วัตถุประสงค์ของการละหมาด ผลบุญของการละหมาด การละหมาดในศาสนาอิสลาม


2,603 ผู้ชม


วัตถุประสงค์ของการละหมาด ผลบุญของการละหมาด การละหมาดในศาสนาอิสลาม

ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เมื่อมีปัญหาอะไรบางอย่างมาประสบในชีวิตของท่าน ท่านก็จะเข้าสู่การละหมาด ซึ่งถือเป็นแนวทางที่ดียิ่งในการแก้ไขปัญหา ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม จะมุ่งเข้าสู่การละหมาดไปหาการเยียวยาจากอัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา สิ่งที่ท่านมีปัญหาอยู่ก็ขอความช่วยเหลือจากพระองค์

          ดังที่ท่านหุซัยฟะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าเรื่องราวของท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า

«كان رسول الله صلى الله عليه وسلم إِذَا حَزَبَهُ أَمْرٌ فَزِعَ إِلَى الصَّلاَةِ»

ความว่า “คราใดก็ตามที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ เมื่อมีสิ่งใดที่ทำให้ท่านทุกข์โศก ท่านก็จะมุ่งสู่การละหมาดโดยทันที” (บันทึกโดยอะหฺมัด : 5/388 และอบูดาวูด : 1319)

          และในอีกหลายๆ เหตุการณ์ที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้อาศัยการละหมาด เป็นวิธีการขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺ เช่นเมื่อครั้งที่เกิดสงครามสมรภูมิบัดรฺในปีฮิจญ์เราะฮฺที่สอง ท่านเคาะลีฟะฮฺอะลี เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าเหตุการณ์นี้ไว้ว่า

 “ตลอดคืนก่อนการประจัญบานระหว่างกองทัพมุสลิมและกองทัพฝ่ายศัตรู พวกเราต่างนอนพักเอาแรง มีเพียงท่านเราะสูลุลลอฮฺเท่านั้นที่ยังคงยืนละหมาดและวิงวอนขอความช่วยเหลือจากอัลลอฮฺจนถึงรุ่งเช้า (ตัฟสีรอิบนุกะษีร : 1/ 252)

และในสงครามอะหฺซาบในปีฮิจเราะฮฺศักราชที่ห้า ท่านหุซัยฟะฮฺ ได้เล่าว่า ตลอดช่วงเวลาที่กองทัพพันธมิตร (อะหฺซาบ) ปิดล้อมฝ่ายมุสลิมอยู่นั้น ท่านเราะสูลุลลอฮฺ วัตถุประสงค์ของการละหมาด ผลบุญของการละหมาด การละหมาดในศาสนาอิสลาม เพียรละหมาด และขอดุอาอ์วิงวอนต่ออัลลอฮฺ วัตถุประสงค์ของการละหมาด ผลบุญของการละหมาด การละหมาดในศาสนาอิสลาม ให้ทรงช่วยเหลือ และประทานชัยชนะให้แก่กองทัพฝ่ายมุสลิมตลอดทั้งคืน และทุกคืนท่านละหมาดอยู่เช่นนั้น จนกระทั่งสงครามยุติและมุสลิมเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะในที่สุด(ตัฟสีรอิบนุกะษีร : 1/ 252)

ท่านอนัส บินมาลิกเคยเล่าไว้ว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวเสมอว่า

«وَجُعِلَتْ قُرَّةُ عَيْنِيْ فِيْ الصَّلاَةِ»

ความว่า ความสุขใจสูงสุดของฉันอยู่ในการละหมาด(บันทึกโดย อัน-นะสาอีย์ )


          นี่คือภาคปฏิบัติของคำสั่งนี้ที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้ปฏิบัติเป็นแบบอย่าง เพราะการละหมาดเป็นสิ่งที่จะช่วยเชื่อมต่อกับอัลลอฮฺโดยตรง อันเป็นแนวทางที่มีความเชื่อมั่นได้มากที่สุด เป็นการติดต่อกับอัลลอฮฺทางจิตวิญญาณ ด้วยวะฮฺยูและการดลใจ น้ำพุนี้ยังคงพวยพุ่งในทุกที่ ที่ผู้ศรัทธาจะรับมาเป็นเสบียงสำหรับการเดินทาง เป็นร่มที่พักร้อน เป็นความช่วยเหลือ สำหรับผู้ที่ไม่มีที่พึ่งพิงเป็นทรัพย์สินที่คงเหลือทุก เมื่อสำหรับผู้ที่ทรัพย์สินขาดมือ การละหมาดย่อมจะสร้างอะไรสักอย่าง สำหรับคนที่ตระหนักในเรื่องนี้

           แต่คนที่ไม่เชื่อตรงนี้ คนที่ไม่เชื่อว่าการละหมาดมีความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับอัลลอฮฺ ระหว่างบ่าวกับผู้ทรงอภิบาลของเขาคงจะสัมผัสเรื่องนี้ไม่ได้ และการละหมาด ก็ย่อมเป็นเรื่องที่เพิ่มความหนักใจให้กับเขามากยิ่งขึ้น จนหลายคนเวลาเกิดปัญหาหรือมีวิกฤติชีวิต ก็จะลืมละหมาดและทิ้งละหมาดโดยสิ้นเชิง

 ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ตรัสว่า

(وَاسْتَعِينُواْ بِالصَّبْرِ وَالصَّلاَةِ وَإِنَّهَا لَكَبِيرَةٌ إِلاَّ عَلَى الْخَاشِعِينَ)

ความว่า และจงขอความช่วยเหลือ ด้วยความอดทนและการละหมาดแน่นอนการละหมาดนั้นเป็นงานหนัก เว้นแต่สำหรับบรรดาผู้นอบน้อมถ่อมตน(สูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 45)

          สภาพของผู้ศรัทธา เมื่อเขารู้สึกไม่สบายใจหรือมีปัญหาเพียงได้กล่าวว่า “อัลลอฮุ อักบัรฺ” เพื่อเข้าสู่การละหมาดและเข้าเฝ้าผู้เป็นเจ้าของชีวิตของเขา วิงวอนต่อพระองค์ ก็เหมือนได้เข้าสู่สวนสวรรค์อย่างแน่แท้

           ดังที่ท่านอิมามอัล-หะสัน อัล-บัศรีย์ได้กล่าวว่า “เรา ได้ละหมาด เราได้ทำอิบาดะฮฺ เรามีความสุข ถ้าบรรดากษัตริย์หรือคนร่ำรวย รับรู้(ว่าเรามีความสุขมากแค่ไหน) เขาจะมาต่อสู้จะมาฆ่าเรา แล้วแย่งความสุขจากเราไปอย่างแน่นอน”

         ท่านอิมามอัฏ-เฏาะบะรีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้บันทึกเรื่องราวหนึ่งจากท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ไว้ว่า

“ท่านได้เดินผ่านท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ซึ่งเขากำลังนอนคว่ำเนื่องด้วยความหิว (ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ เป็นเศาะหาบะฮฺท่านหนึ่ง ที่เป็นอะฮฺลุซศุฟฟะฮฺ คือคนที่พักอาศัยอยู่ในมัสญิด เนื่องจากไม่มีที่อยู่อาศัยและเป็นคนยากจน อาหารก็ต้องรอให้คนนำมาบริจาค) ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม เห็นดังกล่าวจึงได้กล่าวว่า ท่านปวดท้องกระนั้นหรือ ?  ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ก็ได้กล่าวว่า ใช่ครับ ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมจึงกล่าวว่า ท่านจงลุกขึ้นละหมาด แท้จริงการละหมาดนั้นเป็นยา(ชีฟาอ์) สำหรับท่าน(ตัฟสีรอิบนุกะษีร : 1/253 )  

         ท่านอิมามอัฏ-เฏาะบะรีย์ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้กล่าวอีกว่า “ความอดทนและการละหมาดนั้น แท้จริงมันเป็นการให้ความช่วยเหลือบนความเมตตาของอัลลอฮฺ” (ตัฟสีรอิบนุกะษีร : 1/253 )  

إِنَّ اللّهَ مَعَ الصَّابِرِينَ  -

แท้ที่จริงแล้วอัลลอฮฺทรงอยู่กับบรรดาผู้ที่อดทนทั้งหลาย 

         ถือเป็นการให้กำลังใจอย่างยิ่งสำหรับผู้อดทน เพราะอัลลอฮฺทรงสัญญาว่า พระองค์จะทรงอยู่กับบรรดาผู้ที่อดทนทั้งหลาย

          ท่านสัยยิด กุฏุบ เราะหิมะฮุลลอฮฺ ได้ กล่าวว่า “อัลลอฮฺทรงอยู่กับพวกเขา สนับสนุนพวกเขา ให้ความเข้มแข็งกับพวกเขา ให้พวกเขาสุขุมขึ้น ไม่ปล่อยพวกเขาผ่านทางไปโดยเพียงลำพัง ไม่ปล่อยให้พวกเขาหยุดอยู่กับพละกำลังอันจำกัด พละกำลังอันเล็กๆน้อยๆ ที่มีอยู่ พระองค์ทรงสนับสนุนและเพิ่มพูนเสบียงให้กับพวกเขา ให้กำลังใจ ให้พวกเขามีความตั้งใจตลอดการเดินทางแม้จะยาวไกล พระองค์ทรงเรียกพวกเขาในต้อนต้นอายะฮฺว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย” และสิ้นสุดลงด้วยพระดำรัสที่ว่า “แท้ที่จริงแล้วอัลลอฮฺทรงอยู่กับบรรดาผู้ที่อดทนทั้งหลาย” (ฟิซิลาลิลกุรอาน 2:60 )

สารัตถะสำคัญที่ได้รับจากบทเรียน

• ความอดทนและการละหมาด เป็นสิ่งที่จะช่วยให้บรรดาผู้ศรัทธา มีความมั่นคงและยืนหยัดในหลักการของศาสนา

• สำหรับผู้ที่จะมุ่งสู่โลกอาคิเราะฮฺนั้น จำเป็นสำหรับเขาที่ต้องใช้ความอดทนและการละหมาด ในการเป็นตัวช่วยให้เขาบรรลุถึงเป้าหมายนั้น

• การปฏิบัติศาสนกิจที่อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ทรงสั่งใช้มานั้น แน่นอนต้องประสบกับอุปสรรคและความยากลำบาก แต่ด้วยความอดทนและการเข้าสู่การละหมาด จะช่วยให้เรายืนหยัดในสิ่งนั้นได้

• ทุกๆ ครั้งที่เรามีปัญหา ต้องการความช่วยเหลือเราอย่าได้ลืมคำแนะนำที่อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ได้ให้ไว้ นั่นคือการอดทนและการเข้าสู่การละหมาด

• ทุกๆ ปัญหาที่เราได้พบเจอมันคือบททดสอบที่อัลลอฮฺ สุบหานะฮุวะตะอาลา ได้วางไว้เพื่อที่จะทดสอบพวกเราว่า ผู้ใดบ้างในหมู่พวกเราที่มีผลงานดียิ่งและเป็นผู้ศรัทธาที่เที่ยงแท้ 

• โดยแน่แท้ สำหรับผู้ที่อดทนนั้นพระองค์จะทรงอยู่กับเขา ช่วยเหลือเขา ไม่ปล่อยเขาให้เผชิญกับอุปสรรคโดยตามลำพังอย่างแน่นอน


แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ / Islam house

ที่มา https://www.islammore.com

อัพเดทล่าสุด