วยการโจมตีกลุ่มผู้สนับสนุนกัดดาฟี โดยภารกิจนี้เอง ส่งผลทำให้มีพลเมืองผู้บริสุทธิ์ ต้องมาเสียชีวิตขากภารกิจดังกล่าวด้วย อันเป็นเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในเวทีโลก

ในขณะเดียวกัน กัดดาฟีและกลุ่มผู้สนับสุน กลับไม่ยอมจำนน ประกาศกร้สวขอยืนหยัดสู้ กับกลุ่มชาติตะวันตก และประกาศทะลเมดิเตอร์เรเนียน จะเป็นสมรภูมรบอันยืดเยื้อตราบนานเท่านาน

อย่างไรก็ดี จนมาถึงในตอนนี้ 22 /03 /54 เหตุการณ์การปะทะยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยสถานการณ์ยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ดังต่อไปนี้

สัญญาณปะทะเดือดเริ่มแล้ว ! พันธมิตร ยิงโทมาฮอว์ก-ทิ้งระเบิด ถล่มลิเบีย

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตันประเทศสหรัฐเมื่อวันที่ 20 มี.ค. โดยอ้างคำกล่าวจากเจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงกลาโหมสหรัฐที่ระบุว่า กองเรือรบและเรือดำน้ำของสหรัฐกับอังกฤษ ปฏิบัติการโจมตีชุดแรกด้วยจรวดถล่มระบบการป้องกันทางอากาศของลิเบีย และน่าจะสร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง โดยปฏิบัติการ “โอดิสซี ดอว์น” เกิดขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ซึ่งสหรัฐและอังกฤษระดมยิงจรวดโทมาฮอว์ก 112 ลูกโจมตีเป้าหมายต่างๆ ที่อยู่บริเวณชายฝั่งกว่า 20 แห่ง เพื่อเปิดทางให้ฝูงบินรบเข้าโจมตีกองกำลังทางอากาศของลิเบีย ซึ่งเป้าหมายหลักของการใช้จรวดโทมาฮอว์กเข้าโจมตีอยู่ที่ขีปนาวุธยิงจากพื้นสู่อากาศเอสเอ-5 ของลิเบีย ที่เชื่อว่า จะเป็นอันตรายต่อเครื่องบินรบของกองกำลังพันธมิตร ทั้งนี้ ระบบป้องกันทางอากาศทั้งหมดของลิเบีย ล้วนใช้เทคโนโลยีของโซเวียต

ขณะที่ สถานีโทรทัศน์ซีบีเอส นิวส์ รายงานเมื่อเช้าตรู่วันอาทิตย์ว่า เครื่องบินทิ้งระเบิดสเตลธ์ บี-2 จำนวน 3 ลำของสหรัฐ ได้ทิ้งระเบิด 40 ลูกถล่มสนามบินแห่งสำคัญของลิเบีย แต่ไม่มีการยืนยันการโจมตีดังกล่าว ส่วนพลตรีจอห์น โลริเมอร์ โฆษกกองทัพอังกฤษเปิดเผยว่า เครื่องบินขับไล่ทอร์นาโดจีอาร์4 หลายลำ ยิงจรวดสตอร์มชาโดว์ ถล่มเป้าหมายต่าง ๆ ในลิเบีย นับเป็นการโจมตีทางอากาศครั้งแรกของกองทัพอังกฤษ นอกจากนี้ นายเลียม ฟ็อกซ์ รัฐมนตรีกลาโหมบอกว่า อังกฤษส่งเรือพิฆาต 2 ลำคือเอชเอ็มเอส เวสต์มินสเตอร์ และเอชเอ็มเอส คัมเบอร์แลนด์ ลอยลำอยู่นอกชายฝั่งลิเบีย และฝูงบินรบไต้ฝุ่นเตรียมพร้อม เพื่อสนับสนุนภารกิจ

ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีรายงานว่า มีระเบิดหลายลูกตกใกล้กองบัญชาการบับ อัล-อาซิซิยาห์ของพันเอกโมอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบียในทางใต้ของกรุงตริโปลี ทำให้ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานจากกองทัพลิเบียยิงตอบโต้อย่างดุเดือด

ส่วนทางด้านกัดดาฟี ออกแถลงการณ์ทางสถานีโทรทัศน์ ประกาศว่า ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้กลายเป็นสมรภูมิรบอย่างแท้จริงแล้ว หลังจากประเทศตะวันตกโจมตีทางอากาศอย่างหนัก และทางการได้เปิดคลังสรรพาวุธให้ประชาชนหยิบอาวุธขึ้นต่อสู้กับศัตรูแล้ว นอกจากนั้น กัดดาฟี ยังกล่าวประณามประเทศตะวันตกว่า ป่าเถื่อน และเป็นความก้าวร้าวของนักรบครูเสดที่ไร้ความชอบธรรม พร้อมลั่นวาจาว่า จะแก้แค้นด้วยการโจมตีทั้งทหารกับพลเรือนในเมดิเตอร์เรเนียน และเตือนด้วยว่า ผลประโยชน์ต่าง ๆ ของประเทศแอฟริกาเหนือและแถบเมดิเตอร์เรเนียนได้ตกอยู่ในอันตรายแล้ว

สถานการณ์ในเมืองเบนกาซีนั้น ผู้สื่อข่าวเอเอฟพีระบุว่า การที่กองกำลังภักดีกัดดาฟีโจมตีเมืองดังกล่าวเมื่อวันศุกร์และเสาร์ที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 94 ศพ ขณะเดียวกัน กระทรวงต่างประเทศลิเบียออกแถลงการณ์ว่า มติของสหประชาชาติที่สั่งให้มีการหยุดยิงใช้ไม่ได้และเป็นโมฆะ และต้องการให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเปิดประชุมอย่างเร่งด่วน หลังจากลิเบีย ซึ่งเป็นสมาชิกยูเอ็น ถูกกองกำลังของตะวันตกโจมตี โดยการโจมตีลิเบีย ถือเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพและเสถียรภาพระหว่างประเทศ และทางการลิเบียตัดสินใจระงับความร่วมมือกับยุโรปในการปราบปรามกลุ่มลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฏหมาย

หนังสือพิมพ์วอชิงตัน โพสต์ รายงานว่า ดาวเทียมสอดแนมของตะวันตกกำลังเฝ้าติดตามอย่างใกล้ชิดที่โรงเก็บรถแห่งหนึ่งที่อยู่ห่างไกลในทะเลทรายของลิเบีย เนื่องจากว่ารัฐบาลของกัดดาฟี เก็บก๊าซพิษมัสตาร์ด ที่มีน้ำหนักราว 10 ตันเอาไว้ในโรงเก็บรถดังกล่าว ที่อยู่ทางใต้ของเมืองเซอร์เต้ ทำให้เจ้าหน้าที่ของประเทศตะวันตกหวั่นเกรงว่า กัดดาฟี อาจใช้สารเคมีฆ่าหมู่ประชาชนกลุ่มใหญ่

ทางด้าน สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมอัลจาซีรา ของกาตาร์ รายงานว่า มีผู้สื่อข่าว 4 คนที่ทำงานให้อัลจาซีรา ซึ่งเป็นชาวนอร์เวย์ 1 คนและอังกฤษ 1 คน ถูกทางการลิเบียควบคุมตัวไว้ในกรุงตริโปลี หลังจากถูกจับกุมขณะปฏิบัติหน้าที่ในภาคตะวันตกของประเทศ แถลงการณ์ในเว็บไซต์ของอัลจาซีราได้ขอให้ทางการลิเบียรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของทีมผู้สื่อข่าวดังกล่าว และกำลังพยายามหาทางให้ลิเบียปล่อยตัวโดยเร็ว ก่อนหน้านี้ ผู้สื่อข่าวของหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส 4 คน ก็ถูกกองกำลังลิเบียจับไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ขณะทำข่าวในภาคตะวันออกของประเทศ ขณะที่ กระทรวงต่างประเทศสหรัฐ เตือนนักข่าวต่างประเทศให้อพยพออกมาจากลิเบียในทันที

สหภาพแอฟริกาวอนหยุดยิงในลิเบีย ห่วงผลลัพธ์ด้านมนุษยธรรม

คณะกรรมาธิการกิจการลิเบียของสหภาพแอฟริกา (เอยู) เรียกร้องให้หยุดโจมตีทั้งหมดทันที หลังจากสหรัฐ ฝรั่งเศสและอังกฤษ ใช้ปฏิบัติการทางทหารโจมตีกองกำลังที่สนับสนุนกัดดาฟี โดยหลังจากการประชุมอย่างเคร่งเครียด 4 ชั่วโมงในกรุงนูแอกชอต เมืองหลวงของมอริเตเนีย สหภาพแอฟริกา ก็เรียกร้องให้รัฐบาลลิเบีย รับประกันความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อประชาชนที่ต้องการ และให้ปกป้องชีวิตชาวต่างชาติด้วย ซึ่งรวมทั้งชาวแอฟริกาที่อาศัยอยู่ในลิเบีย ขณะเดียวกัน ยังย้ำถึงความจำเป็นในการปฏิรูปการเมืองที่จำเป็นเพื่อขจัดสาเหตุของวิกฤติในปัจจุบัน แต่ขณะเดียวกัน ก็เรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศอดทน เพื่อหลีกเลี่ยงผลลัพธ์ที่เลวร้ายด้านมนุษยธรรม

ญี่ปุ่นขึงขัง! หนุนพันธมิตรปราบกบฏในลิเบีย

ญี่ปุ่นแถลงว่า สนับสนุนการโจมตีของนานาชาติในลิเบีย พร้อมเรียกร้องให้กัดดาฟี ซึ่งกำลังต่อสู้กับกองกำลังกบฏ ตัดสินใจอย่างรอบคอบ มติของยูเอ็นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ที่ไฟเขียวให้ใช้มาตรการที่จำเป็นทั้งหมดเพื่อปกป้องพลเรือน และบังคับให้หยุดยิงกับกบฏและกำหนดเขตห้ามบินต่อกองกำลังกัดดาฟี ทำให้สหรัฐ อังกฤษและฝรั่งเศส โจมตีทางอากาศและยิงขีปนาวุธถล่มลิเบีย ซึ่งทำให้กัดดาฟีโกรธแค้นถึงกับประกาศว่า เมเดเตอร์เรเนียนจะเป็นสมรภูมิเลือดอย่างแท้จริง โดยทาเกกิ มัตสุโมโตะ รัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น ระบุในแถลงการณ์ฉบับหนึ่งว่า รัฐบาลญี่ปุ่นสนับสนุนมาตรการต่าง ๆ ของประเทศสมาชิกยูเอ็นภายใต้มติของยูเอ็นเอสซี

จีนหมากสูง ออกตัวค้านใช้กำลัง ถล่มลิเบีย

จีนแถลงแสดงความเสียใจ หลังพันธมิตรส่งกำลังโจมตีลิเบียทางอากาศ พร้อมแสดงจุดยืนคัดค้านการใช้กำลัง แถลงการณ์ชี้ว่า จีนได้ติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นล่าสุดในลิเบียและมีความเสียใจที่พันธมิตรใช้กำลังทหารเข้าโจมตีลิเบีย อย่างไรก็ตาม แถลงการณ์ไม่ได้เรียกร้องให้มีการหยุดยิง โดยระบุเพียงว่า จีนเคารพในอธิปไตยเอกราช ตลอดจนเอกภาพและบูรณภาพแห่งดินแดนของลิเบีย และหวังว่าลิเบียจะสามารถฟื้นฟูเสถียรภาพเร็วที่สุด รวมทั้งหลีกเลี่ยงการเสียชีวิตของประชาชนอันเนื่องมาจากการปะทะกันด้วยอาวุธ ขณะที่ รัสเซียและอินเดีย ก็ออกแถลงการณ์แสดงความเสียใจ และเรียกร้องให้หยุดยิงเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ทั้งนี้ มีการตั้งข้อสังเกตุว่า จีนไม่ได้กล่าวถึงการหยุดโจมตีลิเบีย แต่เน้นย้ำว่าจีนเคารพในอธิปไตย เอกราช เอกภาพ และบูรณภาพแห่งดิแดนของลิเบีย

ในขณะที่ รัสเซีย ได้ออกมาแสดงความเสียใจที่นานาประเทศใช้ปฏิบัติการทางอากาศโจมตีลิเบีย เช่นเดียวกับจีน

อภิสิทธิ์ยันคนไทยอพยพออกจากลิเบียหมดแล้ว เหลือเพียงส่วนที่สมัครใจ

ที่กระทรวงการต่างประเทศ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงแนวทางการช่วยเหลือคนไทยในประเทศลิเบีย หลังจากที่กำลังทหารของสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษ แคนาดา อิตาลี และพันธมิตรชาติอาหรับ ยิงถล่มโจมตีลิเบีย ว่าคงจะประเมินในส่วนของการสู้รบที่เกิดขึ้นในตอนเหนือของลิเบีย ซึ่งแรงงานไทยที่เคยอยู่ตรงนั้นถูกอพยพออกมาหมดแล้ว ยกเว้นคนที่สมัครใจอยู่ แต่เรายังติดตามอย่างต่อเนื่องเพราะว่าเมื่อใดที่พวกเขาต้องการกลับ เราก็ต้องเข้าไปช่วย ซึ่งไม่ใช่เฉพาะในประเทศลิเบียเท่านั้น ประเทศเยเมนรวมถึงประเทศอื่น ๆ เราก็ต้องดูแลเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ยังไม่มีคนไทยที่ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต

เผย ! ถล่มลิเบีย เป็นการแทรกแซงสุดอัปยศ ตั้งแต่หมดยุค ฮุซเซน

การโจมตีเปิดฉากโดยการที่เครื่องบินฝรั่งเศสยิงถล่มลิเบียในปฏิบัติการแทรกแซงทางทหารครั้งใหญ่ที่สุดของนานาประเทศ นับตั้งแต่ปฏิบัติการโจมตีอิรักเมื่อปี 2546 โดยสามารถทำลายรถถังและยานหุ้มเกราะในเมืองเบงกาซี ซึ่งเป็นฐานที่มั่นของฝ่ายต่อต้านลิเบีย หลังจากนั้นเรือรบและเรือดำนำของสหรัฐฯ และอังกฤษได้ยิงขีปนาวุธโทมาฮอกอย่างน้อย 110 ลูก เข้าใส่กองกำลังป้องกันทางอากาศรอบกรุงตริโปลี และเมืองมิสราตาที่ถูกกองกำลังของกัดดาฟีปิดล้อม

ด้าน พ.อ.กัดดาฟี กล่าวว่า ปฏิบัติการของชาติตะวันตกเป็นการรุกรานเพื่อล่าอาณานิคม จึงจำเป็นที่จะต้องเปิดคลังอาวุธให้ประชาชนเข้ามานำอาวุธไปใช้ปกป้องเอกราช เอกภาพ และเกียรติภูมิของลิเบีย พร้อมกันนี้ยังเตือนว่า การที่กองกำลังนานาชาติเข้ามาปฏิบัติการในลิเบียจะทำให้ภูมิภาคแถบเมดิเตอร์เรเนียน และแอฟริกาเหนือ ตกอยู่ในอันตราย และทำให้พลเรือนเสี่ยงอันตราย

สำหรับปฏิบัติการโจมตีลิเบียของชาติตะวันตก ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะบังคับใช้เขตห้ามบินเหนือน่านฟ้าลิเบียตามที่สหประชาชาติเห็นชอบ ซึ่งนับเป็นการเพิ่มความพยายามของนานาชาติที่จะหยุดยั้ง พ.อ.กัดดาฟี ที่โจมตีกองกำลังฝ่ายต่อต้านอย่างหนักหน่วงต่อเนื่องเป็นเวลาหลายสัปดาห์

กองกำลังพันธมิตร รุกเชิงสัญลักษณ์ ถล่มที่ทำการ กัดดาฟี

อาคารดำเนินการ ซึ่งอยู่ในบริเวณที่พักอาศัยของมูอัมมาร์ กัดดาฟี ในกรุงตริโปลี ถูกโจมตีด้วยขีปนาวุธลูกหนึ่งได้รับความเสียหายอย่างย่อยยับ โดยเจ้าหน้าที่กองกำลังตะวันตกรายหนึ่งระบุว่าเป็นการทำลายศูนย์บัญชาการ และควบคุมการสู้รบของผู้นำลิเบีย

มุสซา อิบรอฮิม โฆษกของลิเบีย ซึ่งนำคณะผู้สื่อข่าวไปยังที่เกิดเหตุโดยรถบัสระบุว่า อาคารดังกล่าว ซึ่งอยู่ห่างจากเต็นท์ที่กัดดาฟีมักใช้เป็นสถานที่พบปะแขกผู้มาเยือนราว 50 เมตรพังราบ หลังจากถูกถล่มด้วยขีปนาวุธลูกหนึ่ง

เจ้าหน้าที่ฝ่ายพันธมิตรตะวันตกนายหนึ่งกล่าวว่า กองกำลังผสมของพันธมิตรนั้นใช้กำลังโจมตีลิเบียตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็น ปี 1973 โดยจะเดินหน้าถล่มเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นภัยโดยตรงต่อประชาชนชาวลิเบีย และความสามารถในการกำหนดเขตห้ามบิน

ด้านกลุ่มผู้สนับสนุนผู้นำลิเบียจำนวนมากรีบมุ่งหน้าไปยังสถานที่ดังกล่าว ซึ่งอยู่ในบับ เอลอาซิซิยา ทางใต้ของกรุงตริโปลี หลังมีข่าวลือแพร่ออกไปว่าเครื่องบินลำหนึ่งถูกยิงร่วงลงมา

กรุงตริโปลีถูกโจมตีด้วยระเบิดอานุภาพสูงในคืนวันอาทิตย์ (20) ที่ผ่านมา ซึ่งเสียงระเบิดครั้งหนึ่งดังขึ้นจากพื้นที่รอบๆ บ้านพักของกัดดาฟี โดยมีควันไฟพวยพุ่งขึ้นจากบริเวณดังกล่าว และค่ายทหารหลายแห่ง ขณะที่มีการยิงปืนสกัดอากาศยานหลายนัด

กองทัพของกัดดาฟีประกาศหยุดยิงอีกครั้งในวันอาทิตย์ โดยว่าลิเบียตั้งใจที่จะยุติความเป็นปรปักษ์ในทันที แต่สหรัฐฯ กล่าวหารัฐบาลตริโปลีว่าละเมิดประกาศหยุดยิงนั้นในแทบจะทันทีเช่นกัน

ฮูโก ชาเวซฮึ่ม ! สหรัฐฯ อย่าหวังแทรกแซง เวเนเซอูล่า เหมือนลิเบีย

ประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ แห่งเวเนซุเอลา กล่าวประณามสหรัฐฯ และชาติพันธมิตร ที่ใช้กำลังโจมตีลิเบีย และว่าสหรัฐฯ นั้นหวังผลประโยชน์ในด้านน้ำมันในลิเบีย พร้อมทั้งมีคำเตือนประธานาธิบดีบารัก โอบามาว่า อย่าได้คิดใช้กำลังเข้าแทรกแซงเวเนซุเอลา เหมือนกับที่ทำกับลิเบีย ซึ่งท่าทีของผู้นำเวเนซุเอลาสอดคล้องกับอีกหลายประเทศในภูมิภาคอเมริกาใต้

ทั้งนี้ นายชาเวซมีสายสัมพันธ์ที่แนบแน่นกับ พ.อ.โมอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบียมาอย่างยาวนาน และมักอ้างถึงการล่าอาณานิคมของสหรัฐฯ รวมทั้งประณามการทำสงครามทั้งในอิรัก และอัฟกานิสถาน

ฝรั่งเศส อังกฤษ ปฏิบัติการณ์ในลิเบีย หวังปลิดชีพ กัดดาฟี

โฆษกกองทัพฝรั่งเศส กล่าวว่า ฝรั่งเศสระดมเครื่องบินกว่า 15 ลำ เข้าร่วมการโจมตีลิเบีย วานนี้ โดยเครื่องบินเหล่านี้จะปฏิบัติการโจมตี ทั้งปกป้องทางอากาศ และให้การสนับสนุนปฏิบัติการภาคพื้นดินในลิเบีย

ขณะที่โฆษกกระทรวงกลาโหมฝรั่งเศส กล่าวว่า กาตาร์ตัดสินใจระดมเครื่องบิน 4 ลำ เข้าร่วมปฏิบัติการต่อต้าน นายโมอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบีย เป็นการแสดงให้เห็นว่า ชาติอาหรับเข้าร่วมปฏิบัติการดังกล่าว

นายเลียม ฟ็อกซ์ รัฐมนตรีกลาโหมของอังกฤษ เปิดเผยว่า อังกฤษเตรียมพร้อมจะเปิดฉากโจมตี เพื่อปลิดชีพ พ.อ.โมอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบีย และสนับสนุนการโจมตีแบบ บังเกอร์ บัสเตอร์ ที่มีอำนาจเจาะทะลุทะลวงลงไปถึงใต้ดินต่อผู้นำลิเบีย ขณะที่ได้ประกาศจะทำลายโครงสร้างทางทหารทั้งหมดของลิเบีย

โดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงหลายคนของอังกฤษ ยอมรับว่า พวกเขาต้องการผลักดันให้มีการเปลี่ยนแปลงในลิเบีย ขณะที่อังกฤษยังคงใช้ขีปนาวุธโทมาฮอว์ก โจมตีกองกำลังของผู้นำลิเบีย อย่างหนักตลอดคืนที่ผ่านมา ขณะที่รัฐบาลอังกฤษ ไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้ ที่อาจมีส่งกองกำลังทางภาคพื้นดินเข้าไปในลิเบีย เพียงแต่ระบุว่า แผนการนี้ ยังไม่เกิดขึ้นในขณะนี้

โฆษก กต. ยืนยัน 86 คนไทยยังอยู่ในลิเบีย สั่งประสานทูต หากต้องการกลับบ้าน

นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศ ในฐานะโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวถึงสถานการณ์ในประเทศลิเบียว่า ขณะนี้ยังมีแรงงานไทย 86 คนที่ทำงานและตั้งรกรากอยู่ในลิเบีย จำนวน 30 คนยังอยู่ในกรุงตริโปลี ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศประสานไปยังสถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงตริโปลี ให้สอบถามว่าจะเดินทางกลับประเทศหรือไม่

ส่วนท่าทีของไทยต่อสถานการณ์ในลิเบียนั้น ยืนยันไม่ส่งกองกำลังทหารเข้าช่วย ซึ่งประเทศสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ที่มีความพร้อมในเรื่องกองกำลัง จะเป็นผู้สนับสนุน อีกทั้งในทางมนุษยธรรม เชื่อว่าทุกฝ่ายจะให้การดูแลประชาชนเป็นอย่างดี เพราะเป้าหมายการต่อสู้ครั้งนี้มุ่งไปที่การทหารเท่านั้น โดยหากแรงงานไทยท่านใดต้องการเดินทางกลับประเทศ สามารถแจ้งความประสงค์ได้ที่สถานทูตทันที

22-23 มีนาคม 2554


 

พันธมิตร เปิดฉากถล่มกลุ่มสนับสนุน กัดดาฟี ส่งผลพลเรือนเสียชิวิตจำนวนมาก

เสียงระเบิดและปืนต่อสู้อากาศยานดังสนั่นหวั่นไหวท่ามกลางรายงานว่าพันธมิตรเปิดฉากโจมตีระลอกใหม่ใส่ลิเบียค่ำคืนวันจันทร์(21) ด้านโฆษกรัฐบาลอ้างปฏิบัติของชาติตะวันตกทำคนบริสุทธิ์ตายเป็นจำนวนมาก พร้อมยืนยันสามารถยึดเมืองใหญ่ที่สุดอันดับ 3 คืนจากฝ่ายกบฏสำเร็จ

โฆษกของรัฐบาลลิเบียเปิดเผยว่าการโจมตีของกองกำลังต่างชาติด้วยการถล่มท่าเรือหลายแห่งและสนามบินซีร์ต ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก “สถานที่แห่งนั้น(สนามบินซีร์ต) เป็นท่าอากาศยานพลเรือน มันถูกทิ้งระเบิดและมีประชาชนจำนวนมากเสียชีวิต เช่นเดียวกับท่าเรือหลายแห่งก็ถูกโจมตี ขณะที่ผู้เห็นเหตุการณ์รายหนึ่งบอกว่าเห็นฐานทัพเรือของลิเบีย ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของเมืองหลวงไปราว 10 กิโลเมตรถูกทิ้งระเบิดได้รับความเสียหาย

ด้านผู้สื่อข่าวเอเอฟพีรายงานว่าได้ยินเสียงระเบิดและปืนต่อสู้อากาศยานใกล้เขตบ้านพักของประธานาธิบดีโมอัมมาร์ กัดดาฟี ราว 19.00 จีเอ็มที (ตรงกับเมืองไทย02.00 น.) ทางใต้ของกรุงตริโปลี อย่างไรก็ตามยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตหรือสภาพความเสียหายต่างๆ

เมื่อค่ำคืนวันอาทิตย์(20) ก็มีเสียงปืนและระเบิดดังสนั่นหวั่นไหวแบบเดียวกันนี้ จากปฏิบัติการโจมตีของชาติพันธมิตรตะวันตก จนอาคารหลังหนึ่งภายในเขตบ้านพักของกัดดาฟีจพังพินาศหลังถูกถล่มด้วยจรวด

นอกจากออกมาแถลงกล่าวหาชาติตะวันตกโจมตีพลเรือนแล้ว ทางโฆษกของรัฐบาลในวันจันทร์(21) ยังเปิดเผยด้วยว่ากองกำลังผู้ภักดีต่อกัดดาฟี สามารถยึดคืนเมืองมิสราตา เมืองใหญ่ที่สุดอันดับ 3 ของลิเบียได้แล้ว และเวลานี้อยู่ระหว่างไล่ล่าเครือข่ายกลุ่มก่อการร้าย แม้ชาวบ้านในเมืองแห่งนี้เล่าว่ากองกำลังของกัดดาฟี กราดยิงเข้าใส่ชาวบ้านที่ไม่มีอาวุธและใช้พลเรือนเป็นโล่มนุษย์ป้องกันการถูกโจมตีทางอากาศ

ท่ามกลางข้อครหาละเมิดมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่สั่งให้หยุดยิงทันที โฆษกชองรัฐบาลลิเบียยืนยันว่าแม้ลิเบียต้องการเสถียรภาพ แต่ก็จะตอบโต้อย่างสาหัสหากกลุ่มกบฏพยายามอาศัยปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของชาติตะวันตกรุกคืบมายังกรุงตริโปลี

อังกฤษ ฝรั่งเศสและสหรัฐฯ เริ่มต้นโจมตีทางอากาศและยิงขีปนาวุธจากเรือรบถล่มลิเบียเมื่อช่วงค่ำวันเสาร์(19) ตามมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่อนุมัติมาตรการใดๆที่หยุดยั้งการเข่นฆ่าประชาชนของกัดดาฟี อย่างไรก็ตามภายหลังปฏิบัติการดังกล่าวก็เกิดเสียงตำหนิจากนานาชาติที่มองว่าเป็นการทำเกินกว่าอำนาจมอบหมายของมติสหประชาชาติ

แม้ว่ามีหลายประเทศเข้าร่วมกับพันธมิตรตะวันตกในความพยายามกำราบกองกำลังของกัดดาฟีมากขึ้นเรื่อยๆ แต่สมาชิกของนาโตเองก็ยังถกเถียงกันว่าองค์การแห่งนี้ควรเข้าร่วมปฏิบัติการแทรกแซงภายใต้อาณัติของยูเอ็นนี้หรือไม่อย่างไร แม้มีเสียงเรียกร้องว่าองค์การนาโตซึ่งประกอบด้วยชาติสมาชิก 28 ประเทศนั้น ควรรับหน้าที่เป็นผู้นำในปฏิบัติการโจมตีลิเบียมากกว่าที่จะนำโดยสหรัฐฯ อังกฤษ และฝรั่งเศส

บัน คี มุน เจอดี ! กลุ่มสนับสนุน กัดดาฟี ฟิวส์ขาด ขว้างปาสิ่งของ

กลุ่มผู้สนับสนุน พ.อ.โมอัมมาร์ กัดดาฟี ขว้างปาสิ่งของใส่ นายบัน คี มุน เลขาธิการสหประชาชาติ ที่เดินทางเยือนมาอียิปต์

สำหรับการเดินทางครั้งนี้ นายบัน คี มุน ได้รับเชิญจาก นายนาบิล อัล อาราบี เพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของอียิปต์

เลขาธิการสหประชาติ ถูกประชาชนขว้างปาด้วยก้อนหินและสิ่งของ ระหว่างเดินออกจากสำนักงานใหญ่สันนิบาตอาหรับ ในกรุงไคโร เพื่อเดินทางไปยังจัตุรัสตาหะรี โดยกลุ่มผู้ประท้วง ได้ถือรูป พ.อ.โมอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบีย และป้ายข้อความประณามสหประชาชาติ รวมทั้งสหรัฐฯ ทำให้เลขาธิการสหประชาชาติชาวเกาหลีใต้ ต้องกลับเข้าไปข้างใน และขึ้นรถยนต์ออกไปทางออกอื่นแทน

กัดดาฟี พบปะผู้สนับสนุน ระดมพลเกรียดชังตะวันตก

พ.อ.โมอัมมาร์ กัดดาฟี ได้พบกับกลุ่มผู้สนับสนุนตนเอง เพื่อกำหนดเวลาในการเดินขบวนในเมืองเบงกาซี เพื่อรวบรวมชาวลิเบีย

โดยสื่อลิเบีย เผยว่า ผู้นำลิเบีย ใช้การรวมกลุ่มในครั้งนี้ เพื่อรวบรวมประชาชนที่มีแนวความคิดต่อต้านชาติตะวันตก เพราะเชื่อว่าการโจมตีครั้งนี้ต้องการแบ่งแยกลิเบีย และฮุบกิจการน้ำมัน โดยจะใช้ชื่อในแผนการครั้งนี้ว่า กรีน มาร์ช ที่มีพลเรือนและสมาชิกรัฐสภา และได้ยืนยันว่า การเดินขบวนครั้งนี้ปราศจากอาวุธ แต่ยังไม่มีกำหนดการในการเดินขบวนครั้งนี้แต่อย่างใด

ขณะที่สื่อต่างชาติเชื่อว่า การเดินขบวนครั้งนี้ อาจมีกองกำลังติดอาวุธคุ้มกันการเดินขบวน เนื่องจากเกรงว่า กลุ่มต่อต้านรัฐบาลที่มีกำลังอาวุธในมือ จะเปิดฉากโจมตี

ตะวันตก ขอไทย ร่วมลงมติคว่ำบาตร ลิเบีย

“สุเทพ” รอการประเมินท่าทีของ ก.ต่างประเทศ ต่อสถานการณ์ลิเบียใน ครม. ยังไม่คุยหนุนประเทศตะวันตกถล่ม พร้อมเร่งช่วยคนไทยที่ตกค้าง

นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีด้านความมั่นคง กล่าวถึงประเทศพันธมิตรใช้จรวดถล่มลิเบียว่า วันนี้ในที่ประชุม ครม.คงรอฟังทางกระทรวงการต่างประเทศว่าจะมีการรายงานอย่างไรบ้าง ซึ่งกรณีที่เกิดขึ้นในลิเบียนี้ก็มีความเห็นที่แตกต่างกัน ต้องดูก่อนว่าจะมีรายงานเรื่องนี้อย่างไร

ส่วนท่าทีของรัฐบาลไทยเป็นอย่างไร จะสนับสนุนชาติตะวันตกหรือไม่ นายสุเทพกล่าวว่า ยังไม่มีการคุยกันในเรื่องนี้ ส่วนคนไทยที่ยังอยู่ในลิเบียนั้นทางกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงแรงงานได้ร่วมมือกันเพื่อดูแลและช่วยเหลือคนไทยที่อยู่ในลิเบีย ซึ่งส่วนใหญ่ช่วยเหลือกลับมาได้แล้ว ส่วนที่ยังตกค้างอยู่ก็ต้องดูกันต่อไปว่าอยู่ที่ไหน และจะให้ช่วยเหลืออย่างไร เขากำลังมีการประสานกันอยู่

ด้าน นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้ ครม.จะพิจารณารับรองมติขององค์การสหประชาชาติ (UN) โดยกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จะเสนอให้ 10 หน่วยงานหลัก ใช้มาตรการคว่ำบาตรประเทศลิเบีย ทั้งนี้จะมีคำสั่งห้ามโอนย้ายถ่ายเทหรือซื้อขายอาวุธไปยังประเทศลิเบีย พร้อมทั้งอายัดทรัพย์สินของกลุ่มคนที่มีรายชื่อ รวมถึงห้ามไม่ให้กลุ่มคนที่มีรายชื่อเดินทางผ่านไปยังประเทศลิเบียด้วย

พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม เปิดเผยว่า ขณะนี้ UN ยังไม่ได้ทำหนังสือขอความร่วมมือด้านกำลังทหารจากไทย เพื่อเข้าร่วมปฏิบัติการกับลิเบีย ซึ่งหากUN แจ้งมายังไทยก็จำเป็นต้องนำเรื่องเสนอเข้าให้ที่ประชุม ครม.ได้พิจารณาก่อน

ส่วน นายถวิล เปลี่ยนศรี เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) กล่าวว่า ในขณะนี้รัฐบาลยังไม่ความจำเป็นต้องส่งกำลังไปช่วยในการร่วมปฏิบัติการกับลิเบีย แต่ในวันนี้ทางกระทรวงการต่างประเทศคงจะมีการเสนอมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC)

รัฐสภาอังกฤษ ลงมติ 557:13 ร่วมรบในลิเบีย

รัฐสภาอังกฤษมีมติ 557 ต่อ 13 เสียง สนับสนุนการตัดสินใจของนายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ในการส่งเครื่องบินและเรือรบ เข้าร่วมปฏิบัติการปกป้องชาวลิเบีย ให้รอดพ้นจากการโจมตีของกองกำลัง พ.อ.โมอัมมาร์ กัดดาฟี หลังจากที่สหประชาชาติมีมติให้กำหนดเขตห้ามบินในลิเบียไปแล้ว

ด้านนายวิลเลียม เฮก รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ ระบุว่า ปฏิบัติการในลิเบียนั้น จะได้รับงบประมาณจากกระทรวงการคลังโดยตรง ไม่ใช่งบประมาณด้านกลาโหม

ขณะที่รัฐบาลย้ำว่า สถานการณ์ในลิเบียแตกต่างจากการทำสงครามในอิรัก เพราะการกำหนดเขตห้ามบินในลิเบียเป็นมติของสหประชาชาติ และมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ระบุอย่างชัดเจนห้ามการยึดครองลิเบีย

ลิเบีย ซัดเหลวไหล กระแสข่าว บุตรกัดดาฟี สิ้นใจ

รัฐบาลลิเบียปฏิเสธรายงานข่าวของสื่อต่างๆ ที่กล่าวหาว่าลูกชายคนที่ 6 ของ มูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบีย เสียชีวิตในการโจมตีทางอากาศในกรุงตริโปลี เมื่อคืนวันเสาร์ (19) ที่ผ่านมา โดยระบุเป็นข่าวลือเหลวไหล

หนังสือพิมพ์นิวยอร์กเดลินิวส์ รายงานว่า คามิส กัดดาฟี วัย 27 ปี เป็นผู้นำกองทัพปราบปรามกลุ่มกบฏ นับตั้งแต่เกิดเหตุจลาจลทั่วประเทศเพื่อโค่นล้มอำนาจพ่อของเขา

ก่อนหน้านี้ สถานีโทรทัศน์เอ็นบีเอ็นทีวี ในเลบานอน อ้างว่า คามิส เสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่นักบินของกองทัพอากาศลิเบียนายหนึ่ง จงใจขับเครื่องบินรบชนบ้านของเขาในเขต บาบ อัล-อาซิซิยา ในกรุงตริโปลี ที่ซึ่งเขาอาศัยอยู่กับญาติๆ

รายงานข่าวดังกล่าวยังระบุด้วยว่า คามิส เสียชีวิตที่โรงพยาบาลเนื่องจากทนพิษบาดแผลไม่ไหว

ขณะที่เว็บไซต์อารเบียนบิสซิเนสนิวส์ รายงานว่า คามิส ได้รับบาดเจ็บสาหัสจากการถูกไฟคลอก และไปเสียชีวิตที่โรงพยาบาล

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลของกัดดาฟี ปฏิเสธรายงานข่าวดังกล่าวที่แพร่สะพัดในวันจันทร์ (21) ที่ผ่านมา โดยประณามข่าวลือนี้ว่าเป็นเรื่องเหลวไหลไร้สาระ

กัดดาฟีลั่นสู้ที่นี้ สู้จนตาย ไม่หวั้นสงครามยืดเยื้อ

โมอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบียประกาศลั่นเมื่อวันอังคาร (22) ที่ผ่านมา ประเทศแห่งนี้พร้อมต่อสู้ฝ่ายศัตรูไม่ว่าจะระยะสั้นๆหรือยืดเยื้อ ท่ามกลางข่าวลือว่าพรรคพวกของเขากำลังติดต่อกับทั่วโลกเพื่อหาทางลง ขณะที่สหรัฐฯ ไม่ปฏิเสธข่าวลือลูกชายของประธานาธิบดีรายนี้เสียชีวิตแล้ว

การปรากฎตัวอีกครั้งของกัดดาฟี มีขึ้นพร้อมๆกับที่นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์กับเอบีซีว่าพรรคพวกของประธานาธิบดีรายนี้ได้ติดต่อกับนานาประเทศเพื่อหาทางลง

นางคลินตันกล่าวว่า “เราได้ยินมาว่า มีคนใกล้ชิดกับเขาได้ติดต่อกับกลุ่มคนที่พวกเขารู้จักทั่วโลก ทั้งในแอฟริกา ตะวันออกกลาง ยุโรป อเมริกาเหนือและอื่นๆ และบอกว่าเราควรทำอย่างไร เราจะออกจากเรื่องนี้ได้อย่างไร”

พร้อมกันนั้นรัฐมนตรีต่างประเทศหญิงรายนี้ยังบอกด้วยว่าเธอได้ยินข่าวลูกชายคนหนึ่งของกัดดาฟี เสียชีวิตในปฏิบัติการโจมตีทางอากาศต่อลิเบียของพันธมิตรตะวันตก อย่างไรก็ตามเธอก็ยอมรับว่ายังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะยืนยันข่าวนี้

ลิเบีย ! ระอุ ราคาน้ำมันขยับต่อเนื่อง

ราคาน้ำมันวานนี้(22) ยังขยับขึ้นต่อเนื่อง จากเหตุสู้รบในลิเบีย ชาติผู้ส่งออกพลังงานสำคัญ

สัญญาล่วงหน้าน้ำมันไลต์สวีตครูตของสหรัฐฯ งวดส่งมอบเดือนเมษายน เพิ่มขึ้น 1.67 ดอลลาร์ ปิดที่ 104 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนเบรนท์ทะเลเหนือลอนดอน งวดส่งมอบเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้น 74 เซนต์ ปิดที่ 115.70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หลังจากช่วงต้นขยับลงเล็กน้อยจากแรงขายทำกำไรของนักลงทุน

.ต่างประเทศ รับลูกตะวันตก คว่ำบาตร ลิเบีย

นายธานี ทองภักดี โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงการต่างประเทศออกแถลงการณ์อย่างเป็นทางการรับมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ UNSC กรณีประเทศลิเบีย ถือว่าประเทศไทยเป็นภาคีสมาชิกยูเอ็น ต้องรับมติที่ออกมาอยู่แล้ว โดยประเทศไทยต้องปฏิบัติตามมติเหมือนประเทศสมาชิกอื่นๆ ทั่วโลก

ส่วนการตัดสินใจเกี่ยวกับสถานทูตไทยในลิเบียนั้น ยืนยันว่า ยังไม่มีการปิดสถานทูต เพียงแต่อพยพเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ไปอยู่ตามแนวชายแดน เหลือเพียงไม่กี่คนที่ประจำการ แต่หากมีเหตุรุนแรงเกิดขึ้น พร้อมอพยพออกจากประเทศลิเบียทันที

กองกำลังพันธมิตร เดินหน้าภารกิจถล่มลิเบีย หลังทำลายฐานอากาศยานสำเร็จ

กองกำลังพันธมิตรยังปฏิบัติการโจมตีทางอากาศรอบกรุงทริโปลี ของลิเบียเมื่อคืนวานนี้ แต่อาจลดระดับการโจมตีลง หลังจากประสบความสำเร็จในการโจมตีฐานต่อต้านอากาศยานของลิเบีย

กองทัพพันธมิตร ยังคงปฏิบัติการโจมตีรอบกรุงทริโปลี เมืองหลวงลิเบีย เมื่อคืนวานนี้ และสถานีโทรทัศน์ของทางการลิเบีย รายงานว่า หลายพื้นที่ในกรุงทริโปลี ถูกโจมตีจาก”ศัตรูผู้ทำสงครามศาสนา”โดยมีเสียงระเบิดและปืนต่อต้านอากาศยานดังต่อเนื่อง เนื่องจากลิเบียก็ยิงปืนต่อต้านอากาศยานขึ้นสู่ท้องฟ้าเหนือกรุงทริโปลีเพื่อเป็นการตอบโต้เช่นกัน ขณะทางประชาชนตามท้องถนนต่างพากันบีบแตรรถยนต์เพื่อเป็นการสนับสนุนการปฏิบัติการตอบโต้ทางทหารดังกล่าว ส่วนเครื่องบินของกองกำลังพันธมิตร ก็ปฏิบัติภารกิจ บินอยู่เหนือกรุงทริโปลีในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา ซึ่งแต่ละครั้งก็จะถูกตอบโต้จากปืนต่อต้านอากาศยาน

ทั้งนี้ การแทรกแซงในลิเบียตามมาตรการคว่ำบาตรของสหประชาชาติ มีเป้าหมายอยู่ที่กองกำลังที่สนับสนุนพันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟี และในการทิ้งระเบิดโจมตีตลอด 3 คืนที่ผ่านมา ก็เพื่อบังคับใช้เขตห้ามบินในลิเบีย ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสรับบทบาทนำในการปฏิบัติการโจมตีทางอากาศ ซึ่งสามารถทำลายฐานป้องกันภัยทางอากาศของลิเบียได้หลายแห่ง

มหาอำนาจ เสียงแตก จีน บราซิล ไม่เอาด้วย

นานาชาติมีความคิดเห็นแตกแยกกันมากขึ้นเกี่ยวกับมติของยูเอ็น มหาอำนาจอย่างจีนและบราซิลเรียกร้องให้หยุดยิง ท่ามกลางความหวาดกลัวว่า พลเรือนจะบาดเจ็บ ล้มตายจำนวนมาก ซึ่งเจ้าหน้าที่ของลิเบีย แถลงก่อนหน้านี้ว่า การปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของพันธมิตรทำให้พลเรือนเสียชีวิตไปแล้วหลายสิบคน

ด้าน รัสเซีย ระบุว่า คณะมนตรีความมั่นคงยูเอ็นจะหารือกันในวันพรุ่งนี้ว่า ชาติตะวันตกจะเดินหน้าใช้อำนาจแทรกแซงในลิเบียต่อไปหรือไม่

ด้านกองทัพฝรั่งเศส แถลงเมื่อวานนี้ว่า ฝรั่งเศสอาจขยายปฏิบัติการทางทหารในลิเบียนอกเหนือพื้นที่เมืองเบนกาซี หลังจากที่ ฝรั่งเศสเน้นการโจมตีทางอากาศในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งเป็นฐานที่มั่นสำคัญของฝ่ายกบฏ ตั้งแต่เริ่มใช้ปฏิบัติการทางทหารแทรกแซงในลิเบียเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา โฆษกของกองทัพฝรั่งเศส กล่าวว่า ฝรั่งเศสได้แจ้งให้พันธมิตรได้รับทราบเกี่ยวกับการปฏิบัติการทางทหารทั้งหมดก่อนการโจมตีทางอากาศทุกครั้ง ท่ามกลางรายงานข่าวความแตกแยกระหว่างนานาชาติ

อย่างไรก็ตาม พันธมิตรเตรียมลดระดับการโจมตีฝ่ายรัฐบาลลิเบียลงในอีกไม่กี่วันข้างหน้า หลังถล่มที่ตั้งต่อสู้อากาศยานหลายแห่งได้รับความเสียหายอย่างหนัก แต่การปะทะกันระหว่างฝ่ายสนับสนุนกัดดาฟีกับกลุ่มกบฏยังไม่มีท่าทีว่าจะยุติ มีการตอบโต้กันอย่างดุเดือดทางใต้ของกรุงตริโปลี ท่ามกลางคำร้องขอของฝ่ายกบฏต่อยูเอ็นที่ต้องการข้อตกลงหยุดยิงในทันที นายโรเบิร์ต เกตส์ รัฐมนตรีกลาโหมสหรัฐ เปิดเผยหลังจากเดินทางเยือนรัสเซียเมื่อวานนี้ว่า การทำลายเรดาร์และขีปนาวุธที่อยู่ภายใต้การควบคุมของกัดดาฟี เป็นการเปิดทางสำหรับเขตห้ามบินโดยมีเครื่องบินรบคอยบินลาดตระเวน และสหรัฐจะทำหน้าที่เป็นฝ่ายสนับสนุน โดยนายเกตส์ กล่าวว่า เมื่อประสบความสำเร็จในการหยุดยั้งการต่อสู้ทางอากาศ ก็ควรจะลดระดับของปฏิบัติการโจมตีลง

รมต..ต่างประเทศลิเบีย สับเละ ตะวันตก เจตนาเอาชีวิต กัดดาฟี

นายคาเลด คาอิม รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศลิเบีย ให้สัมภาษณ์รอยเตอร์ อ้างกองกำลังตะวันตกมีเป้าหมายช่วยกลุ่มกบฏมากกว่าปกป้องพลเรือน และแสดงเจตนาชัดเจนว่าต้องการสังหารกัดดาฟี ซึ่งข้อกล่าวหาที่มีขึ้นพร้อม ๆ กับปฏิบัติการโจมตีทางอากาศระลอกใหม่ของพันธมิตรต่อตริโปลีท่ามกลางเสียงระเบิดและปืนต่อสู้อากาศยานดังสนั่นหวั่นไหวในช่วงค่ำวานนี้ นายคาอิม กล่าวต่อว่า การโจมตีที่ก่อความเสียหายแก่อาคารหลังหนึ่งที่ศูนย์บัญชาการประจำกรุงตริโปลีของกัดดาฟี บ่งชี้ชัดเจนว่ากองกำลังชาติตะวันตกต้องการลอบสังหารผู้นำลิเบีย แม้ภายหลังได้ออกถ้อยแถลงว่าเขาไม่ใช่เป้าหมายก็ตาม

กัดดาฟี ปรากฎตัวต่อผู้สนับสนุน ย้ำ เราจะประสบชัยชนะในที่สุด“

พ.อ.มูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบีย ปรากฏตัวต่อหน้ากลุ่มผู้สนับสนุนในกรุงทริโปลี ซึ่งถูกโจมตีโดยกองกำลังพันธมิตรของชาติตะวันตก และกล่าวว่า “เราจะประสบชัยชนะในที่สุด”

ในการกล่าวปราศรัยเป็นเวลา 3 นาที ผ่านทางสถานีโทรทัศน์ของรัฐบาล ที่บริเวณย่านบับ อัล-อาซิซิยา ซึ่งถูกโจมตีเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา เขากล่าวว่า “กองทัพมุสลิมทั้งหมด”ควรร่วมปฏิบัติภารกิจร่วมกับเขา กองกำลังต่างชาติที่กำลังโจมตีรัฐบาลของเขาจะพ่ายแพ้และจบลงด้วยความย่อยยับกลายเป็นขยะในประวัติศาสตร์

สุดท้ายเขากล่าวสรุปว่า “ผมไม่กลัวพายุที่กำลังพัดโหมตรงเส้นขอบฟ้า หรือหวาดหวั่นต่อการทำลายล้างจากเครื่องบินเหล่านั้น ผมเป็นผู้ต่อต้าน ตอนนี้บ้านของผมก็คือเต๊นท์ ผมเป็นเจ้าของโดยชอบธรรม และเป็นผู้สรรค์สร้างแห่งวันพรุ่งนี้ ผมอยู่นี่แล้ว”

นับเป็นครั้งแรกที่ผู้นำลิเบียปรากฏตัวต่อสาธารณะนับตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม เนื่องจากก่อนหน้านั้นมีแต่การเผยแพร่เทปบันทึกเสียงและการให้สัมภาษณ์พิเศษ หลังจาก กัดดาฟี เสร็จสิ้นการกล่าวสุนทรพจน์ มีการจุดดอกไม้ไฟในกรุงทริโปลี ผู้คนส่งเสียงโห่ร้องและยิงปืนขึ้นฟ้าในใจกลางเมือง

อย่างไรก็ดี กองกำลังผู้ภักดีต่อเขายังคงปะทะกับฝ่ายต่อต้านอย่างต่อเนื่อง โดยเมืองมิสราตา ซึ่งเป็นฐานที่มั่นสุดท้ายของฝ่ายต่อต้านทางภาคตะวันตกของลิเบีย ถือเป็นพื้นที่ที่เกิดการนองเลือดมากที่สุด หลังจากที่รถถังของฝ่ายรัฐบาลเริ่มยิงระเบิดเข้าสู่เมืองเป็นระยะๆ ขณะที่ทั้งสองฝ่ายยังไม่มีกลุ่มใดที่สามารถเข้ายึดครองเมืองอัจดาบิยา ทางภาคตะวันออกได้อย่างเต็มตัว

เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา มีรายงานการสู้รบบริเวณเมืองซินแทน ใกล้กับชายแดนประเทศตูนิเซีย และเมืองยาฟราน ห่าง 130 กม.ทางตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงทริโปลี โดยพบผู้เสียชีวิตแห่งละประมาณ 10 คน

ขณะที่นายบัน คี มูน เลขาธิการสหประชาชาติ เรียกร้องให้ประชาคมโลกสนับสนุนมาตรการห้ามบินเหนือน่านฟ้าลิเบีย จนกว่าผู้นำลิเบียจะยุติการใช้กำลังทหารจัดการประชาชนของตนเอง

นายบัน ระบุว่า หาก พ.อ.มูอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบีย ยังไม่ยุติการใช้กำลังทหารเข้าปราบปรามพลเมืองของตนเอง เขาคิดว่ามาตรการห้ามบินเหนือน่านฟ้าลิเบีย และปฏิบัติการโจมตีทางอากาศตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ น่าจะต้องดำเนินต่อไป และเขาหวังให้ประชาคมโลกสนับสนุนปฏิบัติการครั้งนี้

นายบัน ยืนยันว่า ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของกองกำลังพันธมิตร นำโดยสหรัฐ อังกฤษ และฝรั่งเศส ไม่ได้เป็นการแทรกแซงกิจการภายในของลิเบีย หรือเข้าไปครอบครองดินแดนโดยกองกำลังต่างชาติ แต่เป็นเพียงการคุ้มครองชีวิตพลเรือนชาวลิเบียเท่านั้น

ทั้งนี้ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ตกลงจะเปิดประชุมกลางสัปดาห์นี้ เพื่อหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ในลิเบีย หลังจากเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์การโจมตีทางอากาศในลิเบียจากหลายฝ่าย

ได้รับอิสระภาพแล้ว 3 นักข่าว ติดตามเหตุการณ์ในลิเบีย

นักข่าวต่างประเทศ 3 คน ซึ่งถูกกองกำลังหนุนอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบียจับตัวไปตั้งแต่สุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้รับการปล่อยตัวแล้วเช้าวันนี้ (23) ในกรุงตริโปลี

เอมมานูเอล ฮุก ประธานสำนักข่าวเอเอฟพีเรียกร้องให้กัดดาฟีปล่อยตัวนักข่าวทั้ง 3 คน ซึ่งถูกทหารลิเบียจับตัวไปใกล้กับเมืองอัจดาบิยา ทางตะวันออกของประเทศ เมื่อวันเสาร์ (19) ที่ผ่านมา

โมฮัมเหม็ด ฮาเหม็ด คนขับรถ ซึ่งถูกว่าจ้างโดยเดฟ คลาร์ก และโรแบร์โต ชมิดท์ นักข่าว และช่างภาพของเอเอฟพีที่หายตัวไปตั้งแต่ศุกร์ที่แล้ว (18) เผยว่า พวกเขาถูกจับตัวไปพร้อมกับ โจ แรเดิล ช่างภาพชาวอเมริกันของเกตตีอิมเมจอีกคนหนึ่ง

ฮาเหม็ดเล่าว่า ในเช้าวันเสาร์ (19) เขาพานักข่าวชาวอังกฤษ ซึ่งมีสัญชาติร่วมโคลอมเบีย และเยอรมันทั้ง 2 คน พร้อมกับแรเดิล เดินทางจากเมืองตอบรุกไปยังอัจดาบิยา ที่ซึ่งกลุ่มผู้ภักดีของกัดดาฟีกำลังต่อสู้ปราบปรามกลุ่มกบฏ

คนขับรถรายนี้เสริมว่า พวกเขาพบกับขบวนรถทหารของกัดดาฟีโดยอังเบิญ ไม่กี่กิโลเมตรจากเมืองอัจดาบิยา พวกเขาจึงตัดสินใจกลับรถ และขับหนีขบวนทหาร แต่ถูกไล่ตาม และควบคุมตัวไว้

เขายังเล่าว่า ทหารของกัดดาฟี 4 คนใช้ปืนจ่อ และสั่งให้ทีมนักข่าวลงจากรถ โดยคลาร์กได้อธิบายเป็นภาษาอาหรับด้วยว่า พวกเขาเป็นผู้สื่อข่าว

ทว่า ทหารสั่งให้ทุกคนคุกเข่า และยกมือวางบนศีรษะ อยู่ริมถนนก่อนที่จะถูกจับยัดเข้ารถอีกคันหนึ่ง และมุ่งหน้าไปสู่สถานที่ที่ไม่รู้จัก

ทั้งนี้ คลาร์ก วัย 38 ปี นักข่าวประจำฝรั่งเศส ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในลิเบียมาตั้งแต่ 8 มีนาคม ส่วนชมิดท์ วัย 45 ปี ทำงานประจำอยู่ที่สำนักงานเอเอฟพีในเมืองไนโรบี เดินทางไปยังลิเบียตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์

ส่อเค้ายืดเยื้อ ! อังกฤษ ประกาศยังไม่ทราบ ห้วงเวลายุติภารกิจ ในลิเบีย

อังกฤษยอมรับว่า ปฎิบัติการโจมตีทางทหารเพื่อกดดันต่อพันเอกมูฮัมมาร์ กัดดาฟี ไม่ทราบวันยกเลิกภารกิจ ขณะที่เหล่าสมาชิกรัฐสภาอังกฤษพรรครัฐบาลอังกฤษวิตกว่า ปฎิบัติดังกล่าวอาจใช้เวลากว่า 30 ปี ส่วนนายวิลเลี่ยม เฮก รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศอังกฤษวิตกว่า อังกฤษจะผูกพันปฎิบัติดังกล่าวซึ่งจะกินเวลานานและสูญเสียค่าใช้จ่ายมาก พร้อมทั้งระบุว่า เป็นไปได้ไม่ที่ระบุจะเส้นตายของการที่อังกฤษต้องเกี่ยวพันกับปฎิบัติการโจมตีกดดันผู้นำลิเบีย โดยปัจจัยนี้ยังต้องพึ่งปฎิกิริยาของประชาชนลิเบียว่า พอใจต่อกรณีชาติพันธมิตรตะวันตกโจมตีกดดันผู้นำลิเบียหรือไม่ และปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายอย่าง

ท่าทีนี้ยังมีขึ้นหลังจากที่พันเอกกัดดาฟี ผู้นำลิเบีย ได้ประกาศสุนทรพจน์ลั่นว่า เขาพร้อมที่ทำสงครามต่อสู้ระยะยาวกับชาติตะวันตก ระบุว่า ลิเบียจะเล่นงานตะวันตกทั้งช่วงระยะสั้นและระยะยาว

ด้านนักวิเคราะห์ชี้ว่า ดูเหมือนตะวันตกจะไม่รู้ว่าจะเดินต่อไปอย่างไรในปฎิบัติการโจมตีลิเบีย โดยท่าทีของฝรั่งเศสระบุว่า ปฎิบัติการดังกล่าวจะยุติลงทันทีหากรัฐบาลลิเบียยอมหยุดยิง ถอนทหารออกจากพื้นที่โจมตีกลุ่มกบฎและประชาชน และเคารพต่อมติควบคุมเขตห้ามบินของสหประชาชาติ แต่สหรัฐมีท่าทีลังเลที่จะเป็นผู้นำปฎิบัติการครั้งนี้ หลังจากเจ็บตัวเพราะสงครามอิรักและอัฟกานิสถานมาแล้ว โดยสหรัฐแสดงท่าทีว่า ในเร็วๆ นี้ สหรัฐต้องการจะสละทิ้งภารกิจผู้นำปฎิบัติการ โดยอาจมอบให้ชาติตะวันตกและชาติอาหรับที่ถูกคาดว่าจะร่วมควบคุมทางทหารต่อลิเบียภายใต้โครงสร้างที่มีนาโต้เป็นผู้ช่วยแนะนำ

อย่างไรก็ตาม แผนมอบหน้าที่ให้ตะวันตกและชาติอาหรับเข้าร่วมดูเหมือนจะไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากก่อนหน้านี้ เลขาธิการสันนิบาตชาติอาหรับได้ออกโรงสร้างความแปลกใจให้แก่ตะวันตก ด้วยการประนามปฎิบัติการโจมตีทางทหารต่อลิเบีย

นอกจากนี้ ชาติตะวันตกบางประเทศยังวิตกว่า ภายหลังการแทรกแซงทางทหารของตะวันตกแล้ว ลิเบียอาจตกอยู่ภายใต้ภาวะความวุ่นวายและจลาจลระยะยาว ที่จะส่งผลกระทบต่อประชาชนชาวลิเบียด้วย และว่าขณะนี้ลิเบียยังไม่มีการวางแผนที่จะวางโครงสร้างแทนที่กลุ่มระบอบกัดดาฟี ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างปฎิรูปประชาธิปไตย การตั้งพรรคการเมือง และการตั้งหน่วยงานด้านพลเรือน โดยกลุ่มต่อต้านดูเหมือนจะมีจุดยืนอย่างเดียวก็คือ โค่นกัดดาฟีลงจากอำนาจเท่านั้น

24 มีนาคม 2554

“ลิเบีย” ย้ำไม่ได้ทำร้าย ปชช. ตามที่ ยูเอ็นระบุ

จากการโจมตีทางอากาศของพันธมิตรชาติตะวันตกนั้น รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศลิเบีย กล่าวว่า กองทัพลิเบียเพียงทำหน้าที่ป้องกันตนเอง ไม่ได้เป็นอย่างที่สหประชาชาติและชาติตะวันตกกล่าวหา ที่ว่ารัฐบาลของ พ.อ. โมอัมมาร์ กัดดาฟี ใช้ทหารทำร้ายประชาชน โดยเรียกร้องให้สหรัฐฯ อังกฤษ และฝรั่งเศส ในนามพันธมิตร 3 ประเทศ หยุดโจมตีทางอากาศต่อลิเบีย ที่อ้างมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ให้บังคับใช้มาตรการห้ามบินเหนือน่านฟ้าลิเบีย

ขณะเดียวกัน โทรทัศน์ทางการลิเบีย เผยแพร่ภาพพลเรือนที่ได้รับบาดเจ็บในโรงพยาบาล โดยระบุว่า เป็นผลจากการโจมตีทางอากาศตลอด 5 คืนที่ผ่านมา โทรทัศน์ลิเบียอ้างด้วยว่า มีผู้เสียชีวิตแล้วหลายสิบคน

สุดสะพรึง ! วิกฤตมนุษยชน แย่งชิงหัวเมืองหลักในลิเบีย

สำนักข่าวต่างประเทศ (วอชิงตันโพส) รายงานสถานการณ์ในลิเบีย ทางสำนักข่าว ระบุว่า เมื่อวันพุธที่ผ่านมา 23/03/54 มีความช่วยเหลือจากองค์กรต่างๆ ต่างหลั่งไหลมาสู่การเตรีบยการต่อภารกิจการปฎิบัติการในลิเบีย อันเป็นชนวนเพิ่มความน่าสะพรึงต่อวิกฤตทางสิทธิมนุษยชนต่อการแย่งชิงหัวเมืองสำคัญในลิเบีย

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา กองกำลังนานาชาติได้ใช้ยกระดับการใช้กำลังต่อกองกำลังของรัฐบาลกัดดาฟี ในเมืองมิสซารูต้า Misurata ระยะทาง 131 ไมลส์ทางตะวันออกของเมืองทริปโปลี การโจมตีทางอากาศดูเหมือนจะหยุดภารกิจเป็นการชั่วคราว หลังจากการปะทะสร้างความเสียหาย ยืดเยื้อเป็นเวลา 6 วันระหว่างกลุ่มผู้จงรักภักดีต่อรัฐบาลและฝ่ายต่อต้าน ในขณะที่รถถังของรัฐบาล เริ่มถอยจากเมืองอันเป็นจุดศูนย์กลางแล้ว

อย่างไรก็ตาม หลังจากสื้นราตรีในวันดังกล่าว รถถังของรัฐบาลเริ่มเดินหน้าทวงคืนเมืองอันเป็นสมรภูมิ ตามรายงานของโรงพยาบาลท้องถิ่น “พวกเขามีเกาะกำบังในทุกๆ ที่” ผู้กล่าวรายงานทางโทรศัพท์

ผู้ป่วยถูกลำเลียงออกจากชั้นที่เกิดเหตุ การสำรองยาไว้ในยามฉุกเฉิน อาจใช้ประโยชน์ได้ในระยะสั้น พลังงานสำหรับการสร้างไฟฟ้าเริ่มแหลือน้อย และน้ำประปาเริ่มถูกตัดออก แพทย์ระบุ และได้กล่าวในขณะที่ได้ปฎิบัติการกับเงื่อนไขอันไร้แนวทาง เพราะห่วงต่อการแก้แค้นเอาคืนจากกองกำลังสนับสนุนรัฐบาล

“ตัวแทนทางมนุษยชน และคนของรัฐบาลสหรัฐฯ ได้นินการการส่งเสบียง ในทางฝั่งตะวันออกของลิเบีย และเมืองใกล้เคียงกับประเทศ ในกรณีที่เกิดเหตุกาณ์ฉุกเฉิน“ผมกำลังเป็นห่วงเกี่ยวกับวิกฤตทางมนุษยชนในเมืองมิซาราตา” มาร์ก วอร์ด กล่าว ,เจ้าหน้าที่สูงสุด ในฐานะตัวแทนทางการพัฒนาในระหว่างชาติของสหรัฐฯ”

การปฎิบัติภารกิจทางทหารเกิดขึ้นจากความพยายามที่จะจัดการสร้างเสถียรภาพภายในประเทศ สำหรับบทบาทในการปฎิบัติการในลิเบีย และการเสียงวิจารณ์ตอบโต้ ซึ่งประธานานธิบดีสหรัฐฯ ต้องตัดสินใจนะหว่าง “ความระมัดระวังแบบสุดโต่ง” และ “ความก้าวร้าวแบบสุดโต่ง”

ในการรายงานของผู้สื่อข่าว วอชิงตันโพส หนางในนั้น นาย เดอร์บิน กล่าวว่า ผู้นำสหรัฐฯ ต้องตัดสินใจกับวาทกรรมที่ขาวสะอาด และสิ่งที่ต้องนึกถึง ต่อวาทกรรมของอดีตผู้นำสหรัฐฯ จอร์จ บุช ผู้สร้างความร่วมมือระหว่างชาติ ก่อนที่จะเริ่มต้นปฎิบัติการต่อต้านกองกำลังชาวอิรักในคูเวตค เมื่อปี ค.ศ.1991

อย่างไรก็ตาม โฆษกฯ รัฐสภา จอห์น โบห์เนอร์ ได้ส่งจดหมายถึง ผู้นำสหรัฐฯ เมือวันพุธที่ผ่านมา กล่าวเกี่ยวกับตัวเขาเองและผู้สร้างกฏหมายกำลังเผชิญในสถานการณ์ลำบากซึ่ง “ทหารสหรัฐฯ เป็นผู้ได้รับมอบหมายปฎิบัติการในการทำสงคราม ปราศจากการสร้างความกระจ่างต่อชาวสหรัฐฯ รัฐสภา และกองกำลัง อันปฎิบัติภารกิจในลิเบีย และบทบาทของชาวสหรัฐฯ ในการที่คาดหวังต่อความสำเร็จในภารกิจ

25 มี.ค.2554

กองกำลังนาโต้ แตะมือพันธมิตร รับโอนถ่ายภารกิจ สู้กองกำลังในลิเบีย

นายแอนเดอร์ส ฟอกห์ ราสมุสเซน เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือเผยเมื่อวันพฤหัสบดี(24) พันธมิตรนาโต มีมติเห็นชอบบังคับเขตห้ามบินเหนือลิเบียแล้ว ส่วนหนึ่งในความพยายามปกป้องพลเรือน

หลังการหารืออันเคร่งเครียดนานหลายวัน ขณะที่สมาชิกนาโตอย่างตุรกี คัดค้านใช้ปฏิบัติการโจมตีทางอากาศต่อกองกำลังของมูอัมมาร์ กัดดาฟี ทว่าล่าสุด ราสมุสเซน เปิดเผยว่าในที่สุดพันธมิตร 28 ชาติ ก็เห็นพ้องรับผิดชอบการบังคับใช้เขตห้ามบิน

ถ้อยแถลงระบุ“ตอนนี้เราตัดสินใจกำหนดเขตห้ามบินเหนือลิเบีย ปฏิบัติการของเราคือส่วนหนึ่งของความพยายามของนานาชาติที่ต้องการปกป้องพลเรือนจากการโจมตีของกองกำลังกัดดาฟี” เขากล่าว “เราจะร่วมมือกับพันธมิตรของเราในภูมิภาคและยินดีรับแรงสนับสนุนของพวกเขา”

ทั้งนี้ แม้สมาชิกนาโตอย่างสหรัฐอังกฤษ และฝรั่งเศสเข้าร่วมปฏิบัติการโจมตีทางอากาศต่อลิเบียตั้งแต่วันเสาร์ที่ผ่านมา แต่นาโตในฐานะองค์กรจะดำเนินการได้ต้องมีมติเอกฉันท์จากสมาชิกเสียก่อน

ปะทะเดือด ! พันธมิตร เปิดฉากถล่มไม่ยั้ง ฐานที่มั่น กัดดาฟี

กองกำลังกบฏยังปะทะกับฝ่ายสนับสนุนประธานาธิบดีมูอัมมาร์ กัดดาฟี อย่างดุเดือดในสองเมืองสำคัญวานนี้(24)แม้ชาติพันธมิตรตะวันตกปูพรมตัดกำลังทหารของผู้นำลิเบียต่อเนื่องมาหลายวัน ล่าสุดเปิดฉากถล่มกรุงตริโปลีอีกรอบท่ามกลางเสียงระเบิดดังสนั่นหวั่นไหวทั่วเมืองหลวงแห่งนี้ ขณะที่รัฐบาลลิเบียระบุปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของชาติตะวันตกคร่าพลเรือนผู้บริสุทธิ์ไปเกือบ100ชีวิต

“ผมมิอาจให้ตัวเลขล่าสุดแก่คุณได้ แต่เรามั่นใจว่ายอดผู้เสียชีวิตขยับเข้าใกล้ 100 คนแล้ว” มูสซา อิบราฮิม โฆษกรัฐบาลระบุถึงจำนวนผู้เสียชีวิตจากปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของชาติพันธมิตรตะวันตกที่เริ่มมาตั้งแต่เมื่อวันเสาร์(19) “ใช่ พวกเขาเหล่านั้นเป็นพลเรือน”

ข้อกล่าวหาของรัฐบาลลิเบียมีขึ้นพร้อมๆกับที่ผู้บัญชาการทหารสหรัฐฯ ออกมายอมรับว่าคงไม่สามารถยืนยันได้ร้อยเปอร์เซนต์ว่าจะไม่มีประชาชนเสียชีวิตจากปฏิบัติการกำหนดเขตห้ามบิน แต่ก็บอกว่าชาติพันธมิตรตะวันตกพยายามดำเนินการอย่างกระชับที่สุด

พล.อ.คาร์เตอร์ แฮม ผบ.กองบัญชาการกองกำลังสหรัฐฯในแอฟริกา บอกด้วยว่าปฏิบัติการโจมตีทางอากาศสามารถทำลายฐานที่มั่นและแนวป้องกันของกองทัพอากาศลิเบียได้เกือบหมดแล้ว และต่อไปนี้กองทัพของชาติพันธมิตรจะเล็งเป้าหมายไปยังทหารลิเบียที่โจมตีประชาชน

ผู้นำฝรั่งเศส สุดมั่น ปิดเกมส์กัดดาฟี ภายใน 1 สัปดาห์

ฝรั่งเศส ออกมาแสดงความมั่นอกมั่นใจว่าจะสามารถเผด็จศึกกองทัพของมูอัมมาร์ กัดดาฟีแห่งลิเบียได้ภายในไม่กี่วันหรือสัปดาห์อย่างแน่นอน ขณะที่นายทหารระดับสูงของอังกฤษเปิดเผยว่า เวลานี้เขี้ยวเล็บของกองทัพอากาศลิเบียถูกทำลายจนเกือบจะสิ้นซากแล้ว แม้ว่ารถถังของกัดดาฟีจะยังคงแสดงพิษสงถล่มหลายเมืองของฝ่ายกบฏอย่างต่อเนื่อง

รัฐมนตรีต่างประเทศอแลง ชูปเป ของฝรั่งเศส ระบุวันพุธ (24) ว่า กองกำลังแนวร่วมชาติตะวันตกซึ่งนำโดยฝรั่งเศส, อังกฤษ และสหรัฐฯ นั้น จะใช้เวลาเพียงอีกไม่กี่วันหรือกี่สัปดาห์ข้างหน้า ในการบดทำลายกองทัพของกัดดาฟีจนสิ้นซาก โดยย้ำว่า ภารกิจนี้จะไม่ดำเนินยืดเยื้อหลายเดือนอย่างแน่นอน นอกจากนี้ชูปเป ยังประเมินผลงานของแนวร่วมตะวันตกในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาด้วยว่า ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม พร้อมกับระบุชัดว่าจะทำการบอมบ์โจมตีทางอากาศใส่ฐานที่มั่นและแนวป้องกันของกัดดาฟีต่อเนื่องไปอีก

“ปฏิบัติการทำลายขีดความสามารถของกองทัพกัดดาฟี จะใช้เวลาอีกเพียงแค่ไม่กี่วันหรือภายในไม่กี่สัปดาห์ถัดจากนี้ โดยที่จะไม่ใช่หลายเดือนอย่างแน่นอน”รัฐมนตรีแดนน้ำหอม กล่าวกับผู้สื่อข่าว

กองกำลังอังกฤษ เผยไม้เด็ด ฐานทัพอากาศ กัดดาฟีราบคาบไปแล้ว

พลอากาศตรี เกรก แบ็กเวลล์ แห่งกองทัพอังกฤษ ออกมาเปิดเผยความคืบหน้าสำคัญ ระบุว่า บัดนี้เขี้ยวเล็บของกองทัพอากาศลิเบียได้ถูกทำลายจนเกือบจะราบคาบหมดแล้ว และกองกำลังดังกล่าวก็ไม่หลงเหลือศักยภาพพอที่จะทำการสู้รบได้อีกต่อไป

ผู้ชุมนุมฝ่ายสนับสนุนอดีตประธานาธิบดีแห่งอียิปต์ ฮอสนี มูบารัค เกิดปะทะกับฝ่ายตรงข้ามในกรุงไคโรเมื่อวันพฤหัสบดี(24) หลังไม่พอใจฝ่ายต่อต้านผู้นำจอมเผด็จการ ที่ร้องขอให้ศาลถอดชื่อของเขาออกจากองค์กรสาธารณะต่างๆ

เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงรายหนึ่งเปิดเผยว่าผู้สนับสนุน มูบารัค ราว 200 คนซึ่งถือรูปของอดีตประธานาธิบดีผู้ถูกขับไล่ ได้ขว้างก้อนหินและขวดแก้วเข้าใส่ฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง

ประชาชนราว 300 คน เดินทางไปยังศาลเพื่อแสดงความสนับสนุนคำร้องเรียนที่ขอให้ถอดชื่อของ มูบารัค ออกจากสถานีรถไฟฟ้า ห้องสมุด ถนน โรงเรียนและองค์กรสาธารณะอื่นๆ ขณะที่อีกฝ่ายอ้างว่าพวกเขาเดินทางมายังศาลเพื่อหนุนหลัง “ฮีโร่” สงครามของพวกเขา

26 มี.ค.2554

“กัดดาฟี” รับศึก 2 ด้าน ! กองกำลังพันธมิตรโจมตีทางอากาศ – ฝ่ายต่อต้านเปิดศึกชิงเมืองยุทธศาสตร์

เครื่องบินรบของพันธมิตรตะวันตกยิงถล่มกองกำลังของมูอัมมาร์ กัดดาฟี ในอัจดาบิยะห์ อีกระลอกเมื่อวันศุกร์(25)ส่งเสริมความพยายามของฝ่ายกบฏหวังเข้ายึดครองเมืองยุทธศาสตร์ทางตะวันออกของลิเบียแห่งนี้ให้ได้

กลุ่มควันลอยพวยพุ่งเต็มท้องฟ้า ขณะที่พันธมิตรเร่งอัตราโจมตีการทางอากาศหนักหน่วงขึ้นเรื่อยๆ ทำเอาชาวบ้านผู้ตื่นตระหนกต้องหลบหนีออกจากเมืองอัจดาบิยะห์ ซึ่งอยู่ห่างจากเบนกาซี ป้อมปราการสำคัญของฝ่ายกบฏไปทางใต้เพียง 160 กิโลเมตร ทั้งนี้เมืองอัจดาบิยะห์นี้มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์สำหรับทั้งสองฝ่าย เนื่องจากเป็นจุดซึ่งควบคุมทางหลวงเลียบชายฝั่งที่มุ่งหน้าไปสู่ด้านตะวันตกของประเทศ

ทั้งนี้ ฝ่ายกบฏกำลังโจมตีประตูตะวันออก ซึ่งมีรถถัง 15 คันและทหารของฝ่ายสนับสนุนรัฐบาล 50 คนประจำการอยู่ที่นั่น และหวังว่าจะสามารถทลายแนวป้องกันได้เร็วๆนี้ ขณะที่ผู้เห็นเหตุการณ์บอกว่าการโจมตีของฝ่ายกบฏในความพยายามเข้าควบคุมเมืองแห่งนี้อาศัยปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของพันธมิตรตะวันตกเป็นตัวส่งเสริม

ภาคผนวก  

ประวัติ “มูอัมมาร์ กัดดาฟี”

มูอัมมาร์ มูฮัมมัด อัล-กัดดาฟี (Mu‘ammar al-Qaḏāfī) เกิดในแอฟริกาตอนเหนือ ในประเทศลิเบีย เมื่อปี ค.ศ.1942 (ไม่มีใครทราบแน่ชัดสำหรับวันเกิด บ้างก็บอก 1 มิถุนายน บ้างก็พูดกันต่างนานา) กัดดาฟีได้อาศัยอยู่กับครอบครัวในแคมป์ในทะเลทราย จนกระทั่ง เริ่มไปโรงเรียนเมื่อวัย 9 ปี

เมื่อกัดดาฟีเรียนอยู่ในระดับมัธยมศึกษา กัดดาฟี ได้รับแรงบันดาลใจจากสุนทรพจน์ จากประธานาธิบดีอียิปต์ กามาล อับดุลย์ นาซเซอร์ (Gamal Abdul Nasser) กับความหวังที่จะสร้างชาตินิยมในอาหรับ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ชีวิตของเขา ก็คลุกคลีอยู่กับปฎิบัติและการสานต่อกับอุดมการณ์ในการปฎิวัติเปลี่ยนการปกครองในประเทศ

อัล-กัดดาฟีเป็นผู้นำประเทศลิเบียโดยพฤตินัยในปัจจุบัน หลังจากการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2512 กัดดาฟีได้รับการขนานนามในเอกสารทางการและสื่อของรัฐว่า “ผู้ชี้นำการมหาปฏิวัติวันที่ 1 กันยายน แห่งมหาสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย” (“Guide of the First of September Great Revolution of the Socialist People’s Libyan Arab Jamahiriya”) หรือ “ภราดาผู้นำและผู้ชี้ทางแห่งการปฏิวัติ” (“Brotherly Leader and Guide of the Revolution”) นับตั้งแต่การลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของตนเองในปี พ.ศ. 2515

ทั้งนี้ กัดดาฟีเป็นผู้นำประเทศที่ไม่ใช่กษัตริย์ที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดในโลกหลังการเสียชีวิตของนายโอมาร์ บองโก ประธานาธิบดีแห่งประเทศกาบองในปี พ.ศ. 2553 และยังเป็นผู้นำลิเบียที่ครองอำนาจยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ลิเบียตกเป็นมณฑลหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมันเมื่อ พ.ศ. 2094


การส่งออกน้ำมันของลิเบีย

มีการกล่าวกันว่า “ลิเบีย” คือ ชาติในแอฟริกาและเป็นหนึ่งใน 9 ของโลก ในฐานะประเทศที่มีส่วนแบ่งทางน้ำมันถึง 41.5 พันล้านบาร์เรล สำรวจเมื่อปี ค.ศ.2007 ปริมาณการผลิตน้ำมัน 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน สำรวจเมื่อปี ค.ศ.2006

ลิเบีย คือ หนึ่งในประเทศกลุ่มค้าน้ำมัน (OPEC) ถือส่วนแบ่งปริมาณน้ำมันสำรองในแฟริกา จากการสำรวจของ บ.บีพี เมื่อปี ค.ศ.2008 พบปริมาณน้ำมันสำรองกว่า 41,464พันล้านบาร์เรลและเมื่อสิ้นปี ค.ศ.2007 หรือ 3.34% ของปริมาณน้ำมันสำรองในโลก

 Source:

อัพเดทล่าสุด