ประโยชน์หรือโทษกฎหมายอิสลาม บทความกฎหมายอิสลาม ความหมายเกี่ยวกับกฎหมายอิสลาม


1,121 ผู้ชม


ภายใต้กฎหมายอิสลามแล้วทำไมผู้หญิงจึงมีสิทธิได้รับมรดกเป็นจำนวนครึ่งหนึ่งของผู้ชาย


 แปลโดย ชารีฟ  วงค์เสงี่ยม 

 

คำภีร์อัลกุรอานได้กล่าวเกี่ยวกับการแบ่งมรดกไว้ค่อนข้างละเอียดและมีการเจาะจงที่แน่นอนในส่วนของผู้ที่มีสิทธิรับมรดก

โองการต่างๆในคัมภีร์อัลกุรอานที่ได้กล่าวไว้เกี่ยวกับเรื่องมรดกมีดังต่อไปนี้

ซูเราะฮฺบะกอเราะฮฺ บทที่ 2 โองการที่ 180

ซูเราะฮฺบะกอเราะฮฺ บทที่ 2 โองการที่ 240

ซูเราะฮฺ นิซาอฺ บทที่ 4 โองการที่ 7-9

ซูเราะฮฺ นิซาอฺ บทที่ 4 โองการที่ 19

ซูเราะฮฺ นิซาฮ บทที่ 4 โองการที่ 33 และ

ซูเราะฮฺ มาอิดะฮฺ บทที่ 5 โองการที่ 106-108

มีอยู่ สามโองการในกุรอานที่ได้บอกไว้กว้างๆเกี่ยวกับส่วนมรดกของญาติใกล้ชิด ในซูเราะฮฺ นิซาฮฺ บทที่ 4 โองการที่ 11,12 และ 176 ซึ่งมีคำแปลดังนี้

อัลลอฮฺได้ทรงสั่งพวกเจ้าไว้ในลูกๆของพวกเจ้าว่า สำหรับเพศชายนั้นจะได้รับเท่ากับส่วนได้ของเพศหญิงสองคน แต่ถ้าลูกๆเป็นหญิงเกินกว่าสองคน พวกนางก็จะได้สองในสามของสิ่งที่เขาได้ทิ้งไว้ และถ้าลูกเป็นหญิงคนเดียว นางก็จะได้ครึ่งหนึ่ง และสำหรับบิดามารดาของเขานั้น แต่ละคนในทั้งสองนั้นจะได้หนึ่งในหกจากสิ่งที่เขาได้ทิ้งไว้ หากเขามีบุตร แต่ถ้าเขาไม่มีบุตรและมีบิดามารดาของเขาเท่านั้นที่รับมรดกของเขาแล้ว มารดาของเขาก็จะได้รับหนึ่งในสาม ถ้าเขามีพี่น้องหลายคน มารดาของเขาก็จะได้รับหนึ่งในหก ทั้งนี้หลังจากที่พินัยกรรมที่เขาได้สั่งเสียมันไว้หรือหลังจากหนี้สิน  บรรดาบิดาของพวกเจ้าและลูกๆของพวกเจ้านั้น พวกเจ้าไม่รู้ดอกว่าฝ่ายไหนในพวกเขานั้นเป็นผู้ที่มีคุณประโยชน์แก่พวกเจ้าใกล้กว่ากัน ทั้งนี้เป็นบัญญัติที่มาจากอัลลอฮฺ แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงปรีชาญาณ

 

และสำหรับพวกเจ้านั้นจะได้รับครึ่งหนึ่งของสิ่งที่บรรดาภรรยาของพวกเจ้าได้ทิ้งไว้ หากมิปรากฏว่าพวกนางมีบุตร แต่ถ้าพวกนางมีบุตรพวกเจ้าก็จะได้รับหนึ่งในสี่จากสิ่งที่พวกนางได้ทิ้งไว้  ทั้งนี้หลังจากพินัยกรรมที่พวกนางได้สั่งเสียมันไว้ หรือหลังจากหนี้สิน และสำหรับพวกนางนั้นจะได้รับหนี่งในสี่จากสิ่งที่พวกเจ้าได้ทิ้งไว้ หากมิปรากฏว่าพวกเจ้ามีบุตร แต่ถ้าพวกเจ้ามีบุตรพวกนางก็จะได้รับหนึ่งในแปดจากสิ่งที่พวกเจ้าทิ้งไว้ ทั้งนี้หลังจากพินัยกรรมที่พวกเจ้าสั่งเสียมันไว้ หรือหลังจากหนี้สินและ ถ้ามีชายคนหนึ่งหรือหญิงคนหนึ่งถูกรับมรดกในฐานะที่ป็นผู้ที่ไม่มีบิดาและบุตร แต่เขามีพี่ชาย หรือน้องชายคนหนึ่ง หรือมีพี่สาวหรือน้องสาวคนหนึ่ง แล้วแต่ละคนจากสองคนนั้น จะได้รับหนึ่งในหก แต่ถ้าพี่น้องของเขามีมากกว่านั้นพวกเขาก็เป็นผู้ร่วมรับกันในหนึ่งในสามทั้งนี้หลังจากพินัยกรรมที่ถูกสั่งเสียไว้หรือหลังจากหนี้สินโดยมิใช่สิ่งที่นำมาซึ่งผลร้ายใดๆ เป็นคำสั่งที่มาจากอัลลอฮฺ และอัลลอฮฺเป็นผู้ทรงรอบรู้ ผู้ทรงหนักแน่น

(คำแปลคัมภีร์อัล-กุรอาน บทที่ 4 โองการที่ 11-12)

“ เขาเหล่านั้นจะให้เจ้าชี้ขาดปัญหา จงกล่าวเถิดว่า อัลลอฮฺ จะทรงชี้ขาดให้แก่พวกเจ้าในเรื่องของผู้เสียชีวิตที่ไม่มีบิดาและบุตร คือถ้าชายคนหนึ่งตาย โดยที่เขาไม่มีบุตรแต่มีพี่สาวหรือน้องสาวคนหนึ่งแล้วนางจะได้รับครึ่งหนึ่งของมรดกที่เขาได้ทิ้งไว้ และขณะเดียวกันเขาก็จะได้รับมรดกของนางหากนางไม่มีบุตรแต่ถ้าปรากฏว่าพี่สาวหรือน้องสาวของเขามีด้วยกันสองคน ทั้งสองนั้นจะได้รับสองในสามจากมรดกที่เขาได้ทิ้งไว้ แต่ถ้าพวกเขาเป็นพี่น้องหลายคนทั้งชายและหญิงสำหรับชายจะได้เท่ากับส่วนได้ของหญิงสองคนที่อัลลอฮฺทรงแจกแจงแก่พวกเจ้านั้นเนื่องจากการที่พวกเจ้าจะหลงผิด และอัลลอฮฺนั้นทรงรอบรู้ในทุกสิ่งทุกอย่าง”

(คำแปลคัมภีร์อัล-กุรอาน บทที่ 4 โองการที่ 176)

แทบจะทุกกรณีที่ผู้หญิงจะได้รับมรดกจำนวนครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับผู้ชายแต่ในบางกรณีก็ไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป ในกรณีที่ผู้ตายไม่ได้มีผู้สืบสกุลที่จะรับมรดกไว้เลย แต่มีพี่ชายน้องชาย หรือไม่ก็พี่สาวหรือน้องสาวที่มาจากแม่เดียวกัน พวกเขาแต่ละคนก็จะได้รับหนึ่งในหกเหมือนกันทุกคน  ถ้าผู้ตายได้ทิ้งลูกไว้ เช่นนี้ทั้งพ่อและแม่จะได้รับในสัดส่วนที่เท่ากันนั้นคือ หนึ่งใน หก  และในบางกรณีฝ่ายหญิงจะได้รับมรดกเป็นสองเท่าของฝ่ายชาย ถ้าผู้ตายเป็นผู้หญิงและหล่อนไม่ได้ทิ้งลูกๆ หรือพี่ชายน้องชายหรือพี่สาวน้องสาวเอาไว้ แต่จะมีก็แค่สามีของนาง และพ่อกับแม่อยู่ ในกรณีเช่นนี้ สามีนางจะได้ ทรัพย์มรดกครึ่งหนึ่ง ในขณะที่แม่จะได้ หนึ่งในสาม ส่วนพ่อจะได้ส่วนที่เหลือคือ หนึ่งใน หก จะเห็นว่าที่กล่าวมาข้างบน ผู้เป็นแม่จะได้รับมรดกมากกว่าผู้เป็นพ่อถึงสองส่วน แต่ถ้าโดยทั่วๆไปแล้วความจริงก็คือ ผู้หญิงจะได้ครึ่งหนึ่งของมรดกที่ผู้ชายได้รับในกรณีส่วนใหญ่ เช่นในกรณีต่อไปนี้

1.      ลูกสาวจะได้ครึ่งหนึ่งของลูกชาย

2.      ภรรยาจะได้หนึ่งในแปด ส่วนสามีจะได้หนึ่งในสี่ถ้าผู้ตายไม่มีบุตร

3.      3.ภรรยาจะได้หนึ่งในสี่และสามีจะได้ หนึ่งในสองถ้าผู้ตายไม่มีบุตร

4.      ถ้าผู้ตายไม่ได้ทิ้งลูกผู้สืบสกุลเอาไว้ ของสาวหรือพี่สาวของผู้ตายก็จะได้รับมรดกครึ่งหนึ่งของพี่ชายหรือน้องชายของผู้ตาย

ในอิสลามผู้หญิงไม่มีข้อบังคับให้นางต้องรับผิดชอบทางด้านการเงินแต่อย่างใดแต่ภาระหน้าที่ทางการเงินนั้นจะตกอยู่กับฝ่ายชาย ก่อนที่ผู้หญิงจะแต่งงานนั้น ผู้เป็นพ่อ หรือพี่ชายน้องชายของหล่อนจะต้องรับผิดชอบนางในเรื่องของที่อยู่อาศัย อาหารการกินเครื่องนุ่งห่มตลอดจนความจำเป็นทางด้านการเงินต่างๆของฝ่ายหญิง ทั้งหมดนี้จะตกอยู่กับผู้เป็นพ่อ หรือไม่ก็พี่ชายน้องชายของฝ่ายหญิง  ในกรณีที่หล่อนแต่งงานแล้วภาระรับผิดชอบก็จะตกอยู่กับผู้เป็นสามีหรือลูกชาย ในอิสลามนั้นความรับผิดชอบทางด้านการเงินตลอดจนความจำเป็นทางด้านการเงินต่างๆของครอบครัวจะตกอยู่กับฝ่ายชาย ด้วยเหตุนี้เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระและเพื่อให้ฝ่ายชายมีความสามารถดูแลทางด้านการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ชายจึงได้รับมรดกเป็นสองส่วนจากที่ผู้หญิงจะได้รับ ยกตัวอย่างเช่นถ้าชายคนหนึ่งได้เสียชีวิตลงและได้ทิ้งเงินไว้เป็นจำนวน 150,000 บาท โดยที่ผู้ตายได้มีลูกชายหนึ่งคนและลูกสาวหนึ่งคน ในกรณีเช่นนี้ลูกชายจะได้รับมรดก เป็นเงิน 100,000 บาท ส่วนลูกสาวจะได้รับ 50,000 บาท แต่กระถึงนั้นเมื่อฝ่ายชายได้รับเงินไปแล้ว เขาก็ต้องมีภาระรับผิดชอบทางด้านการเงินต่างๆของครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายต่างในครอบครัวเช่นค่าใช้จ่ายในด้าน อาหารการกิน ค่ารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม ตลอดจนค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่างๆของครอบครัวก็จะต้องตกอยู่กับฝ่ายชายเพียงอย่างเดียว ด้วยเหตุนี้เงินที่ฝ่ายชายได้รับมรดกมาจำนวน 100,000 ก็อาจจะเหลือเพียงแค่ 20,000 บาทที่อยู่กับตัวจริงๆที่เป็นเงินส่วนตัว เนื่องจากภาระค่าใช้จ่ายต่างๆที่กล่าวมาตอนต้นที่ตกอยู่กับฝ่ายชาย

แต่ในทางตรงกันข้ามฝ่ายหญิงที่ได้รับมรดกมา 50,000 บาท หล่อนไม่มีความจำเป็นหรือข้อบังคับใดๆที่จะให้หล่อนต้องจ่ายเงินไปแม้แต่เพียงบาทเดียว นั้นก็คือหล่อนสามารถเก็บเงินจำนวน 50,000 ไว้ใช้ส่วนตัวได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องจ่ายออกไปให้กับใครทั้งสิ้น

ดังนั้นขอถามว่าท่านต้องการได้รับมรดกเป็นจำนวน 100,000 บาท และจะต้องจ่ายออกไปในค่าใช้จ่ายต่างๆ 80,000 บาท หรือต้องการที่จะได้รับมรดกจำนวน 50,000 บาทและก็เก็บเงินจำนวนทั้งหมดไว้ใช้ส่วนตัวเป็นของตัวเอง ท่านจะเลือกอันไหน? พูดง่ายๆก็คือไปๆมาๆฝ่ายหญิงกลับมีเงินเก็บไว้ใช้ส่วนตัวมากกว่าฝ่ายชายเสียอีก

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

https://www.irf.net/irf/faqonislam/index.htm

https://www.mureed.com/article/legacy.htm

อัพเดทล่าสุด