ศรัทธาในศาสนทูตหรือศาสดา
ศาสนทูตผู้ประกาศอิสลาม เรียกว่า "รอซูล" ส่วนศาสนทูตที่ไม่ได้ประกาศ ก็จะเรียกว่า "นบี" แต่การให้ความหมายเช่นนี้ ไม่ได้เข้มงวดนัก ส่วนใหญ่จึงใช้ถ้อยคำทั้งสองนี้ หมายถึงผู้เป็นศาสนทูต ที่ทำการ ประกาศอิสลาม
ผู้เป็นศาสนทูต เป็นบุคคลที่มีคุณสมบัติแบบมนุษย์ธรรมดาทั่วไป มิใช่ผู้วิเศษหรือมลาอีกะฮฺ ศาสนทูต จึงดำเนินชีวิตเหมือนสามัญชน คือ กิน นอน ขับถ่าย และ แต่งงาน
แต่ศาสนทูตมีคุณลักษณะอันสมบูรณ์เหนือกว่ามนุษย์ทั่วไป อันเป็นคุณลักษณะทางด้านความประพฤติ และคุณธรรมอันสูงส่ง นักวิชาการได้สรุปคุณลักษณะของศาสนทูตไว้ว่า จะต้องมีครบ 4 ประการ คือ
1. ความซื่อสัตย์สุจริต เป็นที่ไว้วางใจของบุคคลทั่วไป ไม่คดโกง ไม่ตระบัดสัตย์
2. มีสัจจะ พูดจริง ทำจริง ไม่โกหก ไม่หลอกลวงใคร
3. มีสติปัญญาเป็นอัจฉริยะ
4. ทำหน้าที่เผยแพร่โองการจากพระผู้เป็นเจ้า แก่ประชาชนทั่วไปโดยไม่ปิดบัง และด้วยความตั้งใจสูง มีมานะอดทน เพียรพยาม ไม่ย่อท้อต่อการขัดขวางของผู้ใดทั้งสิ้น
การที่พระผู้เป็นเจ้าทรงคัดเลือกศาสนทูตขึ้นมาจากมนุษย์ธรรมดา ก็เพื่อให้ศาสนทูตเป็นตัวอย่าง ในการประพฤติตามของประชาชน หากศาสนทูตเป็นผู้วิเศษหรือเป็นมลาอีกะฮฺ ซึ่งดำเนินชีวิตไปอีกแบบหนึ่ง ประชาชนก็ไม่สามารถจะหาตัวอย่าง ในการดำเนินชีวิตที่ใกล้เคียงกับตนเอง แล้วคำสอนของศาสนทูตก็ไร้ผล
ศาสนทูตจึงเป็นบุคคลที่ประชาชนต้องเชื่อฟัง นำคำสอนมาปฏิบัติอย่างเคร่งครัด และต้องเลียนแบบ จริยวัตรของท่าน อัลกุรอานระบุไว้ ความว่า
"อันใดที่ศาสนทูตนำมา สูเจ้าจงรับมันไว้ และอันใดที่ศาสนทูตห้าม สูเจ้าก็จงงดเสีย" ( 59 : 7 )
ศรัทธาในบรรดาศาสนทูต มุสลิมเชื่อว่าศรัทธา โลกมนุษย์ในแต่ละยุคที่ผ่านมานับจากยุคแรก คือ อาดัมนั้นต้องมีศาสดาหรือ ศาสนทูต เป็นผู้รับบทบัญญัติของพระเจ้ามาประกาศเพื่อเผยแผ่โองการของพระเจ้า ซึ่งศาสนทูตนั้นมีจำนวนมากมาย ลักษณะคำประกาศของแต่ละศาสดาย่อมผิดแปลกไปตามยุคสมัย แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกศาสดาประกาศออกมาเหมือนกัน คือ ความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวกันและห้ามกราบไหว้บูชาวัตถุโดยสิ้นเชิง บรรดาศาสดาที่รับโองการพระเจ้ามาเผยแผ่เท่าที่มีปรากฏในคัมภีร์อัลกุรอานมีทั้งสิ้น 25 ท่าน คือ
1. นบีอาดัม (อ.ล.) 14. นบีอีซา (อ.ล.)
2. นบีอิบรอฮีม (อ.ล.) 15. นบีอินยาส (อ.ล.)
3. นบีอิสฮากร (อ.ล.) 16. นบีอิสมาอีล (อ.ล.)
4. นบียากูฟ (อ.ล.) 17. นบีอัลย่าซะอ์ (อ.ล.)
5. นบีนัวฮ์ (อ.ล.) 18. นบียูนุส (อ.ล.)
6. นบีดาลูด (อ.ล.) 19. นบีลูด (อ.ล.)
7. นบีสุไลมาน (อ.ล.) 20. นบีอิดรีส (อ.ล.)
8. นบีไอยูบ (อ.ล.) 21. นบีฮูด (อ.ล.)
9. นบียูซูบ (อ.ล.) 22. นบีซู่ไอบ (อ.ล.)
10. นบีมูซา (อ.ล.) 23. นบีซอและซ์ (อ.ล.)
11. นบีฮารูน (อ.ล.) 24. นบีซุลกิฟลี่ (อ.ล.)
12. นบีซาการีบา (อ.ล.) 25. นบีมุฮัมมัด (ศ็อลฯ) (อ.ล.)
13. นบียาหย่า (อ.ล.)
คุณสมบัติของศาสนทูต1มี 4 ประการคือ
1.ศิดกุน คือ วาจาสัตย์ ไม่พูดเท็จ
2.อะมานะฮ์ คือ ไว้วางใจได้ ซื่อสัตย์สุจริต ไม่กระทำความชั่วฝ่าฝืนบทบัญญัติของอัลลอฮ์
3.ตับลิค คือ นำศาสนามาเผยแผ่แก่มนุษย์โดยทั่วถึงไม่ปิดบังแม้แต่น้อย
4.ฟะตอนะฮ์ คือ เฉลียวฉลาด
บรรดาศาสดาทุกท่าน เป็นมนุษย์ธรรมดานี่เอง จึงดำรงชีวิตแบบสามัญชนทั่วไป มีการกินอยู่หลับนอน แต่งงานและประกอบอาชีพ
สาเหตุที่พระเจ้าเลือกคนธรรมดาขึ้นมาเป็นศาสดา ก็เพราะความเป็นศาสดา หมายถึง การเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติตามคำสอนของตัวเองที่ได้รับมาจากพระเจ้า
หากศาสดาไม่ใช่คนสามัญชนธรรมดาแบบเดียวกับประชาชนทั่วไป คำสอนก็จะขาดการนำไปปฏิบัติ ซึ่งในที่สุดคำสอนก็จะหมดความหมาย และแน่นอนก็จะไม่มีใครพร้อมที่จะนำไปประพฤติปฏิบัติในการดำเนินชีวิตอีกด้วย
ทุกสิ่งทุกอย่างที่ศาสดาสอนผู้อื่น ท่านก็ปฏิบัติเช่นนั้นด้วย คำสอนที่ท่านสอนออกไปจึงเป็นกฎหมายที่ท่านต้องปฏิบัติตาม เพราะสิ่งที่ท่านสอนก็คือ บทบัญญัติที่พระเจ้าทรงดำรัสผ่านมาทางท่านนั่นเอง
ศาสนาอิสลามจำแนกพระศาสนทูตหรือผู้แทนของพระอัลเลาะห์หรือผู้รับโองการจากพระเจ้าให้นำบัญญัติของพระองค์มาสั่งสอน ชี้แนะแก่มวลมนุษย์ด้วยกัน ในแต่ละยุคแต่ละสมัยออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ผู้ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามบทบัญญัติของพระเจ้าเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ศาสนทูตประเภทนี้เรียกว่า "นบี"
2. ผู้ได้รับมอบหมายหน้าที่ให้ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีตามบทบัญญัติของพระเจ้าทำการเผยแผ่บทบัญญัตินั้นแก่มวลมนุษย์ชาติทั่วไปด้วย ศาสนทูตประเภทนี้เรียกว่า "ซูล" หรือ "เราะซูล"
ส่วนองค์พระมุฮัมมัด ชาวมุสลิมเชื่อกันว่า พระองค์เป็นทั้งนบีและเราะซูล เพราะพระองค์เป็นแบบอย่างที่ดีตามบทบัญญัติของพระอัลเลาะห์และทรงเป็นผู้เผยแผ่บทบัญญัตินั้นแก่มวลมนุษยชาติอีกด้วย