การละหมาดวันศุกร์ บทบัญญัติการละหมาดวันศุกร์ ความหมายของการละหมาดวันศุกร์ เงื่อนไขของการละหมาดวันศุกร์


1,226 ผู้ชม


. การละหมาดวันศุกร์ (ญุมุอะฮฺ)

วิทยเหตุผลที่ได้บัญญัติการละหมาดวันศุกร์(ญุมุอะฮฺ)
อัลลอฮฺได้บัญญัติการชุมนุมสำหรับบรรดามุสลิมหลายวาระด้วยกัน ทั้งนี้เพื่อสานสัมพันธ์ เสริมความผูกพัน รักใคร่ปรองดองกันระหว่างพวกเขา ซึ่งการชุมนุมนั้นมีทั้งระดับหมู่บ้าน เช่นประชุมเพื่อละหมาดห้าเวลา ระดับจังหวัด เช่นประชุมเพื่อละหมาดญุมุอะฮฺและละหมาดอีด ระดับนานาชาติ เช่นประชุมเพื่อทำหัจญ์ที่มักกะฮฺ ซึ่งการประชุมเหล่านี้ถือว่าเป็นการประชุมของบรรดามุสลิมในระดับ เล็ก ปานกลาง และใหญ่
หุก่มการละหมาดญุมุอะฮฺ
1- การละหมาดญุมุอะฮฺมีสองร็อกอะฮฺ วาญิบสำหรับชายมุสลิมทุกคน ที่บรรลุศาสนภาวะ มีสติสัมปชัญญะ เป็นเจ้าของพื้นที่หรือชุมชน ฉะนั้นจึงไม่วาญิบสำหรับผู้หญิง ผู้ป่วย เด็ก ผู้เดินทาง แต่หากพวกเขาเหล่าละหมาดญุมุอะฮฺก็ถือว่าใช้ได้ ส่วนผู้เดินทางหากหยุดพักอยู่ และได้ยินเสียงอะซานก็ต้องไปละหมาดญุมุอะฮฺ
2- การละหมาดญุมุอะฮฺถือว่าเป็นการแทนละหมาดซุฮฺริ ฉะนั้นจึงไม่อนุญาตให้ผู้ที่ละหมาดญุมุอะฮฺละหมาดซุฮฺริอีกหลังญุมุอะฮฺ และวาญิบต้องรักษาการละหมาดญุมุอะฮฺเป็นประจำ ผู้ใดที่ขาดญุมุอะฮฺติดต่อกันสามครั้งโดยเจตนาด้วยความมักง่ายอัลลอฮฺก็จะทรงผนึกหัวใจของเขา

เวลาละหมาดญุมุอะฮฺ
เวลาละหมาดญุมุอะฮฺช่วงที่ประเสริฐที่สุดคือ หลังจากตะวันคล้อยจนถึงช่วงท้ายสุดของเวลาละหมาดซุฮฺริ และอนุญาตให้ละมาดญุมุอะฮฺก่อนตะวันคล้อยได้

การอะซานญุมุอะฮฺ
การอะซานที่ดีก็คือให้มีช่วงระยะเวลาห่างพอสมควรระหว่างการอะซานครั้งแรกกับการอะซานครั้งที่สอง เป็นระยะที่มุสลิมบางคน โดยเฉพาะบางคนที่บ้านอยู่ไกล บางคนที่เพิ่งตื่นนอน หรือบางคนที่หลงลืมได้มีเวลาทันที่จะเตรียมตัวมาละหมาดได้ และทันที่จะรักษามารยาท ปฏิบัติสิ่งที่สุนัตต่างๆ ในวันศุกร์ และทันที่จะเดินมาสู่มัสญิดได้ ทั้งนี้น่าจะห่างกันระหว่างอะซานทั้งสองครั้งนั้นสักหนึ่งชั่วโมงเป็นอย่างน้อย

เงื่อนไขการดำเนินการละหมาดญุมุอะฮฺ
วาญิบต้องละหมาดญุมุอะฮฺในเวลาของมันและมีผู้ร่วมละหมาดไม่ต่ำกว่าสามคนจากบรรดาเจ้าของพื้นที่และต้องมีสองคุฏบะฮฺก่อนละหมาด
เวลาอาบน้ำในวันศุกร์
เวลาอาบน้ำในวันศุกร์เริ่มตั้งแต่ฟัจญ์รฺ(แสงอรุณ)ขึ้นในวันศุกร์จนถึงใกล้จะละหมาดวันศุกร์เล็กน้อย สุนัตให้ผลัดเวลาการอาบน้ำออกไปจนกว่าจะถึงเวลาก่อนออกไปละหมาดญุมุอะฮฺ

เวลาออกไปละหมาดญุมุอะฮฺที่ดีที่สุด
1- เวลาที่สุนัตออกละหมาดญุมุอะฮฺเริ่มตั้งแต่ตะวันขึ้น ส่วนเวลาที่วาญิบคือเวลาอะซานครั้งที่สองกล่าวคือเป็นเวลาที่อิมามเข้ามาเพื่อกล่าวคุฏบะฮฺ
2- มุสลิมสามารถที่จะรู้ถึงช่วงเวลาทั้งห้าที่ระบุในหะดีษข้างต้น โดยการแบ่งเวลาตั้งแต่ตะวันขึ้นจนถึงอิมามมาออกเป็นห้าส่วน ชึ่งก็จะได้ทราบว่าแต่ละช่วงเวลานั้นมีระยะห่างเท่าใด

หุก่มการเดินทางในวันศุกร์
อนุญาตให้เดินทางในวันศุกร์ก่อนที่จะอะซานครั้งที่สอง
และไม่อนุญาตให้ออกเดินทางสำหรับผู้ที่วาญิบต้องละหมาดวันศุกร์หลังจากที่อะซานครั้งที่สองแล้ว เว้นแต่จะมีเหตุสุดวิสัยเช่น พลาดนัด หรือพลาดเวลาโดยสาร เช่นรถยนต์ เรือ หรือเครื่องบิน เป็นต้น
อัลลอฮฺได้ตรัสว่า
 
ความว่า “โอ้ผู้ศรัทธาทั้งหลาย เมื่อได้มีเสียงอะซานร้องเรียกเพื่อละหมาดในวันศุกร์ ก็จงรีบเร่งไปสู่การรำลึกถึงอัลลอฮฺ และจงละทิ้งการค้าขายเสีย นั่นเป็นการดีสำหรับพวกเจ้า ถ้าหากพวกเจ้ารู้” (อัล-ญุมุอะฮฺ : 9)

(อัลมัสบูก)ผู้ที่มาสายในการละหมาดญุมุอะฮฺมาช่วงไหนถึงจะเรียกว่าได้ญุมุอะฮฺ
ผู้ใดที่ทันละหมาดญุมุอะฮฺพร้อมอิมามได้หนึ่งร็อกอะฮฺ แล้วเพิ่มอีกร็อกอะฮฺก็จะถือว่าละหมาดญุมุอะฮฺของเขาสมบูรณ์
แต่หากทันละหมาดพร้อมอิมามน้อยกว่าหนึ่งร็อกอะฮฺให้เขาเปลี่ยนเจตนาละหมาดให้เป็นซุฮฺริแล้วละหมาดสี่ร็อกอะฮฺแทน

อิมามจะเข้ามาละหมาดญุมุอะฮฺในเวลาใด?
ตามสุนนะฮฺแล้วมะอ์มูมนั้นต้องออกไปละหมาดญุอุอะฮฺ ละหมาดอีด และละหมาดอิสติสกออ์ตั้งแต่เนิ่นๆ  ส่วนอิมามนั้นให้ออกมาละหมาดญุมุอะฮฺ และอิสติสกออ์เมื่อจะกล่าวคุฏบะฮฺ สำหรับละหมาดอีดนั้นให้อิมามเข้ามาเมื่อถึงเวลาละหมาด

จะกล่าวคุฏบะฮฺด้วยภาษาอะไร?
ตามสุนนะฮฺแล้วในวันศุกร์จะมีสองคุฏบะฮฺโดยใช้ภาษาอาหรับสำหรับผู้ที่ใช้ภาษาอาหรับคล่อง และหากจะแปลให้ผู้ฟังที่ไม่เข้าใจภาษาอาหรับรู้เรื่องด้วยก็จะดี และหากไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ ก็สามารถกล่าวคุฏบะฮฺด้วยภาษาของพวกเขาได้ ส่วนการละหมาดนั้นจะใช้ภาษาอื่นไม่ได้นอกจากภาษาอาหรับ

การละหมาดญุมุอะฮฺนั้นวาญิบหรือไม่สำหรับผู้เดินทาง?
หากผู้เดินทางผ่านไปยังเมืองที่จะละหมาดญุมุอะฮฺ และได้ยินเสียงอะซานซึ่งเขาต้องการพักอยู่เมืองนี้ชั่วคราว เขาต้องละหมาดญุมุอะฮฺ หรือหากเขาจะเป็นผู้กล่าวคุฏบะฮฺแล้วเป็นอิมามนำละหมาดญุมุอะฮฺของคนในที่นั้น ก็ถือว่าการละหมาดของทุกคนใช้ได้

 https://www.islamhouse.com/p/322456

อัพเดทล่าสุด